กะทกรก ๑

Passiflora foetida L.

ชื่ออื่น ๆ
กระโปรงทอง (ใต้); เคือขนตาช้าง (ศรีสะเกษ); ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี); เถาสิงโต, เถาเงาะ (ชัยนาท); ผักแคบฝร
ไม้เถา มีมือเกาะช่วยพยุงลำต้น ใบเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปคล้ายหัวใจ ดอกสีขาว ออกตามง่ามใบ มีใบประดับเป็นฝอยรองรับและมีต่อมที่ปลายขน ผลค่อนข้างกลม แก่จัดสีเหลืองอมส้ม เมล็ดมีเยื่อหุ้ม

กะทกรกชนิดนี้เป็นไม้เถาเนื้ออ่อน มีมือเกาะใบเรียงสลับรูปไข่หรือรูปคล้ายหัวใจ แผ่นใบเว้าเป็น ๓ หยัก มีขน ใบประดับเป็นฝอย มีต่อมอยู่ที่ปลาย

 ดอกเดี่ยว ออกที่ง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาว มีกะบังรอบเป็นเส้นฝอยสีขาวโคนสีม่วงเรียงกันเป็นรัศมี มีเกสรเพศผู้ ๕ อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๓ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก

 ผลค่อนข้างกลม มีใบประดับหุ้ม เมื่อยังอ่อนสีเขียว สุกแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะคล้ายเมล็ดแมงลักแช่น้ำ รสหวานปะแล่ม ๆ ทุกส่วนของพืชนี้เมื่อขยี้หรือทำให้ช้ำจะมีกลิ่นเหม็นเขียว

 กะทกรกเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเขตร้อนปัจจุบันได้แพร่ขยายพันธุ์ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ที่มีอากาศร้อนมีการนำพืชชนิดนี้มาปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมักเนื่องจากมีกลิ่นเหม็นเขียวจึงป้องกันไม่ให้สัตว์มาทำลายได้

 ผลอ่อนเป็นพิษเพราะมี cyanogenetic glucoside ยอดอ่อนต้มกินได้ เปลือกผล เมล็ด และใบมีสารที่ไม่คงตัว เมื่อสารนี้สลายตัวจะให้ acetone และ hydrocyanic acid ซึ่งสารตัวหลังนี้เป็นสารพิษ ทำให้เม็ดโลหิตแดงขาดออกซิเจนผลทำให้เกิดการอาเจียน (Zaheer ed.,1966).

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กะทกรก ๑
ชื่อวิทยาศาสตร์
Passiflora foetida L.
ชื่อสกุล
Passiflora
คำระบุชนิด
foetida
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Linnaeus, Carl von
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1707-1778)
ชื่ออื่น ๆ
กระโปรงทอง (ใต้); เคือขนตาช้าง (ศรีสะเกษ); ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี); เถาสิงโต, เถาเงาะ (ชัยนาท); ผักแคบฝร
ผู้เขียนคำอธิบาย
ศ. ดร.พยอม ตันติวัฒน์