คำแสด ๑

Mallotus philippensis (Lam.) Müll. Arg.

ชื่ออื่น ๆ
กายขัดหิน, กือบอ, ขี้เนื้อ, ซาบอเส่, มะกายคัด, สากกะเบือละว้า (เหนือ); ขางปอย, ซาดป่า, ทองขาว (ตะวัน
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ทุกส่วนที่ยังอ่อนมีเกล็ด มีขนนุ่มหรือขนลากสีแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่ถึงรูปรี ดอกแยกเพศร่วมต้น ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกเพศผู้สีเขียว ดอกเพศเมียสีเหลืองหรือสีแดง มีกลิ่นหอมผลแบบผลแห้งแตก รูปค่อนข้างกลม เป็นพูตามยาวสีนํ้าตาลเข้ม หรือเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง เมล็ดรูปค่อนข้างรี สีดำ

คำแสดชนิดนี้เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง ๑๕ ม. ทุกส่วนที่ยังอ่อนมีเกล็ด มีขนนุ่มหรือขนสากสีแดง

 ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ถึงรูปรี กว้าง ๒-๑๑ ซม. ยาว ๔-๒๒ ซม. ปลายเรียวแหลมหรือยาวคล้ายหางโคนมน ขอบเรียบ อาจมีหยักซี่ฟันและมีต่อมที่ปลายหยัก แผ่นใบค่อนข้างหนา ด้านบนเกลี้ยง มีต่อมบริเวณ โคนใบ ๒-๔(-๖) ต่อม สีดำ ขนาดประมาณ ๑ มม. ด้านล่างมีขนและมีเกล็ดหนาแน่นเส้นโคนใบ ๓ เส้น


เส้นแขนงใบข้างละ ๓-๔ เส้น เส้นใบย่อยแบบขั้นบันไดเห็นชัดทางด้านล่าง ก้านใบยาว ๑.๕-๕.๒ ซม. หูใบรูปสามเหลี่ยม มักร่วงง่าย

 ดอกแยกเพศร่วมต้น ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง อาจมีช่อแยกแขนง ๑-๒ แขนง ดอกสมมาตรตามรัศมี ไม่มีกลีบดอกและจานฐานดอกช่อดอกเพศผู้ยาวได้ถึง ๑๘ ซม. ดอกติดเป็นกระจุก กระจุกละ ๓(-๔) ดอก ใบประดับรูปสามเหลี่ยม กว้างและยาวไม่เกิน ๑ มม. และมีใบประดับย่อยขนาดเล็กมาก ดอกเพศผู้มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒-๓ มม. สีเขียว มีกลิ่นหอม ก้านดอกยาว ๒-๓ มม. กลีบเลี้ยง ๒-๔ กลีบ รูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง ๑-๒.๕ มม. ยาว ๒-๒.๕ มม. เกสรเพศผู้ ๑๕-๒๐ เกสร ก้านชูอับเรณูยาว ๑-๑.๕ มม. สีขาวถึงสีเขียวอ่อน อับเรณูสีเหลืองอ่อน ยาวไม่เกิน ๑ มม. ช่อดอกเพศเมียยาวได้ถึง ๒๑ ซม. ช่อแขนงยาวได้ถึง ๕.๓ ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม กว้างและยาวไม่เกิน ๑ มม. ดอกเพศเมียมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔ มม. ออกเดี่ยวในแต่ละข้อ สีเหลืองหรือสีแดง มีกลิ่นหอมก้านดอกยาว ๐.๔-๓ มม. สีเขียว กลีบเลี้ยง ๓-๖ กลีบ รูปไข่ กว้าง ๐.๕-๒ มม. ยาว ๑-๒ มม. สีเขียวอมเหลืองรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ กว้างประมาณ ๑ มม. ยาว ๑.๒-๑.๔ มม. สีเขียวอ่อนมีจุดประสีแดงเข้ม มี ๒-๓ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมีย ยาว ๐.๔-๑ มม. สีเหลือง ยอดเกสรเพศเมียยาว ๓-๕ มม. สีเหลืองอ่อนหรือสีนํ้าตาล

 ผลแบบผลแห้งแตก รูปค่อนข้างกลม เป็นพูตามยาว กว้าง ๖-๘ มม. ยาว ๐.๘-๑๒ ซม. สีน้ำตาลเข้มหรือเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง มีขนสั้นนุ่ม แกนกลางผลยาว ๓.๕-๔ มม. เล็กเรียว ปลายกว้าง เมล็ดรูปค่อนข้างรี สีดำ

 คำแสดชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคพบตามป่าดิบ ป่าเต็งรัง ป่ารุ่นที่โดนแผ้วถาง ตามหินริมน้ำ ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับนํ้าทะเล ถึงประมาณ ๑,๒๒๕ ม. ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก ศรีลังกา ไต้หวัน ภูมิภาคมาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก

 ประโยชน์ ผลใช้เป็นสีย้อม ให้สีแดง.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
คำแสด ๑
ชื่อวิทยาศาสตร์
Mallotus philippensis (Lam.) Müll. Arg.
ชื่อสกุล
Mallotus
คำระบุชนิด
philippensis
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Lamarck, Jean-Baptiste Pierre Antoine de Monet de
- Müller Argoviensis, Johannes (Jean)
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Lamarck, Jean-Baptiste Pierre Antoine de Monet de (1744-1829)
- Müller Argoviensis, Johannes (Jean) (1828-1896)
ชื่ออื่น ๆ
กายขัดหิน, กือบอ, ขี้เนื้อ, ซาบอเส่, มะกายคัด, สากกะเบือละว้า (เหนือ); ขางปอย, ซาดป่า, ทองขาว (ตะวัน
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต