กูดหางไก่

Sphenomeris chinensis (L.) Maxon var. divaricata (H.Christ) Kramer

ชื่ออื่น ๆ
กูดแดง (เลย), กูดย่อย (เชียงใหม่)
เฟิร์นขึ้นบนดินบริเวณที่ได้รับแสง เหง้าสั้น ทอดขนานใบประกอบแบบขนนกสามถึงสี่ชั้น ใบย่อยชั้นที่ ๑ รูปกึ่งสามเหลี่ยม ปลายสอบแหลมถึงเรียวแหลม โคนสอบแหลมมีก้านใบ แผ่นใบหนา กลุ่มอับสปอร์กว้างประมาณ ๑ มม. เมื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ติดที่ฐาน

กูดหางไก่เป็นเฟิร์น เหง้าสั้น ทอดขนาน มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดแคบ ยาวประมาณ ๒ มม. ดูคล้ายขนแข็ง

 ใบประกอบแบบขนนกสามถึงสี่ชั้น ออกรวมเป็นกระจุกรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง ๑๒-๑๕ ซม. ยาว ๒๐-๖๐ ซม. ก้านใบสีเขียวเมื่อยังอ่อน และจะเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบแก่ ยาว ๕-๓๕ ซม. มีร่องตามยาวทางด้านใกล้แกนตอนบน

 ใบย่อยทุกชั้นเรียงสลับ ชั้นที่ ๑ รูปกึ่งสามเหลี่ยม ปลายสอบแหลมถึงเรียวแหลม โคนสอบแหลม มีก้านใบ แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นใบมักมี ๒-๓ เส้น แต่เห็นไม่ชัดเจน กลุ่มอับสปอร์อยู่ที่ปลายแฉกบนเส้นใบย่อยหรือที่กลุ่มของปลายเส้นใบที่ยื่นเข้าไปในแต่ละแฉก กลุ่มอับสปอร์กว้างประมาณ ๑ มม. เมื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ติดอยู่ที่ฐาน ขอบหยักซี่ฟันเล็ก ๆ

 กูดหางไก่มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค ขึ้นริมลำธารบริเวณที่ได้รับแสง บนพื้นที่ระดับต่ำถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑,๕๐๐ ม. ในต่างประเทศพบแถบตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กูดหางไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sphenomeris chinensis (L.) Maxon var. divaricata (H.Christ) Kramer
ชื่อสกุล
Sphenomeris
คำระบุชนิด
chinensis
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Linnaeus, Carl von
- Maxon, William Ralph
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
var. divaricata
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- (H.Christ) Kramer
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Linnaeus, Carl von (1707-1778)
- Maxon, William Ralph (1877-1948)
ชื่ออื่น ๆ
กูดแดง (เลย), กูดย่อย (เชียงใหม่)
ผู้เขียนคำอธิบาย
รศ. ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด