ดอกครุย

Strophioblachia fimbricalyx Boerl.

ชื่ออื่น ๆ
บ๊าซาด (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปหัวใจถึงรูปไข่กลับ ดอกแยกเพศร่วมต้นร่วมช่อ ช่อดอกแบบ ช่อกระจุกแยกแขนงคล้ายช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ ๕ กลีบหรือ ไร้กลีบดอก กลีบเลี้ยงสีขาวนวล ดอกเพศเมียไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวถึงสีเหลืองอ่อน ขอบเป็นชายครุย ผลแบบผลแห้งแตก มี ๓ พู ทรงรูปไข่ มีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดรูปทรงค่อนข้างกลม มีลายคล้ายหินอ่อน มีจุกขั้ว


     ดอกครุยเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง ๒ ม.
     ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปหัวใจถึงรูปไข่กลับ กว้าง ๑.๓-๙.๕ ซม. ยาว ๒.๖-๙.๕ ซม. ปลายเรียวแหลม ถึงยาวคล้ายหาง โคนกลมหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เส้นแขนงใบข้างละ ๖-๗ เส้น ออกจากโคนใบ ๒ เส้น พบน้อยที่มี ๔ เส้น เส้นแขนงใบ เชื่อมกันใกล้ขอบใบ เส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นไม่ชัด ก้านใบยาว ๐.๕-๗ มม.
     ดอกแยกเพศร่วมต้นร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อ กระจุกแยกแขนงคล้ายช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด ช่อ ดอกยาวได้ถึง ๗ ซม. แกนกลางช่อสีเขียว ช่อย่อยเพศผู้ อยู่ทางปลายช่อ แต่ละช่อมีประมาณ ๑๐ ดอก แต่ละข้อมี ๑-๕ ดอก ช่อย่อยเพศเมียอยู่ทางโคนช่อ มีได้ถึง ๕ ดอก หรือมีช่อย่อยที่มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ดอกเพศ ผู้ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๔-๔.๕ มม. มีกลีบเลี้ยงยาวกว่า กลีบดอก ก้านดอกยาว ๐.๕-๒ ซม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ สีขาวนวล รูปไข่ เรียงซ้อนเหลื่อมกัน กลีบดอก ๕ กลีบ กว้าง ๑.๒-๓.๘ มม. ยาว ๑-๒.๘ มม. หรือไร้กลีบดอก จานฐานดอกจักเป็น ๕ พู กว้าง ๐.๓-๐.๘ มม. ยาว ๐.๗- ๒ มม. เกสรเพศผู้ ๑๕-๕๐ เกสร แยกกัน สีขาวถึงสี เหลืองอ่อน เกสรเพศเมียเป็นหมันหรือไม่มี ดอกเพศเมีย มีเส้นผ่ า นศูนย์กลาง ๐.๕-๑.๕ ซม. ก้านดอกยาวได้ถึง ๑.๓ ซม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ สีเขียวถึงสีเหลืองอ่อน รูปไข่ กว้าง ๒.๘-๔ มม. ยาว ๔-๘.๕ มม. ขอบเป็นชายครุย ปลาย มีต่อม เรียงเป็น ๑ หรือ ๒ แถว ไม่มีกลีบดอก จานฐานดอก เป็นวงแหวน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ทรงรูปไข่ กว้าง ๑.๗- ๒ มม. ยาว ๑.๒-๒ มม. มี ๓ ช่อง พบน้อยที่มี ๔ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น ๓ แขนง แต่ละแขนงแยกเป็น ๒ แฉก
     ผลแบบผลแห้งแตก มี ๓ พู ทรงรูปไข่ กว้าง ๐.๘-๑ ซม. ยาว ๑.๑-๑.๓ ซม. เกลี้ยง สีเขียวเข้ม มีกลีบ เลี้ยงติดทน กว้าง ๐.๘-๑ ซม. ยาว ๑.๒-๑.๕ ซม. ชายครุย ยาวได้ถึง ๔.๒ มม. เมล็ดรูปทรงค่อนข้างกลม กว้าง ๕.๕-๖ มม. ยาว ๖-๗ มม. หนา ๔.๕-๕ มม. มีลายคล้าย หินอ่อน มีจุกขั้ว
     ดอกครุยมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวัน ตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ พบตาม ป่ารุ่นหรือชายป่าดิบแล้ง ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึง ประมาณ ๒๕๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเกือบตลอดปี ใน ต่างประเทศพบที่จีนตอนใต้ กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
     ประโยชน์ ในฟิลิปปินส์ใช้เมล็ดหมักทำเครื่องดื่ม.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดอกครุย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Strophioblachia fimbricalyx Boerl.
ชื่อสกุล
Strophioblachia
คำระบุชนิด
fimbricalyx
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Boerl.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Boerl. ช่วงเวลาคือ (1849-1900)
ชื่ออื่น ๆ
บ๊าซาด (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.