สาธารณรัฐไอซ์แลนด์เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวในทวีปยุโรปตอนเหนือและเป็นเกาะขนาดใหญ่ ในอดีตเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะกับกลุ่มดินแดนในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย (Scandinavia) ไอซ์แลนด์เป็นประเทศแรกในทวีปยุโรปที่จัดตั้งรัฐสภา (parliament) ขึ้นเพื่อปกครองประเทศตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ ใน ค.ศ. ๑๒๖๒ ได้ตกเป็นของนอร์เวย์ ต่อมาในค.ศ. ๑๓๘๐ ได้ถูกเดนมาร์ก เข้าครอบครองและปกครองติดต่อกันเป็นเวลาเกือบ๖ ศตวรรษ ไอซ์แลนด์ได้อำนาจปกครองตนเองใน ค.ศ. ๑๙๑๘ แต่ยังคงมีพระประมุขร่วมกันกับเดนมาร์ก จนถึง ค.ศ. ๑๙๔๔ จึงสามารถแยกตัวเป็นอิสระได้อย่างสมบูรณ์และสถาปนาระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับ ๒ ของทวีปยุโรปรองจากเกาะบริเตนใหญ่ เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ประเทศหนึ่งในทวีปยุโรปตอนเหนือก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๙ ได้มีนักบวชในคริสต์ศาสนาชาวไอริชเดินทางเข้ามาจำศีลในไอซ์แลนด์ ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนที่ไม่มีผู้คนอาศัย ต่อมา ใน ค.ศ. ๘๗๔ อิงกอล์ฟูร์
อาร์นาส์ซอน (Ingolfur Arnasson) ๑ ชาวไวกิ้ง (Viking) จากนอร์เวย์ พร้อมด้วยผู้ติดตามจำนวนหนึ่งได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอย่างถาวรในบริเวณที่เป็นกรุงเรกยะวิก(Reykjavik) เมืองหลวงในปัจจุบัน และประกอบอาชีพในการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกนับแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีผู้อพยพจากดินแดนในคาบสมุทรสแกนดิเนเวียและหมู่เกาะอังกฤษ (British Isles) เดินทางเข้ามาสมทบมากขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณว่าใน ค.ศ. ๙๓๐ประชากรในไอซ์แลนด์อาจมีจำนวนสูงถึง ๖๐,๐๐๐ คน นับเป็นชุมชนขนาดใหญ่ชุมชนหนึ่ง ได้มีการจัดตั้งรัฐสภาซึ่งมีชื่อเรียกว่าสภาแอลติง (Althing) ขึ้น นับว่าเป็นรัฐสภาแห่งแรกในทวีปยุโรปหรือแห่งแรกในโลก
ระบอบการปกครองของไอซ์แลนด์ในระยะแรกมีลักษณะเป็นเครือรัฐ(commonwealth) หรือสาธารณรัฐ (republic) แต่ไม่มีผู้มีอำนาจสูงสุดทางฝ่ายบริหารหรือมีประมุขสูงสุดของประเทศ สภาแอลติงมีอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติและตุลาการ แต่ในทางปฏิบัติการบังคับใช้อำนาจดังกล่าวเป็นหน้าที่ของ “คณะบุคคลรับร้องทุกข์” (aggrieved party) ซึ่งอยู่ในการดู แลของผู้นำเผ่าที่มีอำนาจลักษณะการปกครองดังกล่าวนี้ได้ดำเนินเป็นระยะเวลากว่า ๓๐๐ ปี ขณะเดียวกันไอซ์แลนด์ก็เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและมีความมั่งคั่ง พ่อค้าชาวไอซ์แลนด์ได้นำสินค้า เช่น ปลา แมวน้ำ สัตว์ปีก ผ้าขนสัตว์ หนังวัว และอื่น ๆ เดินทางทางทะเลไปค้าขายกับดินแดนสแกนดิเนเวีย หมู่เกาะอังกฤษ และดินแดนในภาคพื้นทวีป ในค.ศ. ๙๘๕อีิรคเดอะเรด (Eric the Red) ได้เข้ายึดครองเกาะกรีนแลนด์ (Greenland)ซึ่งอยู่ห่างจากไอซ์แลนด์ไปทางตะวันตก ๒๙๐ กิโลเมตรเป็นอาณานิคม ต่อมาีลฟ อีิรคซอน (Lief Ericson) บุตรชายก็ได้แล่นเรือไปทางทิศตะวันตกจนขึ้นฝั่งที่ทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งชาวไอซ์แลนด์ตั้งชื่อว่า วินแลนด์ (Vinland) แต่ประสบปัญหาในการตั้งถิ่นฐานจึงเดินทางกลับ ส่วนในด้านศิลปวัฒนธรรมไอซ์แลนด์เป็นผู้นำของดินแดนแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย กวีและนักเล่าเรื่องชาวไอซ์แลนด์ต่างประสบความสำเร็จในการเดินทางไปขับกล่อมและให้ความบันเทิงแก่ผู้ฟังทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนงานด้านวรรณกรรมก็ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาเขียน
อย่างไรก็ดี “ยุคทอง” ของไอซ์แลนด์ก็เป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ในประวัติศาสตร์ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒อุณหภูมิในไอซ์แลนด์เริ่มเปลี่ยนแปลงอากาศมีความหนาวเย็นมากขึ้น ทำให้ต้นไม้โดยทั่วไปล้มตายลง ส่วนการเกษตรก็ประสบความล้มเหลวเพราะอุณหภูมิที่ต่ำลง การส่งสินค้าออกจึงลดน้อยลงเป็นลำดับ นอกจากนี้ ไอซ์แลนด์ยังขาดต้นไม้ขนาดใหญ่เพื่อนำเอาซุงมาสร้างเรือสินค้าที่สามารถท่องในมหาสมุทรได้อีกด้วย ความหายนะทางเศรษฐกิจดังกล่าวกอปรกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองที่เริ่มขึ้นใน ค.ศ. ๑๐๐๐ ที่สภาแอลติงยินยอมให้คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติของไอซ์แลนด์และมีผลให้พวกพระหรือนักบวชเป็นผู้นำของชุมชนได้ จึงทำให้อำนาจของผู้นำเผ่าหรือชุมชนตกอยู่ในมือของคนเพียงไม่กี่คน ใน ค.ศ. ๑๒๒๐ ไอซ์แลนด์มีตระกูลใหญ่เพียง ๖ ตระกูลเท่านั้นที่ปกครองดินแดนทั่วทั้งประเทศ และต่างก็แก่งแย่งกันเป็นใหญ่ สงครามกลางเมืองจึงอุบัติขึ้นและเปิดโอกาสให้พระเจ้าฮากอนที่ ๔ (Haakon IV ค.ศ. ๑๒๑๗-๑๒๖๓) แห่งนอร์เวย์ ยกกองทัพเข้าไอซ์แลนด์ในค.ศ. ๑๒๖๒ และบีบบังคับให้ชาวไอซ์แลนด์ยอมรับพระองค์เป็นประมุขสูงสุด ระบอบการปกครองแบบเครือรัฐหรือสาธารณรัฐของไอซ์แลนด์จึงสิ้นสุดลงด้วย
ใน ค.ศ. ๑๓๘๐ หลังจากพระเจ้าฮากอนที่ ๖ (Hakon VI ค.ศ. ๑๓๕๕-๑๓๘๐)แห่งนอร์เวย์ เสด็จสวรรคต ราชบัลลังก์นอร์เวย์ ตกเป็นของเดนมาร์ก ซึ่งมีผลให้ไอซ์แลนด์ต้องอยู่ใต้อำนาจของกษัตริย์เดนมาร์ก เป็นเวลาเกือบ ๖๐๐ ปี ในระยะแรกไอซ์แลนด์มีสถานภาพเป็นเพียงทรัพย์สินหรือที่ดินส่วนพระมหากษัตริย์ (royal fief)เท่านั้น และถูกลดความสำคัญลงเป็นลำดับ ระหว่าง ค.ศ. ๑๔๐๐-๑๘๕๐อาจนับได้ว่าเป็นยุคมืดของประเทศที่ประชาชนต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เริ่มต้นด้วยกาฬโรคระบาดใน ค.ศ. ๑๔๐๒ ที่คร่าชีวิตของชาวไอซ์แลนด์มากกว่าร้อยละ ๖๕จนไม่สามารถรวมพลังกันเพื่อต่อต้านการครอบครองของชนต่างชาติได้ นอกจากนี้การค้ายังตกตำเป่ ็นอันมากซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการค้าของเดนมาร์ก ที่ต้องการทำลายไอซ์แลนด์ไม่ให้เป็นคู่แข่งขันทางการค้ากับเดนมาร์ก ในการติดต่อค้าขายกับอังกฤษและดินแดนเยอรมัน การกีดกันทางการค้าดังกล่าวจึงทำให้การค้าของไอซ์แลนด์ต้องสลายตัวลงในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ และผู้คนต่างสิ้นเนื้อประดาตัว
ในสมัยการปฏิรูปศาสนา (Reformation) ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖พระเจ้าคริสเตียนที่ ๓ (Christian III ค.ศ. ๑๕๓๔-๑๕๕๙) แห่งเดนมาร์ก ทรงเห็นเป็นโอกาสที่จะเข้ายึดทรัพย์สินของวัดคาทอลิกทั้งหมดโดยบีบบังคับให้ไอซ์แลนด์หันมานับถือคริสต์ศาสนานิกายลู เทอร์รัน (Lutheranism) ปฏิบัติการดังกล่าวนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มพูนอำนาจและพระราชทรัพย์แล้ว ยังทำให้อำนาจทางการเมืองของกษัตริย์เดนมาร์ก ในไอซ์แลนด์มั่นคงยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องหวั่นเกรงต่ออำนาจของพระราชาคณะในศาสนจักรคาทอลิกอีกต่อไป ต่อมา ใน ค.ศ. ๑๖๐๒ เดนมาร์ก ก็สามารถนำระบบผูกขาดการค้าเข้าไปบังคับใช้ในไอซ์แลนด์ โดยกำหนดให้พ่อค้าที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้นที่สามารถค้าขายในไอซ์แลนด์ได้ โดยพ่อค้าผู้นั้นต้องจ่ายเงินค่าใบอนุญาตที่เรียกว่า “กฎบัตร” (charter) ในราคาสูง ข้อกำหนดดังกล่าวจึงทำให้สินค้านำเข้าที่ไอซ์แลนด์ต้องการ เช่น ข้าว ไม้แปรรูป และเครื่องโลหะมีราคาสูงมากขึ้นขณะที่ิสนค้าส่งออกที่สำคัญคือ ปลาและขนสัตว์มีราคาตำกว่ ่าราคาท้องตลาดมากเพราะถูกกดราคา ในเวลาอันรวดเร็ว ไอซ์แลนด์ก็ต้องประสบกับความวิบัติทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ไอซ์แลนด์บรรลุถึงยุคตกตำท่ ี่สุด จำนวนประชากรได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ประมาณว่าในปลายศตวรรษ ไอซ์แลนด์มีประชากรเพียง ๓๕,๐๐๐ คนเท่านั้น ส่วนหนึ่งเสียชีวิตจากการระบาดของไข้ทรพิษระหว่างค.ศ. ๑๗๐๗-๑๗๐๙ ทุพภิกขภัยในกลางศตวรรษและการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟลากี(Laki) ใน ค.ศ. ๑๗๘๓อย่างไรก็ดีในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ เดนมาร์ก ก็เริ่มปรับเปลี่ยนทัศนคติและนโยบายที่มีต่อไอซ์แลนด์ โดยพยายามที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของไอซ์แลนด์ มีการจัดตั้งอุตสาหกรรมฝ้ายขึ้นที่กรุงเรกยะวิก และในค.ศ. ๑๗๘๗ ก็ยอมยกเลิกระบบผูกขาดการค้าในไอซ์แลนด์ที่ดำเนินมาเป็นเวลา๑๘๕ ปีนับแต่ ค.ศ. ๑๖๐๒ เป็นต้นมา โดยผ่อนปรนให้พลเมืองทุกคนในปกครองของกษัตริย์เดนมาร์ก มีสิทธิที่จะค้าขายได้อย่างอิสระในไอซ์แลนด์
อย่างไรก็ดีใน ค.ศ. ๑๘๐๐ ไอซ์แลนด์ได้ถูกเดนมาร์ก ลิดรอนอำนาจมากขึ้นสภาแอลติงที่ก่อตั้งตั้งแต่สมัยเครือรัฐหรือสาธารณรัฐถูกประกาศยุบ แต่เมื่อเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ (French Revolution of 1789) สงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars ค.ศ. ๑๘๐๓-๑๘๑๕) และโดยเฉพาะการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม (July Revolution ค.ศ ๑๘๓๐) ที่เริ่มจากฝรั่งเศส และลุกลามไปทั่วยุโรปซึ่งทำให้กษัตริย์เดนมาร์ก ต้องสูญเสียอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสร้างกระแสชาตินิยมและเสรีนิยมขึ้นในหมู่ชาวไอซ์แลนด์ โยน ซิกูร์ดซอน (Jón Sigurdssonค.ศ. ๑๘๑๑-๑๘๗๙) ปัญญาชนและนักการเมืองชาวไอซ์แลนด์ได้เป็นผู้นำเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพให้แก่ประชาชนดังนั้นเพื่อลดแรงกดดัน รัฐบาลเดนมาร์ก จึงจำต้องอนุญาตให้มีการฟื้นฟูสภาแอลติงขึ้นใหม่ใน ค.ศ. ๑๘๔๓ แต่ให้มีอำนาจเป็นเพียงสภาที่ปรึกษาเท่านั้น ใน ค.ศ. ๑๘๕๔ ไอซ์แลนด์ก็สามารถทำการค้าโดยเสรีกับชนทุกชาติได้ ต่อมา ใน ค.ศ. ๑๘๗๔ ซึ่งครบรอบ ๑,๐๐๐ ปีของการตั้งถิ่นฐานของพวกอพยพรุ่นแรกในไอซ์แลนด์ รัฐบาลเดนมาร์ก ก็ยินยอมมอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แก่ชาวไอซ์แลนด์และคืนอำนาจนิติบัญญัติให้แก่สภาแอลติงรวมทั้งให้สภาแอลติงมีอำนาจในการจัดการเรื่องการเงินภายในประเทศได้อย่างไรก็ดีอำนาจการบริหารยังเป็นของรัฐบาลเดนมาร์ก ที่ยังคงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบที่จะให้ไอซ์แลนด์ได้รับสิทธิปกครองตนเอง (home rule)
ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ สภาพเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของไอซ์แลนด์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ใน ค.ศ. ๑๙๐๔ ไอซ์แลนด์ได้รับสิทธิปกครองตนเองจากเดนมาร์ก ซึ่งทำให้สามารถกำหนดนโยบายบริหารและดำเนินการพัฒนาปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยได้อย่างอิสระ ใน ค.ศ. ๑๙๐๖ มีการวางสายโทรเลขเชื่อมต่อกับประเทศต่าง ๆ สร้างประภาคารและเรือประมงก็หันมาใช้เครื่องจักรไอน้ำและเครื่องยนต์ นอกจากนี้ ชาวไอซ์แลนด์เริ่มเป็นเจ้าของกิจการค้าต่าง ๆ และการค้ากับต่างประเทศมีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง การอพยพออกนอกประเทศของชาวไอซ์แลนด์เพื่อหนีความยากจนไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาที่ดำเนินมาตั้งแต่ทศวรรษ๑๘๘๐ ก็ลดจำนวนลงมาก ก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนของประชากรและการขยายตัวของชุมชนรอบ ๆ บริเวณสะพานปลา ใน ค.ศ. ๑๙๑๔ ได้มีการจัดตั้งบริษัทเรือกลไฟไอซ์แลนด์ (Eimskipafjelag Islands - Iceland Steamship Company) ขึ้นและในไม่ช้าก็สามารถรวมกิจการของบริษัทต่างประเทศอื่น ๆ ได้ ในระยะเวลาเดียวกัน ก็มีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกให้ทันสมัย เพื่อรองรับการขยายตัวของการค้าและชุมชน มีการสร้างถนนซึ่งเป็นของใหม่สำหรับไอซ์แลนด์เพื่อเชื่อมชุมชนต่าง ๆ ตลอดจนเส้นทางขนส่งสินค้าประมงจากสะพานปลา ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ไอซ์แลนด์จึงเริ่มมีรถยนต์ใช้กันเป็นครั้งแรก และนับแต่นั้นเป็นต้นมา รถยนต์ก็เป็นพาหนะหลักของการคมนาคมขนส่งภายในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลไอซ์แลนด์ยังส่งเสริมการศึกษา โดยการออกพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับใน ค.ศ. ๑๙๐๗ และต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๑๑ ซึ่งเป็นปีครบรอบวันเกิด ๑๐๐ ปีของโยนซิกูร์ดซอน ผู้นำขบวนการชาตินิยมไอซ์แลนด์ที่มีบทบาทสำคัญในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ก็ได้มีการสร้างมหาวิทยาลัยแห่งไอซ์แลนด์ (University of Iceland) ขึ้น
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง เดนมาร์ก ซึ่งประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองจึงยินยอมทำสนธิสัญญาสหภาพเดนมาร์ก -ไอซ์แลนด์(Treaty of Union) โดยมอบเอกราชในระดับหนึ่งให้แก่ไอซ์แลนด์เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคมค.ศ. ๑๙๑๘ อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาดังกล่าวยังคงให้อำนาจเดนมาร์ก ในการควบคุมนโยบายต่างประเทศ และกษัตริย์ของเดนมาร์ก [พระเจ้าคริสเตียนที่ ๑๐(Christian X) ค.ศ. ๑๙๑๒-๑๙๔๗] ทรงมีฐานะเป็นพระประมุขของไอซ์แลนด์ต่อไปสนธิสัญญามีกำหนด ๒๕ ปี แต่ให้อำนาจแก่ทั้ง ๒ ฝ่ายในการยกเลิกสนธิสัญญาได้
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังจากเดนมาร์ก ได้ถูกกองทัพเยอรมันเข้ารุกรานเพื่อใช้เป็นฐานทัพในยุโรปตอนเหนือ ปฏิบัติการทางทหารดังกล่าวจึงทำให้รัฐบาลอังกฤษส่งกองกำลังเข้ายึดครองไอซ์แลนด์ใน ค.ศ. ๑๙๔๐ เพื่อป้องกันเยอรมนี ใช้ไอซ์แลนด์เป็นฐานปฏิบัติการ ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๔๑ อังกฤษได้ถอนกองกำลังออกจากไอซ์แลนด์แต่ให้กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมแทน โดยใช้ไอซ์แลนด์เป็นฐานปฏิบัติการทางอากาศซึ่งไอซ์แลนด์ก็ให้ความร่วมมือกับฝ่ายพันธมิตรอย่างดีตลอดช่วงสงคราม กองทัพอเมริกันก็ได้ประจำการในไอซ์แลนด์ จนสงครามสิ้นสุดลงใน ค.ศ. ๑๙๔๕ ขณะที่กองทัพอเมริกันเข้ายึดครองไอซ์แลนด์ดังกล่าวนั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๔๔ สภาแอลติงได้จัดให้มีการแสดงประชามติเพื่อต่อสนธิสัญญาสหภาพเดนมาร์ก -ไอซ์แลนด์ที่จะสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน ประชาชนจำนวนร้อยละ ๙๗.๓๕ ของผู้มาลงคะแนนเสียงปฏิเสธที่จะให้มีการต่ออายุสนธิสัญญาดังนั้น ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๔ ไอซ์แลนด์จึงประกาศเอกราชจัดตั้งระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้น โดยแยกตัวเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์จากเดนมาร์ก ที่ผูกพันกันมาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๓๘๐ โดยมีสวีอินน์บอนส์ซอน (Sveinn Bornsson)ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ
ไอซ์แลนด์ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ(United Nations)ใน ค.ศ. ๑๙๔๖ และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (NorthAtlantic Treaty Organization - NATO) ใน ค.ศ. ๑๙๔๙ แต่เนื่องจากไอซ์แลนด์ไม่มีทหารหรือฐานทัพ นอกจากยามรักษาการณ์ชายฝั่งจำนวนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นภายใต้ข้อตกลงของสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ไอซ์แลนด์จึงจำเป็นต้องอนุญาตให้ตั้งฐานทัพใกล้เมืองเคฟลาวิก (Keflavik) ห่างจากกรุงเรกยะวิกประมาณ๔๐ กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ประกาศจะถอนกำลังทางอากาศทั้งหมดออกจากไอซ์แลนด์ภายในเดือนกันยายน ค.ศ. ๒๐๐๖ ส่วนในความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ไอซ์แลนด์เข้าเป็นสมาชิกสภายุโรป (Council ofEurope) ใน ค.ศ. ๑๙๕๐ สภานอร์ดิก (Nordic Council) ใน ค.ศ. ๑๙๕๒ และสมาคมการค้าเสรียุโรปหรือเอฟตา (European Free Trade Association - EFTA)ใน ค.ศ. ๑๙๗๐ ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศ ต่อมาในทศวรรษ ๑๙๙๐ ไอซ์แลนด์ซึ่งมีเสถียรภาพที่มั่นคงทางเศรษฐกิจก็ได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area)ใน ค.ศ. ๑๙๙๔ด้วย
ใน ค.ศ. ๑๙๘๐ วิกดีส ฟินน์โบกาดอต์ทีร์ (Vigd”s Finnbogadóttir) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศ และนับเป็นสตรีคนแรกของทวีปยุโรปและของโลกที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐบาลและประมุขของประเทศในระบบการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย พรรคการเมืองสำคัญของไอซ์แลนด์คือพรรคเอกราช (Independence Party) พรรคสังคมประชาธิปไตย (SocialDemocratic Party) และพรรคก้าวหน้า (Progressive Party) พรรคการเมืองดังกล่าวมักรวมกันจัดตั้งรัฐบาลผสมบริหารประเทศโดยมีพรรคเอกราชเป็นแกนนำ
รายได้หลักของไอซ์แลนด์ ได้แก่ การประมง ความสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากการที่ไอซ์แลนด์สามารถทำให้นานาประเทศโดยเฉพาะอังกฤษซึ่งมีข้อพิพาทกันมากที่สุดเรียกว่า “สงครามปลาคอด” (Cod War) ในเรื่องสิทธิการทำประมงในน่านน้ำรอบ ๆ ไอซ์แลนด์ยอมรับสิทธิดังกล่าวของไอซ์แลนด์ในเวทีการเมืองระดับโลกให้ไอซ์แลนด์ขยายน่านน้ำเป็น ๓๒๐ กิโลเมตร (๒๐๐ ไมล์) ได้ใน ค.ศ. ๑๙๗๖ ทำให้ไอซ์แลนด์ได้ครอบครองเขตประมงที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก ก่อนสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ สินค้าส่งออกของไอซ์แลนด์ประมาณร้อยละ ๗๐ เป็นอาหารทะเลและไอซ์แลนด์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่จับปลาได้มากที่สุดในโลก กล่าวคือได้มากกว่า๗๐๐,๐๐๐ ตันต่อปี หรือโดยเฉลี่ยประมาณ ๒.๕ ตันต่อประชากร ๑ คน และเป็นประเทศที่มีมาตรฐานการครองชีพสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในเดือนกรกฎาคมค.ศ. ๒๐๐๑ ไอซ์แลนด์ได้เข้าร่วมประชุมในคณะกรรมาธิการว่าด้วยการจับปลาวาฬ(International Whaling Commission) แต่ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในข้อตกลงกำหนดการจับปลาวาฬซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๙๖ แม้ไอซ์แลนด์จะยินยอมยุติการจับปลาวาฬ แต่อาจเป็นเพียงชั่วระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. ๒๐๐๖ไอซ์แลนด์เริ่มจับปลาวาฬอีกครั้งหนึ่ง แต่เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น.