ไอร์แลนด์เป็นดินแดนที่เคยผนวกเข้ากับอังกฤษ ซึ่งประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นสาธารณรัฐใน ค.ศ. ๑๙๓๗ โดยพวกชาตินิยมไอริชที่ต้องการเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์จากอังกฤษ การสถาปนาอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๔๙พร้อม ๆกับการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของเครือจักรภพ (Commonwealth ofNations) ในขณะเดียวกันด้วย ประวัติศาสตร์ของไอร์แลนด์เกี่ยวข้องกับการที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก จึงถูกอังกฤษกีดกันและเอาเปรียบต่าง ๆ และนำไปสู่การต่อสู้เพื่อการเป็นเอกราช ปัจจุบันแม้ว่าไอร์แลนด์เคยประสงค์จะให้ไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) ซึ่งยังคงอยู่กับอังกฤษเข้ารวมเป็นดินแดนอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนเมื่อครั้งก่อน ค.ศ. ๑๙๒๑ ที่มีการทำความตกลงในสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์ (Anglo-Irish Treaty) แต่ได้ยอมรับที่จะไม่เอาประเด็นนี้มาเป็นเป้าหมายหลักของประเทศแล้ว
ตั้งแต่สมัยกลาง ดินแดนในเกาะไอร์แลนด์แบ่งออกเป็น ๔ แคว้น(provinces) คือ เลนสเตอร์ (Leinster) มันสเตอร์ (Munster) คอนนอต (Connaughtหรือ Connacht) และอัลสเตอร์ (Ulster)ดินแดนที่เป็นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ปัจจุบันครอบคลุม ๓ แคว้นแรกและบางส่วนของแคว้นที่ ๔ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ เริ่มมีการจัดตั้งมณฑลหรือเคาน์ตี (county) ขึ้นซึ่งมาเสร็จสิ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ทำให้มณฑลกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นที่สำคัญทั่วทั้งเกาะจนถึงปัจจุบันไอร์แลนด์ประกอบด้วย ๒๖ มณฑล ส่วนไอร์แลนด์เหนือซึ่งครอบคลุมดินแดนที่เคยเป็นแคว้นอัลสเตอร์ประกอบด้วย ๖ มณฑล ประธานาธิบดีทำหน้าที่ประมุขของประเทศโดยมีวาระ ๗ ปี แต่บทบาทเป็นไปในด้านพิธีการมากกว่ามีอำนาจปกครองเพราะมีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่บริหารเป็นหลัก มีสตรีดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีติดต่อกัน ๒ คน คนแรกคือ แมรีรอบินสัน (Mary Robinson) ซึ่งลาออกไปเป็นข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ในค.ศ. ๑๙๙๗ แมรีแมกอาลีส (Mary McAleese) ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นคนต่อมา โดยเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศที่มาจากไอร์แลนด์เหนือและยังได้รับเลือกต่ออีกวาระใน ค.ศ. ๒๐๐๔ รัฐสภาประกอบไปด้วย ๒ สภา คือสภาผู้แทน (Dail หรือ Assembly) มีสมาชิก ๑๖๖ คน ซึ่งประชาชนเลือกตั้งเข้ามาโดยตรง และวุฒิสภา (Seaned หรือ Senate) ซึ่งมีสมาชิก ๖๐ คนที่ได้รับการคัดเลือกมาจากบุคคลสาขาอาชีพต่าง ๆ
ชาวไอริชปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากคนหลายเผ่าพันธุ์ที่เข้าไปรุกรานและยึดครองเกาะไอร์แลนด์ในช่วงประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ได้แก่ พวกเคลต์ (Celt)เดน (Dane) นอร์มัน (Norman)อังกฤษ และสกอต แต่ทุกวันนี้ความแตกต่างด้านเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญในสังคมไอริช หลักฐานการตั้งถิ่นฐานรุ่นแรกบนเกาะนี้เกิดขึ้นในยุคหินใหม่ประมาณ ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชเมื่อชาวนาจากภาคพื้นทวีปยุโรปที่อยู่ิรมฝั่งบริตตานี[(Brittany) ปัจจุบันอยู่ในฝรั่งเศส ]ได้เข้าไปหักร้างถางพงทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์บริเวณตอนเหนือของเกาะซึ่งเป็นเขตที่ดินร่วนระบายน้ำได้ดี มีการพบที่ฝังศพและเครื่องใช้ในการทำมาหากินของคนสมัยนั้น ต่อมาระหว่าง ๒,๐๐๐-๓๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ผู้คนจากตอนเหนือของยุโรปที่อยู่ิรมฝั่งทะเลบอลติกได้เข้าไปแสวงหาแร่ทองคำและทองแดงเพื่อนำกลับไปยังดินแดนตน หลังจากนั้นชาวเคลต์จากยุโรปกลางและคาบสมุทรไอบีเรียก็เข้าไปตั้งหลักแหล่งและได้ทิ้งมรดกด้านภาษาและบุคลิกลักษณะบางประการสืบทอดให้แก่ชาวไอริชปัจจุบันด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์รุ่นแรกมาจาก ๒ แหล่ง คือ หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงวิถีชีวิตของคนที่ดำรงชีพในยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ และยุคเหล็ก และจากวรรณกรรมเกี่ยวกับการผจญภัยของวีรบุรุษที่สะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรมของพวกเคลต์ที่รุกรานไอร์แลนด์ในตอนกลางศตวรรษที่ ๔ ก่อนคริสต์ศักราช การที่พวกโรมันไม่เคยพยายามจะรุกรานเพื่อครอบครองไอร์แลนด์พวกเคลต์หรือที่เรียกว่าพวกเกล (Gael) ในไอร์แลนด์จึงสามารถพัฒนาวัฒนธรรมได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึง ๘๐๐ ปี สังคมของพวกเกลยึดรวมกันด้วยความเชื่อในศาสนา กฎหมาย ประเพณีวรรณกรรม และศิลปะ แต่ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางการเมือง ในช่วงเวลานี้ ไอร์แลนด์แบ่งเป็น๕ อาณาจักรใหญ่ ๆ และ ๒๐๐อาณาจักรเล็ก ๆศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เมืองทารา(Tara) โครงสร้างสังคมแบ่งเป็นชนชั้นสูงอิสรชน และทาสพวกอภิสิทธิ์ ชน ได้แก่พระ นักกฎหมาย และกวี ที่ดินถือเป็นทรัพย์สินร่วมกัน การมีอำนาจขึ้นกับจำนวนปศุสัตว์ที่ครอบครอง
ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๕ เมื่อพระเจ้านีออลแห่งเชลย ๙ คน (Niall of the NineHostages) ปกครองในฐานะกษัตริย์สูงสุด (high king หรือ Ard-Ri) ในสมัยพระโอรสของพระเจ้านีออล เซนต์แพทริก (St. Patrick) เชื้อสายอังกฤษ-โรมันที่ตามตำนานถูกกวาดต้อนจากแคว้นเวลส์ (Wales) มาเป็นเชลยเมื่ออายุ ๑๖ ปีก็ได้นำภาษาละตินและการเขียนตัวอักษรเข้าไปเผยแพร่และเป็นบุคคลสำคัญที่ทำการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในไอร์แลนด์ เมื่อเดินทางกลับเข้าไปในไอร์แลนด์อีกครั้งหลังจากที่บวชเป็นบาทหลวง (ทุกวันนี้มีการกำหนดให้วันที่ ๑๗ มีนาคม เป็นวันเซนต์แพทริกและเป็นวันหยุดประจำชาติด้วย) นับจากนั้นเทพเจ้าแบบของพวกเคลต์ก็หมดอิทธิพลต่อจิตใจของประชาชน นักบวชในศาสนาคริสต์ก็เข้ามาแทนที่และมีบทบาทแทนนักบวชของพวกเคลต์ที่เรียกว่าดรูอิด (druids) มีการจัดตั้งองค์กรศาสนาขึ้นเพื่อการบริหารและสร้างอาราม (monastery) ต่าง ๆ ขึ้น การขยายตัวด้านศาสนาเป็นไปได้สะดวกเพราะการที่ที่ตั้งแยกจากภาคพื้นทวีป ไอร์แลนด์จึงรอดพ้นจากการรุกรานของชนเผ่าติวตัน (Teuton) ที่รุกรานยุโรปตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๖-๗ เหมือนกับที่เคยรอดพ้นจากการคุกคามของพวกโรมันอารามที่เด่น ๆ ได้แก่อารามที่หมู่เกาะอารัน (Aran) ซึ่งก่อตั้งโดยเซนต์เอนดา (St. Enda)ใน ค.ศ. ๕๓๐ อารามแห่งคลอนแมกนอยส์ (Clonmacnois) โดยเซนต์เซียแรน(St. Ciaran) ใน ค.ศ. ๕๔๘ อารามที่คลอนเฟิร์ต (Clonfert) โดยเซนต์เบรนดัน(St. Brendon) ใน ค.ศ. ๕๘๓ และอารามที่เกลนดาลอฟ (Glendalough) โดยเซนต์เควิน(St. Kevin) ใน ค.ศ. ๖๒๒ อารามเหล่านี้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้และมีการศึกษาภาษาละตินและภาษากรีก
ศาสนาคริสต์ในไอร์แลนด์เฟืòองฟูถึงขนาดมีการส่งมิชชันนารีไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์และวัฒนธรรมในยุโรปตะวันตกและยุโรปกลาง เช่น เซนต์โคลัมบา(St. Columba) ไปอยู่ที่เกาะไอโอนา (Iona) ระหว่าง ค.ศ. ๕๖๓-๕๙๗ และเปลี่ยนสกอตแลนด์ให้รับนับถือศาสนาคริสต์ และเซนต์โคลัมบานุส (St. Columbanus)เข้าไปก่อตั้งโบสถ์ลูเซย (Luxeuil) ในแคว้นเบอร์กันดี(Burgundy) ใน ค.ศ. ๕๙๐และเดินทางไปหลายแห่งอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยจนมรณภาพที่อิตาลี ใน ค.ศ. ๖๑๖นักบุญ ๒ สองท่านนี้เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของมิชชันนารีไอริชที่ออกเดินทางเพื่อศาสนกิจอย่างมุ่งมั่น
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๘ ไอร์แลนด์ถูกพวกไวกิ้ง (Viking) จากทางเหนือของยุโรปเข้าปล้นสะดมเป็นเวลากว่า ๒ศตวรรษอารามแทบทุกแห่งถูกปล้นและทำลายอารามที่คลอนแมกนอยส์ถูกปล้นกว่า ๑๒ ครั้งเช่นเดียวกับที่อาร์มา (Armagh) ซึ่งเป็นเมืองหลวงทางศาสนาหรือศูนย์กลางทางศาสนาของไอร์แลนด์ โรงเรียนศาสนาต้องหยุดการเรียนการสอน พวกไวกิ้งได้ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเล็ก ๆ ใน ค.ศ. ๘๓๗บริเวณใกล้ปากแม่น้ำลิฟฟีย์ (Liffey) ซึ่งต่อมาเจริญขึ้นเป็นกรุงดับลิน ใน ค.ศ. ๘๕๑เกิดสงครามทางเรือระหว่างพวกไวกิ้งกับพวกเดน ไวกิ้งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และถูกขับไล่จากไอร์แลนด์ ต่อมาพวกเดนได้สร้างเมืองท่าต่าง ๆ ได้แก่ วอเตอร์ฟอร์ด(Waterford) เวกซฟอร์ด (Wexford) คอร์ก (Cork) ลิเมอริก (Limerick)ดันดอล์ก(Dundalk) และวิกโลว์ (Wicklow) มีผู้รุกรานที่เข้ามาระลอกต่าง ๆ แต่งงานกับชาวพื้นเมืองไอริช และบ้างก็รับนับถือศาสนาคริสต์ด้วย หอคอยกลม ๘๐ แห่งที่สร้างขึ้นเป็นหอระวังภัยและทำหน้าที่เป็นป้อมปราการเป็นสถาปั ตยกรรมสำคัญที่คงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
แม้จะถูกรุกรานเป็นเวลานานอาณาจักรต่าง ๆ ในไอร์แลนด์ก็ไม่ได้ถูกทำลายตระกูลขุนนางโอนีลส์ (OûNeills) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้านีออลแห่งเชลย๙ คน ยังคงรักษาตำแหน่งกษัตริย์สูงสุดไว้ได้ แต่ความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่ง ค.ศ. ๑๐๐๒พระเจ้าไบรอัน โบรู (Brian Boru)กษัตริย์แห่งอาณาจักรมันสเตอร์ยึดตำแหน่งกษัตริย์สูงสุดและสถาปนาตนเองเป็นประมุขแห่งไอร์แลนด์ ไบรอันปกครองจนกระทั่งถูกปลงพระชนม์ขณะสวดมนต์ในวันที่ ๒๓ เมษายน ค.ศ. ๑๐๑๔ หลังจากที่เพิ่งได้ชัยชนะจากการรบกับพวกเดนความเป็นศัตรูระหว่างตระกูลขุนนางต่าง ๆ ก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง ตำแหน่งกษัตริย์สูงสุดถูกสมาชิกตระกู ลขุนนางต่าง ๆ อ้าง ได้แก่ มันสเตอร์ โอเบรียนส์ (MunsterOûBriens) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากไบรอันอัลสเตอร์ โอนีลส์ (Ulster OûNeills) โอคอนเนอส์แห่งคอนนอต (OûConnors of Connaught) และทูร์ลอฟ โอคอนเนอร์(Turlough OûConnor) ซึ่งดำรงตำแหน่งกษัตริย์สูงสุดระหว่าง ค.ศ. ๑๑๑๘-๑๑๕๖โอรสของเขาคือ รอรี (Rory) เป็นกษัตริย์สูงสุดองค์สุดท้ายของไอร์แลนด์ที่ปกครองระหว่าง ค.ศ. ๑๑๖๖-๑๑๘๓
ใน ค.ศ. ๑๑๖๖พระเจ้าเดอร์มอต แมกเมอร์รอฟ (Dermot Macmurrough)กษัตริย์แห่งลินสเตอร์ สูญเสียบัลลังก์จึงขอให้พระเจ้าเฮนรีที่ ๒ (Henry IIค.ศ. ๑๑๕๔-๑๑๘๙) แห่งอังกฤษช่วยกู้บัลลังก์กลับคืนดังนั้นระหว่าง ค.ศ. ๑๑๖๙-๑๑๗๑ จึงมีขุนนางเชื้อสายแองโกล-นอร์มันจากภาคตะวันตกของประเทศอังกฤษเข้าไปช่วยชิงบัลลังก์คืน ริชาร์ดเดอแคลร์ เอิร์ลแห่งเพมโบรก (Richard de Clare,Earl of Pembroke) ซึ่งมีฉายาว่าธนูทรงพลัง (Strongbow) ได้สมรสกับพระราชธิดาของพระเจ้าเดอร์มอต และได้ขึ้นครองราชย์แทนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๑๗๑แต่พระเจ้าเฮนรีที่ ๒ ไม่ทรงต้องการให้ขุนนางของพระองค์เป็นอิสระจากพระราชอำนาจจึงเสด็จนำกองทัพข้ามมายังเกาะไอร์แลนด์ในเดือนตุลาคม และก่อนจะเสด็จกลับอังกฤษในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๑๗๒ พระเจ้าเฮนรีที่ ๒ ทรงแต่งตั้งขุนนางอังกฤษเป็นผู้แทนพระองค์ในการปกครองไอร์แลนด์ เรียกว่าอุปราช (lord-lieutenant)ซึ่งตำแหน่งนี้ก็มีผู้ได้รับแต่งตั้งติดต่อกันเป็นเวลาอีก ๔๐๐ ปี
อาณาจักรเลนสเตอร์นั้นพระราชทานให้แก่เอิร์ลแห่งเพมโบรก และอาณาจักรมีท (Meath) ให้แก่ฮิว เดอเลซี (Hugh de Lacy) ในฐานะเป็นวัสซัล (Vassal)ของพระเจ้าเฮนรีที่ ๒ แต่เมืองเก่าที่พวกไวกิ้งและเดนสร้างอย่างดับลิน เวกซฟอร์ดวอเตอร์ฟอร์ดให้อยู่ใต้พระราชอำนาจของกษัตริย์อังกฤษโดยตรง หัวหน้าตระกูลไอริชจำนวนมากก็ยอมอ่อนน้อมต่อกษัตริย์อังกฤษ สันตะปาปาเอเดรียนที่ ๔ (AdrianIV) ก็ทรงเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองในไอร์แลนด์ ทรงเคยออกโองการศาสนา (Bull of Landabiliter) ซึ่งให้สิทธิครอบครองไอร์แลนด์โดยสืบตระกูลแก่พระเจ้าเฮนรีที่ ๒ เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์และเพื่อให้พระองค์ปฏิรูปศาสนาในไอร์แลนด์ให้ขึ้นกับคริสตจักรที่เมืองแคนเทอร์บิวรี (Canterbury)ของอังกฤษ บัดนี้ ก็มีการประกาศโองการนี้เป็นทางการใน ค.ศ. ๑๑๗๗อย่างไรก็ตามการที่ไอร์แลนด์ประกอบไปด้วยอาณาจักรน้อยใหญ่ซึ่งเปิ ดโอกาสให้พวกอังกฤษเข้ามาครอบครองนั้น ก็ได้ทำให้การครอบครองนั้นไม่ถาวร การสวามิภักดิ์ ของรอรีโอคอนเนอร์ต่อพระเจ้าเฮนรีที่ ๒ ตามสนธิสัญญาวินด์เซอร์ (Treaty of Windsor)ใน ค.ศ. ๑๑๗๕ นั้นไม่มีความหมาย และอังกฤษก็ต้องมีภาระค่อย ๆ สยบไอร์แลนด์ให้อยู่ในอำนาจทีละน้อยต่อไป
อาณาจักรเลนสเตอร์ถูกจัดการบริหารใหม่ระหว่าง ค.ศ. ๑๒๐๗-๑๒๑๘ โดยวิลเลียม มาร์แชลล์ (William Marshall) ขุนนางอังกฤษเชื้อสายนอร์มันรุ่นแรกซึ่งมีความสามารถที่สุดคนหนึ่งซึ่งได้สมรสกับทายาทหญิงของเอิร์ลแห่งเพมโบรกหรือ“ธนูทรงพลัง” ส่วนการเข้าครอบครองอีสต์อัลสเตอร์เริ่มขึ้นใน ค.ศ. ๑๑๗๗โดยจอห์น เดอคูร์ซี(John de Courci) ภายในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ หัวหน้าขุนนางตระกูลใหญ่ ๆ ก็ได้รับอำนาจปกครองในไอร์แลนด์ตามระบอบการปกครองแบบฟิวดัล (Feudalism) ได้แก่ ตระกูลบัตเลอร์ (Butler) ที่เมืองลิเมอริก ตระกูลฟิตซ์เจอรัลด์ (Fitzgerald) ในเคอร์ีร (Kerry) และตระกูลเดอเบิร์ก (de Burgh)ในคอนนอต กล่าวได้ว่าภายในสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ดินแดน ๒ ใน ๓ ของไอร์แลนด์อยู่ใต้การปกครองของชาวอังกฤษเชื้อสายแองโกล-นอร์มัน
พวกนอร์มันจัดการปกครองและระบบสังคมในไอร์แลนด์ตามระบอบการปกครองฟิวดัลในอังกฤษ โดยมีการยอมรับอำนาจของประมุขอังกฤษที่ส่งคำสั่งจากกรุงดับลิน ในสมัยพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ ๓ (Edward III ค.ศ. ๑๓๒๗-๑๓๗๗)สมาชิกในราชวงศ์มักจะได้ครองตำแหน่งอุปราช มีการมอบที่ดินลดหลั่นกันเป็นทอด ๆ แต่การตอบแทนของวัสซัล ต่อเจ้า (lord) ของตนยามสงครามอาจเปลี่ยนเป็นในรูปการส่งเงินได้ มีการสร้างปราสาทและเมืองใหม่ ๆ ขึ้น ชาวนาจากภาคตะวันตกของอังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ก็อพยพเข้าไปอยู่ในเขตเมืองใหม่เหล่านั้น
ไอร์แลนด์ในเขตที่อังกฤษปกครองนั้น มีการต่อต้านอำนาจของอังกฤษทั่วประเทศแต่พวกไอริชเองก็ชินกับการรบพุ่งกันเองเกินกว่าจะผนึกกำลังกันต่อสู้กับอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีการต่อต้านจากตระกูลไอริชเชื้อสายอังกฤษจนทำให้ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ อังกฤษจึงตระหนักว่าไอร์แลนด์ไม่ได้นำความมั่งคั่งมาสู่อังกฤษเพราะอังกฤษจำต้องหาเงินจากที่ือ่นมาเป็นรายจ่ายค้ำจุนการปกครองในไอร์แลนด์ไว้ กาฬโรคที่ระบาดในไอร์แลนด์ในช่วง “ความตายสีดำ”(Black Death)ใน ค.ศ. ๑๓๔๘ ได้คร่าชีวิตประชากรไปครึ่งหนึ่งซึ่งทำให้ลดจำนวนพลเมืองในเมืองและเมืองท่าต่าง ๆอย่างมหาศาล ความเสื่อมถอยในไอร์แลนด์จึงทำให้เจ้าของที่ดินหลายรายเดินทางกลับอังกฤษและนับเป็นจุดเริ่มต้นของการที่เจ้าของที่ดินละทิ้งแมเนอร์ (manor) ไปอยู่ที่ือ่น อย่างไรก็ดี นับแต่อังกฤษเข้าไปปกครองไอร์แลนด์ก็มีการบังคับใช้กฎหมายของอังกฤษ การบริหารในส่วนกลางกระทำโดยการจัดประชุมสภา ซึ่งมักมีแต่ขุนนางเข้าประชุม ลักษณะพิเศษของรัฐสภาไอร์แลนด์คือการปรับสินไหมกับผู้ที่ไม่เข้าประชุมสภาและมีผู้แทนของนักบวชชั้นผู้น้อยเข้าประชุมด้วย จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ดินแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือยังคงเป็นเขตไอริชดั้งเดิมที่ใช้ภาษาเกลและยึดถือประเพณีศาสนาของพวกเคลต์
อย่างไรก็ดี ใน ค.ศ. ๑๓๔๑ ข้าราชการชาวไอริชถูกบังคับว่าจะต้องเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินในอังกฤษด้วย และใน ค.ศ. ๑๓๖๖ มีการดำเนินนโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติดังที่ปรากฏในกฎหมายแห่งคิลเคนนี(Statutes of Kilkenny) ที่ห้ามการสมรสระหว่างชาวอังกฤษกับชาวไอริช ห้ามการใช้ภาษาเกลหรือใช้กฎหมายประเพณีของชาวไอริช และไม่ให้มีการแต่งตั้งบาทหลวงไอริชในตำแหน่งที่ดู แลทรัพย์สินของศาสนาอนึ่ง การห้ามเหล่านี้ไม่ถือปฏิบัติอย่างจริงจังแต่เป็นเพียงกฎหมายที่ใช้เป็นเครื่องมือควบคุมชาวไอริชในเวลาที่อังกฤษเห็นว่ามีอำนาจกล้าแข็งเกินไป
เมื่อมีการแต่งตั้งดุ็กแห่งแคลเรนซ์ (Duke of Clarence) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ ๓ ดำรงตำแหน่งอุปราชระหว่าง ค.ศ. ๑๓๖๐-๑๓๖๔ การปกครองของอังกฤษในไอร์แลนด์ก็มีประสิทธิภาพขึ้น และเมื่อพระเจ้าริชาร์ดที่ ๓ (Richard III) เสด็จเยี่ยมไอร์แลนด์ระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๓๙๔-พฤษภาคม ค.ศ. ๑๓๙๕ นับเป็นกษัตริย์อังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จไอร์แลนด์ตั้งแต่พระเจ้าจอห์น (John ค.ศ. ๑๑๙๙-๑๒๑๖) ทรงนำกองกำลังขนาดใหญ่มาด้วยซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่อังกฤษส่งกองกำลังใหญ่ขนาดนี้ไปนอกประเทศ อังกฤษก็เริ่มนโยบายประนีประนอมกับหัวหน้าตระกูลขุนนางไอริชทั้งหลายในทุก ๆ พื้นที่ยกเว้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ แต่ดินแดนที่อังกฤษปกครองอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดก็จำกัดอยู่เพียงผืนแคบ ๆ ระหว่างกรุงดับลินกับเมืองดันดอล์กซึ่งเรียกว่า เพล(Pale) คือห่างจากกรุงดับลินไปทางตอนเหนือประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และลึกเข้าไปในแผ่นดิน ๔๘ กิโลเมตร ไกลออกไปจากนั้นอำนาจของกษัตริย์อังกฤษเป็นเพียงในนาม เพราะอำนาจอยู่กับหัวหน้าตระกูลขุนนางไอริชใหญ่ ๆ ชาวอังกฤษ ถ้าไม่วางตัวเป็นชาวไอริชผู้ต่อต้านรัฐบาลอังกฤษเหมือนกันก็จะต้องทำความตกลงส่วนตัวกับชาวไอริชและต้องจ่ายเงินเป็นค่าคุ้มครองความปลอดภัยของตนเอง
ใน ค.ศ. ๑๔๙๔ เซอร์เอดเวิร์ด พอยนิงส์ (Edward Poynings) รองอุปราชซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังอังกฤษในไอร์แลนด์ได้บีบบังคับให้รัฐสภาไอร์แลนด์ที่ประชุมที่เมืองดรอกเฮดา (Drogheda) ผ่านกฎหมายที่ระบุว่ากฎหมายต่าง ๆ ที่ผ่านรัฐสภาไอร์แลนด์จักต้องได้รับความเห็นชอบจากกษัตริย์อังกฤษและสภาอังกฤษก่อน ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดมีขุนนางชาวไอริชที่กล้าแข็งเกินไปอีกอย่างเช่นในกรณีเจอรัลด์ ฟิตซ์เจอรัลด์ เอิร์ลที่ ๘ แห่งคิลแดร์ (GeraldFitzgerald, 8th Earl of Kildare) ซึ่งเคยเป็นรองอุปราชแต่ไปสนับสนุนแลมเบิร์ตซิมเนล (Lambert Simnel) และเพอร์กิน วอร์เบก (Perkin Warbeck) ที่อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ ๗ (Henry VII ค.ศ. ๑๔๘๕-๑๕๐๙)การผ่านกฎหมายพอยนิงส์ถือเป็นการเข้าสู่ยุคใหม่ของประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์จากสมัยกลางเข้าสู่สมัยใหม่ และกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับไอร์แลนด์จนกระทั่งเกิดการผนวกไอร์แลนด์เข้ากับอังกฤษใน ค.ศ. ๑๘๐๑
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๕๔๑ รัฐสภาไอร์แลนด์ก็ได้ถวายตำแหน่ง “กษัตริย์แห่งไอร์แลนด์”ให้แก่พระเจ้าเฮนรีที่ ๘ (Henry VIII ค.ศ. ๑๕๐๙-๑๕๔๗)อย่างเป็นทางการ ขุนนางต่าง ๆ ในไอร์แลนด์ซึ่งรวมทั้งขุนนางไอริชต้องถวายที่ดินและรับพระราชทานกลับคืน รับบรรดาศักดิ์ ของอังกฤษ สลายกองทัพส่วนตัวของตนและยอมที่จะอยู่ใต้กฎหมายอังกฤษ เหตุการณ์ดูเหมือนจะคลี่คลายไปด้วยดี แม้กระทั่งการที่พระเจ้าเฮนรีที่ ๘ ทรงปฏิเสธพระราชอำนาจของสันตะปาปาจนนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษก็ไม่ได้ก่อให้เกิดการต่อต้านในไอร์แลนด์ เพราะศาสนจักรในไอร์แลนด์กำลังมีปัญหาทางการเงิน แต่นโยบาย “ส่งมอบและรับคืน” (surrenderand regrant) ที่ดินก่อปัญหาอันเกิดจากการสืบทอดมรดกที่ดินโดยยึดหลักให้แก่บุตรชายคนโต (primogeniture) แต่ขุนนางไอริชไม่อยากละทิ้งจารีตของตนที่ให้มีการเลือกตั้งผู้สมควรจะได้รับในหมู่สมาชิกของสกุลเอง นอกจากนี้ แม้ว่าชาวไอริชจะยอมรับการนับถือนิกายโรมันคาทอลิกแบบไม่มีสันตะปาปาแต่ก็ไม่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงในหลักการ โดยเฉพาะการที่อังกฤษให้ยกเลิกพิธีรับศีลมหาสนิทในสมัยพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ ๖ (Edward VI ค.ศ. ๑๕๔๗-๑๕๕๓) อังกฤษจึงประจักษ์ว่าการรักษาความสงบทางการเมืองในไอร์แลนด์นั้นยากลำบากเพราะการมีศรัทธามั่นคงในนิกายคาทอลิกของชาวไอริช ในที่สุดคำว่า “นิยมสันตะปาปา”(pro-papal)มีความหมายเท่ากับคำว่าเป็น “ปฏิปักษ์ต่ออังกฤษ” (anti-English) เมื่ออังกฤษเห็นว่าไม่สามารถเพิกเฉยต่อท่าทีของชาวไอริชได้เพราะเหตุผลทางความมั่นคง ในสมัยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ ๑ (Elizabeth I ค.ศ. ๑๕๕๘-๑๖๐๓) จึงมีการส่งชาวอังกฤษเข้าไปตั้งถิ่นฐานแทนที่ผู้เช่าที่ดินชาวไอริชและชาวไอริชเชื้อสายอังกฤษที่ไม่จงรักภักดีต่ออังกฤษในแคว้นมันสเตอร์หลังจากที่มีการปราบกบฏต่ออังกฤษในแคว้นนั้น นอกจากนี้ ก็ใช้นโยบายทำให้เป็นอังกฤษ (anglicization)ในแคว้นคอนนอตอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดคงเหลือแคว้นอัลสเตอร์ที่มีที่ตั้งโดดเดี่ยวที่ยังคงเป็นปัญหา เมื่อฮิว โอนีล เอิร์ลแห่งทิโรน (Hugh OûNeill, Earl of Tyrone)ก่อกบฏระหว่าง ค.ศ. ๑๕๙๕-๑๖๐๓ เพื่อหยุดยั้งนโยบายการทำให้เป็นอังกฤษอังกฤษจึงส่งกำลังทัพขนาดใหญ่ที่มีเอิร์ลแห่งเอสเซกซ์ (Earl of Essex) เป็นผู้บัญชาการทัพและต่อมาเปลี่ยนเป็นลอร์ดเมานต์จอย (Lord Mountjoy) อัลสเตอร์ก็ต้องยอมจำนนใน ค.ศ. ๑๖๐๓ ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ ๑ได้เพียงอาทิตย์เดียว
ราชวงศ์สจวต (Stuart) ที่ปกครองสืบต่อจากราชวงศ์ทิวเดอร์ (Tudor)ก็ยังคงใช้นโยบายทำให้เป็นอังกฤษต่อไป คือ ให้ชาวไอริชยอมรับกฎหมายอังกฤษจงรักภักดีเต็มที่ต่อองค์ประมุขของอังกฤษและทำตัวให้สอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีและศาสนาของชาวอังกฤษ อังกฤษปกครองโดยผ่านอุปราช มีที่ตั้งของหน่วยงานบริหารอยู่ที่ปราสาทดับลิน (Dublin Castle) ซึ่งดูแลการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ของอังกฤษแล้ว
การรุกล้ำที่ดินของชาวไอริชและนโยบายการทำให้เป็นอังกฤษก่อให้เกิดวัฏจักรที่เลวร้ายคือ การก่อกบฏของผู้นำไอริช การใช้กำลังทหารปราบปรามโดยฝ่ายอังกฤษ การยึดที่ดินของพวกกบฏและการส่งผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์จากอังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์เข้าไปอยู่แทนที่ ผู้เข้าไปตั้งถิ่นฐานใหม่จะรวมถึงทหารอังกฤษที่เข้าไปป้องปรามการกบฏ ใน ค.ศ. ๑๖๐๗ เอิร์ลแห่งทิโรนและเอิร์ลแห่งทิร์คอนเนลล์ (Earl of Tyrconnell) ก่อการกบฏและต้องหลบหนีจากแคว้นอัลสเตอร์ไปยังภาคพื้นทวีป อังกฤษจึงส่งผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ที่ยึดมั่นกับอังกฤษเข้าไปอยู่ในอัลสเตอร์แทนและทำการเกษตรขนาดใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์และทางธุรกิจ เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแคว้นอัลสเตอร์ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และกลุ่มผู้นับถือศาสนาในเวลาต่อมา
ในช่วงที่เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างพระเจ้าชาลส์ที่ ๑ (Charles Iค.ศ. ๑๖๒๕-๑๖๔๙) กับสมาชิกรัฐสภาอังกฤษ จนนำไปสู่สงครามกลางเมือง (ค.ศ.๑๖๔๒-๑๖๔๙) ในที่สุดนั้น ใน ค.ศ. ๑๖๔๑ เกิดกบฏในอัลสเตอร์อีกหลังจากที่รัฐสภาตัดสินให้ประหารทอมัส เวนต์เวิร์ท เอิร์ลแห่งสแตรฟฟอร์ด (Thomas Wentworth,Earl of Strafford)อุปราชประจำไอร์แลนด์ซึ่งสนิทสนมกับพระเจ้าชาลส์ที่ ๑พวกคาทอลิกในเขตนี้ต้องการที่ดินและสิทธิต่าง ๆ คืนมาจึงโจมตีชาวโปรเตสแตนต์จนเกิดการปะทะกันระหว่างชนสองนิกายอย่างนองเลือด กลุ่มอังกฤษเก่าในไอร์แลนด์ตัดสินใจเข้าร่วมมือกับพวกกบฏ โดยในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๖๔๒ มีการจัดตั้งสมาพันธ์แห่งคิลเคนนี (Confederation of Kilkenny) ทำหน้าที่เป็นรัฐสภาของฝ่ายคาทอลิกซึ่งดำรงอยู่จน ค.ศ. ๑๖๔๙ เมื่อถูกโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (OliverCromwell) นำทหาร ๓,๐๐๐ คนมาปราบปราม มีการสังหาร เนรเทศ และจับกุมชาวอังกฤษเก่าและชาวไอริชหลายพันคน ใน ค.ศ. ๑๖๕๒อังกฤษออกกฎหมายการตั้งถิ่นฐาน (Act of Settlement) บังคับให้ชาวไอริชจำนวนมากที่ฝักใฝ่ราชวงศ์สจวตละทิ้งที่ดินและให้อพยพไปอยู่ที่แคว้นคอนนอตแทน ซึ่งทำให้ชาวไอริชรู้สึกขมขื่นและเกลียดชังอังกฤษยิ่งขึ้น แม้มีการคืนที่ดินให้แก่ชาวไอริชเมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ ๒(Charles II ค.ศ. ๑๖๖๐-๑๖๘๕) ได้รับการอัญเชิญให้มาปกครองและสถาปนาระบอบกษัตริย์ในอังกฤษใหม่ แต่ชาวคาทอลิกไม่ได้รับที่ดินที่ถูกยึดไปคืนนัก กล่าวคือ ในค.ศ. ๑๖๔๐ ชาวคาทอลิกครอบครองที่ดิน ๓ ใน ๕ ของประเทศ แต่ใน ค.ศ. ๑๖๖๒จำนวนได้ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๕ เท่านั้น
ในสมัยพระเจ้าวิลเลียมที่ ๓ (William III ค.ศ. ๑๖๘๙-๑๗๐๒) มีการปราบปรามชาวไอริชคาทอลิกครั้งใหญ่ เพราะช่วยเหลือพระเจ้าเจมส์ที่ ๒ (James IIค.ศ. ๑๖๘๕-๑๖๘๘) ให้ชิงบัลลังก์อังกฤษคืนจากพระเจ้าวิลเลียมที่ ๓ เกิดการรบที่เรียกว่ายุทธการที่แม่น้ำบอยน์ (Battle of the Boyne) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๖๙๐และฝ่ายพระเจ้าเจมส์พ่ายแพ้เด็ดขาดในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๖๙๑ พวกคาทอลิกได้รับอนุญาตให้ีล้ภัยออกนอกประเทศหากไม่ต้องการทนอยู่ในไอร์แลนด์ที่อังกฤษส่งเสริมนิกายโปรเตสแตนต์ ใน ค.ศ. ๑๖๙๕ รัฐสภาไอร์แลนด์ออกกฎหมายอาญาเป็นชุดเพื่อลิดรอนอำนาจของพวกคาทอลิก แม้ว่าพวกคาทอลิกยังคงได้รับอนุญาตให้ทำพิธีรับศีลมหาสนิทในโบสถ์ของตนต่อไป แต่ห้ามพกพาอาวุธ ืซ้อหรือรับมรดกที่ดินตลอดจนห้ามส่งบุตรหลานไปยังภาคพื้นทวีปเพื่อรับการศึกษาตามแบบคาทอลิกด้วย
ในช่วงสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars ค.ศ. ๑๘๐๓-๑๘๑๕) ที่อังกฤษร่วมกับชาติยุโรปอื่น ๆ รบกับฝรั่งเศส ชาวไอริชฉวยโอกาสก่อกบฏขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๗๙๘ อังกฤษจึงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาไอร์แลนด์เพื่อความมั่นคงของประเทศ ด้วยเหตุนี้นายกรัฐมนตรีิวลเลียม พิตต์(บุตร) (William Pitt, the Younger) จึงดำเนินการให้รัฐสภาไอร์แลนด์ออกพระราชบัญญัติรวมไอร์แลนด์เข้ากับบริเตนใหญ่ (Act of Union) ในปลาย ค.ศ. ๑๘๐๐ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (United Kingdomof Great Britain and Ireland) ขึ้น ทั้งนี้โดยการติดสินบนสมาชิกสภาที่จะต้องลงมติยุบรัฐสภาของตนด้วยการให้ผลประโยชน์ประการต่าง ๆ เช่นยศ ตำแหน่ง และเงินบำนาญ พวกที่เป็นผู้มีอิทธิพลในเขตเลือกตั้ง (borough) ต่าง ๆ ก็ได้รับเงินสดชดเชยจากการที่ยอมสูญเสียการส่งผู้แทนจากเขตตนเข้าสภา นับแต่นั้นไอร์แลนด์สามารถส่งชาวไอริชโปรเตสแตนต์จำนวน ๑๐๐ คน เข้าสู่สภาสามัญของอังกฤษและ ๓๒ คนเข้าสู่สภาขุนนาง อีกทั้งมีการสถาปนาระบบการค้าเสรีระหว่างดินแดนทั้งสองนั้นด้วย
ในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๘๒๙ รัฐบาลอังกฤษจำต้องออกพระราชบัญญัติเลิกกีดกันคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก (Catholic Emancipation Act)ภายหลังจากได้รับความกดดันจากการรณรงค์ของสมาคมคาทอลิก (CatholicAssociation) ที่มีแดเนียล โอคอนเนลล์ (Daniel OûConnell) ซึ่งมีอาชีพทนายความเป็นผู้นำเรียกร้องความเท่าเทียมกันทางศาสนาระหว่างพวกคาทอลิกกับพวกโปรเตสแตนต์ ในการรณรงค์ เขาชักชวนให้ผู้เช่าที่ดินและผู้ใช้แรงงานไอริชจ่ายค่าบำรุงสมาคมเพียง ๑ เพนนีต่อเดือน ดุ็กแห่งเวลลิงตัน (Duke of Wellington)นายกรัฐมนตรีและเซอร์รอเบิร์ต พีล (Robert Peel) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษเห็นว่าไม่อาจต้านกระแสอีกต่อไปได้จึงจำต้องโอนอ่อนด้วยการออกกฎหมายดังกล่าว โอคอนเนลล์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ปลดปล่อยให้เป็นอิสระที่ยิ่งใหญ่ (Great Liberator) กฎหมายนี้ยกเลิกการลิดรอนสิทธิพลเมืองด้านต่าง ๆ ของพวกคาทอลิกในหมู่เกาะอังกฤษอย่างไรก็ดีกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถกำจัดอคติด้านเชื้อชาติและศาสนาที่มีต่อชาวไอริชคาทอลิกในอังกฤษได้ ต่อมาในต้นทศวรรษ ๑๘๓๐ ผู้เช่าที่ดินชาวไอริชเริ่มโจมตีการที่ต้องเสียภาษีศาสนา (Tithe)ให้แก่นิกายแองกลิคันหรือนิกายไอร์แลนด์ ชาวไอริชปะทะกับตำรวจและทหารจนในที่สุดรัฐบาลพรรคเสรีนิยมของอังกฤษจำต้องออกพระราชบัญญัติภาษีศาสนา(Tithe Act) ใน ค.ศ. ๑๘๓๘ ซึ่งทำให้ชาวไอริชคาทอลิกไม่ต้องจ่ายภาษีบำรุงนิกายแองกลิคันอีกต่อไป
เมื่อเกิดทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ (Great Famine ค.ศ. ๑๘๔๕-๑๘๔๘) ขึ้นเนื่องจากเกิดโรคระบาดในมันฝรั่งซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหมู่เกาะอังกฤษทำให้ชาวไอริชอดอยากมากเพราะมันฝรั่งเป็นอาหารหลักของชาวไอริช นายกรัฐมนตรีรอเบิร์ตพีลก็เชื่องช้าในการบรรเทาทุกข์ให้ชาวไอริชแม้มีการตัดสินใจยกเลิกกฎหมายข้าว(Corn Law) ใน ค.ศ. ๑๘๔๖ ก็ตามเพื่อให้ข้าวราคาถูกจากต่างประเทศ เข้ามาจำหน่ายในอังกฤษ แต่ชาวไอริชก็ยังได้รับความทุกข์ทรมานจากความหิวโหยมาก รัฐบาลอังกฤษต้องจัดหาซุปและอาหารให้แก่ชาวไอริชกว่า ๒ ล้านคน แม้การสร้างงานสาธารณะและการบรรเทาทุกข์ทำให้หลายคนพอดำรงชีพต่อไปได้ แต่ชาวไอริชประมาณ ๗๕๐,๐๐๐ คนเสียชีวิตด้วยความอดอยากและโรคระบาด ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๔๖-๑๘๕๕ กว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ คนอพยพออกนอกประเทศไปยังสหรัฐอเมริกา และดินแดนในจักรวรรดิอังกฤษ การเพิ่มของประชากรก็ลดลงตำส่ ุดในหมู่ประเทศยุโรป กล่าวคือใน ค.ศ. ๑๗๘๐ ไอร์แลนด์มีประชากรประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ คน ใน ค.ศ. ๑๘๔๑มีมากกว่า ๘,๐๐๐,๐๐๐ คน แต่ใน ค.ศ. ๑๙๐๑ เหลือเพียง ๔,๔๕๘,๗๗๕ คน เท่านั้น
เมื่อวิลเลียม อีวาร์ต แกลดสโตน (William Ewart Gladstone) จากพรรคเสรีนิยมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. ๑๘๖๘ เขาก็ต้องการทำให้ปัญหาไอร์แลนด์(Irish Question) สงบลง จึงผลักดันให้มีการออกพระราชบัญญัติที่ดินใน ค.ศ.๑๘๗๐ ซึ่งเป็นการจ่ายเงินให้แก่ผู้เช่าที่ดินเพื่อนำเงินไปปรับปรุงที่ดินที่ถือครอง และการให้เงินชดเชยแก่ผู้เช่าที่ถูกขับไล่ออกจากที่ดินโดยไม่มีเหตุผล แต่มาตรการนี้ก็ไม่สามารถคุ้มครองผู้เช่าที่ดินจากการเอารัดเอาเปรียบของเจ้าของที่ดินได้นัก
ใน ค.ศ. ๑๘๗๑ ไอแซก บัตต์ (Isaac Butt) ทนายความโปรเตสแตนต์ชาวดับลินซึ่งได้รับเลือกตั้งเข้าสภาสามัญของอังกฤษได้ก่อตั้งสันนิบาตเพื่อการปกครองตนเอง (Home Rule) ของไอร์แลนด์ขึ้น คำว่า “โฮมรูล”ซึ่งบัญญัติคำขึ้นโดยบัตต์จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญทางการเมืองในการต่อสู้ของชาวไอริชตั้งแต่นั้นมาบัตต์ต้องการให้มีการจัดตั้งสหพันธ์ไอร์แลนด์ รัฐสภา และมีคณะผู้บริหารของไอร์แลนด์เองแต่ยังคงขึ้นตรงต่อรัฐบาลลอนดอน บัตต์เป็นพวกสายกลางซึ่งเคลื่อนไหวแนวชาตินิยมในกรอบรัฐธรรมนูญ ใน ค.ศ. ๑๘๗๘พรรคแห่งชาติไอริช(Irish National Party) ของเขาได้รับเลือกเข้าสภาอังกฤษถึง ๕๐ ที่นั่ง ต่อมา ชาลส์สจวต พาร์เนลล์ (Charles Stewart Parnell) ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์และได้รับเลือกเป็นผู้แทนสภาสามัญตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๗๕ ก็ได้สืบต่องานของไอแซก บัตต์ ทั้งในเรื่องการปกครองตนเองและการปฏิรูปที่ดินในไอร์แลนด์หลังจากบัตต์ถึงแก่กรรมในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๗๙ พาร์เนลล์สามารถนำพรรคให้ได้รับเลือกตั้ง ๖๑ ที่นั่งในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. ๑๘๘๐ เขาใช้นโยบายให้สมาชิกพรรคถ่วงเวลาในการอภิปรายประเด็นต่างๆ ในรัฐสภา และชี้ให้เห็นถึงความทุกข์ยากที่กระจายในวงกว้างในไอร์แลนด์จนสามารถผลักดันให้แกลดสโตนเสนอร่างพระราชบัญญัติที่ดินใน ค.ศ. ๑๘๘๑ ซึ่งนำไปสู่หลักการที่เรียกว่า “ThreeFûs”นั่นคือการกำหนดเวลาในการถือครองที่ดินให้แน่นอน (fixity of tenure) การกำหนดอัตราค่าเช่าที่ดินที่เป็นธรรม (fair rents) และการอนุญาตให้ซื้อขายที่ดินได้โดยเสรี(free sale of land)
แม้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๘๒ เกิดการลอบสังหารลอร์ดเฟรเดอริกคาเวนดิช (Frederick Cavendish) รัฐมนตรีที่ดู แลเรื่องไอร์แลนด์ที่กรุงดับลิน
คนใหม่ ๑ พร้อมกับปลัดกระทรวงที่สวนสาธารณะฟีนิกซ์ (Phonix Park) ซึ่งเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญประชาชนมาก แต่กลุ่มของพาร์เนลล์จำนวน ๘๖ คนก็ยังคงได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาสามัญของอังกฤษต่อไป ซึ่งทำให้ทั้งพรรคอนุรักษนิยมและพรรคเสรีนิยมของอังกฤษไม่อาจละเลยเสียงของสมาชิกสภาไอริชในการดำเนินงานทางการเมืองในสภา แกลดสโตนจึงสรุปว่าปัญหาไอร์แลนด์จะแก้ไขได้ก็โดยการให้สิทธิปกครองตนเองแก่ชาวไอริช การหันมาสนับสนุนนโยบายนี้ของแกลดสโตนทำให้เกิดการแตกแยกในพรรคเสรีนิยม เพราะสมาชิกจำนวนไม่น้อยซึ่งมีลอร์ดฮาร์ทิงตัน[(Lord Hartington) ต่อมาเป็นดุ็กที่ ๘ แห่งเดวอนเชียร์ (8th Duke of Devonshire)]และโจเซฟ เชมเบอร์เลน (Joseph Chamberlain) เป็นผู้นำ ต้องการให้ผนวกไอร์แลนด์ไว้กับอังกฤษตลอดไป ในช่วงที่แกลดสโตนเป็นนายกรัฐมนตรีแม้จะหลายวาระและรวมหลายปี แต่เขาก็ไม่สามารถผลักดันร่างกฎหมายให้สิทธิปกครองตนเองแก่ไอร์แลนด์ผ่านรัฐสภาอังกฤษสำเร็จ ต่อมา รัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมที่มีมาร์ควิสที่ ๓ แห่งซอลส์เบอรี(3rd Marquis of Salisbury) เป็นผู้นำได้พยายามหันเหชาวไอริชจากเรื่องสิทธิการปกครองตนเอง โดยใน ค.ศ. ๑๙๐๓ มีการออกกฎหมายวินด์ดัม [มาจากชื่อจอร์จ วินดัม (George Windham) รัฐมนตรีดูแลกิจการไอร์แลนด์]ซึ่งใช้เงินทดรองจ่ายจำนวน ๖๓,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์แก่ผู้เช่าที่ดิน ๑๗๕,๐๐๐ คน เพื่อให้สามารถนำไปซื้อที่ดิน โดยรัฐบาลจะให้เงินเพิ่มพิเศษ (bonus) ร้อยละ ๑๒ แก่เจ้าของที่ดินที่ยอมขายที่ดินให้แก่ผู้เช่าชาวไอริชระหว่าง ค.ศ. ๑๙๐๓-๑๙๒๑
เมื่อประเด็นสิทธิปกครองตนเองมีท่าทีว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษต่อไป ชาวไอริชรุ่นหนุ่มหลายคนก็เข้าร่วมกับองค์การปฏิวัติต่าง ๆที่สำคัญคือ ชินน์เฟน (Sinn Fein) ที่ก่อตั้งโดยอาเทอร์ กริฟฟิท (Arthur Griffith)ใน ค.ศ. ๑๙๐๕ พรรคสาธารณรัฐสังคมนิยมไอร์แลนด์ที่นำโดยเจมส์ คอนนอลลี(James Connolly) และกลุ่มภราดรภาพแห่งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Irish RepublicanBrotherhood - IRB) อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. ๑๙๑๒ รัฐบาลพรรคเสรีนิยมของเฮอร์เบิร์ต เฮนรี แอสควิท (Herbert Henry Asquith) ก็ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติปกครองตนเองของไอร์แลนด์ฉบับที่ ๓ ซึ่งสามารถผ่านรัฐสภาอังกฤษได้หลังจากมีการออกกฎหมายลดอำนาจสภาขุนนางใน ค.ศ. ๑๙๑๑ (ParliamentAct of 1911) ทำให้ร่างพระราชบัญญัติการปกครองตนเองของไอร์แลนด์ซึ่งผ่านการพิจารณา ๓ วาระในสภาสามัญมีกำหนดว่าจะบังคับใช้ได้ใน ค.ศ. ๑๙๑๔ เพราะสภาขุนนางมีอำนาจชะลอร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาแล้วได้ ๒ ปีเท่านั้น แต่ในที่สุดก็จำต้องเลื่อนออกไปเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้น
ระหว่างสงครามโลกดำเนินไป ชาวไอริชชาตินิยมส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นจังหวะดีที่จะแยกตัวจากอังกฤษซึ่งกำลังติดพันการรบกับเยอรมนี และพันธมิตรบนภาคพื้นทวีปและผู้นำไอริชขอความช่วยเหลือด้านอาวุธและกำลังจากเยอรมนี มากระทำการก่อกบฏด้วย ในวันจันทร์ของเทศกาลอีสเตอร์ (Easter Monday) ค.ศ. ๑๙๑๖ กลุ่มชาตินิยมไอริชประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ขึ้น และเกือบยึดปราสาทดับลินที่เป็นศูนย์กลางการปกครองของอังกฤษในไอร์แลนด์ได้ ภายหลังการต่อสู้กับการปราบปรามของอังกฤษที่มีการใช้óปนใหญ่ยิงถล่มอาคารสถานที่ราชการ โดยเฉพาะอาคารไปรษณีย์กลางที่ฝ่ายกบฏยึดเป็นกองบัญชาการได้ ๕ วัน วันที่ ๒๙ เมษายนค.ศ. ๑๙๑๖ แพทริก เพียร์ส (Patrick Pearse) ซึ่งมีอาชีพครู และกวีเป็นผู้นำกลุ่มชาตินิยมครั้งนี้ก็ได้ออกคำสั่งให้พวกกบฏยอมแพ้ ชาวไอริชทั่วไปตกใจและไม่เห็นด้วยกับการลุกฮือของกลุ่มกบฏที่ประกอบด้วยชนชั้นล่างที่อาศัยในเขตเมืองและกลุ่มชนชั้นกลางที่มีปัญญาชนเป็นผู้นำ แต่เมื่ออังกฤษสอบสวนผู้กระทำผิดและมีการประหารเพียร์ซ คอนนอลลี และผู้นำอื่น ๆ อีก ๑๓ คนอย่างทารุณก็ทำให้พวกชาตินิยมสายกลางหันเหจากความคิดที่จะยอมอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษผู้ก่อการหลายร้อยคนถูกส่งไปลงโทษที่อังกฤษและเวลส์ เซอร์รอเจอร์ เคสเมนต์(Sir Roger Casement) ที่ติดต่อขอความช่วยเหลือจากเยอรมนี ถูกตัดสินแขวนคอในกรุงลอนดอนภายหลังเหตุการณ์นี้พรรคซินน์เฟนได้สมาชิกเข้าร่วมอีกหลายพันคน
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ยุติอังกฤษจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนธันวาคมค.ศ. ๑๙๑๘ สมาชิกพรรคชินน์เฟนได้รับเลือกเข้าสภา ๗๓ คนซึ่งทั้งหมดปฏิเสธที่จะเข้าไปนั่งในสภาเวสต์มินสเตอร์ที่กรุงลอนดอนและร่วมกันประกาศจัดตั้งสภาของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Dáil Éireann) เอมัน เดฟเลอรา (Eamon DeValera)ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและหัวหน้ารัฐบาลชั่วคราว เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับฝ่ายชาตินิยมไอร์แลนด์ที่ใช้กองกำลังแห่งสาธารณรัฐไอริชหรือไออาร์เอ (Irish Rupublican Army - IRA) ซึ่งจัดตั้งขึ้นสู้กับหน่วยตำรวจหลวงแห่งไอร์แลนด์ (Royal Irish Constabulary) ของอังกฤษ ที่มีทั้งกองทัพและหน่วยแบล็กแอนด์แทนส์ (Black and Tans) ซึ่งเป็นทหารเก่าเสริมกำลังอยู่ฝ่ายไออาร์เอกำลังน้อยกว่าจึงต้องใช้วิธีการรบแบบกองโจร การสู้รบระหว่าง ๒ ฝ่ายรุนแรงและทารุณจนสาธารณชนในอังกฤษและสหรัฐอเมริกากดดันรัฐบาลอังกฤษที่มีเดวิด ลอยด์ จอร์จ (David Lloyd George) เป็นผู้นำให้ยุติความขัดแย้งดังนั้นอังกฤษจึงเชิญผู้แทนฝ่ายไอริชมาเจรจาที่กรุงลอนดอนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๑ภายหลังการเจรจาเป็นเวลา ๕ เดือน กริฟฟิทและไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins)ผู้จัดตั้งไออาร์เอเป็นผู้แทนฝ่ายไอริชได้ยินยอมลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์ในวันที่ ๖ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๒๑ ซึ่งตกลงให้แบ่งเกาะไอร์แลนด์ออกเป็น ๒ ส่วนส่วนแรกให้เรียกว่าเสรีรัฐไอร์แลนด์ (Irish Free State หรือ Saorstat Eireann)ประกอบไปด้วย ๒๖ มณฑล และส่วนที่ ๒ เรียกว่าไอร์แลนด์เหนือประกอบด้วย๖ มณฑล ซึ่งส่วนนี้จะอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษเช่นเดิม เสรีรัฐไอร์แลนด์จะมีสถานะเท่ากับอาณาจักร (dominion) ในจักรวรรดิอังกฤษเหมือนดังแคนาดาออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจะยังคงปฏิญาณความจงรักภักดีต่อประมุขของอังกฤษต่อไป
สนธิสัญญาฉบับนี้ถูกโจมตีมากในหมู่สมาชิกสภาแห่งชาติไอร์แลนด์ที่ต้องให้สัตยาบัน แต่ในที่สุดก็ได้รับความเห็นชอบในวันที่ ๗ มกราคม ค.ศ. ๑๙๒๒ด้วยคะแนน๖๔ : ๕๗ แม้จะทำให้เกิดความแตกแยกอย่างไม่มีวันประสานกันได้ในหมู่นักชาตินิยมกล่าวคือกลุ่มนิยมระบอบสาธารณรัฐในพรรคชินน์เฟนซึ่งมีเดฟเลอราเป็นผู้นำไม่ยอมรับสนธิสัญญา เดฟเลอราก็ลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีด้วยเนื่องจากไม่ต้องการปฏิญาณความจงรักภักดีต่อกษัตริย์อังกฤษ อาเทอร์ กริฟฟิทจึงได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทน และมีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวซึ่งมีคอลลินส์เป็นผู้นำ
การเลือกตั้งทั่วไปของเสรีรัฐไอร์แลนด์จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ ๒๖ มิถุนายนค.ศ. ๑๙๒๒พรรครัฐบาลได้ ๕๘ ที่นั่งพรรคแรงงานซึ่งสนับสนุนสนธิสัญญาเช่นกันได้๑๗ ที่นั่ง ส่วนพรรคนิยมสาธารณรัฐของเดฟเลอราได้ ๓๖ ที่นั่ง สิบสองวันหลังจากนั้นกลุ่มนิยมสาธารณรัฐหัวรุนแรงที่มีรอรี โอคอนเนอร์ (Rory OûConnor) เป็นผู้นำก็เข้ายึดอาคารศาลทั้งสี่ (Four Courts) ในกรุงดับลิน สงครามกลางเมืองในไอร์แลนด์ก็เริ่มขึ้น แม้ฝ่ายเสรีรัฐไอร์แลนด์จะยึดอาคารศาลทั้งสี่คืนได้ภายใน ๑ สัปดาห์แต่สงครามระหว่างคนชาติเดียวกันก็ขยายตัวไปยังภาคใต้และภาคตะวันตก ฝ่ายเสรีรัฐได้รับความกระทบกระเทือนมากจากการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของกริฟฟิทในวันที่๑๒ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๒๒ และจากการที่คอลลินส์ถูกลอบสังหารอีก ๑๐ วันต่อมา แต่ฝ่ายเดฟเลอรากลับเสียเปรียบ เพราะทั้งคริสตจักรคาทอลิกในประเทศและประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลเสรีรัฐซึ่งต่อมาได้อาวุธจากอังกฤษจนสามารถจัดตั้งกองทัพขนาด ๖๐,๐๐๐ คนได้
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๒๒ รัฐสภาไอร์แลนด์เลือกวิลเลียม ที. คอสเกรฟ(William T. Cosgrave) ขึ้นเป็นประธานาธิบดีทิโมทีเอช. ฮีเลย์ (Timothy H. Healey)ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงใหญ่ (governor-general) คนแรกของเสรีรัฐโดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างอังกฤษกับเสรีรัฐ ขณะที่รัฐสภาดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญของเสรีรัฐ ความรุนแรงยังคงมีอยู่ในเขตชนบทเพราะสมาชิกนิยมสาธารณรัฐที่ได้รับเลือกเข้าสภาปฏิเสธที่จะทำหน้าที่ ผู้สนับสนุนคนเหล่านี้ในชนบทก็พยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาล ในที่สุดมีการจับกุมพวกนิยมสาธารณรัฐ ๗๗ คน เช่น รอรีโอคอนเนอร์และเออร์สกิน ชิลเดิร์น (Erskine Childern) ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตอีก ๑๐,๐๐๐คน ถูกคุมขัง วันที่ ๒๐ เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๓ เดฟเลอราจึงสั่งให้ผู้สนับสนุนเขายุติการต่อสู้ เดฟเลอราถูกจับกุมและถูกจำขังช่วงสั้น ๆ ส่วนรัฐบาลคอสเกรฟก็สามารถนำเสรีรัฐไปได้ด้วยดีและแสดงให้เห็นว่าเป็นรัฐบาลที่มั่นคงที่สุดรัฐบาลหนึ่งในยุโรปขณะนั้น แต่การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ในค.ศ. ๑๙๒๙ ที่กระทบไปทั่วโลกทำให้รัฐบาลคอสเกรฟเพลี่ยงพล้ำในที่สุด ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. ๑๙๓๒พรรคเฟียนนาเฟล (Fianna Fail หรือ Party of Destiny)ที่เดฟเลอราจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๒๗ ได้ ๗๒ ที่นั่งพรรครัฐบาลได้ ๕๗ ที่นั่ง และพรรคแรงงานได้ ๗ ที่นั่ง เดฟเลอราจึงขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
เมื่อเดฟเลอราขึ้นบริหารประเทศ เขาก็พยายามโน้มน้าวให้รัฐสภายกเลิกการกล่าวปฏิญาณความจงรักภักดีต่อประมุขอังกฤษและการต้องส่งเรื่องอุทธรณ์จากศาลในไอร์แลนด์ไปยังคณะกรรมาธิการด้านตุลาการของสภาองคมนตรีที่กรุงลอนดอนนอกจากนี้ เขายังบีบบังคับให้เจมส์ แมกนีลล์ (James MacNeill)ข้าหลวงใหญ่คนที่ ๒ ลาออกและยกเลิกการให้เงินประจำตำแหน่งนี้ และยังโน้มน้าวให้สภายุบวุฒิสภาใน ค.ศ. ๑๙๓๖ ในการต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เดฟเลอราได้ลดเงินเดือนข้าราชการ ขยายการบริการสังคม ขยายการสร้างงานสาธารณะยกเลิกการค้าเสรีระหว่างอังกฤษกับไอร์แลนด์และตั้งภาษีขาเข้า อังกฤษโต้ตอบด้วยการใช้ภาษีขาเข้าต่อผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ของไอร์แลนด์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ไอร์แลนด์จึงยิ่งเพิ่มภาษีสินค้าขาเข้าจากอังกฤษมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะสงครามเศรษฐกิจอยู่ ๖ ปีซึ่งกระทบกระเทือนทั้ง ๒ ประเทศ
อย่างไรก็ดี รัฐบาลอังกฤษก็ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไอร์แลนด์ที่ประกาศใน ค.ศ. ๑๙๓๗ โดยไม่โต้แย้งแม้มีข้อความขัดแย้งกับสนธิสัญญาที่ทั้ง ๒ ฝ่ายกระทำใน ค.ศ. ๑๙๒๑ โดยเฉพาะยุติสถานะของเสรีรัฐด้วย รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ซึ่งมี ๕๐ มาตราระบุว่าไอร์แลนด์เป็นรัฐเอกราช เป็นประชาธิปไตย และมีอำนาจอธิปไตยใช้ชื่อว่า แอรา (Eire) โดยหลีกเลี่ยงการใช้คำว่าสาธารณรัฐ ทั้งระบุด้วยว่าพื้นที่ของประเทศประกอบด้วยเกาะไอร์แลนด์ทั้งเกาะ แต่เมื่อยังต้องรอการรวมดินแดนทั้งหมดอยู่จึงจำกัดว่ารัฐธรรมนูญนี้บังคับใช้เฉพาะดินแดนที่เคยเป็นเสรีรัฐเท่านั้น ในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๓๗ ดักลาส ไฮด์ (Douglas Hyde) ผู้ก่อตั้งสันนิบาตเกล (Gaelic League) และนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
ในด้านการต่างประเทศ เดฟเลอราได้แสดงเจตจำนงที่ดีของไอร์แลนด์ต่อประชาคมโลกจนได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และได้รับเลือกเป็นประธานคณะมนตรีแห่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) ในเดือนกันยายนค.ศ. ๑๙๓๒ (ไอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิกใน ค.ศ. ๑๙๒๓) ภายในเวลาอันสั้น เดฟเลอราทำหน้าที่เป็นผู้นำชาติเล็ก ๆ ในการต่อรองกับชาติมหาอำนาจ เขามีความกล้าหาญในการดำเนินนโยบายตามอังกฤษซึ่งปรกติไม่ใช่ิส่งที่นิยมกระทำในไอร์แลนด์เริ่มจากลงมติควำบาตรอ่ ิตาลีในการรุกรานอะบิสซิเนีย [(Abyssinia) หรือเอธิโอเปีย(Ethiopia)] การสนับสนุนนโยบายไม่แทรกแซงในสงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) แม้ว่าชาวไอริชคาทอลิกหลายคนเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนพวกชาตินิยมของนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก (Francisco Franco) และการลงมติยอมรับสหภาพโซเวียตเข้าเป็นสมาชิกองค์การสันนิบาตชาติ
ใน ค.ศ. ๑๙๓๘ เดฟเลอราลงนามในความตกลงกับนายกรัฐมนตรีเนวิลล์เชมเบอร์เลน (Neville Chamberlain ค.ศ. ๑๙๓๗-๑๙๔๐) ยุติสงครามการตั้งกำแพงภาษีระหว่างสองประเทศและให้อังกฤษถอนกำลังจากฐานทัพเรือ ๓ แห่งที่ยังคงมีอยู่ในแอรา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น เดฟเลอราประกาศว่าไอร์แลนด์เป็นประเทศเป็นกลางและเขาก็พยายามรักษานโยบายนี้อย่างเคร่งครัด เขาปฏิเสธที่จะให้อังกฤษใช้ฐานทัพเรือในไอร์แลนด์ และประกาศว่าจะปกป้องความเป็นกลางของไอร์แลนด์จากการถูกโจมตีทั้งจากอังกฤษและเยอรมนี เขาประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อเรือดำน้ำเยอรมันจมเรือไอริชและใน ค.ศ. ๑๙๔๒ ประท้วงสหรัฐอเมริกาที่นำทหารขึ้นบกที่เมืองลอนดอนเดอร์ีร (Londonderry) ในไอร์แลนด์เหนือ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๔ ก็ปฏิเสธคำขอร้องของสหรัฐอเมริกาที่จะให้ขับไล่นักการทูตเยอรมันและญี่ปุ่นออกไป
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ นายกรัฐมนตรีจอห์น เอ. คอสเตลโล (JohnA. Costello) แห่งพรรคไฟน์เกล (Fine Gael หรือ United Ireland) สามารถให้สภาผ่านร่างกฎหมายสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland Bill) ซึ่งทำให้ไอร์แลนด์เป็นอิสระจากอังกฤษและการเป็นสมาชิกเครือจักรภพอย่างสิ้นเชิงโดยตัดข้อความต่าง ๆ ทั้งหมดที่พาดพิงถึงประมุขอังกฤษออกจากรัฐธรรมนูญของไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์จึงได้ประกาศจัดตั้งเป็นสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการในวันที่๑๘ เมษายน ค.ศ. ๑๙๔๙ปีต่อมารัฐบาลอังกฤษก็ออกพระราชบัญญัติไอร์แลนด์ซึ่งรับรองไอร์แลนด์และให้พลเมืองชาวไอริชที่พำนักในอังกฤษได้รับสิทธิ เช่นพลเมืองบริติช นับตั้งแต่นั้นรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศก็มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยถือเป็นนโยบายสำคัญพรรคการเมืองใหญ่ ๆ ได้แก่พรรคเฟียนนาเฟลพรรคเฟียนนาเกลพรรคแรงงาน และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าที่เกิดขึ้นหลังสุดใน ค.ศ. ๑๙๘๕ ที่ได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลหรือร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลผสมก็มุ่งสร้างเสถียรภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในอดีตนั้นไอร์แลนด์เป็นประเทศยากจนและทำการเกษตรเป็นหลัก เพิ่งมาพัฒนาอุตสาหกรรมเมื่อเป็นเสรีรัฐไอร์แลนด์อีกทั้งประชากรจำนวนมากก็อพยพหนีความยากจนไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้อัตราการเพิ่มของประชากรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒อยู่ในระดับตำ จนทศวรรษ ๑๙๗๐่เป็นต้นมาอัตราการเพิ่มของประชากรจึงสูงขึ้นและมีประชากรเพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้นที่ยังคงอยู่ในภาคการเกษตร ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการบริการ
ไอร์แลนด์พยายามพัฒนาเศรษฐกิจของตนโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศ กล่าวคือ เป็นสมาชิกประชาคมยุโรปหรืออีซี (EuropeanEconomic Community - EC) ใน ค.ศ. ๑๙๗๓ และใน ค.ศ. ๑๙๗๙ ได้เข้าร่วมในระบบการเงินของยุโรป (European Monetary System) จึงทำให้สกุลเงินพันต์(punt) ของไอร์แลนด์ขึ้นกับกลไกอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Mechanism- EAM) มากกว่าขึ้นกับเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ ไอร์แลนด์เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรปหรืออีเอ็มยู (EuropeanEconomic and Monetary Union - EMU) และเข้าร่วมในเขตเงินยูโร (Euro Zone)ใน ค.ศ. ๑๙๙๘ ไอร์แลนด์จึงเป็นประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร (Euro) ตั้งแต่แรกเริ่มในค.ศ. ๒๐๐๒ นอกจากการร่วมมือกับยุโรปทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ไอร์แลนด์ก็ได้ให้ความเห็นชอบสนธิสัญญามาสตริกต์ (Treaty of Maastricht) ที่สถาปนาสหภาพยุโรป(European Union) ใน ค.ศ. ๑๙๙๒ เพื่อการรวมตัวกันทางการเมืองโดยสมบูรณ์ของประเทศยุโรปในอนาคต ทั้งนี้ไอร์แลนด์ได้ทำข้อตกลงพิเศษในสนธิสัญญาการจัดตั้งสหภาพยุโรปไว้ว่านโยบายเกี่ยวกับการไม่อนุญาตให้ทำแท้งในดินแดนไอร์แลนด์ จะยังคงรักษาไว้ได้ โดยไม่ถูกกระทบจากการออกกฎหมายของสหภาพยุโรปในภายหน้า รัฐบาลไอร์แลนด์ได้จัดการลงประชามติในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๑๙๙๒ ซึ่งยืนยันการไม่อนุญาตให้มีการทำแท้งแต่อนุญาตให้สตรีไอริชทำแท้งได้ในต่างประเทศ และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๙๕ ชาวไอริชก็ได้ลงประชามติยกเลิกการห้ามการหย่าร้าง แม้ว่าคริสตจักรโรมันคาทอลิกในไอร์แลนด์จะคัดค้านอย่างรุนแรง
ในส่วนของความสัมพันธ์กับสหราชอาณาจักรที่เกี่ยวกับไอร์แลนด์เหนือนั้นไอร์แลนด์ได้แสดงความพยายามที่จะหาทางให้เกิดความตกลงสันติภาพในไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีปัญหาระหว่างชาวคาทอลิกและชาวโปรเตสแตนต์ ทั้งมีขบวนการชาตินิยมไอริชโดยเฉพาะกองกำลังแห่งสาธารณรัฐไอริชหรือไออาร์เอ ใช้ความรุนแรงประการต่าง ๆ เพื่อบีบคั้นให้อังกฤษปล่อยให้ไอร์แลนด์เหนือเป็นอิสระเพื่อจะได้รวมเข้ากับไอร์แลนด์ ใน ค.ศ. ๑๙๘๕ นายกรัฐมนตรีมาร์กาเรต แทตเชอร์(Margaret Thatcher) แห่งอังกฤษและ ดร.การ์เรตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ (GarrettFitzgerald) นายกรัฐมนตรีไอร์แลนด์ได้ลงนามในความตกลงอังกฤษ-ไอร์แลนด์(Anglo-Irish Accord) ซึ่งเปิดโอกาสให้ไอร์แลนด์แสดงความเห็นในกิจการของไอร์แลนด์เหนือโดยผ่านที่ประชุมระหว่างรัฐบาลอย่างไรก็ดีทั้งอังกฤษและพลเมืองในไอร์แลนด์เหนือที่ประสงค์จะรวมอยู่กับอังกฤษมักถือว่าการเข้ายุ่งเกี่ยวของไอร์แลนด์เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของตน
ใน ค.ศ. ๑๙๙๓ นายกรัฐมนตรีจอห์น เมเจอร์ (John Major) แห่งอังกฤษและนายกรัฐมนตรีเบอร์ตีอาเฮิร์น (Bertie Ahern) แห่งไอร์แลนด์ได้ร่วมกันกำหนดหลักการเจรจาในอนาคตซึ่งจะรวมผู้แทนของพรรคชินน์เฟนซึ่งเป็นพรรคการเมืองในไอร์แลนด์เหนือที่มีนโยบายรวมไอร์แลนด์ ๒ ส่วนเข้าร่วมเจรจาด้วย หากไออาร์เอซึ่งเป็นฝ่ายกำลังของพรรคชินน์เฟนจะยุติการก่อความรุนแรง ต่อมาจึงได้มีการออกแถลงการณ์ถนนดาวนิง (Downing Street Declaration) ซึ่งนายกรัฐมนตรีของทั้ง ๒ ประเทศร่างหลักการเพื่อยุติปัญหาไอร์แลนด์เหนือซึ่งรวมถึงการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง และการต้องได้รับความยินยอมจากชนส่วนน้อยในไอร์แลนด์เหนือด้วย ปัญหาการสร้างสันติภาพในไอร์แลนด์เหนือมีความคืบหน้าและหยุดชะงักเป็นระยะ ๆ เพราะไออาร์เอไม่สามารถควบคุมองค์กรสาขาของตนที่ยังคงใช้ความรุนแรง จนในที่สุดสหรัฐอเมริกาได้เข้ามามีบทบาทไกล่เกลี่ยในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๗ โดยมีผู้แทนพรรคชินน์เฟนเข้าร่วมเจรจาด้วย มีการทำความตกลงสันติภาพในวันที่ ๑๐ เมษายน ค.ศ. ๑๙๙๘ ที่เรียกว่า ความตกลงกู๊ดฟรายเดย์ (Good Friday Agreement) หรือความตกลงเบลฟั สต์ (BelfastAgreement) ณ ปราสาทสตอร์มอนต์ (Stormont) ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับให้มีการจัดตั้งสภาไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland Assembly) และคณะผู้บริหาร (ExecutiveCommittee) ที่มีนายกรัฐมนตรี(First Minister) เป็นผู้นำและให้มีการจัดตั้งกลไกต่าง ๆ ที่จะประสานความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างอังกฤษ ไอร์แลนด์และไอร์แลนด์เหนือ ที่สำคัญทั้งอังกฤษและไอร์แลนด์ต้องยอมรับหลักการที่ว่า การรวมดินแดนไอร์แลนด์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะต้องได้รับคำยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในไอร์แลนด์และไอร์แลนด์เหนือ.