กล้วยเล็บมือนาง

-

ชื่ออื่น ๆ
กล้วยข้าว, กล้วยเล็บมือ (สุราษฎร์ธานี); กล้วยทองดอกหมาก (พัทลุง); กล้วยหมาก (นครศรีธรรมราช)
-

กล้วยเล็บมือนางจัดอยู่ในกลุ่ม AA ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน ๒.๕ ม. เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า ๑๕ ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีปื้นดำ ด้านในสีชมพูอมแดง

 ก้านใบสีชมพูอมแดงตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีครีบ เส้นกลางใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด

 เครือหนึ่งมี ๗-๘ หวี หวีหนึ่งมี ๑๐-๑๖ ผล ผลเล็กกว้าง ๒-๒.๕ ซม. ยาว ๑๑-๑๒ ซม. รูปโค้งงอ ปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกสีเหลืองทอง และยังมีก้านยอดเกสรเพศเมียติดอยู่ที่ปลายผล กลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองรสหวาน

 นิยมปลูกกล้วยเล็บมือนางกันทางภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร เป็นกล้วยที่มีรสดีชนิดหนึ่ง

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กล้วยเล็บมือนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์
-
ชื่ออื่น ๆ
กล้วยข้าว, กล้วยเล็บมือ (สุราษฎร์ธานี); กล้วยทองดอกหมาก (พัทลุง); กล้วยหมาก (นครศรีธรรมราช)
ผู้เขียนคำอธิบาย
-