โคลงเดลงช้าง

Melastoma sanguineum Sims

ชื่ออื่น ๆ
กะดูดุ (มลายู); เบร้ช้าง, มังเคร่ขน, มังเคร่ช้าง, เมรีช้าง (ใต้)
ไม้พุ่ม กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม มีขนแข็งยาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก มีขนทั้ง ๒ ด้าน ช่อดอกแบบช่อกระจุก หรือเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบดอกสีม่วง ผลแบบผลแห้งแตก ทรงรูปไข่ มีเนื้อแข็งสีเหลือง เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก

โคลงเคลงช้างเป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๓(-๕) ม. กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม มีขนแข็ง ยาวได้ถึง ๘ มม.

 ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง ๒.๕-๔. ซม. ยาว ๘-๒๐ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ ด้านบนมีขนแข็งเอน ด้านล่างมีขนแข็งเอนหรือมีขนยาวประปราย พบน้อยที่เกลี้ยง เส้นโคนใบ ๕-๗ เส้น ก้านใบยาว ๐.๘-๒ ซม.

 ช่อดอกแบบช่อกระจุก หรือเป็นดอกเดี่ยว ออกตามชอกใบ มีดอกน้อย ใบประดับยาวได้ถึง ๑ ซม. ด้านนอกมีเกล็ดเล็ก ๆ ฐานดอกรูปถ้วย ยาว ๐.๙-๑.๕ ซม. ภายนอกมีขนแข็งสีแดงหนาแน่น ยาว ๐.๖-๑ ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกับฐานดอกเป็นรูปถ้วยตื้น ยาว ๑-๑.๕ ซม. ปลายแยกเป็น (๔-)๕(-๖) แฉก รูปสามเหลี่ยมถึงรูปแถบ ยาว ๐.๖-๑ ซม. กลีบดอกสีม่วง มี (๔-)๕(-๖) กลีบ รูปไข่กลับหรือเกือบกลม ยาว ๒-๔.๕ ซม. เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร พบน้อยที่มี ๘ หรือ ๑๒ เกสร รูปร่างต่างกัน มี ๒ แบบ อับเรณูของเกสรวงนอกสีม่วง ยาว ๑.๒-๑.๕ ซม. แกนอับเรณูยื่นมากและโค้ง ยาว ๑.๖-๑.๘ มม. อับเรณูของเกสรวงในยาวประมาณ ๑.๑ ซม. สีออกม่วงหรือสีเหลือง แกนอับเรณูยื่นสั้น รังไข่กิ่งใต้วงกลีบ มี ๕ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก บริเวณ ยอดมีขนแข็งสีทอง ก้านยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ ๒.๕ ซม. ยอดเกสรเพศเมียมนกลม

 ผลแบบผลแห้งแตก ทรงรูปไข่ ยาว ๑.๕-๒.๕ ซม. มีขนยาวหนาแน่น เมื่อแก่แตกตามยาวไม่เป็นระเบียบมีเนื้อแข็งสีเหลือง เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก

 โคลงเคลงช้างมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ พบขึ้นตามริมธารน้ำที่เป็นหินหรือทราย และชายป่าดิบแล้งที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับนํ้าทะเลถึงประมาณ ๑,๕๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่พม่า จีนตอนใต้ และภูมิภาคมาเลเซีย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
โคลงเดลงช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Melastoma sanguineum Sims
ชื่อสกุล
Melastoma
คำระบุชนิด
sanguineum
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Sims, John
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1749-1831)
ชื่ออื่น ๆ
กะดูดุ (มลายู); เบร้ช้าง, มังเคร่ขน, มังเคร่ช้าง, เมรีช้าง (ใต้)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางชุมศรี ชัยอนันต์