ขี้แรด ๒

Acacia megaladena Desv. var. indochinensis I. C. Nielsen

ชื่ออื่น ๆ
เกล้ก้อ (กะเหรี่ยง-ตาก); เครือแจบ, หันแดง, ไหลแดง (เหนือ); หางไหลแดง (กลาง-เหนือ); แหล (เงี้ยว-เชียง
ไม้เลื้อย ลำต้นมีหนาม ใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น เรียงเวียน มีหูใบรูปใบหอก ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างไม่เกิน ๐.๘ มม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีนวล ฝักรูปขอบขนาน แบน บาง

คล้ายชนิด Acacia megaladena Desv. var. megaladena แต่ต่างกันที่ชนิด A. megaladena Desv. var. indochinensis I. C. Nielsen มีหูใบรูปใบหอก กว้าง ๐.๕-๑.๓ มม. ยาว ๒.๕-๖ มม. ขอบมีขนครุย ก้านใบยาว ๑.๕-๔.๕ ซม.

 ใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น แขนงใบประกอบมี ๑๑–๓๔ คู่ ยาว ๑.๒-๗.๕ ซม. มีต่อมใต้บริเวณรอยต่อของแกนกลางย่อย ยกเว้น ๒-๔ คู่ปลายสุด แกนกลางย่อยมีใบย่อย ๒๙–๗๐ คู่ รูปขอบขนาน กว้าง ๐.๓-๐.๘ มม. ยาว ๑.๕-๔.๕ มม. เส้นใบเห็นไม่ชัด กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเกลี้ยง

 ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว กว้าง ๒-๓.๕ ซม. ยาว ๙.๕–๑๘ ซม.

 ขี้แรดชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ตามป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๘๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่ภูมิภาคอินโดจีน.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ขี้แรด ๒
ชื่อวิทยาศาสตร์
Acacia megaladena Desv. var. indochinensis I. C. Nielsen
ชื่อสกุล
Acacia
คำระบุชนิด
megaladena
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Desvaux, Nicaise Auguste
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
var. indochinensis
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- I. C. Nielsen
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1784-1856)
ชื่ออื่น ๆ
เกล้ก้อ (กะเหรี่ยง-ตาก); เครือแจบ, หันแดง, ไหลแดง (เหนือ); หางไหลแดง (กลาง-เหนือ); แหล (เงี้ยว-เชียง
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ชวลิต นิยมธรรม