-
ชื่ออื่น ๆ
-
ข้าหมักหลอด (หนองคาย); เขี้ยวดาน, คัดมอญ, ซ้าหมักหลอด, เถาขี้เถ้า, เถาวัลย์เหล็ก (ทั่วไป); ตานค้อน (
ตานหม่อนเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยหรือไม้เลื้อย สูง ๐.๕-๑.๑ ม. ลำต้นมีขนคล้ายไหม
ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี กว้าง ๓-๖ ซม. ยาว ๕-๑๒ ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนกลม ขอบเรียบหรือหยักซี่ฟัน แผ่นใบกึ่งคล้ายแผ่นหนัง ด้านล่างมีขนคล้ายไหมและขนรูปตัวอักษรที ด้านบนมีขนประปราย ก้านใบยาวได้ถึง ๑ ซม.
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงคล้ายช่อกระจุกเชิง
ประกอบกึ่งช่อกระจะ ออกที่ปลายยอดและตามซอกใบช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่น เส้นผ่านศูนย์กลาง ๔-๕ มม. วงใบประดับรูประฆังแคบหรือรูปทรงกระบอก กว้าง ๓-๔ มม. ยาวประมาณ ๓ มม. ใบประดับเรียงเป็น ๓-๔ ชั้น ซ้อนเหลื่อม ชั้นนอกและชั้นกลางรูปไข่ มีขนคล้ายใยแมงมุมและขนต่อม ปลายมนหรือมนกลม ชั้นในรูปไข่กลับปลายแหลมหรือมน มีขนคล้ายใยแมงมุมและขนต่อมฐานดอกร่วมนูน เกลี้ยง ดอกย่อยในช่อมีแบบเดียวเป็น
ดอกย่อยวงในซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ รูปหลอด กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นขนแข็ง กลีบดอกสีม่วงหรือสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว ๔.๕-๕.๕ มม. มีขนต่อมปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปขอบขนาน ยาว ๒-๓ มม. เกสรเพศผู้ ๕ เกสร อับเรณูเชื่อมติดกันทางด้านข้างและหุ้มก้านยอดเกสรเพศเมีย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียกลม ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น ๒ แฉก เรียว ยาวประมาณ ๒ มม.
ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปลูกข่าง ยาวประมาณ ๒ มม. มีสัน ๔-๗ สัน มีขนแข็งสั้นและขนต่อมและมีกลีบเลี้ยงติดทนแบบแพปพัสลักษณะเป็นขนแข็งสีขาว เรียง ๒ ชั้น ชั้นนอกสั้น ชั้นในยาว ๕-๖ มม. มีเมล็ด ๑ เมล็ด
ตานหม่อนมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค พบตามพื้นที่โล่งที่มีความชื้น ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลปานกลางถึงประมาณ ๑๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนตุลาคมถึงพฤษภาคม ในต่างประเทศพบทั่วไปในเขตร้อนของอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย.