เครือขี้มดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้มเกลี้ยง
ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กลับหรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๕-๑๒ ซม. ยาว ๘-๒๐ ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนรูปลิ่มหรือมน บางครั้งอาจเบี้ยว ขอบเรียบแผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยง ด้านล่างมักมีต่อมเล็กเป็นจุดสีดำจำนวนมาก เส้นแขนงใบข้างละ ๑๐-๑๘ เส้น เห็นชัดทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบยาว ๑-๒.๕ ซม. เป็นร่องทางด้านบน
ดอกแยกเพศต่างต้นหรือดอกแยกเพศต่างต้นแกมดอกสมบูรณ์เพศ ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาว ๒-๔ ซม. เกลี้ยง ออกตามซอกใบบนกิ่งใหม่ใบประดับเด็ก ก้านดอกสั้นมากหรือไร้ก้าน ดอกเล็ก สีขาวหรือสีขาวแกมเขียวกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเด็กน้อย ปลายแยกเป็น ๔ แฉก รูปไข่ กว้างประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๑.๕ มม. ปลายแหลมหรือมน มีต่อมเด็กสีดำและขอบมีขนครุยสั้นกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย ปลายแยกเป็น ๔ แฉก รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้างประมาณ ๑.๕ มม. ยาวประมาณ ๓ มม. ปลายมน ด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขนเกสรเพศผู้ ๔ เกสร ติดที่ใคนแฉกกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสีขาว อับเรณูรูปขอบขนาน กว้างและยาวประมาณ ๑ มม. มี ๒ ช่อง แตกตามยาว ด้านหลังแกนอับเรณูมีจุดโปร่งแสง ในดอกเพศผู้เกสรเพศเมียที่เป็นหมันขนาดเล็กและในดอกเพศเมียเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมีขนาดเล็กและสั้น รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปพีระมิด มี ๑ ช่อง ออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียสั้นมาก ติดทน ยอดเกสรเพศเมีย เป็นตุ่มเด็กหรือเว้าตื้น ๒ พู
ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ ซม. เมล็ดเล็ก รูปค่อนข้างกลม
เครือขี้มดเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นตามภูเขาหินปนในป่าดิบ ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับนํ้าทะเลถึงประมาณ ๑๐๐ ม. ออกดอกประมาณเดือนมกราคม.