ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามระนาบเดียว รูปรี รูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ พบน้อยที่รูปค่อน ข้างกลม หูใบเล็กมาก ร่วงง่าย ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ ดอกสีเหลือง ผลคล้ายผลผนังชั้นในแข็ง ไม่แตก รูปทรงรีหรือรูปทรงไข่กลับ มีก้านยอดเกสรเพศเมียและยอดเกสรเพศเมียติดทน มีเมล็ด ๑ เมล็ด พบน้อยที่มี ๒ เมล็ด
แดงหินชนิดนี้เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง ๑๕ ม.
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามระนาบเดียว รูปรี รูปไข่ถึง รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ พบน้อยที่มีรูปค่อนข้างกลม กว้าง ๑.๕-๕.๕ ซม. ยาว ๓-๑๐ ซม. ปลายมนแหลม พบ น้อยที่เรียวแหลม และพบน้อยมากที่ปลายเว้า โคนสอบ แหลม ขอบเรียบหรือหยักมน เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ ๘ เส้น ก้านใบยาว ๒-๕ มม. หูใบเล็กมาก ร่วงง่าย
ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ มี ๒-๓ ดอก พบน้อยที่มี ๑ ดอก ก้านดอกยาว ๑-๒ มม. ดอกสี เหลือง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก พบน้อยที่มี ๔ แฉก แฉกรูปกลมหรือเกือบเป็นรูปไต กว้าง ประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๑.๕ มม. กลีบดอก ๕ กลีบ พบน้อยที่มี ๔ กลีบ เมื่อดอกตูมกลีบดอกซ้อนเหลื่อม กลีบดอกรูปรีหรือรูปไข่กว้าง กว้างประมาณ ๑ มม. ยาว ประมาณ ๑.๕ มม. เกสรเพศผู้ ๕ เกสร พบน้อยที่มี ๔ เกสร ติดอยู่ด้านนอกของจานฐานดอก ยาว ๑-๑.๕ มม. ก้านชูอับเรณูเป็นอิสระ อับเรณูรูปทรงรี มีติ่งแหลมสั้นที่ ปลาย จานฐานดอกรูปถ้วย ฉ่ำน้ำ ขอบหยักมนเล็กน้อย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปขวดแก้วก้นป่อง โคนเชื่อมติดกับ จานฐานดอก หรือแยกเป็นอิสระ มี ๑-๒ ช่อง แต่ละช่องมี ออวุล ๒ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศ เมียเป็นตุ่มหรือคล้ายแบบก้นปิด
ผลคล้ายผลผนังชั้นในแข็ง ไม่แตก รูปทรงรีหรือ ทรงรูปไข่กลับ กว้าง ๔-๕ มม. ยาว ๕-๘ มม. มีก้านยอด เกสรเพศเมียและยอดเกสรเพศเมียแข็งและติดทนอยู่ด้าน ข้างของผล มักมี ๑ ช่อง มีเมล็ด ๑ เมล็ด พบน้อยที่มี ๒ เมล็ด ไม่มีเยื่อหุ้มเมล็ด
แดงหินชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ พบในป่าดิบ ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึง ประมาณ ๑๐๐ ม. ออกดอกเดือนมกราคม เป็นผลเดือน กรกฎาคมถึงสิงหาคม ในต่างประเทศพบที่ทางใต้ของ อินเดีย ศรีลังกา จีน (ไห่หนาน) เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย ออสเตรเลีย และนิวแคลิโดเนีย (New Caledonia).