กาโป้

Polyalthia socia Craib

ชื่อเรียกพรรณไม้หลายชนิด หลายสกุล ในหลายวงศ์ที่อาศัยเกาะดูดน้ำ แร่ธาตุ หรือสารอาหารที่สังเคราะห์แล้วจากพรรณไม้อื่น

ส่วนใหญ่มักใช้เรียกไม้พุ่มที่อาศัยเกาะเบียนไม้ต้นชนิดต่าง ๆ ในวงศ์ Loranthaceae, Santhalaceae และ Viscaceae และเรียกชื่อของกาฝากตามชื่อของพืชให้อาศัยที่เกาะเบียนอยู่ เช่น กาฝากมะม่วง กาฝาก มะปราง กาฝากฝรั่ง กาฝากมะนาว ในจำนวนนี้ กาฝากมะม่วง [Dendrophthoe pentandra (L.) Miq.] วงศ์ Loranthaceae แพร่กระจายพันธุ์มาก เกาะเบียนไม้ผลและไม้ต้นอื่น เช่น หว้าประดู่ โมก ยางพารา, กาฝากก่อดำ [Dufrenoya sessilis (Craib) Stapf] วงศ์ Santalaceae เกาะเบียนก่อดำและไม้ต้นชนิดอื่น, กาฝากตีนปู (Viscum articulatum Burm.f.) วงศ์ Viscaceae เกาะเบียนไม้ต้นอื่นและกาฝากชนิดอื่นด้วย

 กาฝากในวงศ์ Loranthaceae บางชนิดเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น เช่น ประทัดทอง [MacroSolen avenis (Blume) Danser] ประทัดนวล [M. cochinchinensis (Lour.) Tiegh.] ประทัดเหลือง [M. platyphyllus (King) Danser] ฉะนั้น กาฝากจึงรวมถึงไม้ต้น ไม้พุ่ม ที่สร้างปมกาฝากตามต้นให้อาศัย ใช้เกาะเบียนน้ำ แร่ธาตุ หรือสารอาหารที่พืชอื่นสังเคราะห์ขึ้น

 นอกจากจะมีปมกาฝากดังที่กล่าวมาแล้ว กาฝากยังมี ลักษณะเด่นอย่างอื่นอีก เช่น กิ่งและใบอวบหนาและกรอบมากใบสีเขียวแกมน้ำเงิน เขียวแกมเหลือง หรือเหลือง เส้นใบไม่เด่นชัด

 เมล็ดกาฝากมียางเหนียว ทำให้ยึดเกาะติดกิ่งของพืชให้อาศัยก่อนที่รากแรกเกิดจะงอกและสร้างปมกาฝาก กาฝากชนิดที่เกาะตามกิ่งของพืชให้อาศัยนี้มักอาศัยนกเป็นพาหะในการแพร่กระจายพันธุ์

 กาฝากในประเทศไทยมี ๓ วงศ์ คือ

 วงศ์ Loranthaceae ได้แก่ สกุล Amyema, Amylotheca, Dendrophthoe, Elytranthe, Helixanthera, Hyphear, Lepidella, Macrosolen, Scurrula และ Taxillus

 วงศ์ Santalaceae ได้แก่ สกุล Dendrotrophe, Dufrenoya และ Phacellaria

 วงศ์ Viscaceae ได้แก่ สกุล Ginalloa, Korthalsella, Notothixos และ Viscum

 กาฝากมีประโยชน์ไม่มากนัก มีกาฝากบางชนิดเท่านั้นที่นำมาใช้ประโยชน์ เช่น กาฝากมะม่วง ใช้แก้ปัสสาวะเป็นเลือดและโรคเกี่ยวกับความดันโลหิต.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กาโป้
ชื่อวิทยาศาสตร์
Polyalthia socia Craib
ชื่อสกุล
Polyalthia
คำระบุชนิด
socia
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Craib, William Grant
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1882-1933)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ชวลิต นิยมธรรม