ดอกดินแดง

Aeginetia indica L.

ชื่ออื่น ๆ
ซอซวย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ปากจะเข้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ); สบแล้ง (สงขลา); หญ้าดอกขอ (เลย)

ไม้ล้มลุก เป็นพืชเบียนราก ไม่มีคลอโรฟิลล์ รากอวบมีเนื้อ แตกแขนงเล็ก ๆ ลำต้นสั้นมาก อาจแตกกิ่งหรือ ไม่แตกกิ่ง ไม่มีใบ ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด กระจุกละ ๓-๕ ดอก ดอกส่วนใหญ่สีม่วงแดง ผลแบบผลแห้งแตก รูปกรวยหรือทรงรูปไข่แกมรูปรียาว เมล็ดรูปทรงรี สีเหลืองอมเทา ขนาดเล็กเป็นผง ผิว ขรุขระ มีจำนวนมาก


     ดอกดินแดงเป็นไม้ล้มลุก สูง ๑๐-๓๕ ซม. พบ น้อยที่สูงได้ถึง ๕๐ ซม. เป็นพืชเบียนราก ไม่มีคลอโรฟิลล์ รากอวบมีเนื้อ แตกแขนงเล็ก ๆ ลำต้นสั้นมาก อาจแตก กิ่งหรือไม่แตกกิ่ง ไม่มีใบ

 


     ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด กระจุกละ ๓-๕ ดอก ดอกตูมรูปทรงรี ปลายเรียวแหลม ก้านดอกสีเหลือง สีน้ำตาลอ่อน หรือสีแดงถึงสีม่วงแดง มักมีลายเป็นทางสีแดง ตั้งขึ้น ยาว ๑๐-๓๐ ซม. พบน้อยที่ ยาวได้ถึง ๔๐ ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๔ มม. ใบประดับ คล้ายเกล็ด รูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม เรียงเวียนที่โคนก้าน ดอกหรือกระจุกดอก กว้าง ๐.๔-๑ ซม. ยาว ๐.๘-๑.๒ ซม. เกลี้ยง ปลายแหลม กลีบเลี้ยงสีม่วงอ่อนหรือสีชมพู พบ น้อยที่เป็นสีขาว เชื่อมติดกันเป็นรูปคล้ายเรือ ด้านหน้า แยกออกจนถึงโคน กว้าง ๑-๑.๕ ซม. ยาว ๒.๕-๔ ซม. มัก เป็นมันวาว ปลายแหลมหรือเรียวแหลม ตั้งขึ้นหรือโค้ง ลง กลีบดอกส่วนใหญ่สีม่วงแดง มักมีลายเป็นทางตาม ยาวเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆังเบี้ยวหรือรูปปากเปิด ไม่เด่นชัด ยาว ๒-๔.๕ ซม. หลอดกลีบดอกส่วนล่างเป็น หลอดแคบอยู่ภายในกลีบเลี้ยง โค้งเป็นข้องอเห็นชัด หลอดกลีบดอกส่วนบนกว้าง ส่วนที่โผล่พ้นเหนือกลีบเลี้ยง ยาว ๑.๕-๒ ซม. โค้งงอเล็กน้อยหรือค่อนข้างตรง ด้าน นอกมักมีสีม่วงถึงสีน้ำตาลออกแดง อาจพบมีสีขาว ปลาย แยกเป็น ๕ แฉก แยกเป็น ๒ ซีก เห็นไม่ค่อยชัด ซีกบน ๒ แฉก ซีกล่าง ๓ แฉก แฉกรูปเกือบกลม ยาว ๕-๘ มม. ขอบกึ่งเรียบ แผ่กางออกเล็กน้อย มักมีสีม่วงถึงสีน้ำตาล ออกแดงทั้ง ๒ ด้าน อาจพบบ้างที่ด้านนอกเป็นสีขาว ด้านในมีสีม่วงถึงสีน้ำตาลออกแดง ผิวด้านนอกเป็นมัน วาว เกสรเพศผู้ ๔ เกสร มี ๒ คู่ ยาวไม่เท่ากัน ติดอยู่ ภายในตรงบริเวณที่โค้งงอของหลอดกลีบดอก บริเวณ ที่ติดอยู่ไม่มีขน ก้านชูอับเรณูสีม่วง เรียว ยาว ๕-๙ มม. เกลี้ยง อับเรณูสีเหลือง ติดที่ฐานกึ่งติดด้านหลัง มี ๒ ช่อง ที่สมบูรณ์ ๑ ช่อง แตกเป็นช่องเปิดคล้ า ยรูเล็ก ๆ อีก ๑ ช่อง เป็นหมัน มักลดรูปเป็นเดือย รังไข่อยู่เหนือวง กลีบ รูปทรงรี กว้าง ๕-๗ มม. ยาวประมาณ ๑.๕ ซม. มี ๑ ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมียสี เหลืองหรือสีชมพูแกมสีขาว คล้ายรูปทรงกระบอก โค้ง ยาว ๑-๒ ซม. เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียกลมแป้นและ แบนคล้ายโล่ มีเนื้อ สีเหลืองอ่อนหรือสีชมพูแกมสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔ มม. อยู่ภายในหลอด กลีบดอก
     ผลแบบผลแห้งแตก แตกโดยการเน่าเปื่อยของ ผนัง รูปกรวยหรือทรงรูปไข่แกมรูปรียาว กว้าง ๑-๑.๕ ซม. ยาว ๒-๓ ซม. เมล็ดรูปทรงรี สีเหลืองอมเทา ขนาด เล็กเป็นผง ผิวขรุขระ มีจำนวนมาก

 

 


     ดอกดินแดงมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยเกือบทุกภาค พบตามป่าดิบเขา ป่าไผ่ ป่าเต็งรัง ป่าสน และป่าประเภทอื่น ๆ ตลอดจนตามริมทาง มักขึ้น เบียนกับพืชจำพวกหญ้าบนพื้นที่ที่เป็นหินแกรนิตหรือ หินปูน ที่สูงจากระดับทะเลได้ถึงประมาณ ๑,๖๐๐ ม.

 


     ออกดอกเดือนกันยายนถึงตุลาคม เป็นผลเดือนธันวาคม ถึงกุมภาพันธ์ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา เมียนมา จีน ญี่ปุ่น คาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

 


     ประโยชน์ ทั้งต้นบดผสมกับแป้งเพื่อทำขนม หรือบดเป็นผงใช้รักษาแผลในปาก ในนิวกินีใช้บรรเทา อาการปวดเข่า.

 

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดอกดินแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Aeginetia indica L.
ชื่อสกุล
Aeginetia
คำระบุชนิด
indica
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- L.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- L. ช่วงเวลาคือ (1707-1778)
ชื่ออื่น ๆ
ซอซวย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ปากจะเข้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ); สบแล้ง (สงขลา); หญ้าดอกขอ (เลย)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางปริญญนุช กลิ่นรัตน์
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.