ก้นจ้ำเป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้ง แตกกิ่ง สูงได้ถึง ๐.๓-๑.๕ ม.
ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้าม มีใบย่อย ๓-๕ ใบ บางใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ก้านใบประกอบยาว ๙-๑๕ ซม. ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง ๐.๓-๓.๕ ซม. ยาว ๑.๕-๖.๕ ซม. ปลายแหลม โคนสอบรูปลิ่ม แผ่นใบทั้ง ๒ ด้านเกลี้ยงหรือมีขนประปราย
ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ช่อเดี่ยว ช่อแยกแขนง หรือช่อเชิงหลั่น แต่ละช่อมีวงใบประดับ ๘-๑๐ อัน รูปแถบปลายแหลม ยาว ๓-๗ มม. ดอกวงนอกสีเหลืองหรือขาว รูปสิ้นไม่สมบูรณ์เพศ มี ๑-๕ ดอก หรือไม่มี ปลายกลีบจัก ๒-๓ จัก ดอกวงในสีเหลือง มีหลายดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นจักแหลม ๔-๕ จัก กว้างประมาณ ๓ มม. ยาวประมาณ ๖ มม. เกสรเพศผู้ ๕ อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ยอดเกสรเพศ ๑ เมียแยกเป็น ๒ แฉก
ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน ติดบนฐานดอกเป็นกระจุกแต่ละผลยาว ๐.๕-๒ ซม. หัวท้ายแหลม มีสันและร่องตามยาวปลายมีรยางค์แข็ง ๒-๔ อัน
ก้นจ้ำมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เป็นวัชพืชตามไร่และสวนตามข้างถนนและที่แห้งแล้ง ออกดอกประมาณเดือนตุลาคมในต่างประเทศพบในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก