กระจับเป็นไม้น้ำที่รากหยั่งลงดิน มีไหล ใบมี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งลอยปริ่มน้ำ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปพัด แผ่นใบด้านล่างสีม่วงอมแดง ก้านใบยาว พองเป็นกระเปาะบริเวณ กลางก้าน ใบที่อยู่ในน้ำเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยเป็นเส้นคล้ายราก
ดอกสีขาว ชี้ตั้งขึ้น บานเหนือน้ำ กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กลีบดอก ๔ กลีบ เกสรเพศผู้ ๔ อัน ติดสลับกับกลีบดอกรังไข่ถึงใต้วงกลีบ มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด เมื่อผสมพันธุ์แล้วก้านจะงอลงน้ำเพื่อให้รังไข่เจริญเติบโตเป็นผลี
ผลอ่อนสีม่วงแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ลักษณะของผลหรือที่เรียกกันว่า ฝัก คล้ายหน้าควายหรือวัว มีเขาโค้ง ๒ ข้าง ซึ่งเจริญมาจากกลีบเลี้ยง ๒ กลีบ ส่วนอีก ๒ กลีบฝ่อและร่วงไป
กระจับมี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์เขาแหลม (T. bicornis Osbeck var. bicornis) และพันธุ์เขา (T. bicornis Osbeck var. cochinchinensis (Lour.) Glück ex Steenis] พันธุ์เขาแหลมรสชาติดีกว่าพันธุ์เขาทู่ แต่นิยมปลูกพันธุ์เขาทู่มากกว่า ปลูกได้ตลอดปีตามคู บ่อ หรือคลองทั่วไป เริ่มปลูกตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เป็นพืชต้องการแสงแดดจัด
เนื้อในสีขาว กินได้ แต่ควรทำให้สุกก่อน ในต่างประเทศทำแป้งจากกระจับซึ่งมีแป้งอยู่ถึงร้อยละ ๑๖ และมีโปรตีนร้อยละ ๓.