กูดปิ้ด

Dicranopteris linearis (Burm.f.) Underw. var. linearis

ชื่ออื่น ๆ
กิ๊กุกะเจ้ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); กือแก, รือแซ (มลายู-นราธิวาส); กูดแต้ม (นราธิวาส); กูดหมึก (เชีย
เฟิร์นขึ้นบนดินตามไหล่เขา เหง้าทอดขนานยาว ใบประกอบแบบขนนก แกนกลางแยกสาขาเป็นคู่ ๒-๓ ครั้ง ตาที่ยอดมีหูใบ ๑ คู่ สาขาที่ ๓ แยกเป็นคู่ ทำมุมประมาณ ๖๐ องศาต่อกัน ขอบหยักเป็นแฉกลึกเกือบถึงแกน แฉกรูปแถบ กว้างประมาณ ๔ มม. ปลายมน ขอบเรียบ แผ่นใบเหนียวแข็ง เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ ๑-๓ ครั้ง มีขน กลุ่มอับสปอร์กลม เรียงตัวอยู่บนเส้นใบ เห็นเป็น ๒ แถวอยู่ ๒ ข้างเส้นกลางแฉก

กูดปิ้ดเป็นเฟิร์น เหง้าทอดยาว มีขนสีแดง

 ใบประกอบแบบขนนก แกนกลางแยกสาขาเป็นคู่ ๒-๓ ครั้ง ตาที่ยอดมีหูใบ ๑ คู่ สาขาของแกนกลางที่ ๑ และที่ ๒ มักหยุดเจริญเติบโตเมื่อมีความยาว ๑ ปล้อง สาขาที่ ๓ แยก เป็นคู่ขนาดใกล้เคียงกัน ทำมุมประมาณ ๖๐ องศา ต่อกันซึ่งจะมีขนาดต่างกัน กว้าง ๔-๗ ซม. ยาว ๑๕-๓๐ ซม. หยักเป็นแฉกลึกเกือบถึงแกน แฉกรูปแถบ กว้างประมาณ ๔ มม. ปลายมน ขอบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างแข็ง มีนวลทางด้านล่าง มีขนประปราย เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ ๑-๓ ครั้ง เห็นได้ชัดทางด้านล่าง มีขน ก้านใบสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแดง เป็นมันตั้งขึ้นเว้นระยะห่างใกล้เคียงกัน มีความยาวต่างกัน กลุ่มอับสปอร์กลม เรียงอยู่บนเส้นใบเห็นเป็น ๒ แถวอยู่ ๒ ช้างเส้นกลางแฉก ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์

 กูดปิ้ดมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคขึ้นกลางแจ้งหรือตามชายป่า บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑,๓๐๐ ม. เป็นพืชที่ช่วยคลุมดิน


ป้องกันการกัดเซาะของหน้าดินได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ก่อสร้างทางตัดผ่านภูเขา ในต่างประเทศพบบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกา.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กูดปิ้ด
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dicranopteris linearis (Burm.f.) Underw. var. linearis
ชื่อสกุล
Dicranopteris
คำระบุชนิด
linearis
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Burman, Nicolaas Laurens (Nicolaus Laurent)
- Underwood, Lucien Marcus
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
var. linearis
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- -
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Burman, Nicolaas Laurens (Nicolaus Laurent) (1734-1793)
- Underwood, Lucien Marcus (1853-1907)
ชื่ออื่น ๆ
กิ๊กุกะเจ้ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); กือแก, รือแซ (มลายู-นราธิวาส); กูดแต้ม (นราธิวาส); กูดหมึก (เชีย
ผู้เขียนคำอธิบาย
รศ. ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด