Pan-Slavism (-)

อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟ (-)

อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟเป็นแนวคิดของปัญญาชนสลาฟที่ได้รับอิทธิพลจากความคิดยุคภูมิธรรม (Age of Enlightenment) เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ภราดรภาพ และความเสมอภาคซึ่งปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรมในการต่อสู้เพื่อการสร้างชาติสมัยใหม่ของชาวฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ (French Revolution of 1789)* และตลอดระยะเวลาของสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars ค.ศ. ๑๗๙๒-๑๘๐๒)* อุดมการณ์ปัญญาชนสลาฟนี่เป็นพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดขบวนการทำงวัฒนธรรมเพื่อค้นหาและฟื้นฟูตัวตนที่แท้จริงของชนเผ่าสลาฟเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีศักดิ์ศรีในฐานะประชาชาติที่เท่าเทียมกับชนเผ่าอื่นๆ ในทวีปยุโรป และเมื่อลัทธิชาตินิยม (nationalism) และลัทธิเสรีนิยม (liberalism) ขยายอิทธิพลไปอย่างกว้างขวางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ก็ยิ่งทำให้ขบวนการทำงวัฒนธรรมขยายขอบเขตกลายเป็นขบวนการทางการเมืองที่เกิดมีความหมายอย่างจริงจังในการต่อสู้เพื่อการรวมชนเผ่าสลาฟกลุ่มต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยเฉพาะนับแต่ครึ่งหลังชองคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา อย่างไรก็ดี ความพยายามดังกล่าวไม่อาจบรรลุผลได้เต็มที่ เนื่องจากสลาฟกลุ่มต่าง ๆ เกิดขัดแย้งในผลประโยชน์ ทางการเมืองทำให้มองข้ามความสำคัญชองเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมที่มีอยู่ร่วมกัน

 ชนเผ่าสลาฟอาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออก แม้จะมีประวัติศาสตร์เป็นของตนเองมายาวนานกว่า ๑,๐๐๐ ปี และมีชาวสลาฟจำนวนมาก เช่นชาวรัสเซียและชาวโปลที่สามารถสร้างชาติได้ยิ่งใหญ่ แต่ก็มีชาวสลาฟจำนวนไม่น้อยที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อคงความเป็นชาติครั้งแล้วครั้งเล่า ที่สำคัญคือ กลุ่มออสโตรสลาฟ (Austroslav) หรือสลาฟที่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Habsburg)* ประกอบด้วยพวกเช็ก (Czech) แห่งโบฮีเมีย (Bohemia) และโมเรเวีย (Moravia) ทางตอนเหนือของออสเตรีย พวกสโลวีน (Slovene) แห่งสตีเรีย (Styria) คารินเทีย (Carinthia) และคาร์นิโอลา (Carniola) ทางตอนใต้ของออสเตรีย พวกสโลวัก (Slovak) ซึ่งอาศัยอยู่ในฮังการีตอนเหนือ พวกโครแอต (Croat) และพวกเซิร์บ (Serb) ในฮังการีตอนใต้อีกกลุ่มหนึ่งคือยูโกสลาฟ (Yugoslav) หรือสลาฟใต้ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire)* ประกอบด้วยกลุ่มที่สำคัญคือโครแอต-สลาโวเนีย (Slavonia) เซิร์บและสโลวีนสลาฟกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้มีวิถีทางเป็นของตนเองในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองซึ่งแม้จะไม่ได้ผลแต่ก็ยังคงสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางภาษาศิลปวัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของชนเผ่าตลอดเวลาในบางครั้งอาจมีการปรึกษาหารือและช่วยเหลือกันในการเคลื่อนไหวเช่นกรณีของพวกเซิร์บและใครแอตภายใต้การปกครองของฮังการีซึ่งอยู่ในปกครองของออสเตรีย หรือกรณีของพวกสลาฟใต้ในเขตการปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน

 อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟเริ่มปรากฏชัดเจนโดยเฉพาะในช่วงสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศสที่นำความคิดของยุคภูมิธรรมและการสร้างชาติสมัยใหม่เผยแพร่ไปยังส่วนต่าง ๆ ของยุโรป ปัญญาชนสลาฟดื่มดํ่ากับสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลในการแสดงออก และสิทธิของชนกลุ่มต่าง ๆ ในการปกครองตนเองบนพื้นฐานของประวัติศาสตร์ ศาสนา ความเชื่อ และวัฒนธรรมของชนเผ่า ยันโคลลาร์ (Jan Kollar) ชาวสโลวักมีผลงานเขียนที่ทรงอิทธิพลยิ่งต่อปัญญาชนเช็กสโลวัก เซิร์บ โครแอต โปล และยูเครนทำให้เกิดวิธีการฟื้นฟูภาษา วรรณคดี ปรัชญาความคิด นิทานพื้นบ้านตลอดจนศิลปวัฒนธรรม เพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการต่อสู้ร่วมกันของชาวสลาฟให้รอดพ้นจากการถูกคุกคามทางวัฒนธรรมของคนต่างเผ่าโดยเฉพาะชาวเยอรมันแมกยาร์ (Magyar) หรือฮังการี และเติร์ก ฟรานชิเชก พาลัตซ์กี (František Palacký) นักประวัติศาสตร์ นักคิด และนักเขียนชาวเช็กก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ใช้ภาษา การแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ กระตุ้นจิตวิญญาณและสำนึกของความเป็นชนชาติของชาวเช็กในกระแสชาตินิยมรุนแรงในดินแดนเยอรมันการปฏิวัติ ค.ศ. ๑๘๔๘ (Revolutions of 1848)* ในรัฐเยอรมันต่าง ๆ ปลุกเร้าจิตสำนึกและอารมณ์ของประชาชนให้ต่อต้านรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนแปลงแนวทางการปกครองตามระบอบใหม่และหากเป็นไปได้ก็ให้มีการรวมเยอรมันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเพื่อให้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วรัฐทั้งหลายจึงส่งตัวแทนเข้าประชุมในสภาแห่งชาติแฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt National Assembly)* ค.ศ. ๑๘๔๘-๑๘๔๙ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาคือ รัฐของชนเผ่าอื่นเช่นแมกยาร์และสลาฟในเขตการปกครองของจักรวรรดิออสเตรียควรทำเช่นใด

 ในวันที่ ๒ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๔๘ มีการจัดการประชุมใหญ่ของพวกสลาฟ (Slav Congress) ขึ้นที่กรุงปรากราชอาณาจักรโบฮีเมีย โดยมีพาลัตซ์กีเป็นผู้นำจัดประชุม ทั้งนี้เพราะเขาเห็นว่าชนเผ่าสลาฟไม่ควรเข้าร่วมประชุมสภาแห่งชาติแฟรงก์เฟิร์ต เว้นแต่จะได้รับความมั่นใจว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันพาลัตซ์กีมีความภาคภูมีใจในการเป็นคนโบฮีเมียเชื้อสายสลาฟ แต่ขณะเดียวกันในฐานะเป็นคนของรัฐโบฮีเมียที่เคยมีความสำคัญแม้ในหมู่รัฐเยอรมันมาตั้งแต่ครั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)* พาลัตซ์กีเห็นว่าราชวงศ์ฮับส์บูร์กยังคงมีความสำคัญต่อความอยู่รอดของกลุ่มออสโตรสลาฟ เขาเห็นว่าจักรพรรดิออสเตรียผู้ทรงภูมิธรรมจะสามารถปกป้องพวกสลาฟในปกครองของพระองค์ให้พันจากการถูกชนชาติเยอรมันยํ่ายีได้ อย่างไรก็ดี ความเห็นของเขาไม่ได้รับการยอมรับจากตัวแทนสลาฟกลุ่มอื่นๆ ยกเว้นพวกสโลวินเพราะศัตรูของสลาฟเหล่านั้นไม่ใช่ชนเผ่าเยอรมันพวกสโลวักเซิร์บและโครแอตในฮังการีจะเห็นพวกแมกยาร์เป็นศัตรูพวกโปลไม่ว่าจะอยู่ในเขตการปกครองของชนชาติใดจะเห็นรัสเซียเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่ง ขณะที่ยูโกสลาฟจะเห็นพวกเติร์กเป็นศัตรูสำคัญที่สุดของพวกเขา สำหรับรัสเซียซึ่งเป็นประเทศสลาฟใหญ่ที่สุดมีมีฮาอิล บาคูนิน (Mikhail Bakunin)* ซึ่งแต่งตั้งตัวเองเป็นผู้แทนของสลาฟรัสเซียมีความเห็นรุนแรงกว่าคนอื่นเพราะเขาต้องการเห็นการล่มสลายของราชวงศ์ฮับส์บูร์กและการเปลี่ยนแปลงถึงขั้นการปฏิวัติในรัสเซีย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างชาติสลาฟในรูปแบบสหพันธรัฐของเสรีชนที่มีฐานสำคัญคือชาวนา

 การประชุมใหญ่ครั้งนั้นใช้เวลา ๑๐ วันจนถึงวันที่ ๑๒ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๔๘ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการรวมสลาฟที่เกินเลยขอบเขตของการรวมทางวัฒนธรรม ผู้เข้าประชุมบางคนคาดหวังที่จะให้มีการกำหนดแนวนโยบายการเมืองการปกครองร่วมกันของชนเผ่าสลาฟกลุ่มต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ได้เกิดปัญหาความขัดแย้งในเรื่องรูปแบบและแนวทางการรวมกลุ่มสลาฟ ประกอบกับตัวแทนสลาฟกลุ่มต่าง ๆ ที่เข้าประชุมก็มีภูมิหลังแตกต่างกันมากทำให้การประชุมขาดเอกภาพและทิศทางที่ชัดเจน

 หลังการประชุมที่กรุงปราก อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้นโดยมีผู้นำที่เป็นทั้งปัญญาชนนักคิด นักเขียนนักการเมือง นักการทูต และนักการทหาร ทำให้อุดมการณ์นี่มีผู้นำไปปฏิบัติให้เกิดผลดียิ่งขึ้นหลังสงครามไครเมีย (Crimean War ค.ศ. ๑๘๕๓-๑๘๕๖)* เกิดพลังต่อต้านโลกตะวันตกรวมทั้งพลังความผูกพันกับคนเผ่าเดียวกันขึ้นในรัสเซีย ซึ่งมีผลให้ปัญญาชนรัสเซียหันมาทำความเข้าใจความคิด จิตวิญญาณและความเป็นตัวตนของรัสเซียและพี่น้องชาวสลาฟรอบข้างมากขึ้นฟีโอดอร์ เอ็ม. ดอสโตเยฟสกี (Fyodor M. Dostoyevsky) นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของรัสเซียเห็นความเป็นปฏิปักษ์ที่หยั่งรากลึกระหว่างรัสเซียกับยุโรป และเห็นความยิ่งใหญ่ชองวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของรัสเซียเหนือโลกตะวันตก มีฮาอิล พี. โปโกดิน (Mikhail p. Pogodin) นักประวัติศาสตร์และนีโคไล ยา. ดานิลอฟสกี (Nikolai Ya. Danilevsky) นักเขียนต่างมีความเห็นว่าโชคชะตากำหนดให้รัสเซียเป็นมหาอำนาจชาวสลาฟที่จะนำการต่อสู้ระหว่างยุโรปสลาฟที่ทรงพลังกับยุโรปตะวันตกที่กำลังอ่อนล้าและเสื่อมสลาย เหตุนี่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ แม้อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟจะไม่ใช่นโยบายอย่างเป็นทางการของรัฐบาลรัสเซีย แต่ก็ได้มีคนบางคนเช่นนีโคไล พี. อิกนาเตียฟ (Nikolai p. Ignatiev) เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำกรุงคอน-สแตนติโนเปิลระหว่าง ค.ศ. ๑๘๖๔-๑๘๗๗ และนายพล มีฮาอิล จี. เชอร์เนียเยฟ (Mikhail G. Chernyayev) ผู้พิชิตเตอร์กีสถาน (Turkestan) นำเอาอุดมการณ์นี่ไปเป็นส่วนหนึ่งชองแนวความคิดลัทธิคลั่งชาติ (Chauvinism) และลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism)* สงครามรัสเซีย-ตุรกี (Russo-Turkish War ค.ศ. ๑๘๗๗-๑๘๗๘)* ก็แสดงถึงการขยายอำนาจและอิทธิพลของรัสเซียเข้าไปในคาบสมุทรบอลข่านและเอเชียกลาง

 ส่วนพวกออสโตรสลาฟและยูโกสลาฟในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ก็พยายามเรียกร้องและต่อสู้ให้มีสิทธิในการปกครองตนเอง อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟจึงผนวกแนวคิดทางการเมืองการปกครองมากขึ้นขณะเดียวกันก็จำกัดการรวมกลุ่มให้แคบเข้าตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เช่นขบวนการรวมกลุ่มของพวกเช็กและสโลวักซึ่งแม้จะเคยมีความสัมพันธ์กันในระยะแรก แต่ก็แยกจากกันนับเป็นพันปีโดยในภายหลังพวกเช็กตกอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของรัฐบาลออสเตรีย ขณะที่สโลวักอยู่ใต้การปกครองของฮังการี สลาฟทั้ง ๒ กลุ่มมีแนวทางการต่อสู้แยกจากกันอย่างไรก็ดี เมื่อมีการสถาปนาจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary)* โดยนำเอาระบอบราชาธิปไตยคู่ (Dual Monarchy)* เข้ามาใช้ใน ค.ศ. ๑๘๖๗ จักรวรรดิออสเตรียทั้งหมดจึงถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ จักรวรรดิออสเตรียและราชอาณาจักรฮังการี ทั้ง ๒ ประเทศต่างมีฐานะเป็นประเทศเอกราชที่อยู่ภายใต้การปกครองของประมุของค์เดียวกันคือจักรพรรดิแห่งออสเตรียซึ่งดำรงพระอิสริยยศเป็นกษ์ตริย์แห่งฮังการีด้วย และใช้ธงชาติร่วมกันทั้ง ๒ ประเทศ ต่างก็มีรัฐบาล ระบบราชการ รัฐสภา และภาษาราชการของตนเอง รวมทั้งสามารถบริหารกิจการภายในเป็นเอกเทศได้ยกเว้นกิจการทหาร การคลัง และการต่างประเทศที่ต้องดำเนินการร่วมกันปัญหาที่เกิดขึ้นคือชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศทั้งสองจะอยู่ในสถานะใด

 สำหรับชาวเช็กยังคงเห็นควรรวมอยู่กับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แต่ได้ใช้รัฐสภาเป็นเวทีเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องสิทธิการปกครองตนเอง และเพื่อให้โบฮีเมียมีสถานะเท่าเทียมกับฮังการี ชาวสโลวักสนับสนุนพวกเช็กในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ แม้ไม่เป็นผลเพราะถูกต่อต้านจากทั้งออสเตรียและฮังการี แต่ก็ทำให้พวกเช็กกับสโลวักมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากขึ้นนอกจากนั้นยังต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการต้องสู้ทางการเมืองนับแต่นี่ไปต้องอาศัยการผนึกกำลังกันเท่านั้นจึงจะทำให้บรรลุผลได้ ใน ค.ศ. ๑๘๙๕ ปัญญาชนชาตินิยมชาวเช็กและสโลวัก จัดให้มีการประชุมใหญ่ของประชาชนที่ถูกกดขี่ของฮังการี (Congress of Oppressed People of Hungary) ขึ้นที่กรุงบูดาเปสต์ (Budapest) เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและอำนาจการปกครองตนเอง ผลสำคัญของการประชุมครั้งนี้คือ เกิดมีแนวคิดที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับความร่วมมือและช่วยเหลือกันระหว่างเช็กกับสโลวักในการเคลื่อนไหวทางการเมืองในอนาคต สำหรับพวกเซิร์บและใครแอตก็รับชะตากรรมเดียวกับพวกสโลวักที่ต้องถูกรัฐบาลฮังการีปกครองอย่างเข้มงวดและกดขี่ คนทั้ง ๒ กลุ่มจึงมีความพยายามร่วมกันในการเคลื่อนไหวเพื่อจะรักษาสถานะที่เป็นอิสระให้ได้ในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนความเคลื่อนไหวของพวกสโลวินที่อยู่ใต้การปกครองของออสเตรียและพวกยูโกสลาฟในคาบสมุทรบอลข่านด้วย

 ตลอดครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ อุดมการณ์ รวมกลุ่มสลาฟนำไปสู่การต่อสู้เพื่อสร้างรัฐชาติในคาบสมุทรบอลข่านในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๘๘๕ เกิดกบฏในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา (Bosnia-Herzegovina)* เพื่อสร้างรัฐอิสระ โดยมีออสโตรสลาฟให้กำลังใจและสนับสนุนเท่าที่จะทำได้ ใน ค.ศ. ๑๘๗๖ เซอร์เบีย (Serbia) มอนเตเนโกร (Montenegro) และบัลแกเรีย (Bulgaria) เป็นกบฏต่อจักรวรรดิออตโตมันเช่นกันแต่การกบฏก็ถูกกองทัพออตโตมนปราบปราม จึงทันไปขอความช่วยเหลือจากรัสเซียที่ตั้งตนเป็นผู้ปกป้องชนชาติสลาฟในคาบสมุทรบอลข่านและนับเป็นโชคดีที่นับแต่นั้นเป็นต้นมารัสเซียเป็นฝ่ายมีชัยในสงครามรัสเซีย-ตุรกี และบีบบังคับให้ออตโตมันลงนามในสนธิสัญญาซานสเตฟาโน (Treaty of San Stefano) ใน ค.ศ. ๑๘๗๘ แต่ชาติมหาอำนาจไม่ยอมรับ ในปีเดียวกันนั้นจึงจัดให้มีการประชุมร่วมกันในการประชุมใหญ่แห่งเบอร์ลิน (Congress of Berlin)* เพื่อแก้ไขสนธิสัญญาซานสเตฟาโนและสร้างดุลแห่งอำนาจใหม่ในคาบสมุทรบอลข่านการแทรกแซงของมหาอำนาจทำให้รัสเซียถูกจำกัดบทบาทในคาบสมุทรบอลข่านและทำให้ขบวนการทางการเมืองของชนชาติสลาฟรวมทั้งชนชาติอื่นๆ ในภูมิภาคต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของมหาอำนาจด้วย อย่างไรก็ดี เซอร์เบียได้รับการรับรองให้มีเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนเอง ขณะที่บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนากลายเป็นรัฐในอารักขาของออสเตรีย-ฮังการี การเข้ามามีบทบาทของออสเตรียในคาบสมุทรบอลข่านและการคงอยู่อย่างอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันทำให้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองในภูมิภาคนี่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเกิดสงครามบอลข่าน (Balkan Wars)* ขึ้น ๒ ครั้งระหว่าง ค.ศ. ๑๙๑๒-๑๙๑๓ และท้ายสุดสงครามโลกครั้งที่ ๑ (First World War)* ก็เกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๑๔ จนถึง ค.ศ. ๑๙๑๘

 ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ ดำเนินอยู่ พวกเช็กและสโลวักได้พยายามรวมตัวกันอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยร่วมมือกันต่อต้านฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers)* แม้จะขัดแย้งกันด้านแนวนโยบายในการสู้รบอยู่บ้าง แต่ทั้ง ๒ ฝ่ายก็เห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเรียกร้องเอกราชโดยได้มีการจัดตั้งสภาแห่งชาติเชโกสโลวัก (Czechoslovak National Council) ขึ้นและในช่วงปลายสงครามสภาแห่งชาติก็ได้ประกาศเอกราชแยกตัวจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๘ ประเทศเกิดใหม่มีชื่อว่า “เชโกสโลวะเกีย” (Czechoslovakia) และมีกรุงปรากเป็นเมืองหลวง จึงนับว่าการต่อสู้ที่มีมายาวนานเป็นศตวรรษเพื่ออุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟของทั้ง ๒ กลุ่มบรรลุผล

 สำหรับสลาฟใต้ก็ได้มีความพยายามรวมกลุ่มกันโดยมีเซอร์เบียเป็นผู้นำ โดยใน ค.ศ. ๑๙๑๘ ก่อนสงครามยุติประชาชนในแคว้นวอยโวดีนา (Vojodina) ขอรวมกับเซอร์เบียและทันทีที่สงครามยุติ เซอร์เบียก็ถือโอกาสผนวกมอน-เตเนโกรไว้กับเซอร์เบีย ระหว่างที่เซอร์เบียกำลังรวมเข้ากับวอยโวดีนาและมอนเตเนโกร ชนชาติสลาฟในปกครองของออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งพ่ายแพ้สงครามก็ขอรับการคุ้มครองจากกษัตริย์เซอร์เบีย ใน ค.ศ. ๑๙๑๘ เซอร์เบียจึงกลายเป็นแกนนำและประสบความสำเร็จในการรวมชาติสลาฟใต้ใด้เป็นครั้งแรก มีการสถาปนาราชอาณาจักรเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes)* ขึ้นเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๑๘ โดยมีพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์ที่ ๑ (Alexander I) แห่งเซอร์เบียเป็นประมุขและมีกรุงเบลเกรด (Belgrade) เป็นเมืองหลวง ราชอาณาจักรใหม่นี่ประกอบด้วยรัฐทั้งที่เคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและจักรวรรดิออตโตมันได้แก่ เซอร์เบีย [รวมวอยโวดีนามอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย (Macedonia)] โครเอเชีย (Croatia) บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ดัลเมเชีย (Dalmatia) และสโลวีเนีย (Slovenia) การรวมกันครั้งนี้นับเป็นการรวมกลุ่มสลาฟจำนวนมากกลุ่มที่สุด

 สงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้นำความพ่ายแพ้และการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงมาให้แก่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและจักรวรรดิออตโตมันนอกจากนั้นยังเป็นการเริ่มต้นการรวมกลุ่มสลาฟในความหมายใหม่ที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและความเป็นไปได้ในทางภูมิศาสตร์นอกเหนือไปจากเรื่องชาติพันธุ์ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และจิตวิญญาณของชนเผ่า ทั้งยังช่วยปลดปล่อยชนเผ่าสลาฟกลุ่มต่าง ๆ ให้เป็นอิสระยกเว้นพวกยูเครน (Ukrainian) และเบโลรัสเซีย (Belorussian) ที่ต้องการแยกตัวจากรัสเซียเป็นประเทศใหม่แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ สำหรับประเทศที่อุดมการณ์รวมชาติบรรลุผลก็ต้องเผชิญกับปัญหาภายในนานัปการ พวกเช็กและสโลวักเมื่อรวมกันเป็นประเทศก็ได้ค้นพบว่าแท้จริงแล้วประชาชน๒ กลุ่มแตกต่างกันมากโดยภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม พวกเช็กได้ผ่านพัฒนาการทางสังคมที่ทำให้มีความก้าวหน้าและทันสมัย ขณะที่พวกสโลวักส่วนใหญ่ยังคงล้าหลังและยากจนความสัมพันธ์ของคน๒ กลุ่มเมื่ออยู่ร่วมกันจึงไม่ราบรื่นและขัดแย้งกันบ่อยครั้งแม้จะมีคนนอก คือ สหภาพโซเวียตเช้ามาแทรกแซงจัดระเบียบใหม่ในยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออกในช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ ๒ (Second World War)* ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น

 ราชอาณาจักรเซิร์บ โครแอต และสโลวีนก็ต้องเผชิญกับปัญหาความยุ่งยากทางการเมืองภายในเช่นเดียวกันสืบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มชนชาติสลาฟที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรบอลข่าน๒ กลุ่ม คือ เซิร์บกับ โครแอต ความขัดแย้งได้ลุกลามบานปลายเป็นสงครามที่ทำรุณโหดร้ายนำความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนพลเมืองเป็นจำนวนมหาศาล รัฐบาลพยายามแก้ไขสถานการณ์ด้วยการปรับโครงสร้างของประเทศหลายครั้ง โดยใน ค.ศ. ๑๙๒๙ ได้ปรับเปลี่ยนการบริหารประเทศและใช้ชื่อใหม่เป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (Kingdom of Yugoslavia) และใน ค.ศ. ๑๙๔๖ ก็ปรับครั้งใหญ่พร้อมทั้งมีชื่อใหม่ว่าสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย (Federation of Socialist Republics of Yugoslavia) และแม้สหภาพโซเวียตจะมีส่วนช่วยจัดระเบียบใหม่ให้ แตกไม่อาจช่วยให้รัฐของสลาฟใต้อยู่รวมกันได้อย่างปรกติสุข

 เมื่อเกิดการปฏิวัติ ค.ศ. ๑๙๘๙ (Revolutions of 1989)* ในประเทศยุโรปตะวันออกซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดของระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกและการเคลื่อนไหวแยกตัวออกของสาธารณรัฐต่าง ๆ ในเครือสหภาพโซเวียตการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายลงใน ค.ศ. ๑๙๙๑ และกระแสชาตินิยมก็แพร่กระจายไปทั่วยุโรป พวกเช็กและสโลวักจึงต่างตกลงแยกจากกันเป็น ๒ ประเทศใน ค.ศ. ๑๙๙๓ ส่วนใครเอเชียและสโลวีเนียพยายามแยกตัวออกจากสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียซึ่งก็ยิ่งทำให้เกิดการเผชิญหน้าและเกิดเป็นสงครามล้างเผ่าพันธุ์ทั้งในโครเอเชีย บอสเนีย และคอซอวอ (Kosovo) จนท้ายสุดสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียก็มีอันล่มสลาย สลาฟใต้แต่ละกลุ่มต่างก็แยกกันแสวงหาแนวทางการสร้างชาติและรักษาผลประโยชน์ชองชาติตนไว้การรวมกลุ่มสลาฟที่เคยเป็นอุดมการณ์สูงส่งของชนเผ่าสลาฟ จึงกลายเป็นอดีตที่ไม่อาจฟินกลับมาได้อีก.



คำตั้ง
Pan-Slavism
คำเทียบ
อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟ
คำสำคัญ
- การปฏิวัติ ค.ศ. ๑๘๔๘
- การปฏิวัติ ค.ศ. ๑๙๘๙
- การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙
- การประชุมใหญ่ของพวกสลาฟ
- การประชุมใหญ่แห่งเบอร์ลิน
- โครเอเชีย
- เชโกสโลวะเกีย
- ดอสโตเยฟสกี, ฟีโอดอร์ เอ็ม.
- ดานิลอฟสกี, นีโคไล ยา.
- บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา
- บัลแกเรีย
- บาคูนิน, มีฮาอิล
- โบฮีเมีย
- โปโกดิน, มีฮาอิล พี.
- พาลัตซ์กี, ฟรานชิเชก
- มหาอำนาจกลาง
- ยุคภูมิธรรม
- ยูโกสลาเวีย
- ยูเครน
- ระบอบราชาธิปไตยคู่
- ลัทธิคลั่งชาติ
- ลัทธิจักรวรรดินิยม
- ลัทธิชาตินิยม
- ลัทธิเสรีนิยม
- สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส
- สงครามไครเมีย
- สงครามบอลข่าน
- สงครามรัสเซีย-ตุรกี
- สงครามโลกครั้งที่ ๑
- สงครามโลกครั้งที่ ๒
- สภาแห่งชาติแฟรงก์เฟิร์ต
- ออสเตรีย-ฮังการี
- อุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟ
ช่วงเวลาระบุเป็นคริสต์ศักราช
-
ช่วงเวลาระบุเป็นพุทธศักราช
-
มัลติมีเดียประกอบ
-
ผู้เขียนคำอธิบาย
สุจิตรา วุฒิเสถียร
บรรณานุกรมคำตั้ง
แหล่งอ้างอิง
-