เกล็ดปลาช่อน

Phyllodium pulchellum (L.) Desv.

ชื่ออื่น ๆ
เกล็ดลิ่นใหญ่ (นครราชสีมา); ลิ่นต้น, หญ้าสองปล้อง (กลาง); ลูกหนีบต้น (ปราจีนบุรี); หญ้าเกล็ดลิ่น (เห
ไม้พุ่ม ใบประดับค่อนข้างหนา ใบย่อยใบกลางรูปไข่ รูปไข่กลับถึงรูปรี ยาวกว่าใบย่อยคู่ข้างประมาณ ๒ เท่า ช่อดอกออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ใบประดับรูปไข่กว้างถึง ค่อนข้างกลม ดอกรูปดอกถั่ว ฝักแบน คอดเป็นข้อ มีเพียง ๒ ข้อ

เกล็ดปลาช่อนเป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง ๒.๕ ม. ลักษณะทั่วไปคล้ายกับเกล็ดปลา ต่างกันที่แผ่นใบและใบประดับค่อนข้างหนากว่า ใบย่อยใบกลางรูปไข่ รูปไข่กลับถึงรูปรี ยาวกว่าใบย่อยคู่ ข้างประมาณ ๒ เท่า หรือมากกว่า ๒ เท่าเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ ๖-๑๐ เส้น

 ช่อดอกออกตามง่ามใบและปลายกิ่งใบประดับรูปไข่กว้างถึงค่อนข้างกลม กว้าง ๐.๕-๑ ซม. ยาว ๑-๑.๕ ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ ๓ มม. กลีบกลางกว้าง ๓-๔ มม. ยาว ๕-๖ มม.

 ฝักแบน กว้างประมาณ ๔ มม. ยาว ๐.๗-๑ ซม. คอดเป็นข้อระหว่างเมล็ด มีเพียง ๒ ข้อ

 เกล็ดปลาช่อนมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค ขึ้นตามชายป่า บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ ๑,๓๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่จีน ไต้หวัน อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย จนถึงทวีป ออสเตรเลียตอนเหนือ.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
เกล็ดปลาช่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Phyllodium pulchellum (L.) Desv.
ชื่ออื่น ๆ
เกล็ดลิ่นใหญ่ (นครราชสีมา); ลิ่นต้น, หญ้าสองปล้อง (กลาง); ลูกหนีบต้น (ปราจีนบุรี); หญ้าเกล็ดลิ่น (เห
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ชวลิต นิยมธรรม