จำปาน้ำเป็นไม้ล้มลุก สูง ๑๒-๔๐ ซม. ลำต้นและกิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยมชัดเจน มีขน
ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงรอบข้อ แต่ละวงมักมี ๓-๔ ใบ พบน้อยที่มี ๕ ใบ หรือเรียงเป็นคู่ตรงข้าม รูปใบหอกกลับ รูปใบหอกแกมรูปแถบ หรือรูปใบหอกกลับแกมรูปแถบ กว้าง ๐.๕-๑ ซม. ยาว ๒.๕-๕ ซม. ปลายแหลม โคนสอบเรียวสู่ก้านใบ ขอบจักฟันเลื่อยหรือหยักซี่ฟัน มีขน เส้นแขนงใบข้างละ ๕-๘ เส้น ก้านใบสั้นมาก
ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ยอดหรือปลายกิ่ง มีดอกจำนวนมากและเรียงชิดกันแน่น รูปค่อนข้างกลมหรือรูปทรงกระบอก กว้าง ๓-๖ มม. ยาว ๐.๓-๑.๒ ซม. ก้านช่อยาวได้ถึง ๑.๕ ซม. ใบประดับรูปแถบหรือรูปใบหอกกลับแกมรูปแถบ กว้างประมาณ ๐.๕ มม. ยาว ๓-๔ มม. ขอบมีขนแข็ง ใบประดับย่อยรูปแถบหรือรูปใบหอกกลับแกมรูปแถบ กว้างประมาณ ๐.๒ มม. ยาว ๑.๕-๒ มม. ขอบมีขนแข็ง ก้านดอกสั้นมากหรือไม่มี กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปคล้ายระฆัง ยาว ๑-๑.๕ มม. เกลี้ยง ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปสามเหลี่ยมปลายแหลม ขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๐.๕ มม. มีขนกลีบดอกสีม่วง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดเรียว ปากหลอดผายเล็กน้อย หลอดยาว ๒-๒.๕ มม. ปลายแยกเป็น ๔ แฉก รูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๐.๓ มม. เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน เกสรเพศผู้ ๔ เกสร ติดในหลอดกลีบดอกบริเวณเหนือโคนหลอดเล็กน้อย โผล่พ้นปากหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูเรียว ยาว ๒.๕-๓ มม. ส่วนที่อยู่ใกล้ปากหลอดมีขนยาวสีขาวจำนวนมาก อับ
ผลแบบผลเปลือกแข็ง มีขนาดเล็ก ทรงรูปไข่หรือรูปทรงรีเกือบกลม กว้างประมาณ ๐.๓ มม. เกลี้ยงผิวมัน เมล็ดรูปคล้ายผล
จำปาน้ำมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคตะวันออก พบตามที่ชื้นแฉะ ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ที่สูงจากระดับทะเล ๒๐๐-๓๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่ภูมิภาคอินโดจีน
ประโยชน์ ใช้เป็นสมุนไพร.