เดื่อหูกวางขอบใบหยัก

Meliosma simplicifolia (Roxb.) Walp. subsp. fruticosa (Blume) Beusekom

ไม้พุ่มถึงไม้ต้น เปลือกบาง สีเทาอ่อน มีช่องอากาศทั่วไป กิ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยวหรือใบประกอบแบบลดรูปเหลือ ใบเดียว เรียงเวียน รูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ ขอบเรียบหรือขอบบริเวณใกล้กึ่งกลาง ใบถึงปลายใบมักจักฟันเลื่อยห่าง ๆ และที่ปลายจักค่อนข้างแหลมคล้ายหนาม ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตาม ปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อมักตั้ง ดอกเล็ก สีขาวหรือสีออกเหลือง มีกลิ่นหอม ผลแบบผล ผนังชั้นในแข็ง รูปทรงค่อนข้างกลม มักเบี้ยว ก้านผลยาว ๒-๓ มม. มีเมล็ด ๑ เมล็ด


     เดื่อหูกวางขอบใบหยักเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้น สูงได้ ถึง ๑๒ ม. เปลือกบาง สีเทาอ่อน มีช่องอากาศทั่วไป กิ่ง อ่อนมีขน
     ใบเดี่ยวหรือใบประกอบแบบลดรูปเหลือใบเดียว เรียงเวียน รูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูป ใบหอกกลับ กว้าง ๒-๑๔ ซม. ยาว ๖-๔๐ ซม. ปลายเรียว แหลมถึงแหลมเป็นติ่ง โคนสอบหรือรูปลิ่ม ขอบเรียบ หรือขอบบริเวณใกล้กึ่งกลางใบถึงปลายใบมักจักฟันเลื่อย ห่าง ๆ และที่ปลายจักค่อนข้างแหลมคล้ายหนาม แผ่นใบ ค่อนข้างหนา ด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน เกลี้ยงหรือมีขน และมีขนค่อนข้างหนาแน่นตามเส้นกลางใบ ด้านล่าง สีจางกว่า มีขน มักมีแอ่งเล็กคล้ายกระเปาะขนหรือมี ตุ่มใบ เส้นแขนงใบข้างละ ๑๖-๒๔ เส้น ปลายเส้นโค้ง จดกับเส้นถัดไปใกล้ขอบใบ เส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัด ทางด้านล่าง ใบแห้งสีออกน้ำตาลแดง ก้านใบยาว ๐.๘- ๔.๓ ซม. ด้านบนแบน ขอบข้างก้านแผ่บางคล้ายครีบแคบ โคนก้านโป่งพองย่นและสีออกดำเมื่อแห้ง
     ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง หรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อมักตั้ง ยาวได้ถึง ๕๐ ซม. แขนงช่อยาวได้ถึง ๒๕ ซม. ใบประดับที่โคนก้านช่อแขนง รูปไข่หรือรูปแถบแกมรูปใบหอก ยาวไม่เกิน ๘ มม. ร่วงง่าย ดอกเล็ก สีขาวหรือสีออกเหลือง มีกลิ่นหอม ไร้ก้านดอก หรือมีก้านยาวได้ถึง ๓ มม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ กลีบงุ้มเข้า ขนาดแตกต่างกัน รูปไข่ ยาว ๑-๒ มม. กลีบใน ๒ กลีบ ใหญ่กว่ากลีบนอก กลีบดอก ๕ กลีบ ขนาดแตกต่างกัน รูปเกือบกลม ยาว ๐.๕-๑.๕ มม. ปลายเว้า และมีขน กลีบนอก ๓ กลีบใหญ่กว่ากลีบใน เกสรเพศผู้ ๕ เกสร ที่สมบูรณ์มี ๒ เกสร ก้านชูอับเรณูยาว ๐.๕-๑.๕ มม. มักยาวเท่ากับกลีบดอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปทรง กลม มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๒ เม็ด ก้านยอดเกสร เพศเมียปลายแยกเป็น ๒ แฉก ยอดเกสรเพศเมียเล็ก
     ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๔.๕-๘ มม. มักเบี้ยว ก้านผลยาว ๒-๓ มม. มีเมล็ด ๑ เมล็ด
     เดื่อหูกวางขอบใบหยักมีเขตการกระจายพันธุ์ ในประเทศไทยทางภาคตะวันออกและภาคใต้ พบขึ้น ตามป่าดิบ ที่สูงจากระดับทะเล ๗๐๐-๘๐๐ ม. ในต่าง ประเทศพบที่ไต้หวันและภูมิภาคมาเลเซีย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
เดื่อหูกวางขอบใบหยัก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Meliosma simplicifolia (Roxb.) Walp. subsp. fruticosa (Blume) Beusekom
ชื่อสกุล
Meliosma
คำระบุชนิด
simplicifolia
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Roxb.)
- Walp.
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
subsp. fruticosa
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- (Blume)
- Beusekom
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Roxb.) ช่วงเวลาคือ (1751-1815)
- Walp. ช่วงเวลาคือ (1816-1853)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางจารีย์ บันสิทธิ์
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.