ดอกแซ้ง

Urceola tournieri (Pierre) D. J. Middleton

ไม้เถาเนื้อแข็ง มียางสีขาวคล้ายน้ำนม กิ่งอ่อนมีขนละเอียด กิ่งแก่มีช่องอากาศชัดเจน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปแถบแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงคล้ายช่อ เชิงหลั่น ออกตามซอกใบ ดอกเล็ก สีขาว ผลแบบผลแห้งแตกแนวเดียว ออกเป็นคู่ รูปทรงกระบอก ปลายสอบ เรียว เมล็ดรูปขอบขนาน ปลายคอดเล็กน้อย ปลายสุดมีขนเป็นพู่สีนวล มีจำนวนมาก


     ดอกแซ้งเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ยาวได้ถึง ๒๐ ม. มียางสีขาวคล้ายน้ำนม กิ่งอ่อนมีขนละเอียด เปลือกสี น้ำตาล กิ่งแก่มีช่องอากาศชัดเจน
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปแถบแกม รูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง ๑.๕- ๗ ซม. ยาว ๕.๕-๒๑.๕ ซม. ปลายแหลมหรือเรียวยาว คล้ายหาง โคนรูปลิ่มหรือมนกลม แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ หรือค่อนข้ า งหนาคล้ า ยแผ่นหนัง ด้านบนเกลี้ยงด้านล่าง มีขนตรงซอกระหว่างเส้นกลางใบกับเส้นแขนงใบ อาจพบ บ้างที่มีขนละเอียดตามเส้นกลางใบ เส้นแขนงใบข้างละ ๕-๑๐ เส้น ก้านใบยาว ๐.๗-๑.๖ ซม. เป็นร่องทางด้าน บน ตรงซอกก้านใบมักมีต่อมเล็ก ๆ
     ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงคล้ายช่อเชิงหลั่น ออก ตามซอกใบ มีขนละเอียด ทั้งช่อยาว ๒.๗-๑๖ ซม. ก้าน ช่อยาว ๐.๓-๑ ซม. แกนช่อเรียวเล็ก มี ๔-๘ แขนง ใบ ประดับสั้น รูปไข่ ปลายแหลม ช่อย่อยแบบช่อกระจุก ยาว ๒-๘ มม. ใบประดับย่อยคล้ายใบประดับ ก้านดอกยาว ๒-๒.๕ มม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย ปลายแยก เป็น ๕ แฉก รูปไข่ กว้าง ๐.๕-๑.๓ มม. ยาว ๐.๔-๐.๘ มม. ปลายแหลมหรือมน ขอบมีขนครุยสั้น โคนแฉกกลีบ ด้านในระหว่างแฉกมีต่อม กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกัน เป็นหลอด ยาว ๑-๑.๗ มม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูป ขอบขนาน เบี้ยวเล็กน้อย ยาว ๐.๖-๑ ซม. ปลายมีติ่งบิด ไปทางขวา ผิวแฉกด้านนอกเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มค่อนไป ทางปลาย ด้านในมีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ ๕ เกสร ติดใกล้ โคนหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูรูปหัวลูกศร เกาะแนบกับยอดเกสรเพศเมีย จานฐานดอกมีขอบหยัก มน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๒ รังไข่ แยกจากกัน แต่ละ รังไข่รูปค่อนข้างรี มี ๑ ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ก้านยอด เกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มค่อนข้าง กลม
     ผลแบบผลแห้งแตกแนวเดียว ออกเป็นคู่ รูปทรง กระบอก กว้าง ๑.๒-๑.๕ ซม. ยาว ๕-๙ ซม. ปลายสอบ เรียว โคนป่องเล็กน้อย เมล็ดรูปขอบขนาน กว้าง ๔-๕ มม. ยาว ๑.๖-๑.๘ ซม. ปลายคอดเล็กน้อย ปลายสุดมีขน เป็นพู่สีนวล ยาว ๓.๕-๔ ซม. มีจำนวนมาก
     ดอกแซ้งมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคเหนือ พบตามป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับทะเล ๖๐๐-๑,๙๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนกรกฎาคมถึง มกราคม ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภูฏาน เมียนมา จีน ลาว และเวียดนาม.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดอกแซ้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Urceola tournieri (Pierre) D. J. Middleton
ชื่อสกุล
Urceola
คำระบุชนิด
tournieri
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Pierre)
- D. J. Middleton
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Pierre) ช่วงเวลาคือ (1833-1905)
- D. J. Middleton ช่วงเวลาคือ (1963-)
ผู้เขียนคำอธิบาย
รศ. ดร.อบฉันท์ ไทยทอง
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.