กล้วยหอมเขียว

-

ชื่ออื่น ๆ
กล้วยเขียว, กล้วยเขียวคอหัก (นครศรีธรรมราช); กล้วยคร้าว (แพร่); กล้วยหอมคร้าว (พะเยา)
-

กล้วยหอมเขียวจัดอยู่ในกลุ่ม AAA กลุ่มย่อย Cavendish ลักษณะใกล้เคียงกับกล้วยหอมทอง ลำต้นเทียมสูงประมาณ ๓.๕ ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕-๒๐ ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นดำใหญ่มาก ด้านในสีชมพูอมแดง

 ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้างและมีครีบ ขอบครีบสีชมพูอมแดง เส้นกลางใบสีเขียว

 ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงซีด

 เครือหนึ่งมี ๘-๑๐ หวี หวีหนึ่งมี ๑๔-๑๘ ผล ผล กว้าง ๓-๔ ซม. ยาว ๒๑-๒๕ ซม. ปลายผลมน ไม่มีจุก เปลือกหนากว่ากล้วยหอมทอง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว เนื้อสีขาว กลิ่นหอมฉุนค่อนข้างแรง รสหวาน เนื้อเละ

 กล้วยหอมเขียวส่วนใหญ่ปลูกทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ส่วนภาคกลางไม่นิยมปลูกกัน

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กล้วยหอมเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์
-
ชื่ออื่น ๆ
กล้วยเขียว, กล้วยเขียวคอหัก (นครศรีธรรมราช); กล้วยคร้าว (แพร่); กล้วยหอมคร้าว (พะเยา)
ผู้เขียนคำอธิบาย
-