ไม้พุ่ม กิ่งอ่อนมีขนสั้นประปราย กิ่งแก่เกลี้ยงถึงเกือบเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี รูปขอบขนาน รูปไข่ หรือ รูปไข่กลับ ใบอ่อนสีแดง ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามกิ่งใกล้ปลายยอด ใบประดับรูปร่างคล้ายใบ ดอกสีขาว ห้อยลง ผลแบบผลแห้งแตกตามรอยประสานเฉพาะส่วนปลาย รูปทรงค่อนข้างกลม รอยประสานมีขอบหนา และสีอ่อน มีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก
ดอกใต้ใบเป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๒ ม. กิ่งรูปค่อนข้าง ทรงกระบอก กิ่งอ่อนมีขนสั้นประปราย กิ่งแก่เกลี้ยงถึง เกือบเกลี้ยง เปลือกมักปริแตก ล่อนเป็นแผ่นบาง ยอดอ่อน รูปไข่ กว้าง ๑-๔ มม. ยาว ๑-๖ มม. ผิวเกลี้ยง เป็นมัน
ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี รูปขอบขนาน รูปไข่ หรือ รูปไข่กลับ กว้าง ๑.๔-๓.๓ ซม. ยาว ๒.๕-๖ ซม. ปลาย แหลมและมีต่อมที่ปลาย โคนสอบ มน ถึงตัด ขอบเรียบ และเป็นสันตามขอบด้านล่าง แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ถึงกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบมีเกล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาล กระจายทั่วไป ด้านล่างหนาแน่นกว่า เส้นกลางใบเป็นร่อง ทางด้านบน เส้นแขนงใบข้างละ ๓-๖ เส้น เส้นใบย่อยแบบ ร่างแห ก้านใบยาว ๒-๘ มม. เป็นร่องทางด้านบน มีขน สั้นประปราย ใบอ่อนสีแดง
ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามกิ่งใกล้ปลายยอด ช่อยาว ๓-๘ ซม. ก้านและแกนช่อดอกมีขนสั้นสีขาว ค่อนข้างหนาแน่น มีเกล็ดสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ใบประดับ ใบที่ ๑-๕ จากส่วนโคนก้านช่อดอกรูปร่างคล้ายใบ ยาว ได้ถึง ๓.๕ ซม. ส่วนใบประดับที่ปลายช่อดอกมีขนาดเล็ก ก้านดอกยาว ๕-๘ มม. มีขนสั้น ดอกสีขาว ในแต่ละช่อมี ๑๐-๓๐ ดอก ห้อยลง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง ๐.๘- ๑.๕ มม. ยาว ๒.๕-๔ มม. มีขนและเกล็ดประปรายทั้ง ๒ ด้าน ขอบกลีบเรียบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูป โถ กว้าง ๓-๕ มม. ยาว ๐.๗-๑.๑ ซม. ด้านนอกเป็นสัน เล็กน้อย ๕ สัน ปลายกลีบแยกเป็น ๕ แฉก รูปสามเหลี่ยม กว้างและยาว ๑.๕-๑.๙ มม. ปลายแหลมและโค้งออก มีขนสั้นประปรายทางด้านนอก ด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร ติดที่โคนหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาว ๕- ๖ มม. ที่ปลายก้านมีเดือย ๒ อัน ยาวประมาณ ๐.๕ มม. อับเรณูแตกเป็นช่องที่ปลาย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ทรง รูปไข่ กว้างประมาณ ๑.๕ มม. ยาวประมาณ ๒ มม. ผิว เกลี้ยง เป็นสัน ๕ สัน มี ๕ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวน มาก ก้านยอดเกสรเพศเมียยาว ๔.๕-๕.๕ มม. ยอดเกสร เพศเมียมน
ผลแบบผลแห้งแตกตามรอยประสานเฉพาะ ส่วนปลาย รูปทรงค่อนข้างกลม กว้าง ๓-๔.๕ มม. ยาว ๒.๕-๔ มม. รอยประสานมีขอบหนาและสีอ่อน มีกลีบ เลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก
ดอกใต้ใบเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย มีเขต การกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบขึ้น ตามป่าละเมาะบนภูเขาที่สูงจากระดับทะเล ๑,๐๐๐- ๑,๖๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนพฤศจิกายนถึง พฤษภาคม.