Ukraine

ยูเครน




     ยู เครนเป็นประเทศในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้และเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตหรือสหภาพโซเวียต (Union of the SovietSocialist Republics - USSR) เป็นดินแดนที่มีความแตกแยกทางวัฒนธรรมฝังรากึลกมาตั้งแต่อดีตโดยภาคตะวันออกใกล้ชิดกับรัสเซีย และภาคตะวันตกใกล้ชิดกับยุโรปทั้งยังถูกยึดครองจากมหาอำนาจต่างชาติมาโดยตลอด ยูเครนเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุเชียร์โนบีล (Chernobyl Accident) จากโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในยูเครนทางตอนเหนือใน ค.ศ. ๑๙๘๖ ยูเครนได้เป็นประเทศเอกราช เมื่อวันที่ ๒๔สิงหาคม ค.ศ ๑๙๙๑ โดยใช้โอกาสจากความผันผวนทางการเมืองในกรุงมอสโกที่สืบเนื่องจากการพยายามโค่นอำนาจประธานาธิบดีกอร์บอชอฟ แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตและประเทศเอกราช จึงได้ชื่อว่าเป็น “ชาติที่ก่อตั้งขึ้นโดยไม่คาดคิด”(Unexpected Nation) ใน ค.ศ. ๑๙๙๑
     หลักฐานทางโบราณคดีระบุว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในดินแดนยู เครนตั้งแต่ยุคหินใหม่ประมาณ ๕,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ใน ๑,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่เรียกว่าซิมเมอเรียน (Cimmerian) จากทวีปเอเชียได้เข้ารุกรานชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในที่ราบสเตปป์ (steppe) ทางตอนใต้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำดานูบ (Danube) พวกซิมเมอเรียนเป็นชนเผ่าแรกในยูเครนที่นำเหล็กมาใช้เป็นอาวุธและตั้งชุมชนหนาแน่นตามชายฝั่งตอนเหนือของทะเลดำ แต่ใน ๗๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชก็ถูกพวกซิเทียน (Scythian) จากเอเชียกลางซึ่งเชี่ยวชาญในการรบบนหลังม้าและการใช้ธนูและดาบสั้นเข้ารุกรานและปกครอง ในช่วงเวลาเดียวกันพวกกรีกก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสถานีการค้าในคาบสมุทรไครเมียบริเวณชายฝั่งทะเลดำตอนเหนือและทะเลอาซอฟ (Azov) อาณานิคมกรีกนี้ในเวลาต่อมาตกอยู่ใต้การยึดครองของจักรวรรดิโรมันพวกกรีกได้สร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับพวกซีเทียนและชนเผ่าอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง
     ใน ๓๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชพวกเร่ร่อนซาร์เมเทียน (Sarmatian) ซึ่งเป็นเผ่านักรบเชื้อสายอิหร่านจากเอเชียตอนกลางได้เข้ารุกรานและปกครองพวกซีเทียนต่อมาได้รับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของพวกซีเทียนพวกซาร์เมเทียนมีอำนาจปกครองยูเครนเป็นเวลาหลายร้อยปี อย่างไรก็ตาม ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑อนารยชนเผ่ากอท(Goth) จากแถบภูมิภาคบอลติก (Baltic) ได้อพยพเข้ามาและขับไล่พวกซาร์เมเทียนแต่อาณาจักรเฮอร์มานิก (Hermanic) ของพวกกอทซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ทะเลดำจนถึงทะเลบอลติกก็ล่มสลายลงใน ค.ศ. ๓๗๕ เมื่อถูกพวกฮั่น (Hun) เข้าโจมตีและยึดครอง ต่อมาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๕-๖พวกบัลการ์ (Bulgar) และเอวาร์ (Avar) บุกเข้ารุกรานและจัดตั้งอาณาจักรขึ้นปกครองดินแดนตั้งแต่แม่น้ำวอลกา (Volga) จนถึงแม่น้ำเอลเบ (Elbe) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๗-๙ยูเครนก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกาซาร์ (Khazar kingdom) ของพวกกาซาร์เชื้อสายเติร์ก พวกกาซาร์ยอมรับศาสนายูดาห์ (Judaism) และทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าขายระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) กับอาณาจักรของพวกอาหรับ ขณะเดียวกันพวกกาซาร์ก็ขยายอำนาจเข้าปกครองดินแดน แถบแม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper) ที่พวกสลาฟตะวันออกอาศัยอยู่และบังคับให้พวกสลาฟตะวันออกส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ตน อย่างไรก็ตาม ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๘ พวกแมกยาร์ (Magyar) และพวกเพเชเนก (Pecheneg) ได้รุกรานแย่งชิงดินแดนของพวกกาซาร์ทางลุ่มแม่น้ำวอลกาตอนใต้ การรุกรานดังกล่าวเปิดโอกาสให้พวกสลาฟเป็นอิสระจากพวกกาซาร์
     ในคริสต์ศตวรรษที่ ๙พวกสลาฟตะวันออกรวมตัวกันขยายดินแดนเข้าไปในภูมิภาคทางตะวันตกและทางตอนใต้ทั้งจัดตั้งเมืองขึ้นหลายแห่งซึ่งต่อมากลายเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น เคียฟ (Kiev) และนอฟโกรอด (Novgorod)ตามฝั่งขวาของแม่น้ำนีเปอร์ รวมทั้งเมืองท่าทางตอนเหนือของทะเลดำ แต่ในเวลาอันสั้นพวกวาแรนเจียน (Varangian) ซึ่งเป็นชนเผ่าไวกิ้ง (Viking) ที่ควบคุมเส้นทางการค้าระหว่างทะเลบอลติกกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เข้าแย่งชิงการค้าและยึดครองเมืองต่าง ๆ ของพวกสลาฟตะวันออก ใน ค.ศ. ๘๖๒ รูิรค (Rurik) ผู้นำพวกวาแรนเจียนก็สถาปนาราชวงศ์วาแรนเจียนขึ้นปกครองพวกสลาฟตะวันออก และต่อมาก็สามารถขยายอาณาเขตและอำนาจออกไปอย่างกว้างขวางจนจัดตั้งอาณาจักรเคียฟขึ้นปกครองเผ่าสลาฟและชนเผ่าต่าง ๆ ได้ โดยมีพรมแดนจาก
     ทะเลดำจดทะเลบอลติกและจากทะเลแคสเปียน (Caspian) จดเทือกเขาคาร์เพเทียน(Carpathian) ใน ค.ศ. ๙๘๘ ราชวงศ์วาแรนเจียนหันมานับถือคริสต์ศาสนานิกายกรีกออร์ทอดอกซ์แทนการนับถือเทพเจ้าและภูติีผ การนับถือคริสต์ศาสนาดังกล่าวนับเป็นการรับอารยธรรมตะวันตกเข้าในอาณาจักรซึ่งทำให้มีสถานภาพเป็นที่ยอมรับมากขึ้นจากอาณาจักรเพื่อนบ้านต่าง ๆ ในเวลาต่อมา กรุงเคียฟราชธานีของอาณาจักร เป็นศูนย์กลางของระบอบการปกครองแบบฟิวดัลในยุโรปตะวันออกพระประยูรญาติของเจ้าผู้ครองเคียฟได้อภิเษกสมรสกับสมาชิกในราชวงศ์ของดินแดนต่างๆ ในยุโรป เช่นจักรวรรดิไบแซนไทน์ สวีเดน ฝรั่งเศส ฮังการี นอร์เวย์ และโปแลนด์ อาณาจักรเคียฟจึงมีความสัมพันธ์กับโลกตะวันตกมากขึ้น
     อาณาจักรเคียฟมีความสำคัญและอิทธิพลสูงสุดในรัชสมัยวลาดีมีร์ที่ ๑(Vladimir I ค.ศ. ๙๘๐-๑๐๑๕) และโดยเฉพาะในรัชสมัยพระโอรสเจ้าชายยาโรสลาฟผู้ชาญฉลาด (Yaroslav the Wise ค.ศ. ๑๐๑๙-๑๐๕๔) ยาโรสลาฟทรงจัดทำประมวลกฎหมายขึ้นใน ค.ศ. ๑๐๓๖ เพื่อรวบรวมกฎหมายจารีตนิยมต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่เหมือนกฎหมายโรมันซึ่งนับเป็นประมวลกฎหมายแรกที่มีขึ้นในอาณาจักรสลาฟ ในปี ต่อมาทรงสร้างมหาวิหารเซนต์โซเฟีย (St. Sophia) ซึ่งเป็นอาคารรูปเหลี่ยมหลังคาโค้งรูปโดมขึ้น โดยเลียนแบบมหาวิหารเซนต์โซเฟียที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ของจักรวรรดิไบแซนไทน์เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสที่เคียฟได้รับการจัดตั้งเป็นเขตอัครมุขมณฑล (metropolitian see) ในปี เดียวกัน วิหารเซนต์โซเฟียซึ่งพวกสลาฟได้ประดับประดาใหม่ให้มีีสสันที่งดงามเจิดจ้าจึงกลายเป็นแม่แบบของศิลปะสลาฟในสมัยต่อมาด้วย นอกจากนี้ ยาโรสลาฟยังขยายพระราชอำนาจไปยังดินแดนห่างไกลต่างๆ ทั้งมีการจัดตั้งเมืองชายแดนขึ้นในที่ต่าง ๆราชอาณาจักรของพระองค์ จึงครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ทะเลสาบลาโดกา(Ladoga) ทางตอนเหนือจนจดแม่น้ำนีเปอร์ทางตอนใต้ และจากแม่น้ำโอกา (Oka)ทางตะวันออกจดแม่น้ำบัก (Bug) ทางตะวันตกอาณาจักรเคียฟรัส (Kievan Rus)ในทางภูมิศาสตร์นับเป็นอาณาจักรที่กว้างใหญ่ที่สุดในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑และมีชื่อเรียกที่รู้จักกันทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่ารูทีเนีย (Ruthenia) นอกจากนี้ชื่อยูเครนซึ่งหมายถึง “แผ่นดินพรมแดน”(border-land) ก็ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นครั้งแรกในแผนที่ที่จัดทำขึ้นในช่วงเวลานั้นโดยมีความหมายถึงดินแดนในอาณาเขตของรัส ประกอบด้วยราชรัฐเคียฟ ราชรัฐเชียร์นีอิฟ (Chernihiv) และราชรัฐ
     เปเรยาสลาฟ (Pereyaslav) ส่วนความหมาย “รัสที่ยิ่งใหญ่”(Greater Rus) ครอบคลุมถึงดินแดนทั้งหมดที่อยู่ใต้การปกครองของเคียฟซึ่งรวมถึงดินแดนของพวกฟินโน-ยูกริก (Finno-Ugric) ทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
     ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ หลังจากที่เจ้าชายยาโรสลาฟสิ้นพระชนม์เกิดปัญหาการแย่งชิงบัลลังก์และบรรดาเจ้านครต่าง ๆ พยายามแยกตัวเป็นอิสระทั้งพวกเร่ร่อนกลุ่มต่าง ๆ ก็เริ่มเข้ารุกราน อาณาจักรเคียฟที่รุ่งเรืองจึงอ่อนแอ ในทางตะวันออกเฉียงเหนือราชรัฐซูซดัล (Principality of Suzdal) หรือนครมอสโก(Moscow) เริ่มมีอำนาจเข้มแข็งและในเวลาต่อมามีบทบาทสำคัญในการสร้างชาติรัสเซีย ขึ้น ใน ค.ศ. ๑๑๖๙ เจ้าชายอันเดรย์ โบกอลยุบสกี(Andrei Bogolyubsky) แห่งรอสตอฟซูซดัล (Rostovsuzdal) เจ้าผู้ครองนครวลาดีมีร์ (Vladimir Principality)ก็สามารถยึดครองกรุงเคียฟได้ แต่ต่อมาใน ค.ศ. ๑๑๙๙ นครโวลิเนีย (Volynia)และนครฮาลีช (Halych) บนฝั่งแม่น้ำดนีสเตอร์ (Dniester) ได้รวมตัวกันเป็นราชรัฐใหญ่ที่เข้มแข็งซึ่งมีดินแดนเคียฟรวมอยู่ด้วย ราชรัฐฮาลีช-โวลิเนีย (Halych-Volynia) หรือยู เครนปัจจุบันจึงเป็นดินแดนที่สืบทอดการปกครองของอาณาจักรเคียฟรัสอย่างไรก็ตาม การรุกรานของพวกตาร์ตาร์ (Tartar) หรือมองโกลในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๓ ก็ทำให้ราชรัฐฮาลีช-โวลิเนียที่เข้มแข็งในท้ายที่สุดพ่ายแพ้ต่อมองโกลในการทำสงครามระหว่าง ค.ศ. ๑๒๓๙-๑๒๔๐ และกรุงเคียฟถูกทำลายการปกครองที่กดขี่ของพวกมองโกลยังทำให้ชาวยูเครนอพยพหนีไปอยู่ที่โปแลนด์ และฮังการี อย่างไรก็ตาม พวกมองโกลก็ไม่ได้ปกครองยูเครนโดยตรงแต่มอบอำนาจให้เจ้าผู้ครองท้องถิ่นที่มองโกลไว้วางใจทำหน้าที่เก็บภาษีและรวบรวมบรรณาการเจ้าผู้ครองนครมอสโกซึ่งได้รับการยอมรับจากพวกมองโกลจึงมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ดังกล่าวซึ่งทำให้นครมอสโกในเวลาต่อมาได้ประกาศตนเป็นเอกราชจากมองโกลและรวมนครอื่นๆ จัดตั้งเป็นอาณาจักรมัสโควี(Muscovy) ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔
     ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ เกไดมินาส (Gediminas) กษัตริย์แห่งลิทัวเนีย ทรงอภิเษกสมรสกับราชินีโปแลนด์ และได้ขยายอำนาจเข้าไปครอบครองดินแดนยูเครนทางตะวันตกเฉียงเหนือและตอนกลาง ในขณะเดียวกันราชอาณาจักรโปแลนด์ ในรัชสมัยพระเจ้าคาซิเมียร์มหาราช (Casimir the Great ค.ศ. ๑๓๓๓-๑๓๗๐)ก็ยึดครองยูเครนทางตะวันออกซึ่งรวมทั้งราชรัฐกาลิเซีย (Galicia) ต่อมาใน ค.ศ.
     ๑๓๘๖ เจ้าชายโยไกดา (Jogaida) แห่งลิทัวเนีย ได้ครองบัลลังก์โปแลนด์ โดยเฉลิมพระนามว่าวลาดิสลาฟ ยักเยลโล (Wladislav Jagiello) และพระองค์ทรงให้วีเทาทัส (Vytautas) พระญาติปกครองลิทัวเนีย ใน ค.ศ. ๑๔๑๓ โปแลนด์ และลิทัวเนีย ซึ่งผนึกกำลังต่อต้านพวกมองโกลและเยอรมันทิวทอนิกจนมีชัยชนะได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาแห่งสหภาพ (Treaty of Union) สร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นระหว่างทั้ง ๒ อาณาจักร สนธิสัญญาแห่งสหภาพไม่เพียงเป็นพื้นฐานของการรวมตัวเข้าเป็นราชอาณาจักรเดียวกันในเวลาต่อมาเท่านั้น แต่ยังทำให้โปแลนด์ เริ่มมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและศาสนาในดินแดนยูเครนมากขึ้นด้วย
     ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ อาณาจักรมัสโควีในรัชสมัยซาร์อีวานที่ ๓(Ivan III ค.ศ. ๑๔๖๒-๑๕๐๕) หรือซาร์อีวานมหาราช (Ivan the Great) ได้ขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนยุโรปตะวันออกและบริเวณคาบสมุทรไครเมีย การขยายอำนาจดังกล่าวมีส่วนคุกคามความมั่นคงของโปแลนด์ และลิทัวเนีย ใน ค.ศ. ๑๕๖๙ทั้ง ๒ ราชอาณาจักรจึงทำความตกลงทางการเมืองในสนธิสัญญาสหภาพแห่งลูบิน(Treaty Union of Lubin) จัดตั้งการปกครองแบบสหพันธรัฐที่เรียกว่าเครือจักรภพสองชาติ (Commonwealth of the Two Nations) หรือเครือจักรภพโปแลนด์ -ลิทัวเนีย (Polish-Lithuanian Commonwealth) ขึ้น ยู เครนจึงตกอยู่ใต้การปกครองของโปแลนด์ โดยตรง และโปแลนด์ สนับสนุนให้ชาวนาโปลเข้าไปตั้งรกรากในยูเครนรวมทั้งส่งเสริมการสร้างเมืองและหมู่บ้านขึ้นเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันขุนนางยู เครนก็เริ่มถูกกลืนเข้ากับราชสำนักโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม โปแลนด์ ก็ปกครองยู เครนอย่างเข้มงวดและบีบบังคับชาวนายู เครนให้ทำงานเป็นทาสติดที่ดิน(serf) ทั้งให้ใช้ภาษาโปลในการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนกดดันและโน้มน้าวชาวยู เครนให้หันมานับถือคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างชาวยู เครนที่นับถือนิกายกรีกออร์ทอดอกซ์กับนิกายคาทอลิกจึงก่อตัวขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ ต่อมาชาวยู เครนที่รักอิสระจำนวนไม่น้อยก็หลบหนีการเป็นทาสติดที่ดินไปตั้งรกรากใหม่ตามบริเวณชายแดนตอนใต้โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำดอนและนีเปอร์และมีชื่อเรียกกันทั่วไปในเวลาต่อมาว่าพวกคอสแซค(Cossacks) รัฐบาลโปแลนด์ พยายามกวาดล้างและปราบปรามพวกคอสแซคอย่างเด็ดขาด แต่ก็ประสบความสำเร็จไม่มากนัก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนพวกคอสแซคและเห็นว่าการต่อสู้ของพวกคอสแซคเป็นสงครามปลดปล่อยจากแอกของโปแลนด์
     ใน ค.ศ. ๑๖๔๘พวกคอสแซคยูเครนซึ่งมีบ็อกดาน ฮเมลนิตสกี(BohdanKhmelnytsky) ขุนนางชั้นผู้น้อยที่เคยเป็นนายทหารฝ่ายคอสแซคเป็นผู้นำได้รวบรวมกำลังคนจัดตั้งเป็นกองทัพและก่อการลุกฮือขึ้นต่อต้านโปแลนด์ โดยได้รับการสนับสนุนจากพวกตาร์ตาร์ การลุกฮือดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงสมัยที่เรียกกันว่า “การเสื่อมถอย” (Ruin) เพราะทำให้เครือจักรภพโปแลนด์ -ลิทัวเนีย ที่เข้มแข็งอ่อนแอลง ฮเมลนิตสกีมีชัยชนะในสงครามใหญ่กับโปแลนด์ ๒ ครั้งและสามารถจัดตั้งรัฐอิสระขึ้นได้ในทางตอนใต้ลุ่มน้ำนีเปอร์ โปแลนด์ ถูกบีบให้ยอมรับอำนาจอธิปไตยของรัฐคอสแซคในสนธิสัญญาซบอรีฟ (Treaty of Zboriv) ค.ศ. ๑๖๔๙อย่างไรก็ตาม ฮเมลนิตสกีก็ไม่ไว้วางใจโปแลนด์ และเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของรัฐใต้การปกครอง เขาทำความตกลงเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย ในสนธิสัญญาเปเรยาสลาฟ (Treaty of Pereyaslav) ใน ค.ศ. ๑๖๕๔ เพื่อให้รัสเซีย คานอำนาจกับโปแลนด์ ในเวลาต่อมารัสเซีย จึงอ้างว่ายูเครนได้ยอมรับอำนาจของซาร์แห่งรัสเซีย และขอเข้ามาสวามิภักดิ์ด้วยการยอมทำความตกลงใน ค.ศ. ๑๖๕๔ แต่การที่รัสเซีย พยายามแทรกแซงกิจการภายในของยูเครนและปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับดินแดนในเบลารุส (Belarus) ทำให้ีอวานวีฮอฟสกี (Ivan Vyhovsky) ผู้นำยู เครนคนต่อมาตัดความสัมพันธ์กับรัสเซีย ใน ค.ศ. ๑๖๕๘ วีฮอฟสกีได้ลงนามกับโปแลนด์ ใหม่ในสนธิสัญญาฮาเดียช (Treaty of Hadiach) โดยยู เครนยอมเข้าเป็นรัฐหนึ่งในเครือจักรภพโปแลนด์ -ลิทัวเนีย ขุนนางโปแลนด์ ต่อต้านสนธิสัญญาฉบับนี้และปฏิเสธที่จะให้สัตยาบัน ทั้งหันไปร่วมมือกับรัสเซีย ให้ช่วยปราบปรามยู เครนตลอดจนปลุกปั่นชาวนาให้ก่อกบฏ ความวุ่นวายทางการเมืองดังกล่าวมีผลให้ีวฮอฟสกีต้องสละอำนาจการปกครองและหนีไปพึ่งกษัตริย์โปแลนด์ ยู เครนจึงเข้าสู่กลียุคที่เป็นช่วงสมัยแห่งการเสื่อมถอย โปแลนด์ และรัสเซีย จึงเห็นเป็นโอกาสเข้าแย่งชิงดินแดนยูเครนเพื่อครอบครองและนำไปสู่การลงนามร่วมกันในสนธิสัญญาอันดรูโซโว(Treaty of Andrusovo) ใน ค.ศ. ๑๖๖๗ ซึ่งแบ่งยูเครนออกเป็น ๒ ส่วนระหว่างโปแลนด์ กับรัสเซีย
     สนธิสัญญาอันดรูโซโวกำหนดให้ดินแดนยู เครนตะวันตกบนฝั่งขวาของแม่น้ำนีเปอร์ซึ่งประกอบด้วยราชรัฐกาลิเซีย และวอลฮิเนีย (Volhynia) เป็นของโปแลนด์ ส่วนดินแดนยู เครนตะวันออกบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำนีเปอร์เป็นของรัสเซีย โปแลนด์ สนับสนุนชาวนาโปลให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนยู เครนที่ครอบครองและ
     บังคับชาวนายูเครนให้เป็นทาสติดที่ดิน รวมทั้งดำเนินการกวาดล้างปราบปรามพวกคอสแซคอย่างเด็ดขาด พวกคอสแซคจึงหันไปร่วมมือกับพวกออตโตมันเพื่อต่อต้านโปแลนด์ ซึ่งนำไปสู่การเกิดสงครามอย่างต่อเนื่อง ชาวนายู เครนจึงอพยพหนีไปอยู่ในดินแดนฝั่งซ้ายและพื้นที่ใกล้เคียง จำนวนประชากรจึงลดลงอย่างมากอย่างไรก็ตามทั้งพวกคอสแซคและออตโตมันก็ล้มเหลวที่จะต่อสู้กับโปแลนด์ และใน ค.ศ. ๑๖๘๑การแทรกแซงทางทหารของออตโตมันก็ิส้นสุดลง โปแลนด์ จึงกลับมาปกครองดินแดนยู เครนตะวันตกอย่างเข้มงวดอีกครั้งหนึ่ง ส่วนดินแดนยู เครนตะวันออกที่รัสเซีย ปกครอง รัสเซีย สนับสนุนให้ชาวยู เครนหลอมรวมกับรัสเซีย โดยพยายามชี้นำให้เห็นว่าทั้งรัสเซีย และยู เครนสืบสายมาจากพวกสลาฟตะวันออก ทั้งมีรากภาษาและวัฒนธรรมเดียวกันอาณาจักรเคียฟรัสซึ่งเคยปกครองชนเผ่าสลาฟและชนเผ่าต่างๆคือรากฐานของชาติรัสเซีย รัสเซีย ได้ทำข้อตกลงกับพวกคอสแซคโดยยอมรับอำนาจการปกครองตนเองของพวกคอสแซค และยกเว้นการเก็บภาษีโดยมีเงื่อนไขว่าคอสแซคจะทำหน้าที่เป็นกองทหารประจำชายแดนเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก ในเวลาต่อมาคอสแซคจึงกลายเป็นกองทหารที่จงรักภักดีต่อซาร์และได้ชื่อว่าเป็นพวกคอสแซคที่ขึ้นทะเบียน นอกจากนี้ รัสเซีย ยังสนับสนุนอยู่เบื้องหลังให้พวกคอสแซคก่อการเคลื่อนไหวที่จะรวมยู เครนตะวันตกเข้ากับยู เครนตะวันออกอย่างไรก็ตาม ต่อมาในรัชสมัยของซารีนาแคเทอรีนที่ ๒ มหาราช (Catherine II theGreat ค.ศ. ๑๗๖๒-๑๗๙๖) รัสเซีย ได้ปกครองพวกคอสแซคอย่างเข้มงวดโดยถือว่ายูเครนเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย
     ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อโปแลนด์ เผชิญปัญหาการเมืองภายในเกี่ยวกับการเลือกกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองบัลลังก์สืบจากพระเจ้าออกัสตัสที่ ๓(Augustus III) ที่สวรรคตใน ค.ศ. ๑๗๖๓ ซารีนาแคเทอรีนมหาราชแห่งรัสเซีย จึงเห็นเป็นโอกาสเข้าแทรกแซงโดยสนับสนุนเจ้าชายสตานีสลาฟ ปอเนียตอฟสกี(Stanislav Poniatowsky) ชู้รักคนหนึ่งของพระนางให้ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ ขณะเดียวกันพระนางก็ดำเนินนโยบายตามแนวทางของซาร์ปีเตอร์มหาราช(Peter the Great ค.ศ. ๑๖๘๒-๑๗๒๕) ด้วยการขยายพรมแดนเข้าไปในโปแลนด์ ซึ่งนำไปสู่การแบ่งดินแดนโปแลนด์ ๓ ครั้ง ใน ค.ศ. ๑๗๗๒ ค.ศ. ๑๗๙๓ และค.ศ. ๑๗๙๕ ระหว่างรัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซีย ในการแบ่งโปแลนด์ ครั้งแรกดินแดนยูเครนที่เป็นราชรัฐกาลิเซียตกเป็นของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Habsburg) แห่ง
     จักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire) ในการแบ่งโปแลนด์ ครั้งที่ ๒ ระหว่างปรัสเซีย กับรัสเซีย รัสเซีย ได้ยูเครนตะวันตกบนฝั่งขวาของแม่น้ำนีเปอร์และดินแดนทางตะวันออกของวอลฮิเนีย ในการแบ่งโปแลนด์ ครั้งที่ ๓ รัสเซีย ได้ดินแดนส่วนที่เหลือทั้งหมดของวอลฮิเนีย ยูเครนจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในจักรวรรดิรัสเซีย และต่อมารัสเซีย ได้จัดแบ่งรูปการปกครองให้เป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิและแต่งตั้งข้าหลวงจากกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St. Petersburg) มาปกครอง
     ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ทั้งซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๑(Alexander I ค.ศ. ๑๘๐๑-๑๘๒๕) และซาร์นิโคลัสที่ ๑ (Nicholas I ค.ศ. ๑๘๒๕-๑๘๕๕) ทรงดำเนินนโยบายเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบรัสเซีย (russification) ในการปกครองยู เครน และบังคับองค์การศาสนจักรของยู เครนให้ยอมรับอำนาจของคริสตจักรรัสเซีย ออร์ทอดอกซ์ รวมทั้งปราบปรามการเคลื่อนไหวของปัญญาชนที่จะกระตุ้นจิตสำนึกของความรักชาติในหมู่ประชาชน เมื่อพวกโปลก่อกบฏเพื่อแยกตัวออกจากรัสเซีย ใน ค.ศ. ๑๘๓๐ และในการปฏิวัติค.ศ. ๑๘๔๘ (Revolutionsof 1848) ปัญญาชนยูเครนจำนวนหนึ่งได้เคลื่อนไหวสนับสนุนพวกโปล และรณรงค์ทางวัฒนธรรมโดยใช้กวีนิพนธ์เป็นสื่อปลุกจิตสำนึกทางการเมืองและความรักชาตินักเขียนและกวีคนสำคัญที่เป็นแรงบันดาลใจของการเคลื่อนไหวต่อสู้ทางวัฒนธรรมคือตารัส เชฟเชนโค (Taras Shevchenko) และเลสยาอูไครน์คา (Lesya Ukrainka)รัสเซีย ปราบปรามอย่างเด็ดขาดและปกครองยู เครนอย่างเข้มงวด มีการเขียนประวัติศาสตร์ยู เครนใหม่โดยชี้ว่ายู เครนเป็นชนเผ่าเดียวกับรัสเซีย ที่เรียกว่า“ชาวรัสเซีย น้อย”(Little Russians) แต่ถูกพวกมองโกลหรือตาร์ตาร์แบ่งแยกออกจากรัสเซีย ทั้งถูกโปแลนด์ เข้าครอบงำ รัสเซีย จึงนำยู เครนกลับถิ่นสู่อ้อมอกของมาตุภูมิและฟื้นฟูให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งกายและวิญญาณ ใน ค.ศ. ๑๘๖๓รัสเซีย ห้ามการใช้ภาษายู เครนในสถาบันการศึกษาทุกระดับและห้ามพิมพ์เผยแพร่หนังสือและผลงานด้านวัฒนธรรมที่ใช้ภาษายู เครน ข้อห้ามดังกล่าวมีส่วนทำให้นักเขียนและปัญญาชนยู เครนหันไปพิมพ์เผยแพร่ผลงานในดินแดนยู เครนกาลิเซียซึ่งอยู่ใต้การปกครองของออสเตรีย การเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมจึงเริ่มรวมศูนย์ไปอยู่ที่กาลิเซียแทนเนื่องจากออสเตรีย ปกครองกาลิเซียอย่างผ่อนปรน ทั้งให้สิทธิการปกครองตนเองในระดับหนึ่ง
     ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีการเคลื่อนไหวจัดตั้งสมาคมหรือชมรมลับตามเมืองต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์จะส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรม การศึกษา
     และสิ่งพิมพ์ที่ใช้ภาษายู เครน สมาคมลับที่มีนักศึกษาเป็นสมาชิกหลายสมาคมในเวลาต่อมาได้หันมาสนใจทางการเมืองและเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในสังคมจนนำไปสู่การจัดตั้งพรรคปฏิวัติยูเครน (Revolutionary Ukrainian Party) ขึ้นในต้น ค.ศ. ๑๙๐๐เพื่อเคลื่อนไหวเรียกร้องการสร้างรัฐยู เครนที่เป็นเอกราชและเป็นรัฐเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวทางการเมืองดังกล่าวก็มีอิทธิพลไม่มากนักในทางสังคมและรัสเซีย ยังสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของปัญญาชนไว้ได้และเพิ่มมาตรการเข้มงวดมากขึ้นในการใช้นโยบายเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบรัสเซีย
     เมื่อเกิดการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. ๑๙๐๕ (Russian Revolution of 1905) ในเดือนตุลาคมที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ปัญญาชนยูเครนจึงเห็นเป็นโอกาสปลุกระดมกรรมกรและชาวนาก่อการเคลื่อนไหวทางสังคมและเรียกร้องการปฏิรูปทางการเมืองซาร์นิโคลัสที่ ๒ (Nicholas II ค.ศ. ๑๘๙๔-๑๙๑๘) ทรงพยายามควบคุมสถานการณ์ทางการเมืองทั้งในรัสเซีย และดินแดนใต้การปกครองด้วยการประกาศ “คำแถลงนโยบายเดือนตุลาคม” (October Manifesto) เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและให้จัดตั้งสภาดูมา (Duma) ขึ้น นโยบายดังกล่าวทำให้รัสเซีย ผ่อนปรนการควบคุมยู เครนและยอมให้มีการเผยแพร่ิส่งพิมพ์ภาษายู เครนในระดับหนึ่ง รวมทั้งให้มีการเลือกตั้งผู้แทนยู เครนเข้าร่วมในสภาดูมาสมัยที่ ๑ (๑๐พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๐๖ - ๒๑ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๐๖) และสภาดูมาสมัยที่ ๒(๕ มีนาคม ๑๙๐๗ - ๑๖ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๐๗) แต่เมื่อซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงประกาศยุบสภาและเปลี่ยนแปลงกฎหมายการเลือกตั้งใหม่โดยกำหนดคุณสมบัติด้านทรัพย์สินของผู้สมัครให้สูงขึ้น และลดจำนวนการมีผู้แทนของชนชาติกลุ่มน้อยลงและอื่น ๆผู้แทนยู เครนในสภาดูมาสมัยที่ ๓ (๑ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๐๗ - ๙ มิถุนายนค.ศ. ๑๙๑๒) และสมัยที่ ๔ (๑๔พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๒ - ๙ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗)ซึ่งมีจำนวนน้อยคนก็แทบจะไม่มีบทบาทใดๆ ในทางการเมือง ปัญญาชนยู เครนจึงหันมาเคลื่อนไหวนอกสภาเพื่อปลุกจิตสำนึกทางการเมืองและเรียกร้องอำนาจการปกครองตนเอง แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวก็แทบจะไม่มีอิทธิพลใด ๆ ต่อประชาชนเพราะส่วนใหญ่ยังคงผูกพันกับรัสเซีย
     สงครามโลกครั้งที่ ๑ (First World War) ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๑๔ มีผลกระทบอย่างมากต่อยูเครน รัสเซีย หันมาปราบปรามชาวยูเครนที่รักชาติและสั่งปิดองค์การที่เผยแพร่แนวคิดชาตินิยมและวัฒนธรรมยู เครน ขณะเดียวกันก็เคลื่อน
     กำลังเข้ายึดครองยู เครนตะวันออกหรือแคว้นกาลิเซียของออสเตรีย ออสเตรีย พ่ายแพ้ในการรบและในช่วงล่าถอยออกจากกาลิเซียได้สังหารชาวยู เครนที่ต้องสงสัยว่าสนับสนุนรัสเซีย เป็นจำนวนนับหมื่นคน หลังการยึดครองกาลิเซียได้ รัสเซีย ใช้นโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบรัสเซีย ในกาลิเซีย แต่ในฤดูใบไม้ผลิค.ศ. ๑๙๑๕ออสเตรีย ก็แย่งชิงกาลิเซียกลับคืนได้อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลงกาลิเซียได้ถูกรวมเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของโปแลนด์ ซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็นประเทศอีกครั้งตามข้อตกลงสนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles)ค.ศ. ๑๙๑๙ แต่โปแลนด์ ก็ปกครองกาลิเซียได้เพียง ๑๖ ปีเท่านั้น เพราะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ (Second World War) สหภาพโซเวียตซึ่งอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของกาลิเซียมาโดยตลอดได้เข้ายึดครองกาลิเซียและรวมเข้ากับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (Ukrainian Soviet Socialist Republic) ใน ค.ศ. ๑๙๔๑
     หลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (February Revolution) ค.ศ. ๑๙๑๗ ในรัสเซีย ซึ่งทำให้ราชวงศ์โรมานอฟ (Romanov) หมดอำนาจและรัสเซีย ปกครองในระบอบทวิอำนาจ (dual power) ที่มีรัฐบาลเฉพาะกาลและสภาโซเวียต (Soviet)ร่วมกันบริหารปกครองเพื่อเตรียมจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวเปิดโอกาสให้ปัญญาชนและกลุ่มการเมืองต่างๆ ในยู เครนจัดตั้งสภาที่เรียกว่า “เซนทรัลราดา”(Central Rada) ขึ้นที่กรุงเคียฟในเดือนมีนาคมต่อมาในเดือนเมษายนก็ประกาศให้สภาที่จัดตั้งเป็นองค์การบริหารสูงสุดในยู เครนโดยมีไฮโล รู เชฟสกี (Mykhaylo Hrushevsky) นักประวัติศาสตร์ชาตินิยมเป็นประธานสภาคนแรก สภามีวัตถุประสงค์จะจัดการบริหารปกครองตนเองและร่วมผลักดันการเปลี่ยนรัสเซีย ให้เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย รัฐบาลเฉพาะกาลรัสเซีย ยอมรับสิทธิการปกครองตนเองของยู เครนและรับรองสภาเป็นองค์การที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต่อมาเมื่อพรรคบอลเชวิค (Bolsheviks) ยึดอำนาจทางการเมืองได้ในการปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution) ค.ศ. ๑๙๑๗ ที่กรุงเปโตรกราด(Petrograd) สภายู เครนปฏิเสธที่จะรับรองอำนาจของรัฐบาลบอลเชวิคและประกาศแยกตัวเป็นสาธารณรัฐแห่งชาติยูเครน (Ukrainian National Republic)ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๐พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๗ ฝ่ายบอลเชวิคตอบโต้ด้วยการจัดประชุมใหญ่สภาโซเวียตทั่วยู เครน (All-Ukrainian Congress of Soviets) ขึ้นที่เมืองคราคูฟ (Krakow) และประกาศว่ายูเครนเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโซเวียต และ
     มีการจัดตั้งรัฐบาลยู เครนขึ้นทั้งส่งกำลังทหารบุกกรุงเคียฟ ตลอดจนปลุกระดมให้กลุ่มปัญญาชนยูเครนที่สนับสนุนโซเวียตให้ก่อการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลยูเครนอย่างไรก็ตาม ยู เครนได้เจรจาแยกทำสนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศมหาอำนาจกลาง (Central Powers) และต่อมาได้ใช้ประโยชน์จากการที่รัสเซีย ซึ่งถูกเยอรมนี บีบบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสค์ (Treay of Brest-Litovsk)กับประเทศมหาอำนาจกลางเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๘ ให้รัสเซีย ถอนกำลังกองทัพแดง (Red Army) จากการยึดครองยูเครนและประกาศแยกตัวเป็นเอกราชแต่เมื่อเยอรมนี ยอมแพ้สงครามด้วยการลงนามในสนธิสัญญาการสงบศึก (Armistice)กับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๘ สหภาพโซเวียตก็เคลื่อนกำลังบุกยูเครนและยึดครองกรุงเคียฟอีกครั้งหนึ่ง
     ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๑๘-๑๙๒๑ยูเครนสนับสนุนกองกำลังฝ่ายรัสเซีย ขาวซึ่งมีนายพลอันตอนอีวาโนวิช เดนีกิน (Anton Ivanovich Denikin) เป็นผู้บังคับบัญชาทำสงครามต่อต้านสหภาพโซเวียตในสงครามกลางเมืองรัสเซีย (Russian Civil Warค.ศ. ๑๙๑๘ - ๑๙๒๑) ขณะเดียวกันซีมอน เปตลูย์รา (Symon Petlyura) ผู้นำชาตินิยมยูเครนก็ทำสนธิสัญญาลับ ค.ศ. ๑๙๒๐ กับยูเซฟ ปี ลซุดสกี (Józef Pilsudski) ผู้นำขบวนการชาตินิยมโปแลนด์ เพื่อสนับสนุนโปแลนด์ ในสงครามรัสเซีย -โปแลนด์ (Russo-Polish War ค.ศ. ๑๙๒๐) โดยปี ลซุดสกีสัญญาจะสนับสนุนการจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาชนยู เครน (Ukraine Peoplesû Republic) และรับรองการประกาศเอกราชของยู เครน กองทัพโปลจึงบุกยู เครนตะวันออกเพื่อขับไล่กองทัพแดงออกจากกรุงเคียฟซึ่งก็ประสบความสำเร็จ สหภาพโซเวียตต้องยอมลงนามในสนธิสัญญารีกา (Treaty of Riga) เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๒๑สละสิทธิในยู เครนตะวันออก อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาโปแลนด์ อ้างสิทธิการเป็นเจ้าของยู เครนตะวันออกในอดีตและไม่ยอมให้ยู เครนตะวันออกมีอำนาจปกครองตนเอง ที่ประชุมสภาเอกอัครราชทูต (Council of Ambassadors) แห่งสันนิบาตชาติ(League of Nations) ใน ค.ศ. ๑๙๒๓ จึงต้องยอมให้โปแลนด์ ได้ครอบครองยูเครนตะวันออกหรือกาลิเซียทั้งหมด
     หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง ดินแดนยู เครนถูกแบ่งระหว่าง ๔ ประเทศกล่าวคือ โรมาเนีย ได้บูโควีนา (Bukovina) ทรานส์คาร์ปาเทีย (Transcarpathia)ถูกรวมเข้ากับสาธารณรัฐเชโกสโลวะเกีย (Czechoslovakia) ซึ่งเป็นประเทศใหม่ที่
     จัดตั้งขึ้น โปแลนด์ ได้ยูเครนตะวันออกและพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนืออีกเล็กน้อยสหภาพโซเวียตได้ดินแดนยู เครนเดิมที่เคยอยู่ใต้การปกครองและจัดตั้งขึ้นเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยู เครนใน ค.ศ. ๑๙๑๙ ต่อมาในปลายเดือนธันวาคมค.ศ. ๑๙๒๒ รัฐบาลโซเวียตซึ่งมีวลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) เป็นผู้นำได้ปรับโครงสร้างการบริหารปกครองสาธารณรัฐโซเวียตต่าง ๆ ก่อตั้งเป็นสหภาพสาธารณรัฐ สังคมนิยมโซเวียตหรือสหภาพโซเวียต (Union of the Soviet SocialistRepublics -USSR) ขึ้น ประกอบด้วยสหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation)ยูเครนเบโลรัสเซีย (Belorussia) จอร์เจีย (Georgia)อาร์เมเนีย (Armenia) และอาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan) แต่ละสาธารณรัฐที่ร่วมในสหภาพโซเวียตมีรัฐธรรมนูญและอำนาจการปกครองตนเองภายในทุก ๆด้านยกเว้นอำนาจที่สงวนไว้ให้รัฐบาลกลางทั้งมีสิทธิที่จะแยกตัวออกจากสหภาพด้วย
     หลังการเข้าร่วมกับสหภาพโซเวียตพรรคคอมมิวนิสต์ (บอลเชวิค) แห่งยูเครน[Communist Party (Bolshevik) of Ukraine - CP(B) U] ก็ประกาศเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตโดยยอมรับแนวนโยบายและคำสั่งของคณะกรรมาธิการกลางโซเวียต โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ผู้นำสหภาพโซเวียตซึ่งแย่งชิงอำนาจจากเลออน ตรอตสกี(Leon Trotsky) ได้ จึงส่งลาซาร์ คากาโนวิช(Lazar Kaganovich) คนสนิทมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ยู เครนซึ่งทำให้ยู เครนอยู่ใต้การควบคุมสั่งการจากมอสโก ใน ค.ศ. ๑๙๒๘ ยู เครนเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ๕ ปี (FiveYear Plan) ฉบับแรกแทนนโยบายเศรษฐกิจใหม่(New Economic Policy - NEP) ที่ถูกยกเลิก แผนพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวทำให้ยู เครนเริ่มพัฒนากลายเป็นรัฐอุตสาหกรรมที่สำคัญของโซเวียตและทำให้ชาวนาถูกบังคับให้เข้าร่วมในโครงการรวมอำนาจการผลิตแบบนารวม (collectivization)เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นและใช้กองทหารและตำรวจลับเข้ายึดที่ดินและวัตถุปัจจัยของชาวนาตามความจำเป็น ชาวนาต่อต้านด้วยการฆ่าปศุสัตว์และทำลาย เครื่องมืออุปกรณ์การผลิต รัฐบาลใช้มาตรการประหารชีวิตและจับส่งไปค่ายกักกันแรงงาน(Collective Labour Camp) ประมาณว่าชาวนากว่าล้านคนถูกประหารและส่งไปค่ายกักกันแรงงาน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการกวาดล้างพวก “คู ลัค”(kulaks) หรือชาวนารวยและยึดที่ดินเป็นของรัฐ นโยบายบีบบังคับดังกล่าวมีส่วนทำให้ผลผลิตทางเกษตรลดลงอย่างมาก ยิ่งรัฐบาลกำหนดโควต้าการผลิตร้อยละ ๔๔
     และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่กำหนดไว้ทั้งไม่จ่ายข้าวหรือพืชผลให้สมาชิกนารวมหากผลผลิตการเกษตรต่ำกว่าเป้า ความอดอยากเดือดร้อนจึงก่อตัวขึ้น และนำไปสู่การเกิดทุพภิกขภัยใหญ่ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๓๒-๑๙๓๓ มีประชากรเสียชีวิตรวมประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐-๗,๐๐๐,๐๐๐ คน รัฐบาลโซเวียตปิดข่าวเกี่ยวกับทุพภิกขภัยครั้งนี้ และต่อมายอมเปิดเผยข้อเท็จจริงบางส่วนในช่วงทศวรรษ๑๙๘๐ โดยอ้างว่าสาเหตุสำคัญคือการก่อวินาศกรรมของพวกคูลัคและอากาศวิปริตยู เครนซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “ตระกร้าขนมปังของโซเวียต” จึงพังพินาศอย่างมากและนักประวัติศาสตร์ยูเครนจำนวนไม่น้อยอ้างว่าทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายการสร้างอุตสาหกรรมของสตาลิน และเป็นปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์“(genocide) ของสตาลินต่อยูเครน หลังทุพภิกขภัยรัฐบาลโซเวียตสนับสนุนให้ชาวรัสเซีย เข้ามาตั้งถิ่นฐานในชนบทยูเครนและนำนโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบโซเวียต (sovietnization) มาใช้ รูปแบบจารีตของชีวิตหมู่บ้านในยูเครนและแนวความคิดการเป็นแบบยูเครน (Ukrainization) จึงถูกทำลายลง
     เมื่อเยอรมนี บุกโปแลนด์ ในวันที่ ๑ กันยายน ค.ศ. ๑๙๓๙ ซึ่งนำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (Second World War) สหภาพโซเวียตซึ่งลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างนาซี-โซเวียต (Nazi-Soviet Non-aggressionPact) โดยมีข้อตกลงลับในการแบ่งโปแลนด์ กับเยอรมนี จึงบุกโปแลนด์ ทางภาคตะวันออกในวันที่ ๑๗ กันยายน ยู เครนตะวันออกและพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยูเครนที่โปแลนด์ เคยยึดครองจึงถูกผนวกเข้ากับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนต่อมา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๐ โซเวียตก็ยึดครองบูโควีนาของโรมาเนีย เข้ารวมกับยู เครนด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อเยอรมนี บุกสหภาพโซเวียตในวันที่ ๒๑ มิถุนายนค.ศ. ๑๙๔๑ โดยการใช้แผนปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Operation Barbarossa)โรมาเนีย ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี จึงประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตและบุกยึดเบสซาราเบีย (Bessarabia) กับบูโควีนาตอนเหนือ และดินแดนที่เรียกว่าทรานส์นิเตรีย (Transnitria) ที่อยู่ระหว่างแม่น้ำนีสเตอร์กับแม่น้ำปิฟเดนนีบุก(Pivdenny Buh) กลับคืน ในปลายเดือนพฤศจิกายน เยอรมนี ก็ยึดครองยูเครนได้ทั้งหมด
     พลเมืองยู เครนจำนวนมากโดยเฉพาะในกาลิเซียเชื่อว่าเยอรมนี ซึ่งเป็นศัตรูคู่อาฆาตกับโปแลนด์ และสหภาพโซเวียตคือผู้ปลดปล่อยตนและเป็นพันธมิตรที่จะช่วยยู เครนให้ได้รับเอกราช แต่ภาพหลอนดังกล่าวก็ถูกทำลายในเวลารวดเร็ว เยอรมนี
     ปกครองยูเครนอย่างเข้มงวดและยังคงรักษาระบบนารวมไว้ตลอดจนดำเนินนโยบายทางเชื้อชาติด้วยการเริ่มกวาดล้างชาวยิวเชื้อสายยู เครนตั้งแต่ฤดูไบไม้ร่วง ค.ศ.๑๙๔๑-๑๙๔๔ รวมทั้งกวาดต้อนพลเมืองยู เครนส่งไปเป็นแรงงานในเยอรมนี ประมาณว่าพลเมืองยู เครนที่เสียชีวิตระหว่างสงครามและในช่วงการยึดครองของเยอรมนี รวมประมาณ ๗ ล้านคน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นยิวกว่า ๑ ล้านคน การสังหารโหดชาวยิวของหน่วยสังหารพิเศษ (Special Killing Squads - Einsatzgruppen)ที่เลื่องชื่อคือการสังหารที่หุบเขาบาบินยาร์ (Babyn Yar) ซึ่งชาวยิวกว่า ๗๐,๐๐๐ คนถูกสังหารอย่างทารุณ ชาวยู เครนที่รักชาติจึงเคลื่อนไหวเป็นขบวนการใต้ดินต่อต้านทั้งนาซีเยอรมันและสหภาพโซเวียต และนำไปสู่การจัดตั้งกองทัพกบฏยู เครน(Ukrainian Insurgent Army - UPA) ขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วยู เครนในต้น ค.ศ.๑๙๔๒ กองทัพกบฏยู เครนใช้ยุทธวิธีสงครามกองโจร และในยู เครนตะวันตกการต่อต้านสหภาพโซเวียตด้วยกำลังยังคงดำเนินอยู่จนถึงต้นทศวรรษ ๑๙๕๐
     หลังการปราชัยของเยอรมนี ในยุทธการที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad)ในต้น ค.ศ. ๑๙๔๓ เยอรมนี เริ่มล่าถอยออกจากดินแดนของสหภาพโซเวียตอย่างค่อยเป็นค่อยไปและถูกกองทัพแดงติดตามไล่ล่า ในเดือนพฤศจิกายนกองทัพโซเวียตก็เตรียมเคลื่อนกำลังเข้าสู่กรุงเคียฟ การต่อสู้เพื่อแย่งชิงกรุงเคียฟซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องเป็น “วีรนคร” (Hero City) เป็นไปอย่างนองเลือดและดุเดือดและพลเรือนที่เสียชีวิตมีจำนวนมหาศาล โซเวียตสามารถยึดเคียฟคืนได้และในฤดูใบไม้ผลิค.ศ. ๑๙๔๔ กองทัพแดงก็เริ่มปลดปล่อยดินแดนส่วนอื่น ๆ ของยู เครนที่เคยยึดครองแก่สหภาพโซเวียตเพื่อแลกเปลี่ยนกับความตกลงเรื่องเส้นพรมแดนใหม่ทางตะวันตกตามแนวแม่น้ำโอเดอร์-ไนส์เซอ (Oder-Neisse) และเส้นพรมแดนโปแลนด์ -ยูเครน โรมาเนีย ต้องยอมรับสิทธิของสหภาพโซเวียตเหนือเบสซาราเบียและบูโควีนาตอนเหนือตามข้อตกลงสันติภาพปารีส (Paris Peace Treaty) ค.ศ. ๑๙๔๗สหภาพโซเวียตจึงผนวกดินแดนทางตอนใต้ของเบสซาราเบีย บูโควีนาตอนเหนือและทรานส์นิเตรียเข้ากับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยู เครนอีกครั้งหนึ่งและรวมส่วนที่เหลือของเบสซาราเบียเข้ากับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย(Moldavian Soviet Socialist Republic) ดังเดิม นอกจากนี้ดินแดนทรานส์คาร์ปาเทียของยูเครนที่ถูกรวมเข้ากับสาธารณรัฐเชโกสโลวะเกียใน ค.ศ. ๑๙๑๘ และตกเป็นของฮังการี ใน ค.ศ. ๑๙๔๔ ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยู เครนตาม
     ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลเช็ก กับโซเวียตใน ค.ศ. ๑๙๔๕ ในปี เดียวกัน ยู เครนก็เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) และเป็นประเทศหนึ่งที่ร่วมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศพันธมิตรของเยอรมนี คืออิตาลี ฟินแลนด์ โรมาเนีย ฮังการี และบัลแกเรีย ด้วย
     หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหภาพโซเวียตปกครองยูเครนอย่างเข้มงวดอีกครั้งหนึ่งและรณรงค์การสร้างความเชื่อมั่นในอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เพื่อต่อต้านอุดมการณ์ประชาธิปไตย มีการนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ๕ ปีฉบับที่ ๔ มาใช้เพื่อบูรณะประเทศและฟื้นฟูอุตสาหกรรมหนักและใช้นโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบโซเวียตเพื่อป้องกันการฟื้นตัวของวัฒนธรรมและแนวคิดชาตินิยมยู เครนอย่างไรก็ตามเมื่อนีกีตา ครุชชอฟ (Nikita Khrushchev) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการคนที่ ๑ ของพรรคคอมมิวนิสต์ยูเครนได้เป็นผู้นำสหภาพโซเวียต ครุชชอฟดำเนินนโยบายการล้มล้างอิทธิพลสตาลิน (De-Stalinization) ใน ค.ศ. ๑๙๕๖ และกวาดล้างกลุ่มนิยมสตาลิน ครุชชอฟผ่อนคลายการควบคุมยู เครนและแต่งตั้งสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ยูเครนที่เคยร่วมงานกับเขาให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในองค์การพรรคเพื่อให้ช่วยผลักดันนโยบายการปฏิรูปของเขา นอกจากนี้ ใน ค.ศ. ๑๙๕๔ซึ่งเป็นวาระครบรอบ ๓๐๐ ปีของสนธิสัญญาเปเรยาสลาฟ ค.ศ. ๑๖๕๔ ซึ่งรัสเซีย อ้างว่ายู เครนยอมรับอำนาจของรัสเซีย ครุชชอฟซึ่งสนับสนุนการเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวทั่วประเทศได้โอนคาบสมุทรไครเมียของสหพันธรัฐรัสเซีย เข้ารวมกับยูเครนเพื่อแสดงถึงความร่วมมือและ “มิตรภาพ”อันใกล้ชิดระหว่างสาธารณรัฐโซเวียตทั้งสองแห่ง ยู เครนในสมัยของครุชชอฟจึงเจริญก้าวหน้าอย่างมากและกลายเป็นศูนย์อุตสาหกรรมหนักของสหภาพโซเวียตโดยเฉพาะที่ภูมิภาคดนีโปรเปตรอฟสค์(Dnepropetrovsk) ทั้งเป็นศูนย์อุตสาหกรรมผลิตอาวุธและการค้นคว้าวิจัยขั้นสูงด้านเทคโนโลยี
     อย่างไรก็ตาม ในช่วงสมัยของเลโอนิด อิลยิช เบรจเนฟ (Leonid IlyichBrezhnev) ผู้นำสหภาพโซเวียตที่สืบทอดอำนาจจากครุชชอฟใน ค.ศ. ๑๙๖๔ บรรยากาศเสรีในยู เครนถูกยกเลิกลงเพราะเบรจเนฟซึ่งต่อต้านนโยบายการล้มล้างอิทธิพลสตาลินและลัทธิการบูชาบุคคล (Cult of Personality) ของครุชชอฟหันมาใช้มาตรการเข้มงวดควบคุมยู เครนอีกครั้ง และให้อำนาจคณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐหรือเคจีบี(Committee for State Security - KGB) ปราบปรามการ
     เคลื่อนไหวแสดงออกของประชาชน มีการปรับเปลี่ยนกลุ่มผู้บริหารพรรคในยู เครนและผลักดันยู เครนให้พัฒนาอุตสาหกรรมผลิตอาวุธมากขึ้นเพื่อตอบสนองการขยายอำนาจทางทหารของโซเวียตทั้งลดปริมาณอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าด้านอื่น ๆ เช่นเครื่องอุปโภคบริโภคและสินค้าฟุ่มเฟือย ชาวยู เครนโดยทั่วไปเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกอื่น ๆ จึงมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้มาก
     ในปลายทศวรรษ ๑๙๖๐ และทศวรรษ ๑๙๗๐ ปัญญาชนยู เครนได้เริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและต่อต้านนโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างเป็นแบบโซเวียตโดยใช้ซามิซดัต (Samizdat) สิ่งพิมพ์ใต้ดินเป็นเครื่องมือเผยแพร่ความคิดเห็นและการแลกเปลี่ยนข่าวสาร รัฐบาลโซเวียตจึงเพิ่มมาตรการเข้มงวดทางสังคมและปราบปรามการเคลื่อนไหวของปัญญาชนอย่างเด็ดขาดและต่อเนื่องทั้งหันมาใช้มาตรการลงโทษด้วยการเนรเทศออกนอกประเทศ และจับคุมขังในโรงพยาบาลประสาทเพื่อฟื้นฟูความคิด อย่างไรก็ตาม หลังการลงนามของสหภาพโซเวียตในข้อตกลงเฮลซิงกิ (Helsinki Agreement) ค.ศ. ๑๙๗๕ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมเพื่อความมั่นคงและร่วมมือกันในยุโรปหรือซีเอสซีอี (Conference onSecurity and Cooperation in Europe - CSCE) ซึ่งทุกประเทศที่ร่วมลงนามยอมรับในหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขึ้นพื้นฐานของประชาชน ปัญญาชนยู เครนพยายามใช้เงื่อนไขดังกล่าวรวมตัวกันเป็นกลุ่มสิทธิมนุษยชนเรียกว่ากลุ่มเฝ้ามองเฮลซิงกิ(Heksinki Watch Group) ซึ่งมีมีโคลา รูเดนโค (Mykola Rudenko)กวีที่มีชื่อเสียงเป็นผู้นำ กลุ่มดังกล่าวมีส่วนทำให้ขบวนการประชาธิปไตยในยู เครนก่อตัวขึ้นและรัฐบาลไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างเด็ดขาดซึ่งมีผลให้การลิดรอนสิทธิมนุษยชนในโซเวียตเริ่มเป็นที่รับรู้กันมากขึ้นภายนอกสหภาพโซเวียต
     ใน ค.ศ. ๑๙๘๕ เมื่อประธานาธิบดีมีฮาอิล เซียร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (MikhailSergeyevich Gorbachev) เริ่มนโยบายปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยตามนโยบาย“กลาสนอสต์-เปเรสตรอยกา”(Glasnost-Perestroika) หรือ “เปิด-ปรับ”ปัญญาชนยู เครนได้ใช้เงื่อนการปฏิรูปทางการเมืองดังกล่าวเคลื่อนไหวต่อต้านนโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างเป็นแบบโซเวียต และเรียกร้องให้มีการใช้ภาษายูเครน รวมทั้งการเผยแพร่วัฒนธรรมและสิ่งพิมพ์ที่เป็นภาษายูเครนมากขึ้น แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวยังไม่มีพลังและอิทธิพลทางสังคมมากนัก ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๘๖
     เกิดอุบัติเหตุเชียร์โนบีลที่สืบเนื่องจากการระเบิดของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หน่วยที่ ๔ ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่เชียร์โนบีลซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองปรีเปียต(Pripyat)ออกไปไม่ถึง ๓ กิโลเมตร ซากอาคารถูกไฟไหม้นาน ๑๐ วัน และทำให้พื้นที่กว่า ๑๔๒,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรทางตอนเหนือของยู เครนและพื้นที่ระหว่างชายแดนเบลารุส กับยูเครนปนเปืôอนด้วยกัมมันตภาพรังสีนับเป็นอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก อุบัติเหตุเชียร์โนบีลทำให้รัฐบาลโซเวียตต้องเร่งนโยบายกลาสนอสต์อย่างจริงจังด้วยการจะไม่ปิดบังประชาชนด้านข้อมูลข่าวสารขณะเดียวกันกระแสการปฏิรูปในยู เครนก็เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นจนกลายเป็นขบวนการประชาชนที่เข้มแข็ง ในฤดูในไม้ร่วง ค.ศ. ๑๙๘๙ ภาษายูเครนก็ได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐยูเครน ทั้งมีการตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อชำระประวัติศาสตร์ใหม่ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างยู เครนกับรัสเซีย และโดยเฉพาะในสมัยการปกครองของสตาลิน
     ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ มีการเลือกตั้งผู้แทนรัฐสภายู เครนตามระบอบประชาธิปไตยขึ้นเป็นครั้งแรกและนับเป็นการเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยในยู เครนเพราะการผูกขาดอำนาจทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ได้หมดอิทธิพลลง ผู้แทนที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคได้รับเลือกสู่สภาสูงสุด (Supreme Rada)เป็นจำนวนกว่า ๒๑๐ คนจาก ๔๕๐ คน และเลโอนิด คราฟชุค (Leonid Kravchuk)คอมมิวนิสต์แนวปฏิรูปได้รับเลือกเป็นประธานสภาและต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๙๑ ก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศด้วย คราฟชุคประกาศนโยบายที่จะสร้างความเป็นอธิปไตยของยู เครนโดยยังคงรักษาความสัมพันธ์กับโซเวียตไว้และดำเนินนโยบายปฏิรูปทางด้านต่าง ๆ ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกันกระแสการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชเพื่อแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตของสามรัฐบอลติก (Baltic States) ซึ่งประกอบด้วยเอสโตเนีย (Estonia) ลัตเวีย (Latvia) และลิทัวเนีย (Lithuania) ก็มีส่วนทำให้ปัญญาชนยู เครนเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านสหภาพโซเวียตและสนับสนุนการแยกตัวของสามรัฐบอลติก นอกจากนี้กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ได้รวมตัวเป็นขบวนการการเมืองที่เรียกว่า “รุค” (Rukh) เพื่อเรียกร้องการปฏิรูปทางการเมือง
     ประธานาธิบดีกอร์บาชอฟพยายามแก้ไขปัญหาการแยกตัวสาธารณรัฐโซเวียตต่าง ๆ ด้วยการเสนอร่างสนธิสัญญาใหม่แห่งสหภาพ (New Treaty of
     Union) ในต้น ค.ศ. ๑๙๙๑ด้วยการยอมให้สาธารณรัฐโซเวียตต่างๆ มีอำนาจอธิปไตยภายในมากขึ้น แต่นโยบายด้านต่างประเทศ ความมั่นคง และการเงินยังคงอยู่ในความควบคุมของรัฐบาลกลาง แต่ร่างสนธิสัญญาดังกล่าวก็ได้รับการต่อต้านจากสาธารณรัฐโซเวียตต่างๆ และโดยเฉพาะประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin)แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ต่อมาเมื่อกลุ่มผู้นำคอมมิวนิสต์อนุรักษนิยมและกองทัพร่วมมือกันก่อรัฐประหารเพื่อโค่นอำนาจประธานาธิบดีกอร์บาชอฟในเดือนสิงหาคมค.ศ. ๑๙๙๑ แต่รัฐประหารที่เกิดขึ้นเป็นเวลาเกือบ ๑ สัปดาห์ล้มเหลวเพราะเยลต์ซินได้ปลุกระดมและรวมพลังประชาชนต่อต้านจนมีชัยชนะ ความผันผวนทางการเมืองในกรุงมอสโกทำให้รัฐสภายู เครนเห็นเป็นโอกาสเรียกประชุมฉุกเฉินเป็นวาระพิเศษประกาศความเป็นเอกราชของยู เครนเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ และกำหนดให้มีการลงประชามติรับรองความเป็นเอกราชในวันที่ ๑ ธันวาคม ซึ่งมีการแบ่งเขตการปกครองประเทศเป็น ๒๔ จังหวัด และเขตการปกครองอิสระ ๑สาธารณรัฐ (autonomous republic) ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายรัฐบาล ประชาชนร้อยละ ๘๔ มาลงคะแนนออกเสียงและร้อยละ ๙๐ ได้ให้สัตยาบันความเป็นเอกราชของประเทศ
     ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ เลโอนิดคราฟชุคอดีตประธานรัฐสภาเป็นคู่แข่งคนสำคัญกับเวียเชสลาฟ คอร์โนวิล(Vyacheslav Chornovil) ผู้นำปัญญาชนที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ คราฟชุคได้คะแนนเสียงร้อยละ ๖๒ และนับเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ เขาประกาศนโยบายที่จะสร้างความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกให้มากขึ้นและให้นำธงชาติที่เคยใช้ตั้งแต่ค.ศ. ๑๘๔๘ มาเป็นธงประจำชาติซึ่งประกอบด้วย ๒ สี คือสีน้ำเงินและเหลืองสีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและเหลืองหมายถึงข้าวสาลีที่เหลืองอร่ามเป็นสีทองในทุ่งสเตปป์ ต่อมา คราฟชุคได้ร่วมลงนามกับผู้นำของสหพันธรัฐรัสเซีย และเบลารุส จัดตั้งเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States - CIS) ขึ้นเมื่อวันที่๘ ธันวาคม ทั้ง ๓ ประเทศเชื้อสายสลาฟยอมรับดินแดนของกันและกันและจะไม่ละเมิดเขตแดนกัน ทั้งจะเคารพอธิปไตยและความเสมอภาคระหว่างกัน ตลอดจนจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการควบคุมดูแลพื้นที่ที่ติดอาวุธนิวเคลียร์ ประเทศทั้ง ๓ได้ประกาศล้มเลิกสหภาพโซเวียตและโน้มน้าวเชิญชวนให้สาธารณรัฐโซเวียตอื่น ๆเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือรัฐเอกราช ต่อมาในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ สาธารณรัฐ
     โซเวียตอีก ๑๑ แห่งก็เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือรัฐเอกราช ซึ่งมีผลให้สหภาพโซเวียตต้องล่มสลายลงหลังเที่ยงคืนของวันคริสต์มาสที่ ๒๕ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๑
     ประธานาธิบดีคราฟชุคบริหารปกครองประเทศด้วยความยากลำบากเพราะเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่แก้ไขได้เชื่องช้าเนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจเดิมที่รวมศูนย์อำนาจแบบโซเวียตไม่สามารถปฏิรูปได้อย่างรวดเร็ว ปัญหาการว่างงานและเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและผลผลิตที่ตกตำได่้สร้างความเดือดร้อนทั่วไปในหมู่ประชาชนพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่เคยสนับสนุนประธานาธิบดีก็มีความคิดเห็นแตกแยกเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจ นโยบายของประธานาธิบดีที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกมากขึ้นได้ทำให้กลุ่มที่สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซีย ไม่พอใจและขณะเดียวกันรัสเซีย ก็พยายามรักษาอิทธิพลของตนไว้ ปัญหาทางการเมืองดังกล่าวจึงมีส่วนทำให้ประธานาธิบดีคราฟชุคต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาก่อนกำหนดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๙๔ คราฟชุคพ่ายแพ้ต่อเลโอนิด คุชมา(Leonid Kuchma) อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากประชาชนในภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศที่สนับสนุนการผูกพันกับรัสเซีย เพราะต่างคาดหวังว่าคุชมาซึ่งมีความโน้มเอียงไปทางรัสเซีย จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับรัสเซีย อีก แต่คุชมากลับสร้างความผิดหวังแก่ผู้ที่สนับสนุนเขาเพราะคุชมากลับดำเนินนโยบายสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกมากกว่ารัสเซีย และเครือรัฐเอกราช นโยบายดังกล่าวมีส่วนทำให้แผนปฏิรูปการปกครองและเศรษฐกิจรวมทั้งด้านสังคมต่าง ๆ ของเขามักถูกสมาชิกรัฐสภาซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรคฝ่ายซ้ายที่นิยมรัสเซีย คัดค้าน ปั ญหาความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีกับรัฐสภาที่เรื้อรังมีส่วนทำให้การบริหารของประธานาธิบดีไม่ราบรื่น
     ใน ค.ศ. ๑๙๙๒ ยู เครนเริ่มจัดตั้งกองกำลังทัพของตนเองทั้งทางบกทางเรือและทางอากาศ โดยปรับปรุงจากกองกำลังและยุทโธปกรณ์ของรัสเซีย ที่เคยประจำการในยู เครน ขณะเดียวกัน ยู เครนก็หาทางเจรจาตกลงกับรัสเซีย เกี่ยวกับปัญหากรรมสิทธิ์ กองเรือในทะเลดำและอาวุธนิวเคลียร์ที่อยู่ในดินแดนตนยู เครนยอมให้มีการเคลื่อนย้ายอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดไปไว้ที่รัสเซีย และต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๙๔ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และยูเครนลงนามร่วมมือกันที่จะกำจัดคลังอาวุธนิวเคลียร์ในยู เครนและยู เครนเรียกร้องให้รัสเซีย กำจัดขีปนาวุธ
     นิวเคลียร์พิสัยไกลให้หมดสิ้นภายใน ค.ศ. ๑๙๙๙ แต่รัสเซีย สามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. ๑๙๙๖ ก่อนเวลาที่กำหนด ในการกำจัดนิวเคลียร์ดังกล่าวสหรัฐอเมริกาสัญญาจะให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครนทางด้านต่าง ๆด้วย ต่อมารัสเซีย และยู เครนก็หาข้อยุติเกี่ยวกับปัญหากองเรือในทะเลดำได้โดยทั้ง ๒ ประเทศร่วมลงนามในความตกลง ๓ ฉบับเมื่อวันที่ ๒๘พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๙๗ ซึ่งมีสาระสำคัญคือรัสเซีย ได้สิทธิในการเช่าฐานทัพเรือยู เครนที่เมืองเซวัสโตปอล (Sevastopol)เพื่อเป็นที่ตั้งของกองเรือรัสเซีย ต่อไปอีก ๒๐ ปียูเครนซึ่งมีเรืออยู่ประมาณ ๑๑๐ ลำโดยเป็นเรือรบ ๓๐ ลำและเรืออื่น ๆ อีก ๘๐ ลำ จะได้กรรมสิทธิ์ เรือเพิ่มเติมอีก๕๒ ลำ
     ในกลางทศวรรษ ๑๙๙๐ ยู เครนเริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็นแบบตลาดเสรีและแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่ปัญหาการดำเนินการที่ไม่โปร่งใสและคนวงในรัฐบาลมักได้ผลประโยชน์ในการควบคุมวิสาหกิจต่าง ๆ เป็นต้นว่าบุตรเขยของประธานาธิบดีได้สิทธิควบคุมโรงงานผลิตเหล็กกล้าที่ใหญ่และทำผลกำไรมากที่สุด ปัญหาทุจริตดังกล่าวมีส่วนทำให้รัฐบาลเสื่อมความนิยมลง และประชาชนส่วนใหญ่มีิวถีชีวิตที่ยากลำบาก ชาวยูเครนจึงเริ่มหลั่งไหลออกไปหางานทำนอกประเทศ และประมาณว่าหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายมีชาวยูเครนราว ๗ ล้านคนไปทำมาหากินนอกประเทศการอพยพดังกล่าวมีผลกระทบต่อประเทศด้วย เพราะยู เครนมีอัตราเกิดตำท่ ี่สุดในยุโรปและอัตราตายสูงกว่าอัตราเกิดสองเท่า จึงประมาณกันว่าจำนวนประชากรของยู เครนในระยะยาวจะลดลงถึงร้อยละ ๔๐ ใน ค.ศ. ๑๙๙๘ รัสเซีย เผชิญกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อยู เครนเนื่องจากการค้าร้อยละ ๔๐ ของประเทศขึ้นอยู่กับรัสเซีย ยู เครนจึงร่วมลงนามกับรัสเซีย ในแผนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ๑๐ ปี (ค.ศ. ๑๙๙๘-๒๐๐๗) โดยทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันปฏิรูปเศรษฐกิจและหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาสังคมและแนวทางการขยายปริมาณการค้าระหว่างกัน รวมทั้งร่วมมือกันในด้านต่างๆอีกกว่า๑๐๐ โครงการ ต่อมามีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันการร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันยู เครนก็สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์กับเครือรัฐเอกราชโดยเฉพาะการพัฒนาร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ
     ในปลาย ค.ศ. ๑๙๙๙ วิคตอร์ยูเชนโค (Viktor Yushenko) ผู้อำนวยการธนาคารแห่งชาติยู เครนซึ่งสนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกได้
     รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี เขาดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจและแก้ไขภาวะเงินเฟ้อทั้งพยายามควบคุมและปราบปรามเหล่านักธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีเส้นสายในรัฐบาลนโยบายดังกล่าวทำให้กลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ในรัฐสภารวมตัวกันต่อต้านเขาและสามารถถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งได้สำเร็จ การปลดยูเชนโคทำให้ประชาชนทั่วประเทศชุมนุมต่อต้านรัฐสภาและเรียกร้องให้ประธานาธิบดีคุชมาลาออก แต่คุชมายังคงสามารถควบคุมสถานการณ์ทางการเมืองไว้ได้ และใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเข้มงวดมากขึ้น ยู เชนโคได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ให้เป็นผู้นำในการต่อต้านประธานาธิบดีคุชมา และระหว่างค.ศ. ๒๐๐๑-๒๐๐๔ คะแนนนิยมของยู เชนโคก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะในภูมิภาคทางตะวันตกที่เป็นเขตอุตสาหกรรมยูเชนโคในเวลาต่อมาจึงได้รับเลือกเป็นหัวหน้าของกลุ่มการเมืองผสมที่เรียกชื่อว่านาชายูเครบินา (Nasha Ukrayina - OurUkraine)
     ใน ค.ศ. ๒๐๐๔ ประธานาธิบดีคุชมาซึ่งจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งประกาศจะไม่ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดียูเชนโคประกาศตัวลงแข่งขันกับวิคตอร์ยานูโควิช (Viktor Yanukovych) รัฐมนตรีที่ทั้งคุชมาและสหพันธรัฐเซียสนับสนุนอยู่เบื้องหลังเพราะยานูโควิชต้องการให้ยู เครนเป็นมิตรกับรัสเซีย ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ยู เชนโคล้มป่วยลงเกือบเสียชีวิตและถูกนำตัวไปรักษาในต่างประเทศเป็นการลับ ๆ อย่างฉุกเฉิน แพทย์ชาวออสเตรีย ยืนยันว่ายู เชนโคถูกวางยาด้วยทีซีดีดีไดออกซิน (TCDD dioxin) แต่เขารอดชีวิตพร้อมใบหน้าที่บวมฉุเต็มไปด้วยแผลตะปÉุมตะปè่าทั้งสีิผวที่เปลี่ยนไป หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นฝีมือของรัฐบาลเพราะก่อนหน้าการล้มเจ็บมีหลักฐานว่ายู เชนโคได้ร่วมรับประทานอาหารคำ่กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายรัฐบาลซึ่งรวมทั้งหัวหน้าฝ่ายรักษาความมั่นคงยู เครน(Security Service of Ukraine - SBU)ด้วย ใบหน้าที่เสียโฉมของยูเชนโคซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศที่เต็มไปด้วยบาดแผลจากอดีตและผ่านความทุกข์ยากมานานทำให้ยูเชนโคได้รับความเห็นอกเห็นใจจากประชาชนและได้การสนับสนุนมากขึ้นอย่างไรก็ตาม ผลการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๔ ปรากฏว่ายู เชนโคได้เสียงสนับสนุนร้อยละ ๓๙.๘๗ และยานูโควิชได้ร้อยละ ๓๙.๓๒ แต่เนื่องจากไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงถึงร้อยละ ๕๐ จึงต้องมีการแข่งขันกันเป็นรอบที่ ๒ในวันที่ ๒๑พฤศจิกายน
     ในการเลือกตั้งรอบที่ ๒ ซึ่งมีผู้มาลงคะแนนเสียงร้อยละ ๗๕ ผลปรากฏว่ายู เชนโคได้คะแนนร้อยละ ๔๖.๕ และยานูโควิชได้คะแนนร้อยละ ๔๙.๕ กลุ่มสังเกตการณ์เลือกตั้งทั้งในและนอกประเทศรายงานว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีการโกงกันอย่างมโหฬาร บางเขตมีการลงคะแนนเสียงสองรอบ และบางเขตบัตรเลือกตั้งที่หนุนยานูโควิชมีจำนวนมากกว่าผู้มาลงคะแนนเสียง ยู เชนโคและประชาชนที่สนับสนุนเขาในภาคตะวันตกจึงไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และนำไปสู่การชุมนุมต่อต้านทั่วประเทศหลายสัปดาห์ที่มีชื่อเรียกว่า “การปฏิวัติีสส้ม” (Orange Revolution)เพราะสีส้มเป็นสีสัญลักษณ์ที่ยู เชนโคใช้ในการเลือกตั้ง ประชาชนซึ่งต่อต้านรัฐบาลอย่างสงบต่างมีเพียงอาวุธที่เป็นแผ่นผ้าสีส้มที่เขียนข้อความประท้วง โบกธง สวมใส่เสื้อติดโบว์ ผูกผ้าพันคอ ถือลูกโป่งและอื่น ๆ ที่เป็นสีส้มทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การเผชิญหน้าอันตึงเครียดในกรุงเคียฟได้คลี่คลายลงเมื่อศาลสูงสุดตัดสินเมื่อวันที่ ๓ธันวาคม ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะและให้เลือกตั้งใหม่ในวันที่ ๒๖ ธันวาคมในการเลือกตั้งรอบ ๓ ยู เชนโคได้คะแนนเสียงร้อยละ ๕๒ ส่วนยานูโควิชได้เพียงร้อยละ ๔๔.๒ยูเชนโคจึงได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของประเทศ และปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ค.ศ. ๒๐๐๕
     ในช่วง ๑๐๐ วันของการดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ ๒๓ มกราคมถึง ๑พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๕ ยูเชนโคปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่และฝ่ายบริหารทุกระดับ และเริ่มเดินทางไปเยือนประเทศตะวันตกต่าง ๆ เพื่อสร้างสานความสัมพันธ์และการจะผลักดันยู เครนให้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (European Union) และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (North Atlantic Treaty Organization -NATO) ขณะเดียวกันเขาก็เริ่มทำสงครามปราบปรามคอรัปชันซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศและพยายามสร้างความสมานฉันท์ระหว่างประชาชนทางภาคตะวันออกและภาคใต้ที่ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย และนิยมรัสเซีย กับประชาชนภาคตะวันตกที่เป็นเขตอุตสาหกรรมซึ่งนิยมตะวันตกและส่วนใหญ่พูดภาษายูเครนอย่างไรก็ตาม หลังบริหารประเทศได้เกือบ ๑๐ เดือน รัฐบาลของยู เชนโกก็เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการคอรัปชันจนทำให้ต้องปลดยูเลีย ตีโมเชโค (Yulia Timosheko) รัฐมนตรีซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนและคณะรัฐมนตรีออกเพราะถูกกล่าวหาเรื่องคอรัปชันวิกฤตการณ์ดังกล่าวแม้จะทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งเริ่มไม่แน่ใจว่าการปฏิวัติีสส้มจะบรรลุผลสำเร็จ แต่คนหนุ่มสาวและประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงคาดหวังว่ายูเชนโก
     จะฟันฝ่าอุปสรรคที่เผชิญอยู่ได้ และพวกเขายังคงศรัทธาเชื่อมั่นในอิสรภาพและการเปลี่ยนแปลงเหมือนครั้งที่ประชาชนรวมพลังกันที่จัตุรัสไมดัน (Maidan) หรือจัตุรัสอิสรภาพ (Independence Square) ในกลางกรุงเคียฟซึ่งทำให้การปฏิวัติีสส้มเกิดขึ้น และต่างกู่ร้องว่า “ฉันได้ยึนอยู่ที่ไมดัน” ซึ่งหมายถึงการได้อยู่ที่นั่นและยึนหยัดเพื่อเสรีภาพทั้งฝันถึงการเปลี่ยนแปลง.
     

ชื่อทางการ
ยูเครน (Ukraine)
เมืองหลวง
เคียฟ (Kiev)
เมืองสำคัญ
เคียฟ คาร์คิฟ (Kharkiv) โอเดสซา (Odessa) โดเนตสค์(Donetske)ดนีโปรเปตรอฟสค์ (Dnepropetrovsk) และลวอฟ (Lvov)
ระบอบการปกครอง
สาธารณรัฐ
ประมุขของประเทศ
ประธานาธิบดี
เนื้อที่
๖๐๓,๗๐๐ ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ : ประเทศเบลารุส ทิศตะวันออก : ประเทศรัสเซีย ทิศใต้ : ทะเลดำ และประเทศโรมาเนีย ทิศตะวันตก : ประเทศโรมาเนีย ฮังการีสโลวาเกีย และโปแลนด์
จำนวนประชากร
๔๖,๒๙๙,๘๖๒ คน (ค.ศ. ๒๐๐๗)
เชื้อชาติของประชากร
ยูเครนร้อยละ ๗๗.๘ รัสเซียร้อยละ ๑๗.๓ อึ่น ๆ ร้อยละ ๔.๙
ภาษา
ยูเครน
ศาสนา
คริสต์นิกายยูเครนออร์ทอดอกซ์ร้อยละ ๑๙ นิกายออร์ทอดอกซ์ ร้อยละ ๑๖ อื่น ๆ ร้อยละ ๑๖.๗ ไม่นับถือศาสนาร้อยละ ๓๘
เงินตรา
ฮริฟนา (hryvna)
มัลติมีเดียประกอบ
-
ผู้เขียนคำอธิบาย
สัญชัย สุวังบุตร
แหล่งอ้างอิง
สารานุกรมทวีปยุโรป