แจงเป็นไม้ต้น สูง ๕-๑๐ ม. บางครั้งพบเป็นไม้พุ่ม กิ่งก้านเกลี้ยง
ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ มีใบย่อย ๓ ใบ บางครั้งพบมี ๔ ใบ ก้านใบประกอบเล็กเรียว ยาว ๑.๕-๖.๕ ซม. ใบย่อยรูปไข่กลับ รูปขอบขนานหรือรูปแถบ กว้าง ๑-๓ ซม. ยาว ๕-๗ ซม. ปลายเว้าตื้นหรือมน มีติ่งหนาม โคนรูปลิ่มหรือมน แผ่นใบค่อนข้างหนาเส้นใบเห็นไม่ชัด เส้นใบย่อยแบบร่างแหละเอียด ไม่มีก้านใบย่อยหรือก้านสั้นมาก
ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่นหรือช่อกระจะสั้น ออกที่ปลายยอดหรือตามซอกใบ บางครั้งออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบตอนบน ดอกสีเขียวอมเหลืองอ่อน ก้านดอกยาว ๑.๕-๕.๕ ซม. ใบประดับรูปแถบ ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กว้าง ๒-๓ มม. ยาว ๐.๗-๑ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนติดกันหรือแยกเป็นอิสระ ขอบกลีบมีขนยาวนุ่ม ไม่มีกลีบดอก จานฐานดอกเป็นวง แบน ขอบหยัก ก้านชูเกสรร่วมสั้น เกสรเพศผู้ ๙-๑๒ เกสร ก้านชูอับเรณูยาว ๑-๑.๕ ซม. อับเรณูรูปขอบขนาน ยาว
ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงรีหรือทรงกลม กว้าง ๑.๓-๑.๕ ซม. ยาว ๒-๒.๕ ซม. ก้านผลเล็กเรียว ยาว ๔.๕-๗.๕ ซม. เมล็ดเล็ก รูปไต มี ๑-๓ เมล็ด
แจงมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่ว
ประโยชน์ รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ไข้ ใบใช้สีฟันทำให้ฟันแข็งแรง.