กูดงอแงเป็นเฟิร์น เหง้าสั้น ทอดขนานใต้ดิน มีเกล็ดสีน้ำตาลหนาแน่น
ใบประกอบแบบขนนกสองถึงสามชั้น ใบมีความยาวไม่จำกัด ก้านใบและแกนกลางเลื้อยพันต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้เคียงก้านใบสีน้ำตาลอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ มม. ยาวได้ถึง ๓๐ ซม. หรือมากกว่า ที่โคนมีเกล็ดและขนหนาแน่นตอนบนมีขนประปราย แกนกลางมีลักษณะเหมือนกับก้านใบตอนปลายแยกสาขา ๒ ครั้ง แกนกลางชั้นที่ ๑ ยาว ๐.๓-๑.๕ ซม. มีขนหนาแน่น แกนกลางชั้นที่ ๒ แผ่เป็นปีกเห็นได้ชัดเจน ด้านบนมีเกล็ดหนาแน่น ด้านล่างมีขนประปราย แยกสาขาจากแกนกลางชั้นที่ ๑ แบบขนนก และแยกสาขาเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีโครงร่างรูปสามเหลี่ยมหรือค่อนข้างกลม แต่ละสาขายาวได้ถึง ๒๐ ซม. ใบย่อยคู่ล่างมี
กูดงอแงมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคขึ้นในทุ่งหญ้าหรือตามไหล่เขาในป่าเบญจพรรณ บนพื้นที่ระดับต่ำจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑,๓๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย.