พืชเบียน ไม่สังเคราะห์แสง อาศัยเกาะกินน้ำเลี้ยงจากพืชอื่น ใบลดรูปเป็นเกล็ด ดอกแยกเพศต่างต้น สีแดงอม น้ำตาล กลีบรวมแยกเป็น ๑๖ แฉก รูปใบหอก ด้านบนมีขน ปลายแฉกเป็นรยางค์ยาวคล้ายหาง มีส่วนที่เป็น ข้องอ ลักษณะโดยรวมคล้ายตัวหนอน ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงกลม สุกสีดำ เมล็ดขนาดเล็ก
ดอกแมงกะพรุนเป็นพืชเบียน ไม่สังเคราะห์แสง อาศัยเกาะกินน้ำเลี้ยงจากพืชอื่น มักเกาะตามรากหรือโคน ลำต้นของพืชที่อาศัย ซึ่งมักเป็นพืชในสกุล Tetrastigma (Vitaceae)
ใบลดรูปเป็นเกล็ด ไม่มีสีเขียว
ดอกแยกเพศต่างต้น สีแดงอมน้ำตาล ดอกมัก อยู่ใกล้กันเป็นกลุ่ม ดอกตูมคล้ายทรงรูปไข่ เส้นผ่านศูนย์ กลาง ๑๔.๗-๒๐.๕ ซม. เมื่ออ่อนสีซีด เมื่อเจริญมากขึ้น ครึ่งบนของดอกตูมขอบกลีบรวมมีสีน้ำตาลแดง ส่วน บนสุดมักเป็นสีน้ำตาลทั้งหมด ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าน ศูนย์กลางวัดถึงปลายรยางค์ ๑๔.๓-๒๒ ซม. ใบประดับ ลักษณะเป็นเกล็ด เรียงเป็น ๓-๔ ชั้น ชั้นละ ๕ เกล็ด เรียงซ้อนเหลื่อมกัน รูปไข่ มีสีน้ำตาลเข้มเมื่อแก่ ขอบ เรียบ ด้านในโค้งเป็นแอ่ง กลีบรวมโคนเชื่อมกันเป็นรูป ระฆังกว้าง ด้านบนมีแถบสีน้ำตาลโดยรอบตามแนวรัศมี ปลายกลีบรวมแยกเป็น ๑๖ แฉก รูปใบหอก กว้าง ๐.๙- ๒ ซม. ยาว ๕.๘-๙ ซม. ขอบแฉกเรียงจดกันในดอกตูม ปลายแฉกเป็นรยางค์ยาวคล้ายหาง มีส่วนที่เป็นข้องอ ลักษณะโดยรวมคล้ายตัวหนอน ในดอกตูมรยางค์นี้จะ พับเข้าด้านใน โดยมีปลายซ่อนอยู่ภายในหลอดเส้าเกสร ตรงกลางดอกกลีบรวมเมื่อเจริญเต็มที่โดยรวมมีสีน้ำตาล เข้ม โคนสีเหลืองซีด ปลายสีเหลืองถึงสีน้ำตาลซีด มีสี ชมพูประปราย ขอบครึ่งบนสีแดงอมน้ำตาล ด้านบนมี ขนหลายแบบและหลายขนาด จากโคนกลีบจนถึงเลย กึ่งกลางกลีบมีขนสั้นหยิกคล้ายขนสัตว์ ถัดค่อนไปทาง ปลายมีขนยาวตรงเป็นกระจุก ถัดจากนั้นจนถึงจุดที่เป็น ข้องอเป็นบริเวณที่มีขนสั้น ส่วนปลายสุดถัดจากจุดที่เป็น ข้องอเป็นรยางค์ยาวคล้ายหาง เกลี้ยง ตรงกลางดอกมี หลอดเส้าเกสรลักษณะเป็นแท่งยื่นขึ้นมา ส่วนปลาย กลมเป็นกระเปาะ ลักษณะแตกต่างกันตามเพศของดอก ในดอกเพศผู้ส่วนปลายหลอดเส้าเกสรที่กลมเป็นกระเปาะ มีขนาดเล็กกว่าในดอกเพศเมีย ก้านยอดเกสรเพศเมีย แคบกว่า ส่วนที่เป็นรยางค์ยาวคล้ า ยหางมีขนาดยาวกว่ า ส่วนที่เป็นคอคอดใต้ส่วนที่กลมเป็นกระเปาะแคบกว่า ดอกเพศผู้ปลายกลีบรวมมีรยางค์ยาวคล้ายหาง สีน้ำตาล แดง ยาว ๒.๕-๕.๑ ซม. ตรงกลางมีหลอดเส้าเกสรเพศผู้ สีเหลืองซีด ยาว ๑.๓-๑.๖ ซม. ส่วนปลายกลมเป็น กระเปาะ สูง ๐.๗-๑ ซม. ผนังกระเปาะหนา ๔-๗ มม. สีน้ำตาลแดง เส้นผ่านศูนย์กลางกระเปาะ ๑.๓-๑.๗ ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางของช่องเปิดกระเปาะที่ส่วนปลาย ๐.๗-๑.๑ ซม. ความลึกของช่องเปิดกระเปาะ ๑.๑-๑.๗ ซม. ผิวด้านนอกส่วนบนของกระเปาะมีขนยาว ๓-๖ มม. ด้ า นในมีขนสั้นถึงเกลี้ยงสีน้ำตาลอมเหลือง เกสรเพศผู้ ๓๑-๕๒ เกสร เรียงซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น อับเรณูเรียงกัน เป็นรูปวงแหวนรอบหลอดเส้าเกสร เป็นแถบกว้าง ๓-๔ มม. เกสรเพศเมียเป็นหมัน มีก้านยอดเกสรเพศเมียยาว ๕-๗ มม. ดอกเพศเมียปลายกลีบรวมมีรยางค์คล้ายหาง สีน้ำตาลแดง ยาว ๒-๓.๘ ซม. ตรงกลางมีหลอดเส้า เกสรเพศเมียสีเหลืองซีด ยาว ๑.๘-๒.๒ ซม. ส่วนปลาย กลมเป็นกระเปาะ สูง ๑.๓-๑.๖ ซม. ผนังกระเปาะหนา ๖.๕-๘.๕ มม. สีน้ำตาลแดง เส้นผ่านศูนย์กลางกระเปาะ ๑.๖-๒ ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางของช่องเปิดกระเปาะที่ ส่วนปลาย ๐.๙-๑.๑ ซม. ความลึกของช่องเปิดกระเปาะ ๐.๘-๑ ซม. ผิวด้านนอกและด้านในส่วนบนของกระเปาะ มีขนเหมือนในดอกเพศผู้ ก้านเกสรเพศเมียยาว ๔.๕- ๖ ซม. รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแถบ กว้าง ๖.๕-๙.๕ มม.
ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงกลม สุกสีดำ มีส่วนของกลีบรวม หลอดเส้าเกสร และใบประดับ ติดอยู่ เมล็ดขนาดเล็ก ผนังเปลือกชั้นนอกแข็ง หนา และ บุ๋ม
ดอกแมงกะพรุนมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทางภาคใต้ พบตามป่าดิบชื้น ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเล ถึงประมาณ ๔๕๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนมกราคม ถึงเมษายน ในต่างประเทศพบที่มาเลเซียตะวันตกและ เกาะสุมาตรา.