ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีข้อและปล้องสั้นไม่เด่นชัด ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามแน่นเป็นกระจุก รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก ดอกเดี่ยว สีฟ้า ออกที่ปลายยอด กลีบดอกส่วนที่พับจีบปลายหยักเป็นแฉกตื้น ๒ แฉก หรือมน แกมหยักมนถี่ ก้านดอกยาว ผลแบบผลแห้งแตก มีก้าน ทรงรูปไข่กลับ ปลายผลเป็นครีบแคบ เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก
ดอกหรีดน้อยเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑๐ ซม. ลำต้นมีข้อและปล้องสั้นไม่เด่นชัด อาจแตกแขนง สั้น ๆ
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามแน่นเป็นกระจุก รูปขอบ ขนานแกมรูปใบหอก กว้าง ๔-๘ มม. ยาว ๒-๔ ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบและบางใส ใบตามแขนง รูปไข่ มักมีขนาดเล็กกว่าใบตามลำต้น ปลายแหลม ส่วนโคนเชื่อมกับใบที่อยู่ตรงข้ามเป็นหลอดสั้นหุ้มรอบ ข้อ มีเส้นกลางใบเพียงเส้นเดียว เส้นแขนงใบเห็นไม่ชัด
ดอกเดี่ยว ออกที่ปลายยอด ยาว ๑.๒-๑.๔ ซม. ก้านดอกยาว ๐.๘-๑.๓ ซม. กลีบเลี้ยงเป็นเยื่อบาง โคน เชื่อมติดกัน ยาว ๕-๖ มม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แต่ละ แฉกรูปไข่แกมรูปใบหอก ยาว ๒-๒.๕ มม. ขอบเรียบ และบางใส กลีบดอกสีฟ้า โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว ๑-๑.๒ ซม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แต่ละแฉกรูป สามเหลี่ยม ยาวประมาณ ๒ มม. ปลายแหลม กลีบดอก ส่วนที่พับจีบปลายหยักเป็นแฉกตื้น ๒ แฉก หรือมนแกม หยักมนถี่ เกสรเพศผู้ ๕ เกสร ขนาดเท่ากัน เรียงสลับ กับแฉกกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ ๔ มม. อับเรณูยาวประมาณ ๒ มม. รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีก้าน มี ๑ ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมียโค้ง งอ ยาวประมาณ ๒ มม. ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก ๒ แฉก รูปแถบ
ผลแบบผลแห้งแตก ทรงรูปไข่กลับ ยาว ๖-๙ มม. ปลายผลเป็นครีบแคบ ก้านผลยาว ๕-๗ มม. เมล็ด ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก
ดอกหรีดน้อยมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทางภาคเหนือ พบตามป่าดิบเขาและป่าสนเขา ที่สูง จากระดับทะเล ๑,๔๐๐-๑,๙๐๐ ม. ออกดอกและเป็น ผลเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เมียนมา และจีนตอนใต้.