ดีลาม้อน

Duhaldea nervosa (Wall. ex DC.) Anderb.

ไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นมีขนหยาบแข็งหรือขนยาวห่าง สีน้ำตาลอมเหลืองหม่น ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรีหรือรูป ใบหอกกลับถึงรูปไข่กลับ ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น เป็นช่อเดี่ยวหรือช่อแยกแขนงคล้ายช่อกระจะโปร่ง ออก ที่ปลายยอด วงใบประดับรูประฆัง ดอกย่อยในช่อมี ๒ แบบ คือ ดอกย่อยวงนอกเป็นดอกเพศเมีย รูปลิ้น สีขาว และดอกย่อยวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีเหลือง ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูป กระสวย มีสัน มีกลีบเลี้ยงติดทนแบบแพปพัสลักษณะคล้ายหลอดรูเล็ก มีเมล็ด ๑ เมล็ด


     ดีลาม้อนเป็นไม้ล้มลุกหลายปี มีหัวใต้ดิน ลำต้น มักทอดชูยอด สูง ๐.๕-๑.๑ ม. มีขนหยาบแข็งหรือขนยาว ห่าง สีน้ำตาลอมเหลืองหม่น โคนต้นอาจมีตารูปกลมและ มีขนนุ่มหนาแน่น
     ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรีหรือรูปใบหอกกลับถึง รูปไข่กลับ กว้าง ๑.๕-๔.๕ ซม. ยาว ๕-๑๔ ซม. ปลายแหลม หรือเรียวแหลม โคนสอบเรียวไปยังก้านใบ ขอบหยัก ซี่ฟันเล็กน้อย หยักซี่ฟันแหลม หรือเรียบ มีขนหยาบแข็ง ทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบยาวได้ถึง ๖ มม. ใบใกล้ยอดมีขนาด เล็กกว่าและไร้ก้าน
     ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น เป็นช่อเดี่ยวหรือช่อ แยกแขนงคล้ายช่อกระจะโปร่ง ออกที่ปลายยอด ก้านช่อ ดอกยาว ๒-๖ ซม. มีขนหยาบแข็ง ช่อกระจุกแผ่เป็นรัศมี เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓ ซม. วงใบประดับ รูประฆัง กว้างและสูงประมาณ ๑ ซม. ใบประดับเรียงเป็น ๔-๕ ชั้น ซ้อนทับกัน ชั้นนอกรูปใบหอกแกมรูปแถบแคบ กว้าง ๐.๗-๑.๒ มม. ยาว ๐.๗-๑ ซม. ค่อนข้างคล้ายใบ มีขน หยาบแข็ง ปลายอาจมีสีม่วง มน แหลม หรือเรียวแหลม ชั้นในรูปใบหอกแกมรูปขอบขนานแคบ เนื้อบางคล้าย กระดาษ ปลายเรียวแหลม มีขนยาวห่าง ค่อนข้างตั้งตรง ฐานดอกนูนเล็กน้อย มีขนครุย ดอกย่อยในช่อมี ๒ แบบ คือ ดอกย่อยวงนอกเป็นดอกเพศเมีย รูปลิ้น มีประมาณ ๒๓ ดอก กลีบเลี้ยงลดรูปคล้ายหลอดรูเล็ก กลีบดอก สีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแผ่เป็นรูปใบหอกแกมรูป แถบแคบ กว้าง ๑.๕-๒.๕ มม. ยาวประมาณ ๖ มม. ปลาย หยักซี่ฟัน ๓ หยัก ดอกย่อยวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มี ๔๕-๕๐ ดอก กลีบเลี้ยงลดรูปคล้ายหลอดรูเล็ก กลีบดอก สีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ ๒.๕ มม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๐.๕ มม. เกสรเพศผู้ ๕ เกสร อับเรณูเชื่อมติดกันทางด้านข้างและ หุ้มก้านยอดเกสรเพศเมีย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๑ ช่อง มี ออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียแบน ยอดเกสรเพศเมีย รูปคล้ายช้อน ค่อนข้างแหลม

 

 


     ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปกระสวย ยาว ประมาณ ๑.๖ มม. มีสัน ๑๐ สัน มีขนประปราย และมี กลีบเลี้ยงติดทนแบบแพปพัสลักษณะคล้ายหลอดรูเล็ก ยาวประมาณ ๕ มม. สีขาวอมเหลืองหม่น มีเมล็ด ๑ เมล็ด
     ดีลาม้อนมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบตามทุ่งหญ้า ที่มีความชื้น ขึ้นปะปนกับหญ้าตามไหล่เขาและในป่าสน ที่สูงจากระดับทะเล ๗๐๐-๒,๑๕๐ ม. ออกดอกและเป็นผล เดือนกันยายนถึงกุมภาพันธ์ ในต่างประเทศพบที่เทือก เขาหิมาลัย แคว้นอัสสัม ภูฏาน เมียนมา จีน ลาว และ เวียดนาม.

 

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดีลาม้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Duhaldea nervosa (Wall. ex DC.) Anderb.
ชื่อสกุล
Duhaldea
คำระบุชนิด
nervosa
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Wall. ex DC.)
- Anderb.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Wall.) ช่วงเวลาคือ (1786-1854)
- DC. ช่วงเวลาคือ (1778-1841)
- Anderb. ช่วงเวลาคือ (1954-)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.