กระจ่อม

Trapa natans L. var. pumila Nakano

ชื่ออื่น ๆ
เขาควาย, มะแง่ง
ไม้น้ำ มีใบ ๒ แบบ โคนต้นเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยเรียงเป็นเส้นคล้ายราก ส่วนใบที่ลอยเป็นใบเดี่ยว รูปสามเหลี่ยม ก้านใบโป่งพองใกล้ โคนใบ ดอกสีม่วงอ่อนเกือบขาว ลอยเหนือน้ำ ผลแข็ง มีหนามแข็ง ๔ อัน

กระจ่อมเป็นไม้น้ำ ลักษณะลำต้นและใบคล้ายกระจับแต่เล็กกว่า

 ใบมี ๒ แบบ ใบที่โคนต้นเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยเป็นเส้นคล้ายราก เรียงตรงข้าม ส่วนใบที่ลอยน้ำเป็นใบเดี่ยว รูปสามเหลี่ยม กว้าง ๒.๕-๔ ซม. ยาว ๓.๕-๕.๕ ซม. ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน


โคนนูนเล็กน้อย ด้านล่างสีม่วง มีขน ก้านใบยาว ๑-๑๑ ซม. ใกล้โคนใบป่องเพราะมีเซลล์ฟองน้ำเพื่อลอยตัว ก้านใบมีขน

 ดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบ สีม่วงอ่อนเกือบขาว มีก้านส่งดอกลอยเหนือน้ำ กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ โคนติดกันเล็กน้อยปลายแยก กลีบดอก ๔ กลีบ เกสรเพศผู้ ๔ อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ผลแข็ง มีหนามแข็ง ๔ อัน ผลแก่สีดำ ความกว้างรวมหนาม ๑-๒ ซม.

 กระจ่อมมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในต่างประเทศพบที่ญี่ปุ่น อินเดีย บังกลาเทศ ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และแอฟริกาใต้ ผลกินได้

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กระจ่อม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Trapa natans L. var. pumila Nakano
ชื่อสกุล
Trapa
คำระบุชนิด
natans
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Linnaeus, Carl von
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
var. pumila
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- Nakano
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1707-1778)
ชื่ออื่น ๆ
เขาควาย, มะแง่ง
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางสาวอำไพ ยงบุญเกิด