โกงกางหัวสุม

Bruguiera gymnorrhiza (L.) Savigny

ชื่ออื่น ๆ
กดล (จันทบุรี), ซ่าดา (ใต้), น่าเซีย (กระบี่), เป่งเม่น (สุราษฎร์ธานี), โพล่ (ชุมพร)
ไม้ต้น แตกกิ่งต่ำ ใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่หรือรูปไข่กลับ หูใบระหว่างก้านใบรูปไข่ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงออกตามปลายกิ่ง ดอกรูปดอกเข็ม สีขาว ผลแบบผลแห้งไม่แตก รูปกลมแป้น

โกงกางหูช้างเป็นไม้ต้น สูง ๔-๖ ม. เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง แตกกิ่งต่ำ

 ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ค่อนข้างกว้างจนถึงเกือบกลม กว้าง ๘-๑๘ ซม. ยาว ๑๐-๒๕ ซม. ปลายมนกว้างและมีติ่งแหลมเล็กน้อยโคนมน เว้าเข้าเล็กน้อยคล้ายรูปหัวใจตรงรอยต่อกับก้านใบแผ่นใบด้านล่างสีจางกว่าด้านบนและมีขนประปรายหรือค่อนข้างเกลี้ยง ก้านใบยาว ๒-๔ ซม. มีขนประปราย หูใบระหว่างก้านใบ ๑ คู่ รูปไข่กว้าง ยาว ๑-๒ ซม. ร่วงง่าย

 ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาว ๔-๑๒ ซม. ดอกรูปดอกเข็ม สีขาว บานกลางคืน กลิ่นหอมก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยงเล็ก โคนติดกัน ปลายแยกออกเป็นแฉกสั้น ๆ กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาวเรียว ยาว ๓-๔ ซม.


ปลายแยกเป็น ๖-๘ แฉก มีขนสั้นหนาแน่น ปากหลอดด้านในมีขนยาวนุ่ม เกสรเพศผู้ ๔-๙ อัน ติดอยู่ใกล้ปากหลอด อับเรณูยังอยู่ภายในหลอด รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๔-๙ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด บางดอกก้านยอดเกสรเพศเมียสั้นอยู่ภายในหลอด บางดอกก้านยอดเกสรเพศเมียยาว ยอดเกสรเพศเมียยื่นพ้นปากหลอด

 ผลแบบผลแห้งไม่แตก รูปกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๒ ซม. เมื่อแก่จัดสีจะซีดลงจนเกือบเป็นสีขาว มี ๔-๖ เมล็ด

 โกงกางหูช้างมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขึ้นตามหาดทรายชายทะเลทั่วไปที่มีโขดหิน ในต่างประเทศพบทั่วไปในเขตร้อนของทวีปเอเชียจนถึงทวีปออสเตรเลียและภูมิภาคโปลินีเซีย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
โกงกางหัวสุม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bruguiera gymnorrhiza (L.) Savigny
ชื่อสกุล
Guettarda
คำระบุชนิด
speciosa
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Linnaeus, Carl von
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1707-1778)
ชื่ออื่น ๆ
กดล (จันทบุรี), ซ่าดา (ใต้), น่าเซีย (กระบี่), เป่งเม่น (สุราษฎร์ธานี), โพล่ (ชุมพร)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ศ. ดร.ธวัชชัย สันติสุข