เครือออน

Congea tomentosa Roxb.

ชื่ออื่น ๆ
กาไบ้ดง (เย้า); ค้างเบี้ย, เบี้ย (นครพนม); งวงชุม (เลย); จั่งบั่ง, ออนแดง (เชียงใหม่); ท้องปลิง (จัน
ไม้พุ่มรอเลื้อย ผลัดใบ ส่วนที่ยังอ่อนมีขนสั้นนุ่มใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปรี ผิวสากคายทั้ง ๒ ด้าน ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงออกตามปลายกิ่ง วงใบประดับเห็นชัด สีม่วงแดงหรือสีชมพูถึงสีขาว ดอกเล็ก สีขาว ผลแบบผลแห้งไม่แตก มีเมล็ดเดียว

เครือออนเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ ผลัดใบกิ่งและส่วนที่ยังอ่อนมีขนสั้นนุ่ม

 ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปรีกว้าง ๔-๕ ซม. ยาว ๖-๑๓ ซม. ปลายมนและปลายสุดเป็นติ่งแหลมสั้นหรือเรียวแหลม โคนมน ขอบเรียบแผ่นใบทั้ง ๒ ด้าน สากคาย เส้นแขนงใบข้างละ ๕-๙ เส้น เห็นชัดทางด้านล่าง ก้านใบยาว ๐.๕-๑ ซม. มีขน

 ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ช่อแขนงชั้นแรกออกตรงข้าม ช่อกระจุกแต่ละช่อมีก้านยาวได้ถึง ๒.๕ ซม. มีดอก ๖-๙ ดอก ไม่มีก้านวงใบประดับรองรับช่อกระจุกมี ๓ ใบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ใบประดับแต่ละใบรูปไข่กลับหรือรูปใบหอกกลับ กว้างประมาณ ๘ มม. ยาวได้ถึง ๒.๕ ซม. สีม่วงแดงหรือสีชมพูถึงสีขาว ด้านบนมีขนสั้นนุ่มเหมือนกำมะหยี่ ดอกเล็ก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก เป็นแฉกแหลม ๕ แฉก ยาว ๖-๗ มม. มีขนหนาแน่นติดทนจนเป็นผล กลีบดอกรูปปากเปิด สีขาวโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวเท่ากับหลอดกลีบเลี้ยง ซีกบนแยกเป็น ๒ แฉก และชีกล่างแยกเป็น ๓ แฉก เกสรเพศผู้ ๔ เกสร ยาว๒ เกสร สั้น ๒ เกสร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๒ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเพศเมียมี ๒ แฉก

 ผลแบบผลแห้งไม่แตก มีเมล็ดเดียวที่เจริญ

 เครือออนมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคพบขึ้นตามป่าดิบแล้งหรือป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐-๘๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนธันวาคมถึงมีนาคม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
เครือออน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Congea tomentosa Roxb.
ชื่อสกุล
Congea
คำระบุชนิด
tomentosa
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Roxburgh, William
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1751-1815)
ชื่ออื่น ๆ
กาไบ้ดง (เย้า); ค้างเบี้ย, เบี้ย (นครพนม); งวงชุม (เลย); จั่งบั่ง, ออนแดง (เชียงใหม่); ท้องปลิง (จัน
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางชุมศรี ชัยอนันต์