ตะคร้อ

Schleichera oleosa (Lour.) Oken

ชื่ออื่น ๆ
กาซ้อ, คุ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); กาซ้อง; ค้อ (กาญจนบุรี); คอสัม (เลย); เคาะ (นครพนม, พิษณุโลก); เค
ไม้ต้น กิ่งอ่อนมีขนสั้นสีเหลืองอมน้ำตาลคล้ายไหมประปราย และมีต่อมที่ไม่มีก้าน ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียน ใบย่อย ๔-๘ ใบ เรียงตรงข้ามหรือเรียงสลับเยื้องกันเล็กน้อย รูปรีถึงรูปไข่กลับ ดอกแยกเพศต่างต้นหรือร่วมช่อร่วมต้น ช่อดอกคล้ายช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบและซอกใบใกล้ยอด ดูรวมกันหลาย ๆ ช่อคล้ายออกที่ยอด ดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม ผลคล้ายผลแห้งไม่แตก เมื่อแก่ผนังผลแข็งและสีเหลือง ทรงรูปไข่กว้างถึงรูปทรงค่อนข้างกลม หรือรูปทรงค่อนข้างแบนเป็นรูปรีตามขวางเมล็ดรูปทรงค่อนข้างกลม สีน้ำตาลเข้ม มี ๑-๒ เมล็ด มีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นเนื้อสีเหลืองฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยว

ตะคร้อเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง ๔๐ ม. เปลือกสีน้ำตาล สีเทา หรือสีค่อนข้างดำ แตกเป็นร่องและเป็นแผ่นกิ่งอ่อนมีขนสั้นสีเหลืองอมน้ำตาลคล้ายไหมประปรายและมีต่อมที่ไม่มีก้าน

 ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียน ก้านใบยาว ๒-๘ ซม. แกนกลางไม่มีปีก ใบย่อย ๔-๘ ใบ เรียงตรงข้ามหรือเรียงสลับเยื้องกันเล็กน้อย รูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง ๒.๕-๙ ซม. ยาว ๔.๕-๒๒ ซม. ใบล่างมีขนาดเล็กกว่า ปลายเว้าหรือมนและมีติ่งแหลมสั้น โคนเบี้ยวหรือมน ขอบเรียบหรือหยักไม่เป็นระเบียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล่างมีขนค่อนข้างแข็งถึงเกือบเกลี้ยง ไม่มีตุ่มใบ เส้นแขนงใบข้างละ ๖-๑๕ เส้น เส้นใบแบบร่างแหเห็นไม่ชัด ก้านใบย่อยสั้นมาก

 ดอกแยกเพศต่างต้นหรือร่วมช่อร่วมต้น ช่อดอกคล้ายช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบและซอกใบใกล้ยอด ดูรวมกันหลาย ๆ ช่อคล้ายออกที่ยอด มักเป็นช่อเดี่ยวยาวหรือเป็นช่อสั้นหลายช่อรวมกันเป็นกลุ่ม ช่อยาวได้ถึง ๑๕ ซม. ดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย ปลายแยกเป็น ๔-๕ แฉก รูปไข่ถึงรูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายมนถึงแหลมยาวประมาณ ๑.๕ มม. มีขนประปรายทั้ง ๒ ด้าน ขอบมีขนครุย ไม่มีกลีบดอก จานฐานดอกรูปวงแหวน ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ ๕-๙ เกสร ก้านชูอับเรณูยาวได้ถึง ๒ มม. สีเขียวอมเหลืองอ่อน มีขน อับเรณูรูปรีกว้าง ยาวประมาณ ๑ มม. สีเหลือง เกลี้ยง เกสรเพศผู้ยื่นพ้นกลีบเลี้ยง รังไข่มีขนาดเล็กมาก ดอกเพศเมียมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ทรงรูปไข่แกมรูปทรงสามเหลี่ยม ยาว ๑.๓ มม. มีขนแข็ง มี ๒-๔ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียค่อนข้างหนา ยาว ๑.๓-๑.๕ มม. ค่อนข้างเกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียโค้ง

 ผลคล้ายผลแห้งไม่แตก เมื่อแก่ผนังผลแข็งและสีเหลือง ผิวเกลี้ยงหรือขรุขระเล็กน้อย ถ้ามีเมล็ด ๑ เมล็ด ผลทรงรูปไข่กว้างถึงรูปทรงค่อนข้างกลม กว้างประมาณ ๑.๓ ซม. ยาวประมาณ ๑.๕ ซม. ถ้ามีเมล็ด ๒ เมล็ด กิ่งและผล กิ่งและผล


ผลจะมีรูปทรงค่อนข้างแบนเป็นรูปรีตามขวาง ไม่เป็นพูเมล็ดรูปทรงค่อนข้างกลม สีน้ำตาลเข้ม ยาวประมาณ ๑ ซม. มี ๑-๒ เมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นเนื้อสีเหลืองฉ่ำน้ำรสเปรี้ยว

 ตะคร้อมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๓๐๐-๑,๒๐๐ ม. ออกดอกเดือนมกราคมถึงเมษายน เป็นผลเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม ผลัดใบระยะสั้น ๆ ๒-๓ วัน ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีน และอินโดนีเซีย

 ประโยชน์ เป็นไม้ทนไฟ เมล็ดเป็นอาหารสัตว์และนก เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างและให้ถ่านคุณภาพดี เปลือกให้สีย้อมและเป็นยา ใบอ่อนสีแดง กินเป็นผัก และเยื่อหุ้มเมล็ดกินได้ น้ำมันจากเมล็ดใช้ทำยา.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ตะคร้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Schleichera oleosa (Lour.) Oken
ชื่อสกุล
Schleichera
คำระบุชนิด
oleosa
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Loureiro, João de
- Oken, Lorenz
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Loureiro, João de (1717-1791)
- Oken, Lorenz (1779-1851)
ชื่ออื่น ๆ
กาซ้อ, คุ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); กาซ้อง; ค้อ (กาญจนบุรี); คอสัม (เลย); เคาะ (นครพนม, พิษณุโลก); เค
ผู้เขียนคำอธิบาย
รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา