ไม้กึ่งพุ่มขนาดเล็ก กิ่งทอดเลื้อยหรือห้อยลง ปลายมีกลุ่มของหูใบและรอยแผลของกิ่งที่หลุดไป ใบเดี่ยว เรียง สลับระนาบเดียว รูปไข่ถึงรูปสามเหลี่ยม ดอกแยกเพศร่วมต้น ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามกิ่งและลำต้น ดอกเล็ก สีน้ำตาลอมแดงถึงสีม่วงเข้ม ไม่มีกลีบดอกและจานฐานดอก ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกลม ปลายมี ส่วนของยอดเกสรเพศเมียติดทน เมล็ดขนาดเล็ก ไม่มีเยื่อหุ้ม
ดอกใต้ต้นเป็นไม้กึ่งพุ่มขนาดเล็ก สูงได้ถึง ๕๐ ซม. กิ่งรูปทรงกระบอกเล็ก ทอดเลื้อยหรือห้อยลง เกลี้ยง ปลายมีกลุ่มของหูใบและรอยแผลของกิ่งที่หลุดไป
ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่ถึงรูป สามเหลี่ยม กว้าง ๒.๖-๔.๖ ซม. ยาว ๓.๗-๗.๓ ซม. ปลายแหลม มักมีติ่งเล็ก โคนตัด ขอบเรียบหรือม้วนเข้า เล็กน้อย แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เส้นแขนงใบข้างละ ๖-๙ เส้น เห็นไม่ชัด ก้านใบยาว ๒-๓ มม. แบนด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยม ที่โคนเป็นติ่งหู กว้าง ๒-๓.๕ มม. ยาว ๒.๒-๓.๕ มม. โค้ง แข็ง หักง่าย
ดอกแยกเพศร่วมต้น ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามกิ่งและลำต้น เป็นช่อเดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่ม มีหลาย ช่อยาวได้ถึง ๑๑ ซม. ไม่แตกแขนง แต่ละช่อมีดอกเพศผู้ หลายดอกและดอกเพศเมีย ๑ ดอก ดอกเล็ก สีน้ำตาลอมแดงถึงสีม่วงเข้ม ไม่มีกลีบดอกและจานฐานดอก ดอกเพศ ผู้ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๖-๒.๓ มม. ก้านดอกยาว ๕.๕- ๖ มม. กลีบเลี้ยงแบน จักเป็นพูไม่ชัด กว้าง ๐.๕-๑.๕ มม. ยาว ๐.๒-๐.๔ มม. มีเกล็ด เกสรเพศผู้ ๓ เกสร โคน เชื่อมติดกันเป็นก้านชูเกสรเพศผู้ ยาวประมาณ ๐.๓ มม. อับเรณูกว้างประมาณ ๐.๕ มม. ยาว ๐.๒-๐.๔ มม. มี ๔ ช่อง ไม่มีเกสรเพศเมียเป็นหมัน ดอกเพศเมียมีเส้นผ่าน ศูนย์กลาง ๓-๔ มม. ก้านดอกยาวประมาณ ๑ มม. พู กลีบเลี้ยงรูปไข่ถึงรูปกลม กว้าง ๑-๑.๖ มม. ยาว ๑.๒- ๑.๖ มม. เนื้อหนา แผ่กว้าง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูประฆัง กว้าง กว้าง ๑.๑-๑.๗ มม. ยาว ๑.๒-๑.๖ มม. มี ๓ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๒ เม็ด ไม่มีก้านยอดเกสรเพศเมีย ยอด เกสรเพศเมียมี ๓ เส้น แต่ละเส้นปลายแยกเป็น ๒ แฉก แบนแนบกับรังไข่ ติดทน
ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์ กลางประมาณ ๕ มม. สีน้ำตาลอมเขียว ปลายมีส่วนของ ยอดเกสรเพศเมียติดทน เมล็ดขนาดเล็ก ไม่มีเยื่อหุ้ม
ดอกใต้ต้นเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวและหายากของ ประเทศไทย พบทางภาคเหนือตามเขาหินปูน ที่สูงตั้งแต่ ใกล้ระดับทะเลถึงประมาณ ๑,๔๐๐ ม. ออกดอกและเป็น ผลเกือบตลอดปี