กูดขน

Lycopodium clavatum L.

ชื่ออื่น ๆ
สามร้อยยอด (นครศรีธรรมราช)
กูดขนเป็นพืชใกล้เคียงเฟิร์น ชั้นบนดินตามยอดเขา มีเหง้าทอดขนานยาว และแตกกิ่งเป็นคู่ ๒-๓ ครั้ง ใบมีขนาดเล็ก ใบไม่สร้างอับสปอร์แนบติดกับลำต้น รูปแถบหรือรูปแถบแกมรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม แผ่นใบสีเขียวหรือเขียวอมเหลือง ใบสร้างอับสปอร์เกิดเป็นกลุ่มรูปทรงกระบอกตั้งตรงที่ปลายยอด ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายเรียวแหลมอับสปอร์อยู่เดี่ยว ๆ ตามซอกใบ

กูดขนเป็นพืชใกล้เคียงเฟิร์น เหง้าทอดขนานยาวไปตามดิน แตกสาขาเป็นคู่ ๒-๓ ครั้ง เฉียงหรือตั้งขึ้น มีใบปกคลุมหนาแน่น

 ใบเดี่ยว เส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๔ มม. ไม่มีก้านใบ มีรูปร่างต่างกัน ๒ แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์แนบติดกับลำต้นรูปแถบหรือรูปแถบแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ ๑ มม. ยาว ๔-๖ มม. ปลายเรียวแหลม ขอบเรียบ เส้นกลางใบไม่แยกสาขาแผ่นใบสีเขียวหรือเขียวอมเหลือง ใบสร้างอับสปอร์ออกเป็น


กลุ่มรูปทรงกระบอกตั้งตรงที่ปลายยอด เส้นผ่านศูนย์กลาง ๔-๕ มม. ยาว ๓-๘ ซม. ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้างประมาณ ๒ มม. ยาวประมาณ ๓ มม. ปลายเรียวแหลมขอบหยักซี่ฟัน อับสปอร์อยู่เดี่ยว ๆ ตามซอกใบ สร้างอับสปอร์ชนิดเดียว

 กูดขนมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ขึ้นบนดินหรือกลางแจ้งในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๓๐๐-๒,๕๐๐ ม. ในต่างประเทศพบทั่วไปทั้งในเขตศูนย์สูตรและเขตอบอุ่นของโลก.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กูดขน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lycopodium clavatum L.
ชื่อสกุล
Lycopodium
คำระบุชนิด
clavatum
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Linnaeus, Carl von
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1707-1778)
ชื่ออื่น ๆ
สามร้อยยอด (นครศรีธรรมราช)
ผู้เขียนคำอธิบาย
รศ. ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด