กล้วยหก

Musa itinerans Cheesman

ชื่ออื่น ๆ
กล้วยแดง, กล้วยอ่างขาง
-

กล้วยหกแตกหน่อห่าง ๆ ไม่ชิดกันเป็นกอเหมือนกล้วย ชนิดอื่น ๆ ลำต้นเทียมสูงประมาณ ๒.๕ ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๕ ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอม เหลือง มีปื้นดำเล็กน้อย ด้านในสีเหลืองอ่อน ก้านใบสีเขียวอม เหลืองและมีจุดดำเล็กน้อย มีครีบ เส้นกลางใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ปลายมน ด้านบนสีเหลืองอมม่วงเข้ม


ไม่มีนวล ด้านล่างสีขาวนวล เมื่อใบประดับร่วงไป แต่ละใบเรียงซ้อนกันลึกและมีสันตื้น เครือหนึ่งมี ๕-๗ หวี หวีหนึ่งมี ๙-๑๓ ผล ผลป้อม ปลายทู่ โคนเรียว ก้านผลยาวเกือบเท่าความยาวของผล เนื้อสีเหลืองและมีเมล็ดมาก

 กล้วยหกมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ขึ้นในป่าดิบตามหุบเขาและริมฝั่งลำน้ำ ในต่างประเทศพบที่อินเดียและพม่า หัวปลีกินได้ มีรสดีกว่ากล้วยป่าชนิดอื่น

 กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Musa (Eumusa) ที่นิยมกินโดยทั่วไปมีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการปลูกขยายพันธุ์ทั่วไปในปัจจุบันกล้วยที่กินได้นี้เกิดจากการกลายพันธุ์ผสมพันธุ์ภายในชนิดเดียวกัน หรือเกิดจากการผสมข้ามชนิดระหว่างกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) กับกล้วยตานี (M. balbisiana Colla) ทำให้เกิดเป็นกล้วยพันธุ์ต่าง ๆ ขึ้นกว่า ๕๐ พันธุ์

 การจำแนกพันธุ์กล้วยที่ปลูกเพื่อใช้กินผลในปัจจุบันอาศัยจีโนม (genome) เป็นหลัก คือ กล้วยป่า (M. acuminata Colla) มีจีโนม AA กล้วยตานี (M. balbisiana Colla) มีจีโนม BB จึงแบ่งกลุ่มได้ดังนี้

 AA เป็นพันธุ์แท้ของกล้วยป่าหรือพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์ไปจากพันธุ์แท้ แต่ยังมีลักษณะพันธุ์แท้อยู่มาก

 AAA เป็นพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์จากกล้วยป่ามาแล้ว

 AB เป็นพันธุ์ผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี มีลักษณะก้ำกึ่งกัน

 AAB เป็นพันธุ์ผสมที่มีลักษณะค่อนไปทางกล้วยป่า

 ABB เป็นพันธุ์ผสมที่มีลักษณะค่อนไปทางกล้วยตานี

 ABBB เป็นพันธุ์ผสมที่มีลักษณะค่อนไปทางกล้วยตานี ที่ได้กลายพันธุ์มาแล้ว

 BB เป็นพันธุ์แท้ของกล้วยตานี หรือพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์ไปจากพันธุ์แท้ แต่ยังมีลักษณะพันธุ์แท้อยู่มาก

 BBB เป็นพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์จากกล้วยตานีมาแล้ว

 ในแต่ละกลุ่มยังจำแนกออกเป็นพันธุ์ย่อย เช่น กลุ่ม AAA มีพันธุ์ย่อย Cavendish, Dwarf cavendish, Gros Michel

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กล้วยหก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Musa itinerans Cheesman
ชื่อสกุล
Musa
คำระบุชนิด
itinerans
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Cheesman, Ernest Entwistle
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1898- )
ชื่ออื่น ๆ
กล้วยแดง, กล้วยอ่างขาง
ผู้เขียนคำอธิบาย
-