แดง ๔

Xylia xylocarpa (Roxb.) W. Taub. var. kerrii (Craib et Hutch.) I. C. Nielsen

ชื่ออื่น ๆ
กร้อม (ชาวบน-นครราชสีมา); คว้าย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่, กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ไคว, เพร่ (กะ

ไม้ต้นผลัดใบ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียน ใบประกอบชั้นที่ ๒ มีช่อแขนง ข้างละ ๑ ช่อ เรียงตรงข้าม แต่ละช่อแขนงมีใบย่อย ๖-๑๒ ใบ รูปไข่ถึงรูปรี มีขนประปรายถึงหนาแน่น หูใบ รูปเส้นด้าย มีต่อมรูปคล้ายจานที่รอยต่อก้านช่อแขนงและระหว่างก้านใบย่อย ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามซอกใบ ดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม อับเรณูไม่มีต่อม ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว รูปคล้ายเคียว กว้าง เมล็ดแบน รูปทรงรี


     แดงชนิดนี้เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง ๒๕ ม. เปลือกสีเทาอมน้ำตาล แตกล่อนเป็นแผ่นบาง ๆ มีน้ำยาง สีแดง
     ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียน ใบ ประกอบชั้นที่ ๒ มีช่อแขนงข้างละ ๑ ช่อ เรียงตรงข้าม ยาว ๑๐-๓๐ ซม. แต่ละช่อแขนงมีใบย่อย ๖-๑๒ ใบ รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง ๑.๓-๗.๕ ซม. ยาว ๒-๑๔ ซม. ปลายแหลม หรือเป็นติ่ง โคนรูปลิ่มหรือมนกลม เบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบ บางคล้ายกระดาษ ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย ถึงหนาแน่น พบน้อยที่เกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ ๕-๑๐ เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแห ก้านใบประกอบชั้นที่ ๑ ยาว ๑.๕-๗.๕ ซม. มีขนประปรายถึงหนาแน่น ก้านใบ ประกอบชั้นที่ ๒ ยาว ๐.๕-๓ ซม. ที่รอยต่อก้านช่อแขนง มีต่อมรูปคล้ายจาน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๓ มม. แกน กลางใบประกอบชั้นที่ ๒ ยาว ๓.๕-๑๗ ซม. ระหว่างก้าน ใบย่อยมีต่อมรูปคล้ายจาน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๒ มม. ก้านใบย่อยยาว ๒-๓ มม. หูใบรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ ๓ มม.
     ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามซอกใบ ช่อกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ ซม. แต่ละช่อ ประกอบด้วยดอกที่ไม่มีก้านจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาว ๑-๑๐ ซม. ใบประดับรูปช้อน ยาว ๒-๓ มม. ดอกสีขาวอม เหลือง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด รูปกรวย ยาว ๓-๓.๕ มม. ด้านนอกมีขนหนาแน่น ปลาย แยกเป็น ๕ แฉก แต่ละแฉกรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ยาว ประมาณ ๑ มม. กลีบดอก ๕ กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ รูปขอบขนานแคบ กว้างประมาณ ๑ มม. ยาว ๒.๕-๔.๖ มม. ด้านนอกมีขนประปรายถึงมีขนนุ่มหนาแน่น เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร แยกเป็นอิสระ ยาว ๐.๕-๑.๒ ซม. ก้านชูอับเรณูเกลี้ยง อับเรณูติดด้านหลัง ไม่มีต่อม รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ทรงรูปไข่แกมรูปทรงรี มีขนปกคลุมทั่วไป มี ๑ ช่อง มี ออวุล ๗-๑๐ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียยาว ๑-๑.๕ มม. มีขนหนาแน่น ยอดเกสรเพศเมียเล็กมาก

 

 


     ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว รูปคล้ายเคียวกว้าง กว้าง ๓-๖ ซม. ยาว ๙-๑๘.๕ ซม. แตกจากปลายสู่โคน เปลือกผลแข็งเหมือนไม้ เมล็ดแบน รูปทรงรี กว้างประมาณ ๗ มม. ยาว ๑-๑.๕ ซม.
     แดงชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย เกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และชายป่าดิบแล้ง ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับ ทะเลถึงประมาณ ๘๕๐ ม. ออกดอกพร้อมใบอ่อนเดือน กุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ผลแก่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม ในต่างประเทศพบที่เมียนมาและภูมิภาคอินโดจีน
     ประโยชน์ เนื้อไม้สีแดงอมน้ำตาล แข็งมาก ใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้าน เมล็ด กินได้.

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
แดง ๔
ชื่อวิทยาศาสตร์
Xylia xylocarpa (Roxb.) W. Taub. var. kerrii (Craib et Hutch.) I. C. Nielsen
ชื่อสกุล
Xylia
คำระบุชนิด
xylocarpa
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Roxb.)
- W. Taub.
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
var. kerrii
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- (Craib et Hutch.)
- I. C. Nielsen
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Roxb.) ช่วงเวลาคือ (1751-1815)
- W. Taub. ช่วงเวลาคือ (1862-1897
ชื่ออื่น ๆ
กร้อม (ชาวบน-นครราชสีมา); คว้าย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่, กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ไคว, เพร่ (กะ
ผู้เขียนคำอธิบาย
นายพาโชค พูดจา
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.