ดอกซิการ์

Cuphea ignea A. DC.

ไม้พุ่มหรือไม้กึ่งพุ่ม กิ่งรูปทรงกระบอกถึงเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย แผ่กางออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น กิ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปไข่ถึงรูปใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ดอกเดี่ยว ออก เหนือซอกใบเล็กน้อย สีแดงสดหรือสีแดงอมส้ม ปลายหลอดดอกสีแดงเข้มอมดำ ขอบด้านบนของปากหลอด บาง สีขาว ไม่มีกลีบดอก ผลแบบผลแห้งแตก อยู่ภายในหลอดฐานดอกซึ่งติดทน ผนังผลบาง แตกออกด้านเดียว เมล็ดสีเหลือง รูปเลนส์นูนโค้ง ด้านหนึ่งแบน มีร่องตามยาว อาจมีปีกแคบ ๆ โดยรอบ มีจำนวนมากแต่ไม่เกิน ๓๐ เมล็ด


     ดอกซิการ์เป็นไม้พุ่มหรือไม้กึ่งพุ่ม สูงได้ถึง ๘๐ ซม. กิ่งรูปทรงกระบอกถึงเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย แผ่กางออก เป็นพุ่มค่อนข้างแน่น กิ่งอ่อนมีขน
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปไข่ถึง รูปใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง ๐.๕- ๒.๕ ซม. ยาว ๒-๘.๕ ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียวสด เป็นมันวาว มีเส้น แขนงใบข้างละ ๖-๘ เส้น ก้านใบสั้นหรือใบที่อยู่ด้านบน ไร้ก้าน

 


     ดอกเดี่ยว ออกเหนือซอกใบเล็กน้อย มีใบ ประดับ ๒ ใบ หรือไม่มี ฐานดอกเป็นหลอดแคบ สีแดงสด หรือสีแดงอมส้ม ยาว ๑.๕-๓ ซม. มีเส้นสีแดงเข้มตามยาว โคนข้างหนึ่งมีเดือยสั้นปลายมนเห็นชัดเจน บริเวณปลาย หลอดสีแดงเข้มอมดำ ขอบด้านบนของปากหลอดบาง สีขาว กลีบเลี้ยง ๖ กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ติดที่ขอบ หลอดฐานดอก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ ๔-๑๑ เกสร ส่วนใหญ่มี ๑๑ เกสร สีม่วงแดง มักมีขนาดไม่เท่ากัน ติด อยู่บริเวณตอนบนของหลอดฐานดอก โผล่พ้นปากหลอดเล็กน้อย ก้านชูอับเรณูยาว ๐.๘-๑ ซม. รังไข่อยู่เหนือวง กลีบ รูปทรงรีแกมทรงรูปไข่ กว้างประมาณ ๔ มม. ยาว ๕-๖ มม. มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้าน ยอดเกสรเพศเมียเรียว ยาว ๒-๓ ซม. เกลี้ยง ยอดเกสร เพศเมียเป็นพูขนาดเล็ก

 

 


     ผลแบบผลแห้งแตก อยู่ภายในหลอดฐานดอก ซึ่งติดทน ผนังผลบาง แตกออกด้านเดียว เมล็ดสีเหลือง รูปเลนส์นูนโค้ง ด้านหนึ่งแบน มีร่องตามยาว อาจมีปีก แคบ ๆ โดยรอบ มีจำนวนมากแต่ไม่เกิน ๓๐ เมล็ด

 


     ดอกซิการ์เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิด ในเม็กซิโกและเวสต์อินดีส นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับ ทั่วไปในเขตร้อน.

 

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดอกซิการ์
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cuphea ignea A. DC.
ชื่อสกุล
Cuphea
คำระบุชนิด
ignea
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- A. DC.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- A. DC. ช่วงเวลาคือ (1806-1893)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางปริญญนุช กลิ่นรัตน์
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.