เดซูโซ

Elatostema monandrum (Buch.-Ham. ex D. Don) H. Hara.

ไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นค่อนข้างอวบมีเนื้อหรือเรียวผอม ตั้งหรือโค้งออกด้านข้างแล้วชูยอดตั้งขึ้น มักไม่แตกกิ่ง มีขนยาวห่างและเป็นขุย ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีเบี้ยวถึงรูปใบหอกเบี้ยว มีใบแคระเรียงเกือบตรงข้ามกับใบ ปรกติ ดอกแยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่นคล้ายจาน ออกตามซอกใบ มักแยกเป็น ๒ ซีก แต่ละซีกมีช่อกระจุกกลมหลายช่อ มีหลายดอก ดอกสีเหลืองอมเขียวอ่อนหรือสีขาวอมเขียว ผลแบบผลแห้ง เมล็ดล่อน รูปทรงรี ขนาดเล็ก ค่อนข้างแบนเล็กน้อย มีสันตามยาว ๖ สัน มีกลีบรวมขนาดเล็กติดทน มี ๑ เมล็ด


     เดซูโซเป็นไม้ล้มลุกหลายปี สูง ๕-๓๐ ซม. ลำต้นค่อนข้างอวบมีเนื้อหรือเรียวผอม ตั้งหรือโค้งออก ด้านข้างแล้วชูยอดตั้งขึ้น มักไม่แตกกิ่ง มีขนยาวห่างและ เป็นขุย
     ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีเบี้ยวถึงรูปใบหอกเบี้ยว กว้าง ๐.๔-๒ ซม. ยาว ๐.๘-๖.๕ ซม. ปลายแหลมถึงเรียว แหลม โคนรูปลิ่มเบี้ยว ขอบหยักซี่ฟันหรือหยักเว้าแบบ ขนนก แผ่นใบค่อนข้างบาง เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง มี ผลึกหินปูนรูปแถบหรือรูปกระสวยเห็นเด่นชัด กระจาย อยู่ประปรายหรือพบเฉพาะตามขอบใบ มีเส้นแขนงใบ หลักออกจากโคนใบ ๒ เส้น ก้านใบยาว ๑-๒ มม. หูใบ เห็นไม่ชัด มีใบขนาดเล็กที่เรียกว่าใบแคระ สีเขียว รูปรีถึง รูปใบหอก หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาว ๒-๖ มม. ปลายมน ขอบเรียบ ไร้ก้านหรือเกือบไร้ก้าน เรียงเกือบ ตรงข้ามกับใบปรกติ
     ดอกแยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ช่อดอกแบบ ช่อกระจุกแน่นคล้ายจาน ออกตามซอกใบ มักแยกเป็น ๒ ซีก แต่ละซีกมีช่อกระจุกกลมหลายช่อ มีหลายดอก มี ใบประดับรูปขอบขนาน ปลายกลมมน หรือรูปไข่ ๒-๓ ใบ รองรับดอกสีเหลืองอมเขียวอ่อนหรือสีขาวอมเขียว ช่อ ดอกเพศผู้ออกเดี่ยว ไม่แตกแขนง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๒ ซม. ก้านช่อดอกยาวประมาณ ๑ มม. หรือไร้ก้าน ใบประดับยาว ๒-๒.๕ มม. ใบประดับย่อยรูปใบหอกหรือ รูปขอบขนานถึงรูปแถบ ฐานดอกเห็นไม่ชัด ดอกเพศผู้มี วงกลีบรวมเชื่อมติดกันที่โคน ปลายแยกเป็น ๔-๕ แฉก สี เขียวอ่อน รูปรี มักมีติ่งคล้ายเขาสัตว์อยู่ต่ำกว่าปลายแฉก เล็กน้อย เกสรเพศผู้ ๔-๕ เกสร เรียงตรงข้ามกับแฉกกลีบ รวม ก้านชูอับเรณูม้วนงอในดอกตูม มีรังไข่ที่ไม่เจริญ ขนาดเล็กหรือไม่มี ช่อดอกเพศเมียออกเดี่ยว มีเส้นผ่าน ศูนย์กลาง ๒-๕ มม. ไร้ก้าน ฐานดอกขนาดเล็ก ใบประดับ รูปไข่กว้าง ใบประดับย่อยรูปช้อนแกมรูปแถบ ขอบมี ขนครุย ดอกเพศเมียมีวงกลีบรวมเชื่อมติดกันเล็กน้อย ที่โคน ปลายแยกเป็น ๔-๕ แฉก ขนาดเกือบเท่ากัน ยาว ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวรังไข่ ไม่มีติ่งคล้ายเขา สัตว์บริเวณปลายแฉก มีเกสรเพศผู้เป็นหมันขนาดเล็ก ๓-๕ เกสร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปทรงรี ตรง มี ๑ ช่อง มี ออวุล ๑ เม็ด ไม่มีก้านยอดเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศ เมียเป็นพู่คล้ายแปรงสั้น ๆ ร่วงง่าย
     ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงรี ขนาดเล็ก ค่อนข้างแบนเล็กน้อย มีสันตามยาว ๖ สัน มีกลีบรวม ขนาดเล็กติดทน มีเมล็ด ๑ เมล็ด
     เดซูโซมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคเหนือ พบตามป่าดิบเขา มักขึ้นตามก้อนหิน ชื้น ๆ ริมลำธาร ที่สูงจากระดับทะเล ๘๐๐-๒,๐๐๐ ม. ออก ดอกและเป็นผลเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ในต่างประเทศ พบที่อินเดีย (สิกขิม) เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน ตอนเหนือ ของเมียนมา และจีน.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
เดซูโซ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Elatostema monandrum (Buch.-Ham. ex D. Don) H. Hara.
ชื่อสกุล
Elatostema
คำระบุชนิด
monandrum
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Buch.-Ham. ex D. Don )
- H. Hara.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Buch.-Ham.) ช่วงเวลาคือ (1762-1829)
- D. Don ช่วงเวลาคือ (1799-1841)
- H. Hara ช่วงเวลาคือ (1911-1986)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางปริญญนุช กลิ่นรัตน์
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.