ชะแมบเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง ๓ ม. กิ่งรูปทรงกระบอก เกือบเกลี้ยง มีช่องอากาศทั่วไป กิ่งอ่อนมี ๖-๗ เหลี่ยม สีเหลืองหรือเทามีขนคล้ายไหม
ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงเวียน มีใบย่อย ๓ ใบ รูปรี รูปไข่ถึงรูปกลม หรือรูปไข่กว้าง ปลายและโคนใบมนถึงแหลม ขอบเรียบ ใบย่อยที่ปลายกว้าง ๓.๕-๗ ซม. ยาว ๕-๑๔ ซม. ใบย่อยด้านข้ำงกว้าง ๑.๕-๖ ซม. ยาว ๓-๑๑ ซม. แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เมื่ออ่อนมีขนคล้ายไหมทั้ง ๒ ด้าน เมื่อแก่ด้านบนเกือบเกลี้ยง ด้านล่างมีนวล มีขนเฉพาะตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบ เส้นแขนงใบข้างละ ๗-๑๒ เส้น เห็นชัดเจน ก้ำนใบยาว ๒-๕ ซม. เมื่ออ่อนมีขนคล้ายไหม เมื่อแก่เกือบเกลี้ยง ก้านใบย่อยยาว ๐.๕-๒ ซม. หูใบร่วงง่าย ครึ่งล่างเชื่อมติดกันเป็นเกล็ดมี ๒ แฉก ยาว ๖-๙ มม. ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขนคล้ายไหมหนาแน่นตามขอบ หูใบย่อยติดทนรูปเส้นด้ำยหรือรูปลิ่มแคบ ยาว ๑.๕-๕ มม. มีขนสั้นนุ่มทางด้านล่างและตามขอบ
ช่อดอกคล้ายช่อซี่ร่ม ออกที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว ๐.๓-๑ ซม. เมื่ออ่อนมีขนคล้ายไหม พบน้อยที่เป็นช่อแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง ๖ ซม. แต่ละช่อมี ๑๐-๒๐ ดอก ใบประดับบางและแห้ง ร่วงง่าย รูปไข่กว้าง ๑-๑.๕ มม. ยาว ๒-๒.๕ มม. ปลายแหลม ขอบมีขนครุย ด้านนอกมีขนละเอียด ด้านในเกลี้ยงใบประดับย่อยร่วงง่าย รูปคล้ายใบประดับ กว้างประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๒.๕ มม. ปลายแหลมก้านดอกยาว ๐.๕-๑.๒ ซม. มีขนคล้ายไหมหนาแน่น กลีบเลี้ยงยาว ๔-๕ มม. โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว ๒-๒.๕ มม. ด้านนอกมีขนคล้ายไหมหนาแน่น ด้านในมีขนละเอียดหนาแน่น ปลายหลอดแยกเป็น ๔ แฉก แฉกด้านบนรูปไข่กว้าง ปลายแยกเป็นจักซี่ฟัน ๒ จัก กว้าง ๑.๕-๑.๘ มม. ยาว ๒-๓ มม. แฉกด้านข้างรูปสำมเหลี่ยม กว้าง ๑.๒-๑.๕ มม. ยาว ๒.๕-๓ มม. ปลายเรียวแหลม แฉกด้านล่างรูปไข่ กว้างประมาณ ๑.๕ มม. ยาว ๒.๕-๓ มม.ปลายเรียวแหลม ดอกรูปดอกถั่ว สีขาว กลีบกลางรูปไข่กลับกว้างหรือรูปรี กว้าง ๐.๖-๑ ซม. ยาว๑-๑.๓ ซม. ปลายมนกลมถึงเว้าตื้น โคนรูปลิ่มมีก้านกลีบยาว ๑.๕-๓ มม. กลีบคู่ข้างรูปรีแคบ กว้าง ๑-๒.๕ มม. ยาว ๑.๑-๑.๓ ซม. ปลายมน โคนรูปติ่งหูก้านกลีบยาว ๒.๕-๔ มม. กลีบคู่ล่างกว้าง ๓-๕ มม. ยาว ๑.๑-๑.๓ ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนรูปติ่งหูก้านกลีบยาว ๓-๔ มม. เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร ยาว ๐.๘-๑ ซม. ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดเป็นกลุ่มเดียวอับเรณูรูปทรงรี กว้างประมาณ ๐.๒ มม. ยาวประมาณ ๐.๖ มม. เกสรเพศเมียยาว ๑.๔-๑.๕ ซม. รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ยาว ๒-๒.๕ มม. มีขนคล้ายไหมหนาแน่นมี ๑ ช่อง ออวุล ๒-๘ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียยาว ๑.๒-๑.๓ ซม. เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียขนาดเล็ก
ผลแบบฝักหักข้อ รูปขอบขนานแคบ โค้ง กว้าง ๔-๖ มม. ยาว ๒-๓.๕ ซม. มี ๓-๕ ข้อ เมื่ออ่อนมีขนละเอียดหนาแน่น เมื่อแก่มีขนสั้นนุ่มหรือเกือบเกลี้ยง รอยเชื่อมด้านบนเป็นคลื่นตามขอบ รอยเชื่อมด้านล่างเป็นคลื่นและคอดระหว่างเมล็ด เมล็ดรูปทรงรีหรือทรงรีกว้าง กว้าง ๒.๙-๓.๑ มม. ยาว ๔-๔.๒ มม. มีเยื่อหุ้มเมล็ดบาง ๆ ที่ขอบ
ชะแมบมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ พบตามป่าชายหาด ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึงประมาณ ๑๐๐ ม. ออกดอกเดือนเมษายนถึงสิงหาคม เป็นผลเดือนกันยายนถึงกุมภาพันธ์ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา เมียนมา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่นตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย.