Germany, Federal Republic of

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี




     สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นประเทศขนาดใหญ่ของยุโรปตอนกลาง มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปเป็นเวลานับพันปี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรแฟรงก์ (FrankishKingdom) หรือต่อมาเรียกว่า จักรวรรดิคาโรลินเจียน (Carolingian Empire) และในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) แต่พัฒนาการของการเป็นรัฐประชาชาติเยอรมันนั้นเริ่มต้นอย่างแท้จริงในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อมีการจัดตั้งสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ (Confederation of the Rhine) ขึ้นและทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีประมุขแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Habsburg) แห่งออสเตรีย เป็นจักรพรรดิิส้นสุดลง สถาบันต่าง ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับจักรวรรดิก็ถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิง ต่อมาใน ค.ศ. ๑๘๗๑ รัฐเยอรมันทั้งหมดได้รวมกันเป็นจักรวรรดิภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เยอรมนีได้ถูกแบ่งออกเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(Federal Republic of Germany) หรือเยอรมนีตะวันตก (West Germany) กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (German Democratic Republic) หรือเยอรมนีตะวันออก (East Germany) แต่ก็รวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๙๐
     ประวัติศาสตร์ชาติเยอรมันเริ่มต้นเมื่อกว่าพันปี คำว่าดอยทช์ (deutsch) ซึ่งหมายถึงเยอรมันอาจจะเริ่มใช้ในคริสต์ศตวรรษที่ ๘ และในตอนแรกหมายถึงเฉพาะภาษาที่พูดกันในภาคตะวันออกของราชรัฐฟรังโกเนีย (Franconia) ซึ่งปัจจุบันคือดินแดนส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี แต่ในเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแฟรงก์ซึ่งเรืองอำนาจสูงสุดในสมัยจักรพรรดิชาร์เลอมาญ (Charlemagne) ประชาชนพูดภาษาท้องถิ่นเยอรมันและโรแมนซ์ (Romance) หลังการสวรรคตของจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา (Louis the Pious)พระราชโอรสในจักรพรรดิชาร์เลอมาญ จักรวรรดิของพระองค์ก็แตกสลายและถูกแบ่งแยกตามสนธิสัญญาแวร์เดิง (Treaty ofVerdun) ใน ค.ศ. ๘๔๓ จักรวรรดิแฟรงก์ตะวันตกและตะวันออกได้แยกตัวกันและมีพัฒนาการอย่างอิสระ โดยมีเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างพลเมืองที่พูดภาษาฝรั่งเศส กับภาษาเยอรมัน ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเริ่มพัฒนาขึ้นในกลุ่มผู้อาศัยในดินแดนแฟรงก์ตะวันออกอย่างช้า ๆ ดังนั้น คำว่าดอยทช์จึงเปลี่ยนความหมายจากภาษาไปสู่ผู้พูด และในที่สุดก็หมายถึงดินแดนที่ผู้พูดอาศัยอยู่คือดินแดนดอยทช์(Deutschland)
     ในขณะที่พรมแดนด้านตะวันตกของเยอรมนีมีลักษณะคงที่และค่อนข้างจะมีความมั่นคงตั้งแต่ช่วงต้น แต่พรมแดนด้านตะวันออกเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประมาณค.ศ. ๙๐๐พรมแดนด้านตะวันออกขนานไปตามแม่น้ำเอลเบ (Elbe) และแม่น้ำซาเลอ(Saale) แต่ในเวลาต่อมาชาวเยอรมันก็ขยายตัวไปทางตะวันออกมากขึ้น การขยายตัวหยุดในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ พรมแดนด้านเชื้อชาติจึงถูกแบ่งระหว่างพวกเยอรมันกับพวกสลาฟและเป็นเช่นนั้นจนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒
     ใน ค.ศ. ๙๑๑ ราชรัฐฟรังโกเนียตะวันออก (East Franconia) ซึ่งเป็นดินแดนสำคัญแห่งหนึ่งในดินแดนแฟรงก์ตะวันออกก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น ภายหลังที่ราชวงศ์คาโรลินเจียนได้สิ้นเชื้อสายลงดุ็กแห่งฟรังโกเนีย (Duke of Franconia) ก็ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์เยอรมันพระองค์แรก ทรงพระนามว่าพระเจ้าคอนราดที่ ๑(Conrad I ค.ศ. ๙๑๑-๙๑๘) แต่ตำแหน่งอย่างเป็นทางการคือกษัตริย์ชาวแฟรงก์(Frankish King) และต่อมาก็เปลี่ยนเป็นกษัตริย์ชาวโรมัน (Roman King) ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระเจ้าคอนราดที่ ๑ คือพระเจ้าเฮนรีที่ ๑ (Henry I ค.ศ. ๙๑๙-๙๓๖) แห่งราชวงค์แซกซัน (Saxon) พระราชโอรสคือ พระเจ้าออทโทที่ ๑ หรือออทโทมหาราช (Otto I; Otto the Great ค.ศ. ๙๓๖-๙๗๓) ทรงสามารถรวบพระราชอำนาจได้โดยเด็ดขาดและได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิใน ค.ศ. ๙๖๒ ที่กรุงโรม นับจากนั้นกษัตริย์เยอรมันก็อยู่ในฐานะจักรพรรดิ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ชื่อจักรวรรดิเรียกว่าจักรวรรดิโรมัน (Roman Empire) และนับจากคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ เป็นต้นมาก็เปลี่ยนเป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
     ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ จักรพรรดิเฮนรีที่ ๓ (Henry III ค.ศ. ๑๐๓๙-๑๐๕๖) แห่งราชวงศ์ซาเลียน (Salian) ทรงมีพระราชฐานะและพระราชอำนาจสูงสุดเหนือสันตะปาปา แต่จักรพรรดิองค์ต่อมาคือ จักรพรรดิเฮนรีที่ ๔ (Henry IVค.ศ. ๑๐๕๖-๑๑๐๖) ทรงขัดแย้งกับสันตะปาปาเกรกอรีที่ ๗ (Gregory VII)อย่างรุนแรงในเรื่องอำนาจการแต่งตั้งสมณศักดิ์ ระดับสูงจนถูกสันตะปาปาประกาศบัพพาชนียกรรมหรือขับออกจากศาสนา (excommunicate) และทำให้พวกขุนนางก่อกบฏ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๐๗๗ ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น จักรพรรดิเฮนรีที่ ๔ ต้องทรงยอมทรมานพระองค์โดยการดำเนินด้วยพระบาทเปล่ากลางหิมะไปยังหน้าปราสาทคานอสซา (Canossa) ในตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลี เพื่อขอเฝ้าสันตะปาปา ซึ่งเป็นการสูญเสียพระเกียรติยศอย่างยิ่ง
     ใน ค.ศ. ๑๑๓๘ จักรพรรดิคอนราดที่ ๓ (Conrad III ค.ศ. ๑๑๓๘-๑๑๕๒)ได้รับเลือกให้ขึ้นครองราชย์อันเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์โฮเฮนชเตาเฟิน (Hohenstaufen)ผู้สืบตำแหน่งต่อจากพระองค์คือจักรพรรดิเฟรเดอริกที่ ๑ หรือเฟรเดอริก บาร์บารอสซา(Frederick Barbarossa ค.ศ. ๑๑๕๕-๑๑๙๐) ทรงทำสงครามกับสันตะปาปา นครรัฐอิตาลี ทางตอนเหนือและรัฐเยอรมันที่เป็นคู่แข่ง ดินแดนเยอรมันก็เริ่มแตกแยกซึ่งทำให้ศูนย์กลางอำนาจอ่อนแอ หลังสมัยของพระองค์ เจ้าผู้ครองรัฐทั้งที่เป็นฆราวาสและบรรพชิตต่างมีฐานะกึ่งเป็นอิสระ การปกครองของราชวงศ์โฮเฮนชเตาเฟินสิ้นสุดลงใน ค.ศ. ๑๒๕๔ หลังจากนั้นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ก็ประสบกับภาวะความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดจากภาวะการขาดผู้นำครั้งใหญ่หรือช่วงว่างระหว่างรัชกาลครั้งใหญ่ (Great Interregnum) เป็นเวลา ๑๙ ปีซึ่งทำให้ดินแดนเยอรมันแตกแยกมากขึ้นจนไม่สามารถรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นได้
     ใน ค.ศ. ๑๒๗๓ เคานต์รูดอล์ฟที่ ๔ ผู้นำของตระกูลฮับส์บูร์กได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์เยอรมันและจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยได้รับสถาปนาเป็นจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ ๑ (Rudolf I ค.ศ. ๑๒๗๓-๑๒๙๑) แต่อำนาจของจักรพรรดิได้ถูกลิดรอนมากขึ้นหลังพระองค์สวรรคต เพราะบรรดาเจ้าราชรัฐต่าง ๆ เคลื่อนไหวต่อต้านราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ต่อมาในรัชสมัยจักรพรรดิชาลส์ที่ ๔(Charles IV ค.ศ. ๑๓๔๖-๑๓๗๘) แห่งราชวงศ์ลักเซมบูร์ก (Luxemburg) ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองของจักรวรรดิโดยออกประกาศพระราชโองการสารตราทอง(Golden Bull) ให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าผู้ครองรัฐ ๗องค์ ประกอบด้วย เจ้านครรัฐที่เป็นฆราวาส ๔พระองค์ คือ เจ้านครรัฐบรันเดนบูร์ก (Brandenburg)พาลาทิเนต(Palatinate) โบฮีเมีย (Bohemia) และแซกโซนี(Saxony) และเจ้านครรัฐที่เป็นบรรพชิต๓พระองค์ คืออาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (archbishop of Mainz)อาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์(archbishop of Trier) และอาร์ชบิชอปแห่งโคโลญ (archbishop of Cologne)เจ้าผู้ครองรัฐ ๗องค์นี้ มีฐานะเป็น “ผู้คัดเลือก”(elector) เรียกว่า “เจ็ดผู้คัดเลือก”(seven electors) เพื่อคัดเลือกผู้สมควรสืบทอดราชบัลลังก์จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยทั่วไป จักรพรรดิพระองค์ใหม่มักจะเป็นพระราชโอรสหรือพระญาติโดยตรงกับจักรพรรดิพระองค์ก่อน จึงทำให้ดูเหมือนว่าตำแหน่งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นตำแหน่งที่สืบสันตติวงศ์ พระราชโองการสารตราทองดังกล่าวทำให้บรรดาเจ้าผู้ครองรัฐทั้งฆราวาสและบรรพชิตมีอำนาจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังทำให้เมืองและพ่อค้าที่รำรวยม่ ีบทบาทและอิทธิพลมากขึ้นในขณะที่บทบาทและอำนาจของขุนนางและอัศวินค่อย ๆ เสื่อมลงตามลำดับ เมืองสำคัญ ๆ ในดินแดนเยอรมันได้รวมกันเป็นสหพันธ์เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้าและการป้องกันดินแดน สันนิบาตฮันซา (Hanseatic League) เป็นสหพันธ์ที่สำคัญที่สุดซึ่งต่อมามีอำนาจในการควบคุมการค้าในแถบทะเลบอลติก โดยมีเมืองฮัมบูร์ก(Hamburg) และเบรเมิน (Bremen) เป็นเมืองสำคัญอย่างไรก็ดีสหพันธ์ดังกล่าวไม่ได้คุกคามการดำรงอยู่ของจักรวรรดิเพราะรัฐขนาดกลางและขนาดเล็กยังคงต้องการความคุ้มครองจากระบบจักรวรรดิอยู่ เพื่อถ่วงดุลอำนาจของรัฐเยอรมันที่เข้มแข็งอื่น ๆรวมทั้งโดยทั่วไปชาวเยอรมันยังมีความคิดที่จะรักษาความรุ่งเรืองของจักรวรรดิให้ดำรงสืบต่อไปอีก
     ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) โลกทัศน์ของชาวยุโรปในด้านต่าง ๆได้เปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบต่อศาสนจักรเมื่อมาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther)เริ่มต่อต้านการขายใบไถ่บาปอันเป็นการเริ่มต้นการปฏิรูปศาสนา (Reformation) ในค.ศ. ๑๕๑๗ เหตุการณ์ได้ลุกลามไปอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบทางด้านการเมืองและสังคมของจักรวรรดิมีการลุกฮือของพวกอัศวินในช่วง ค.ศ. ๑๕๒๒-๑๕๒๓ และการก่อกบฏของชาวนาใน ค.ศ. ๑๕๒๕ แต่ก็ถูกปราบปรามอย่างทารุณ การปฏิรูปศาสนาทำให้เกิดสงครามภายในจักรวรรดิ ซึ่งยุติลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพแห่งเอาก์สบูร์ก (Peace of Augsburg) ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าผู้ครองในการเลือกนิกายของพลเมืองและรับรองสิทธิของพวกที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์เท่ากับพวกที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เป็นผลให้เกิดการแบ่งแยกทางศาสนาในดินแดนเยอรมัน
     ในช่วงที่เกิดการปฏิรูปศาสนา จักรพรรดิชาลส์ที่ ๕ (Charles V ค.ศ. ๑๕๑๙-๑๕๕๖) แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ซึ่งปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ทั่วทั้งทวีปยุโรป รวมทั้งดินแดนใน “โลกใหม่”(New World) ทรงมีพระราชภาระหน้าที่มากเกินกว่าที่จะสามารถทุ่มเทความสนพระทัยให้แก่ดินแดนเยอรมันเพียงแห่งเดียวได้ ทั้งยังต้องทำสงครามกับพวกเติร์ก (Turk) ที่เข้ามารุกรานยุโรปตะวันออก พระองค์จึงทรงทำกติกาสัญญาแห่งวอร์ม (Worms Pact) ใน ค.ศ. ๑๕๒๑ แบ่งอำนาจการปกครองกับอาร์ชดุ็กเฟอร์ดินานด์พระอนุชา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแยกราชวงศ์ฮับส์บูร์กออกเป็น ๒ มหาสาขา คือ สายสเปน และสายออสเตรีย ต่อมาใน ค.ศ. ๑๕๕๖จักรพรรดิชาลส์ที่ ๕ ทรงสละราชย์และออกผนวช การแบ่งแยกอำนาจระหว่างราชวงศ์ฮับส์บูร์กสายสเปน กับสายออสเตรีย ก็สมบูรณ์และนับเป็นจุดเริ่มต้นของ “จักรวรรดิฮับส์บูร์ก” (Habsburg Empire) ซึ่งสร้างดุลอำนาจในยุโรปตอนกลางเป็นเวลา๓๖๐ ปี ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ แม้อำนาจของราชวงศ์ฮับส์บูร์กจะถูกทอนลงในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สืบเนื่องมาจากการแบ่งค่ายของรัฐเยอรมัน สงครามสามสิบปี (Thirty Yearsû War ค.ศ. ๑๖๑๘-๑๖๔๘) และสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย(Treaty of Westphalia ค.ศ. ๑๖๔๘) แต่ราชวงศ์ฮับส์บูร์กก็ยังคงมีบทบาทเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในฐานะผู้นำของรัฐมหาอำนาจ (ออสเตรีย ) สงครามสามสิบปีที่สิ้นสุดลงใน ค.ศ. ๑๖๔๘ ได้นำความเสียหายอย่างมากในดินแดนเยอรมัน และดินแดนในปกครองของพระองค์ก็แตกแยก ทำให้ฝรั่งเศส และสวีเดน ได้รับดินแดนเพิ่มขึ้นทั้งตอกย้ำการถอนตัวของสวิตเซอร์แลนด์และเนเธอร์แลนด์ ออกจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ส่วนรัฐเยอรมันอื่น ๆ ก็ได้รับสิทธิพิเศษทางการเมืองและทางศาสนารวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศได้อย่างอิสระ
     การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าว ทำให้เจ้าผู้ครองรัฐมีอำนาจเด็ดขาดมีการบริหารที่เป็นแบบแผน มีนโยบายทางการเงินและมีกองทัพประจำการ นโยบายของรัฐในการควบคุมเศรษฐกิจทำให้รัฐสามารถสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจรัฐต่าง ๆ เช่น บาวาเรีย (Bavaria) บรันเดนบูร์ก ซึ่งต่อมาคือปรัสเซีย แซกโซนีและแฮโนเวอร์ (Hanover) สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นศูนย์กลางของอำน าจออสเตรีย ซึ่งสามารถผลักดันการโจมตีของพวกเติร์กและได้รับสิทธิในการสืบราชสมบัติฮังการี ได้ก็กลายเป็นรัฐมหาอำนาจ ส่วนปรัสเซีย ซึ่งเป็นคู่แข่งของออสเตรีย ก็พัฒนาขึ้นเป็นรัฐมหาอำนาจในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช (Frederick the Great ค.ศ. ๑๗๔๐-๑๗๘๖)
     เมื่อเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ (French Revolution of 1789) และการรุกรานของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ (Napoleon I) แห่งราชวงศ์โบนาปาร์ต(Bonaparte)ดินแดนเยอรมันบางส่วนก็ถูกกองทัพฝรั่งเศส ยึดครองโดยเฉพาะฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรน์ (Rhine) จักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ทรงจัดการเปลี่ยนแปลงดินแดนของรัฐต่าง ๆ ใหม่ ผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์มากที่สุดคือพวกเจ้าผู้ครองรัฐเล็ก ๆโดยเฉพาะเขตที่อยู่ในอำนาจการปกครองของฝ่ายศาสนจักร ใน ค.ศ. ๑๘๐๓พลเมืองประมาณ ๔ ล้านคนต้องเปลี่ยนผู้ปกครอง รัฐขนาดกลางได้รับผลประโยชน์มากที่สุดสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๐๖ อีก๑ เดือนต่อมาจักรพรรดิฟรานซิสที่ ๒ (Francis II) แห่งออสเตรีย จึงทรงประกาศสละมงกุฎจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ ๖ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๐๖ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิที่เก่าแก่และมีอายุยึนยาวเกือบ ๑,๐๐๐ ปีแห่งนี้ทั้งทำให้การดำรงพระอิสริยยศจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ประมุขของราชวงศ์ฮับส์บูร์กสืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลานานเกือบ ๔๐๐ ปีก็ิส้นสุดลงด้วย
     การยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ในภาคพื้นทวีปยุโรปของฝรั่งเศส และการต่อสู้เพื่อต่อต้านอำนาจจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ที่นำไปสู่การรวมตัวของประเทศต่าง ๆในสงครามสหพันธมิตร (Coaliation Wars) หลายครั้ง ทำให้เกิดแรงดลใจและขบวนการชาตินิยมซึ่งพุ่งขึ้นจุดสูงสุดในสงครามปลดปล่อย (Wars of Liberation)อย่างไรก็ตาม ทั้งลัทธิชาตินิยมและขบวนการปฏิรูปซึ่งมุ่งสร้างสังคมที่ประชาชนมีเสรีภาพและความรับผิดชอบก็ต้องหยุดชะงักลง นโยบายปฏิกิิรยาขวาจัดของผู้ปกครองหลังยุคนโปเลียน ทำให้ประชาชนถูกปฏิเสธการเข้ามีส่วนร่วมในการร่างกฎหมาย มีแต่เจ้าผู้ครองรัฐทางเยอรมนีตอนใต้บางแห่งเท่านั้นที่ยินยอมมอบรัฐธรรมนูญให้แก่พลเมือง
     หลังสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars ค.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๑๕) สิ้นสุดลงผู้นำของชาติมหาอำนาจที่มาร่วมในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress ofVienna) ได้กำหนดเขตแดนยุโรปขึ้นใหม่ ความหวังของชาวเยอรมันในการรวมชาติไม่ได้รับการตอบสนอง มีการจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation)ซึ่งเป็นการรวมกันแบบหลวม ๆ ของรัฐเยอรมันขึ้น โดยออสเตรีย ได้เป็นประธานของสหพันธรัฐเยอรมัน แม้จะมีสภาสหพันธ์ (Federal Diet) ซึ่งตั้งอยู่ที่นครแฟรงก์เฟิร์ตแต่ก็เป็นสภาของตัวแทนที่มาจากการแต่งตั้ง และจะสามารถดำเนินงานได้ก็ต่อเมื่อมหาอำนาจทั้งสองคือออสเตรีย และปรัสเซีย เห็นชอบร่วมกันงานหลักของสภาสหพันธ์คือการปราบปรามการเคลื่อนไหวของประชาชนด้านเสรีนิยมและชาตินิยมหนังสือพิมพ์และสิ่งตีพิมพ์ถูกตรวจสอบอย่างเคร่งครัด มหาวิทยาลัยอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดและกิจกรรมทางการเมืองก็ถูกระงับไป ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
     ได้มีการจัดตั้งสหภาพศุลกากรเยอรมัน (Zollverein) ขึ้น โดยมีปรัสเซีย เป็นผู้นำเพื่อขจัดปัญหาความยุ่งยากในการจัดเก็บภาษีอากรที่ซ้ำซ้อนระหว่างรัฐและวางรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่ จำนวนรัฐสมาชิกก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ในค.ศ. ๑๘๓๕ การอุตสาหกรรมและการเดินรถไฟก็เริ่มขึ้นในดินแดนเยอรมัน และทำให้เกิดชนชั้นแรงงานจำนวนมาก
     เมื่อเกิดการปฏิวัติ ค.ศ. ๑๘๔๘ (Revolutions of 1848) โดยเริ่มขึ้นที่ฝรั่งเศส เพื่อโค่นอำนาจพระเจ้าหลุยส์ ฟิลิป (Louis Philippe) แห่งราชวงศ์ออร์เลออง(Orl”ans) กระแสของการปฏิวัติได้ลุกลามอย่างรวดเร็วไปสู่ดินแดนเยอรมัน ในเดือนมีนาคมมีการลุกฮือขึ้นในหลายรัฐ ซึ่งทำให้เจ้าผู้ครองรัฐต่างรีบให้สิทธิทางการเมืองแก่ประชาชนเพิ่มขึ้น ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๔๘ มีการเปิดประชุมสภาแห่งชาติแฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt National Assembly) แต่ความแตกแยกระหว่างพวกอนุรักษนิยมกับพวกหัวรุนแรงเป็นอุปสรรคต่อการร่างรัฐธรรมนูญ พวกเสรีนิยมพยายามขจัดความขัดแย้งระหว่างพวกที่ต้องการรวม “เยอรมนีใหญ่”(Grossdeutsch) เข้ากับพวก “เยอรมนีเล็ก” (Kleindeutsch) แต่เมื่อจักรวรรดิออสเตรีย พยายามจะนำดินแดนภายใต้การปกครองของตนซึ่งมีประชากรที่แตกต่างกันอย่างน้อยถึง ๑๒ เชื้อชาติเข้าร่วมในการรวมชาติเยอรมัน พวกที่นิยม“เยอรมนีเล็ก” ก็มีชัยชนะในการลงมติ สภาแห่งชาติแฟรงก์เฟิร์ตได้เสนอตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันให้แก่พระเจ้าเฟรเดอริก วิลเลียมที่ ๔ (Frederick William IV)แห่งปรัสเซีย แต่พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะรับมงกุฎจากพวกปฏิวัติ ความสำเร็จของพวกชนชั้นผู้ปกครองในการปราบปรามขบวนการปฏิวัติในดินแดนเยอรมัน ทำให้ความพยายามในการรวมชาติเยอรมันโดยวิีธการทางรัฐสภาล้มเหลว ในปลาย ค.ศ.๑๘๕๐ สมาพันธรัฐเยอรมันก็ได้รับการสถาปนาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
     แม้พัฒนาการด้านการเมืองในดินแดนเยอรมันช่วงนี้อาจล้มเหลว แต่นับจากทศวรรษ ๑๘๕๐ ไป ปรัสเซีย ซึ่งเป็นรัฐผู้นำมีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมากได้กลายเป็นรัฐอุตสาหกรรมหนัก แม้ว่าผลผลิตจะยังเป็นรองอังกฤษ แต่อัตราความเจริญล้ำหน้ากว่า ทำให้ชนชั้นกลางเสรีนิยมมีบทบาทและต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นพรรคก้าวหน้าเยอรมัน (German Progressive Party) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในค.ศ. ๑๘๖๑ และสมาชิกเป็นพวกเสรีนิยมหัวรุนแรงได้กลายเป็นพรรคที่เข้มแข็งที่สุดในสภาฯพรรคขัดขวางการอนุมัติงบประมาณสำหรับรัฐบาลในการปรับปรุงโครงสร้างและประสิทธิภาพของกองทัพ แต่เมื่อออทโท ฟอน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck)ได้ก้าวเข้ามามีอำนาจทางการเมืองปรัสเซีย ใน ค.ศ. ๑๘๖๑ ในฐานะอัครมหาเสนาบดีเขาได้ดำเนิน “นโยบายเลือดและเหล็ก” (blood and iron) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กองทัพปรัสเซีย โดยการเพิ่มงบประมาณให้แก่กองทัพบกและปฏิรูปกองทัพ เป้าหมายที่สำคัญของบิสมาร์คคือขยายอำนาจของปรัสเซีย ในดินแดนเยอรมันและกำจัดอำนาจของจักรวรรดิออสเตรีย ออกไปจากสมาพันธรัฐเยอรมัน เขาได้ใช้วิธีการทางการทูตในการสร้างพันธไมตรีกับมหาอำนาจอื่น ๆ รวมทั้งการใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจและอิทธิพลเพื่อให้ปรัสเซีย เป็นผู้นำของรัฐเยอรมัน ใน ค.ศ. ๑๘๖๖ ปรัสเซีย ได้ก่อสงครามเจ็ดสัปดาห์ (Seven WeeksûWar) กับออสเตรีย และสามารถเอาชนะออสเตรีย ได้ออสเตรีย ต้องสูญเสียบทบาทผู้นำในดินแดนเยอรมันและถูกขับออกจากสมาพันธรัฐเยอรมันด้วย หลังจากนั้นบิสมาร์คก็ได้โน้มน้าวให้รัฐเยอรมันทางตอนเหนือซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำไมน์ (Main) รวมตัวกันเป็นสมาพันธรัฐเยอรมันตอนเหนือ (North GermanConfederation) โดยมีพระเจ้าวิลเลียมที่ ๑ แห่งปรัสเซีย เป็นประธาน และมีบิสมาร์คเป็นอัครมหาเสนาบดี ส่วนดินแดนและราชอาณาจักรต่าง ๆ ทางเยอรมันตอนใต้ยังแยกตัวเป็นอิสระ
     ใน ค.ศ. ๑๘๖๘ เกิดการปฏิวัติขึ้นในราชอาณาจักรสเปน ซึ่งมีผลให้สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ ๒ (Isabella II ค.ศ. ๑๘๓๓-๑๘๖๘) แห่งราชวงศ์บูร์บง(Bourbon) สายสเปน ต้องเสด็จลี้ภัยออกนอกประเทศ และทำให้เกิดการสรรหาประมุขพระองค์ใหม่ บิสมาร์คจึงวางแผนใช้ปัญหาการสืบราชบัลลังก์สเปน เป็นเครื่องยั่วยุให้ฝรั่งเศส ก่อสงครามกับเยอรมนีเพื่อสร้างกระแสชาตินิยมและรวมดินแดนเยอรมันทั้งหมดให้เป็นปึกแผ่นโดยผลักดันให้คณะผู้สรรหาเลือกเจ้าชายเลโอโปลด์(Leopold) ในสายราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์น (Hohenzollern)พระญาติของพระเจ้าวิลเลียมที่ ๑ ให้เป็นองค์ประมุขของสเปน เขาตระหนักว่าการกระทำดังกล่าวนี้ย่อมทำให้ฝรั่งเศส ไม่พอใจ เพราะนอกจากราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์นจะเข้าไปปกครองสเปน แทนราชวงศ์บูร์บงที่สืบเชื้อสายมาจากบุรพกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งในขณะนั้นถูกขับออกจากบัลลังก์แล้วยังจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของฝรั่งเศส ที่จะถูกขนาบโดยดินแดนทั้งทางทิศตะวันออกและทิศใต้ที่มีกษัตริย์ราชวงศ์เดียวกันปกครองอีกด้วยแผนการยั่วยุที่จะก่อสงครามกับฝรั่งเศส ได้บรรลุผลเมื่อบิสมาร์คได้จัดการดัดแปลง
     แก้ไขข้อความในโทรเลขจากเมืองเอมส์ (Ems Telegram) ซึ่งพระเจ้าวิลเลียมที่ ๑ทรงเล่าถึงเหตุการณ์ที่เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส เข้าเฝ้า ณ เมืองเอมส์ ไปในเชิงที่ต่างฝ่ายต่างไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และส่งข้อความที่ดัดแปลงแก้ไขนี้ไปเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ในยุโรป
     โทรเลขจากเมืองเอมส์ได้เป็นชนวนของสงครามฝรั่งเศส -ปรัสเซีย (Franco-Prussian War ค.ศ. ๑๘๗๐-๑๘๗๑) จักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ (Napoleon IIIค.ศ. ๑๘๕๒-๑๘๗๐) ทรงประกาศสงครามกับปรัสเซีย เมื่อวันที่๑๙ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๗๐อีก ๑ วันต่อมา ราชอาณาจักรบาวาเรีย (Kingdom of Bavaria) ราชอาณาจักรเวือร์ทเทมแบร์ก (Kingdom of Württemberg) และบาเดิน (Baden) ซึ่งไม่รวมอยู่ในสมาพันธรัฐเยอรมันตอนเหนือก็ร่วมรบเป็นพันธมิตรกับปรัสเซีย ซึ่งเป็นไปตามแผนการที่จะใช้สงครามสร้างกระแสชาตินิยมในดินแดนเยอรมันตามที่บิสมาร์คได้วางไว้ทุกประการ
     สงครามฝรั่งเศส -ปรัสเซีย ได้ยุติลงด้วยชัยชนะของปรัสเซีย เมื่อวันที่ ๒๘มกราคม ค.ศ. ๑๘๗๑ แต่ก่อนที่สงครามจะสิ้นสุดลง บิสมาร์คก็ดำเนินการรวมชาติเยอรมนีได้สำเร็จ โดยได้รับฉันทานุมัติจากผู้นำรัฐเยอรมันต่าง ๆ ให้ประกาศจัดตั้งจักรวรรดิเยอรมันโดยมีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (federation) และเฉลิมพระอิสริยยศพระเจ้าวิลเลียมที่ ๑ แห่งปรัสเซีย เป็นไกเซอร์ (Kaiser) วิลเลียมที่ ๑ แห่งจักรวรรดิเยอรมันเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ค.ศ. ๑๘๗๑ ณ ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซาย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการยึดครองของกองทัพเยอรมัน
     ในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๘๗๑ เยอรมนีได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจแก่ปรัสเซีย มากกว่ารัฐอื่น ๆ ในจักรวรรดิ โดยกำหนดให้สภาสูงหรือสภาบุนเดสรัท (Bundesrat) เป็นสภาผู้แทนของรัฐต่าง ๆ ประกอบด้วยสมาชิก ๕๘ คนที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลของรัฐต่าง ๆ ปรัสเซีย มีสมาชิก ๑๗ คน บาวาเรีย ๖ คนแซกโซนีและเวือร์ทเทมแบร์กมีสมาชิกแห่งละ ๔ คน ที่เหลืออีก ๒๗ คนเป็นผู้แทนจากรัฐขนาดเล็กอื่น ๆ ร่างพระราชบัญญัติทุกฉบับต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาบุนเดสรัทก่อนที่จะประกาศเป็นกฎหมาย ในกรณีที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านการทหาร ค่าธรรมเนียม และภาษีอากรต่าง ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากราชอาณาจักรปรัสเซีย ก่อน นอกจากนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกระทำไม่ได้หากมีสมาชิกสภาบุนเดสรัทจำนวน ๑๔ คนคัดค้าน ซึ่งเท่ากับปรัสเซีย ซึ่งมีสมาชิก ๑๗ คน มีอำนาจสูงสุดในการยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทุกกรณีส่วนสภาล่างหรือสภาไรค์ชตาก (Reichstag) ซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั่วไปก็มีอำนาจจำกัดในการเสนอร่างกฎหมาย และไม่มีอำนาจในการควบคุมนโยบายหรือตรวจสอบการบริหารประเทศของคณะรัฐบาล รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจแก่อัครมหาเสนาบดีเป็นผู้กำหนดนโยบายการปกครองและให้รับผิดชอบโดยตรงต่อพระจักรพรรดิเท่านั้น ส่วนคณะเสนาบดีก็ขึ้นตรงต่ออัครมหาเสนาบดี โดยนัยนี้บิสมาร์คซึ่งเป็นที่โปรดปรานและไว้วางพระราชหฤทัยของไกเซอร์ิวลเลียมที่ ๑ จึงบริหารประเทศได้อย่างอิสระ และสามารถใช้อำนาจของเขาในขอบเขตที่กว้างขวางที่สุดดังนั้น ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๗๑-๑๘๙๐ ที่บิสมาร์คดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีนั้น นักประวัติศาสตร์บางคนจึงขนานนามจักรวรรดิเยอรมันในช่วงระยะเวลานี้ว่า“เยอรมนีระบบบิสมาร์ค”(Bismarckian Germany)
     นับแต่การรวมชาติเยอรมนีได้สำเร็จ บิสมาร์คก็พยายามสร้างความมั่นคงให้แก่จักรวรรดิเยอรมันโดยการส่งเสริมให้รัฐเยอรมันต่าง ๆ ใช้กฎหมาย เงินตราการไปรษณีย์และโทรเลขในระบบเดียวกัน นอกจากนี้ เขายังใช้วิธีทางการทูตเพื่อรักษาความมั่นคงของจักรวรรดิีอกด้วย โดยพิจารณาว่า การก่อสงครามมิใช่เครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพให้แก่จักรวรรดิ แต่สันติภาพจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการจรรโลงและรักษาจักรวรรดิเยอรมันให้ยั่งยืนสืบต่อไปได้ อำนาจของเยอรมนีได้ก้าวมาถึงจุดที่อิ่มตัวแล้ว ซึ่งไม่จำเป็นต้องขยายพรมแดนอีกต่อไป ปัญหาความมั่นคงของจักรวรรดิอยู่ที่การพยายามหลีกเลี่ยงการแก้แค้นจากฝรั่งเศส ที่พ่ายแพ้ในสงครามฝรั่งเศส -ปรัสเซีย และสูญเสียดินแดนต่าง ๆ ให้แก่จักรวรรดิโดยเฉพาะแคว้นอัลซาซ-ลอร์แรน (Alsace-Lorraine) ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ การป้องกันสงครามกับฝรั่งเศส สามารถกระทำได้โดยการดำเนินนโยบายทางการทู ตที่จะทำลายระบบพันธมิตรของฝรั่งเศส และทำให้ฝรั่งเศส อยู่อย่างโดดเดี่ยว พร้อมกันนั้นเยอรมนีก็จะสร้างระบบพันธมิตรใหม่ขึ้น โดยมีเยอรมนีเป็นจุดศูนย์กลางของความสัมพันธ์นั้นดังนั้น ใน ค.ศ. ๑๘๗๓ บิสมาร์คจึงจัดตั้งสันนิบาตสามจักรพรรดิ(Dreikaiserbund -League of the Three Emperors) ขึ้น สมาชิกประกอบด้วย จักรวรรดิเยอรมัน รัสเซีย และออสเตรีย -ฮังการี ต่อมา ใน ค.ศ. ๑๘๗๙ เยอรมนีได้ทำสนธิสัญญาทวิภาคี(DualAlliance) กับออสเตรีย -ฮังการี และใน ค.ศ. ๑๘๘๒ บิสมาร์คก็ได้ดำเนินนโยบายทางการทูตในการสร้างพันธไมตรีกับอิตาลี โดยโน้มน้าวให้อิตาลี ร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี ด้วยการลงนามในสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี(Triple Alliance) เมื่อสันนิบาตสามจักรพรรดิหมดอายุลงใน ค.ศ. ๑๘๘๗ รัสเซีย ซึ่งขัดแย้งกับออสเตรีย -ฮังการี ในปัญหาตะวันออก (Eastern Question) ได้ปฏิเสธที่จะต่อสนธิสัญญาดังกล่าว บิสมาร์คซึ่งหวั่นกลัวการสร้างพันธมิตรระหว่างรัสเซีย กับฝรั่งเศส จึงพยายามชักจูงให้รัสเซีย ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีกับเยอรมนีต่อไป และประสบความสำเร็จเมื่อรัสเซีย ยินยอมทำสนธิสัญญาประกันพันธไมตรี(ReinsuranceTreaty) กับเยอรมนีในปี เดียวกันนั้น โดยเยอรมนียินยอมให้รัสเซีย ขยายอิทธิพลในคาบสมุทรบอลข่านยิ่งไปกว่านั้น ใน ค.ศ. ๑๘๘๗ บิสมาร์คยังให้การสนับสนุนอย่างลับ ๆ แก่อังกฤษออสเตรีย -ฮังการี และอิตาลี ในการลงนามในข้อตกลงเมดิเตอร์เรเนียน(Mediterranean Agreement) โดยประเทศคู่สัญญาจะรักษาสถานภาพเดิมในคาบสมุทรบอลข่านและจะร่วมมือกันต่อต้านการขยายอำนาจและอิทธิพลของรัสเซีย ในดินแดนแถบนี้ด้วย ระบบพันธมิตรอันซับซ้อนที่มีบิสมาร์คเป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังดังกล่าวนี้ ได้สร้างความยิ่งใหญ่และความมั่นคงให้แก่จักรวรรดิเยอรมันและทำให้จักรวรรดิเยอรมันอยู่รอดปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการสร้างดุลแห่งอำนาจระหว่างประเทศมหาอำนาจยุโรปและป้องกันมิให้ความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจลุกลามกลายเป็นสงครามได้
     ในสมัย “เยอรมนีระบบบิสมาร์ค” เศรษฐกิจของจักรวรรดิเยอรมันได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง ในทศวรรษ ๑๘๘๐อุตสาหกรรมได้พัฒนาอย่างรวดเร็วจนทำให้เยอรมนีเป็นประเทศมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับอังกฤษการขยายตัวของอุตสาหกรรมยังเกิดจากนโยบายการต่อต้านการค้าเสรี การปฏิรูประบบภาษีอากร และการตั้งกำแพงภาษีของบิสมาร์คอีกด้วย ใน ค.ศ. ๑๘๗๙ บิสมาร์คได้โน้มน้าวให้พรรคเซนเตอร์ (Center Party) ที่เป็นศัตรูกับเขาแต่มีนโยบายตั้งกำแพงภาษีร่วมมือกับพรรคฝ่ายอนุรักษนิยมอีก ๒ พรรคผลักดันให้สภาล่างหรือสภาไรค์ชตากออกกฎหมายกีดกันสินค้าต่างประเทศอย่างไรก็ดีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของเยอรมนีก็มีผลกระทบต่อนโยบายการต่างประเทศของบิสมาร์คด้วย เขาถูกประชาชนกดดันให้ดำเนินนโยบายแสวงหาอาณานิคมโดยแข่งขันกับมหาอำนาจยุโรปอื่น ๆ ในการยึดครองดินแดนโพ้นทะเลตามกระแสจักรวรรดินิยมใหม่ (NewImperialism) ในขณะนั้นดังนั้น ใน ค.ศ. ๑๘๘๔ บิสมาร์คจึงต้องเข้าแย่งชิงดินแดนในแอฟริกากับมหาอำนาจยุโรปอื่น ๆ และสามารถอ้างสิทธิคุ้มครองเหนือดินแดนแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (South West Africa) โตโกแลนด์ (Togoland) และแคเมอรูน(Cameroon) รวมทั้งดินแดนในแอฟริกาตะวันออก (East Africa)อีกด้วย
     ใน ค.ศ. ๑๘๘๘ ไกเซอร์ิวลเลียมที่ ๑ เสด็จสวรรคต และไกเซอร์เฟรเดอริกที่ ๓ (Frederick III ค.ศ. ๑๘๘๘) ได้สืบราชสมบัติแต่ทรงครองราชบัลลังก์ได้เพียง๓ เดือนเท่านั้นก็ประชวรสวรรคตพระราชโอรสคือไกเซอร์ิวลเลียมที่ ๒ (William IIค.ศ. ๑๘๘๘-๑๘๑๙) จึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ทรงมีนโยบายทางการเมืองและการต่างประเทศที่แตกต่างจากบิสมาร์คเป็นอันมาก ทรงมีความชื่นชมในศักยภาพทางการทหารของจักรวรรดิ และทรงเห็นว่าทหารและกองทัพเป็นผู้รวมชาติเยอรมันและสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่จักรวรรดิ หาใช่สมาชิกรัฐสภาไม่ ด้วยแนวพระราชดำริดังกล่าวจึงทำให้พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะใช้กำลังทหารเพื่อขยายอำนาจและอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันไปทั่วโลก ซึ่งเป็นการขัดต่อแนวคิดและอุดมการณ์ของบิสมาร์คที่พยายามจะหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และการแข่งขันกับมหาอำนาจยุโรปอื่น ๆ ความขัดแย้งระหว่างไกเซอร์วิลเลียมที่ ๒ กับบิสมาร์คถึงจุดแตกหักในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๘๙๐ เมื่อพระองค์ทรงพยายามลิดรอนอำนาจของบิสมาร์ค โดยให้เสนาบดีทุกคนต้องกราบบังคมทู ลข้อราชการต่อพระองค์โดยตรง โดยไม่ต้องรอผ่านบิสมาร์คซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีก่อนพระราชบัญชาดังกล่าวจึงทำให้บิสมาร์คขอลาออกจากตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิเยอรมันเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๙๐ และถอนตัวออกจากการเมืองอย่างสิ้นเชิง
     การสิ้นอำนาจของบิสมาร์คซึ่งได้ชื่อว่า “อัครมหาเสนาบดีกระดูกเหล็ก”มีผลให้สถานการณ์ระหว่างประเทศเปลี่ยนทิศทางไป บรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศที่เยอรมนีเคยมีบทบาทเป็นผู้นำก็ค่อย ๆ สูญสิ้นไป นอกจากนี้ ระบบการผูกมิตรและนโยบายการต่างประเทศหรือที่เรียกว่าระบบบิสมาร์ค (BismarckianSystem) ที่สร้างพันธไมตรีกับมหาอำนาจยุโรปอื่น ๆ ซึ่งป้องกันฝรั่งเศส จากการมีพันธมิตรและต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมีอันต้องสิ้นสุดลงไปด้วยเมื่อไกเซอร์ิวลเลียมที่ ๒ทรงปฏิเสธที่จะต่อสนธิสัญญาประกันพันธไมตรีกับรัสเซีย ที่หมดอายุลงใน ค.ศ. ๑๘๙๐การปฏิเสธดังกล่าวจึงทำให้รัสเซีย ซึ่งมองเห็นว่าเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี เป็นคนละฝ่ายกับตนจึงหันไปผูกมิตรกับฝรั่งเศส ต่อมา ใน ค.ศ. ๑๘๙๔ ทั้ง ๒ ประเทศก็ได้ทำความตกลงฝรั่งเศส -รัสเซีย (Franco-Russian Entente) สนธิสัญญาฉบับนี้จึงนับเป็นการยุติการอยู่อย่างโดดเดี่ยวของฝรั่งเศส ดำเนินมากว่า ๒๐ ปี และทำให้รัสเซีย เป็นมิตรประเทศแรกของฝรั่งเศส ที่มีสนธิสัญญาผูกมัดต่อกัน ใน ค.ศ. ๑๙๐๗อังกฤษซึ่งไม่พอใจทั้งนโยบายการส่งเสริมกำลังทัพและการขยายแสนยานุภาพทางทะเลที่ก้าวร้าวและทะเยอทะยานของเยอรมนี ตลอดจนการแข่งขันในการแสวงหาอาณานิคม จึงยุตินโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยว (splendid isolation) และเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส และรัสเซีย สนธิสัญญาพันธไมตรีฝรั่งเศส -รัสเซีย จึงขยายเป็นฝรั่งเศส -รัสเซีย -อังกฤษ โดยมีชื่อเรียกว่ากลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี(TripleEntente) และเป็นค่ายมหาอำนาจสำคัญที่คานอำนาจกับกลุ่มประเทศสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคีซึ่งประกอบด้วยเยอรมนีออสเตรีย -ฮังการี และอิตาลี ที่บิสมาร์คจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๘๒
     การปรับเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศของเยอรมนีในรัชสมัยไกเซอร์วิลเลียมที่ ๒ จึงนับว่ามีผลอย่างมากต่อสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างมหาอำนาจยุโรป และก่อให้เกิดการแข่งขันในการช่วงชิงผลประโยชน์และอำนาจซึ่งกันและกันตลอดจนเกิดการแบ่งค่ายมหาอำนาจยุโรปออกเป็น ๒ ค่าย แต่ละค่ายก็มักจะไม่ยอมอ่อนข้อต่อกันเมื่อต้องเผชิญหน้ากันในวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างทศวรรษ๑๙๐๐ ถึงต้นทศวรรษ ๑๙๑๐ ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศได้บรรลุถึงจุดแตกหักเมื่ออาร์ชดุ็กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand)มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย -ฮังการี และพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ขณะเสด็จประพาสกรุงซาราเยโว (Sarajevo) นครหลวงของบอสเนีย เมื่อวันที่ ๒๘มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๑๔ ซึ่งต่อมาทำให้ออสเตรีย -ฮังการี ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย ระบบพันธมิตร ๒ ค่ายที่เกิดขึ้นจึงทำให้จักรวรรดิเยอรมันประกาศสงครามกับรัสเซีย ในวันที่ ๑ สิงหาคม หลังจากรัสเซีย เรียกระดมพลเพื่อทำสงครามกับออสเตรีย -ฮังการี ที่เป็นพันธมิตรของเยอรมนี และมีผลให้มหาอำนาจอื่น ๆ ที่ผูกพันกันด้วยระบบพันธไมตรีต้องประกาศสงครามต่อกันจนในที่สุดเกิดเป็นสงครามโลกครั้งที่ ๑
     ในปลายสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขณะที่เยอรมนีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการรบกะลาสีและทหารเรือเยอรมันในฐานทัพที่เมืองคีล (Kiel) บนชายฝั่งทะเลบอลติก(Baltic) ซึ่งไม่พอใจคำสั่งให้เตรียมการรบทางทะเล ได้เคลื่อนไหวต่อต้านจนนำไปสู่การปฏิวัติเดือนพฤศจิกายน (November Revolution) ต่อมา ในวันที่ ๘พฤศจิกายนบาวาเรียก็ประกาศจัดตั้งเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยม ส่วนในกรุงเบอร์ลิน ทหารและประชาชนได้รวมตัวกันก่อการจลาจลจัดตั้งสภาของตนเองและเรียกร้องให้เจ้าชายมักซีมีเลียนแห่งบาเดิน (Maximilian of Baden)อัครมหาเสนาบดียุบคณะรัฐบาลและคืนอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชน ความวุ่นวายทางการเมืองและสังคมดังกล่าวจึงทำให้เจ้าชายมักซีมีเลียนแห่งบาเดินจำต้องปฏิบัติตาม และทรงลาออกจากตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในวันที่ ๙พฤศจิกายน ในวันเดียวกันนั้น ไกเซอร์ิวลเลียมที่ ๒ ทรงสละราชบัลลังก์และเสด็จไปประทับที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ จักรวรรดิเยอรมันซึ่งมีอายุ ๔๘ ปีจึงมีอันต้องสลายตัวและเยอรมนีก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๘ ฟรีดริช แอแบร์ท(Friedrich Ebert) ผู้นำคณะรัฐบาลคนใหม่ก็ส่งผู้แทนไปเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรจนสามารถตกลงสงบศึก และลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตรบนรถไฟ บริเวณเมืองกองเปียญ (Campiegne) สงครามโลกครั้งที่ ๑ จึงยุติลงพร้อม ๆกับการสิ้นสลายของจักรวรรดิเยอรมัน เยอรมนีต้องสูญเสียดินแดนต่าง ๆ กล่าวคือแคว้นอัลซาซ-ลอร์แรน ให้แก่ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ตะวันตกและมณฑลพอซนานหรือโพเซิน (Poznan; Posen) ให้แก่โปแลนด์ ดินแดนตอนเหนือของแคว้นชเลสวิก(Schleswig) ให้แก่เดนมาร์ก รวมทั้งสูญเสียอาณานิคมในต่างแดนทั้งหมด และเมืองท่าเมลเมล (Melmel) และให้ดานซิกหรือกดานสก์ (Danzig; Gdansk) เป็นเสรีนคร
     หลังสงครามโลก เยอรมนีเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐไวมาร์(Weimar Republic) ระบอบสาธารณรัฐเปิดโอกาสให้พรรคเอสพีดีขึ้นเป็นผู้นำในการบริหารประเทศและเป็นแกนนำในการร่างรัฐธรรมนูญร่วมกับพรรคประชาธิปไตยเยอรมัน (German Democratic Party) และพรรคเซนเตอร์ ในเดือนมกราคมค.ศ. ๑๙๑๙ ที่เมืองไวมาร์ (Weimar) แม้ว่าพรรคเอสพีดีต้องการที่จะเปลี่ยนวิถีการเมืองและสังคมเยอรมันไปสู่แนวทางใหม่ แต่การที่เจ้าหน้าที่รัฐ ตุลาการ ตลอดจนนายทหารของสมัยจักรวรรดิยังอยู่ในตำแหน่ง ทำให้เยอรมนียังคงลักษณะอนุรักษนิยมซึ่งยึดแนวปกครองแบบอำนาจนิยมอยู่ ความพยายามของฝ่ายซ้ายที่จะก่อการปฏิวัติถูกปราบปรามจากกองทัพอย่างรุนแรง ตลอดทศวรรษ ๑๙๒๐ พรรคการเมืองตลอดจนกลุ่มพลังต่าง ๆ ที่ต่อต้านระบอบประชาธิปไตยก็มีพลังเพิ่มขึ้นจนถึงกับมีผู้กล่าวว่า สาธารณรัฐไวมาร์เป็น “สาธารณรัฐซึ่งปราศจากนักสาธารณรัฐนิยม”(republic without republicans) ระบอบสาธารณรัฐถูกต่อต้านจากศัตรูรอบด้านยิ่งกว่านั้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามตลอดจนเงื่อนไขที่รุนแรงของสนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles ค.ศ. ๑๙๑๙) ก็ทำให้ชาวเยอรมันขาดศรัทธาในระบอบสาธารณรัฐ การปกครองภายในจึงไม่มั่นคง
     ใน ค.ศ. ๑๙๒๓ ความยุ่งยากของช่วงหลังสงครามพุ่งขึ้นถึงขีดสุด เยอรมนีประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง การถูกกองทัพฝรั่งเศส และเบลเยียม ยึดครองแคว้นรูร์ (Ruhr) การพยายามก่อการรัฐประหารของอดอล์ฟฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า กบฏโรงเบียร์ (Beer Hall Putsch)ต้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๒๓ ตลอดจนการลุกฮือของพวกคอมมิวนิสต์อย่างไรก็ตามหลังจากความพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยการช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาตามแผนดอส์ (Dawes Plan) เยอรมนีก็สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ สถานการณ์ทางการเมืองเข้าสู่ความสงบมากขึ้น นโยบายต่างประเทศของกุสทาฟ ชเตรเซมันน์ (GustavStresemann) ทำให้เยอรมนีมีฐานะทางการเมืองระหว่างประเทศดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาโลคาร์โน (Treaties of Locarno ค.ศ. ๑๙๒๕) และการเข้าเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ(League of Nations) ใน ค.ศ. ๑๙๒๖ หลังอสัญกรรมของฟรีดริช เอแบร์ท ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐไวมาร์ใน ค.ศ.๑๙๒๕ จอมพล เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก (Paul von Hindenburg) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนต่อมา แม้ว่าฮินเดนบูร์กจะยึดหลักรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัด แต่ในทางส่วนตัวแล้วเขาไม่ศรัทธาในระบอบสาธารณรัฐ
     วิกฤตการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ที่ลุกลามไปทั่วโลกใน ค.ศ. ๑๙๒๙ มีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อการดำรงอยู่ของสาธารณรัฐไวมาร์อีกครั้งหนึ่ง พวกหัวรุนแรงทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาฉวยโอกาสใช้การว่างงานและภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบทางการเมือง ไม่มีพรรคการเมืองใดคุมเสียงข้างมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ คณะรัฐมนตรีต้องอาศัยการสนับสนุนจากประธานาธิบดียิ่งกว่านั้น การต่อสู้ถึงขั้นนองเลือดที่เกิดขึ้นเป็นประจำตามท้องถนนระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ล้วนสั่นสะเทือนความเชื่อมั่นในรัฐบาล นับจาก ค.ศ. ๑๙๓๐เป็นต้นมา พรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือพรรคนาซี (NationalSocialist German Workersû Party - NSDAP; Nazi Party) ก็มีความเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆพรรคนาซีรวมเอาพวกที่ต่อต้านระบอบประชาธิปไตยและต่อต้านพวกยิวด้วยการโฆษณาชวนเชื่อและอ้างการปฏิวัติ กองกำลังของพรรคมักก่อเหตุรุนแรงและสร้างปัญหาทางการเมืองเพื่อกดดันรัฐบาลเพิ่มขึ้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการชะงักงันทางการเมืองทำให้ชาวเยอรมันหันมาสนับสนุนพรรคนาซีมากขึ้น ใน ค.ศ. ๑๙๓๒ จำนวนสมาชิกสภาไรค์ชตากที่สังกัดพรรคนี้ก็มีมากที่สุด จนประธานาธิบดีฮินเดนบูร์กต้องจำยอมให้ฮิตเลอร์ผู้นำพรรคนาซีขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในเดือนมกราคมค.ศ. ๑๙๓๓ ทั้งนี้ฝ่ายขวายังหวังว่าจะสามารถควบคุมบทบาทและอำนาจของผู้นำพรรคนาซีได้
     อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าฮิตเลอร์ก็สามารถกำจัดพวกนักการเมืองฝ่ายขวาที่ร่วมอยู่ในรัฐบาลได้ หลังเหตุการณ์เผาสภาไรค์ชตาก (Reichstag Fire) ในคืนวันที่๒๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๓๓ ที่พรรคนาซีอ้างว่าฝ่ายคอมมิวนิสต์เตรียมก่อการปฏิวัติสภาก็ให้ความเห็นชอบผ่านบทกฎหมายที่ให้อำนาจ (Enabling Acts) ที่รัฐบาลนาซีเสนอฮิตเลอร์สามารถใช้อำนาจโดยไม่มีขอบเขตจำกัด เมื่อฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. ๑๙๓๔ ฮิตเลอร์ก็ถือโอกาสรวมตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีเข้าด้วยกันเรียกว่าฟือเรอร์ (Führer) และสามารถควบคุมกองทัพได้ทั้งหมด ทั้งที่กองทัพเคยเป็นสถาบันที่มีอิสระและมีอำนาจเป็นของตนเองมาโดยตลอด เขาใช้อำนาจยุบพรรคการเมืองทุกพรรคยกเว้นพรรคนาซี และประกาศที่จะนำเยอรมนีกลับไปสู่ความยิ่งใหญ่ด้วยการสถาปนาจักรวรรดิไรค์ที่ ๓ (Third Reich) ขึ้นและจะขยายพื้นที่อยู่อาศัยของชาวเยอรมันไปทางดินแดนตะวันออก พรรคนาซีใช้ความเหี้ยมโหดและความรุนแรงในการกำจัดผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองระบอบนาซีคนจำนวนนับหมื่นสาบสูญไปในค่ายกักกัน (Concentration Camp) และสถาบันด้านประชาธิปไตยทุกระดับถูกยกเลิกและลิดรอนอำนาจ
     ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๓๓-๑๙๓๙ ฮิตเลอร์สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม สภาวะว่างงานลดลง เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้น นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังประสบผลสำเร็จจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศทำให้ฐานะทางการเมืองของเขาเข้มแข็งยิ่งขึ้น ความสำเร็จดังกล่าวเริ่มจากในเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๓๕ที่เยอรมนีได้แคว้นซาร์ (Saar) กลับคืนมา ในเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน ฮิตเลอร์ก็ประณามสนธิสัญญาแวร์ซายที่จำกัดกำลังอาวุธและกองทัพของเยอรมนี ต่อมาในค.ศ. ๑๙๓๖ กองทัพเยอรมันก็เคลื่อนเข้ายึดเขตไรน์แลนด์ (Rhineland) อีก ๒ ปีใน ค.ศ. ๑๙๓๘ ฮิตเลอร์ก็ผนวกออสเตรีย เข้ากับเยอรมนี(Anschluss) ยิ่งกว่านั้นในปี เดียวกันมหาอำนาจตะวันตกยังยินยอมให้ฮิตเลอร์ยึดครองซู เดเทนลันด์(Sudetenland) จากเชโกสโลวะเกีย นอกจากนี้ในช่วงก่อนหน้านี้ ฮิตเลอร์ยังใช้
     นโยบายต่อต้านชาวยิว โดยเริ่มจากการลิดรอนสิทธิพลเมืองชาวเยอรมันเชื้อสายยิวทีละขั้นตอน ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่สามารถหลบหนีการลงโทษก็ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ ยิ่งกว่านั้นการลงโทษผู้ที่ต่อต้านระบอบนาซีตลอดจนการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวเยอรมันทำให้ปัญญาชน ศิลปิน และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากลี้ภัยออกนอกประเทศด้วย ใน ค.ศ. ๑๙๓๙ ฮิตเลอร์จึงนำเยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยบุกโปแลนด์ เมื่อวันที่ ๑ กันยายนอีก ๒ วันต่อมาอังกฤษและฝรั่งเศส ก็ประกาศสงครามต่อเยอรมนี
     สงครามโลกครั้งที่ ๒ (ค.ศ. ๑๙๓๙-๑๙๔๕) ซึ่งทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นเวลาเกือบ ๖ ปี ได้ทำลายล้างยุโรปและทำให้คนเสียชีวิตถึง ๕๕ ล้านคน ในช่วงแรกของสงคราม เยอรมนีเป็นฝ่ายรุกและสามารถยึดครองดินแดนของหลายประเทศในยุโรปได้อย่างรวดเร็ว หลัง ค.ศ. ๑๙๔๒ เป็นต้นมา เยอรมนีเริ่มประสบความพ่ายแพ้และสูญเสียดินแดนที่ยึดครอง แต่ถึงกระนั้นความทารุณโหดร้ายของระบอบนาซีกลับทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะนโยบายการแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย (Final Solution)ซึ่งทำให้ชาวยิวถูกคุมขังทรมานและสังหารหมู่อย่างโหดร้ายในค่ายกักกัน ประมาณว่าหลังสงครามสิ้นสุดลงชาวยิวเสียชีวิตถึง ๖ ล้านคน ความทารุณโหดร้ายดังกล่าวรวมถึงการพ่ายแพ้ในแนวรบด้านต่าง ๆ ทำให้ขบวนการต่อต้านฮิตเลอร์ทวีความเข้มแข็งมากขึ้น นายทหารกลุ่มหนึ่งจึงพยายามยึดอำนาจเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคมค.ศ. ๑๙๔๔ แต่ก็ประสบความล้มเหลว ฮิตเลอร์สามารถรอดพ้นจากการลอบวางระเบิดสังหารไปได้พวกต่อต้านนาซีถูกสังหาร ๔,๐๐๐ คน
     อย่างไรก็ตาม ระบอบนาซีก็ิส้นสุดลงเมื่อเยอรมนีถูกกองทัพพันธมิตรบุกโจมตีทุกด้าน ฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรมเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ค.ศ. ๑๙๔๕ในขณะที่กองทัพรัสเซีย เคลื่อนเข้ายึดกรุงเบอร์ลินอีก ๑ สัปดาห์ต่อมาจอมพลเรือคาร์ล เดอนิทซ์ (Karl Doenitz) ผู้นำคนใหม่ของเยอรมนีก็ประกาศยอมแพ้สงครามโดยไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ ๗พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๕อีก ๒ สัปดาห์ทั้งเดอนิทซ์และผู้ร่วมรัฐบาลของเขาตลอดจนสมาชิกระดับผู้นำของพรรคนาซีทั้งหมดก็ถูกจับกุม และถูกพิจารณาโทษในการพิจารณาคดีนูเรมเบิร์ก (Nuremburg Trials) ในข้อหาร่วมวางแผนก่อสงครามและข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
     ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง ประเทศมหาอำนาจพันธมิตรเจรจาหารือกันหลายครั้งเกี่ยวกับอนาคตยุโรปหลังสงคราม ปัญหาการยึดครองเยอรมนีตลอดจนกำหนดนโยบายการปกครองในยุโรปตะวันออกและอื่น ๆ การประชุมครั้งสำคัญคือการประชุมเตหะราน (Teheran Conference ๒๒-๒๕ พฤศจิกายนค.ศ. ๑๙๔๓) การประชุมดัมบาร์ตันโอกส์ (Dumbarton Oaks Conference ๒๑ สิงหาคม-๙ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๔) การประชุมยัลตา (Yalta Conference ๔-๑๑ กุมภาพันธ์ค.ศ. ๑๙๔๕) ในการประชุมยัลตา อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตเห็นชอบกับการแบ่งเยอรมนีและนครเบอร์ลินจากข้อตกลงเดิมซึ่งแบ่งเขตการยึดครองเป็น ๓ เขตให้เป็น ๔ เขต โดยจัดสรรดินแดนด้านตะวันตกซึ่งเป็นเขตยึดครองของอังกฤษกับสหรัฐอเมริกาให้แก่ฝรั่งเศส ๑ เขต นครเบอร์ลินก็แบ่งเป็น๔ เขตด้วย มหาอำนาจตกลงจะยึดครองเยอรมนีชั่วคราว โดยให้อยู่ภายใต้การดูแลของสภาพันธมิตรว่าด้วยการควบคุม (Allied Control Council) ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสหภาพโซเวียต ส่วนค่าปฏิกรรมสงครามนั้น สหภาพโซเวียตเรียกร้องอย่างมากทั้งในรูปของเงินสดและผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนี โดยอ้างว่าตนเป็นฝ่ายเสียหายอย่างมากจากสงครามข้อเรียกร้องดังกล่าวทำให้การประชุมตึงเครียด แต่ในที่สุดก็ตกลงกันได้โดยกำหนดให้เยอรมนีจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ และร้อยละ ๕๐จะเป็นของสหภาพโซเวียตอย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา สหภาพโซเวียตได้รับเพียงร้อยละ ๒๕ เท่านั้น
     ในการประชุมพอทสดัม (Potsdam Conference) ระหว่างวันที่ ๑๗ กรกฎาคมถึง ๒ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ประเทศฝ่ายพันธมิตรตกลงกันในเงื่อนไขที่จะถอนรากถอนโคนของลัทธินาซีลัทธิทหาร และยกเลิกการสร้างอาณาจักรธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเขตยึดครองทุกเขต ขณะเดียวกันก็มุ่งให้การศึกษาด้านประชาธิปไตยแก่ชาวเยอรมัน นอกจากนี้ มหาอำนาจตะวันตกยังยินยอมให้มีการเนรเทศชาวเยอรมันออกจากโปแลนด์ ฮังการี และเชโกสโลวะเกีย ซึ่งแม้จะระบุว่าให้ทำในลักษณะมีมนุษยธรรม แต่ปรากฏว่าชาวเยอรมันถึง ๗,๗๕๐,๐๐๐ คนกลับถูกเนรเทศด้วยวิีธการที่ป่าเถื่อนรุนแรง ข้อตกลงที่พอทสดัมยังระบุให้ดำรงสถานะเขตยึดครองไว้เป็นหน่วยที่มีเอกภาพด้านเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งในขั้นแรกมหาอำนาจแต่ละประเทศจะรวบรวมค่าปฏิกรรมสงครามจากเขตยึดครองของตนเอง แต่การตกลงเช่นนี้กลับมีผลกระทบรุนแรงยิ่งกว่าการจัดสรรค่าปฏิกรรมสงคราม เพราะย่อมหมายถึงการผูกมัดเขตยึดครองทั้ง ๔ เขตเข้ากับระบบการเมืองและเศรษฐกิจ
     





     ที่แตกต่างกัน เยอรมนีจึงกลายเป็นเวทีสำคัญของสงครามเย็น (Cold War) ในยุโรปในเวลาต่อมา
     ในการดำเนินงานด้านการเมืองและการบริหารในเขตยึดครองของแต่ละฝ่ายสหภาพโซเวียตเป็นฝ่ายเริ่มงานในเขตยึดครองตนก่อนโดยควบคุมอย่างเข้มงวด และจัดตั้งองค์กรด้านการปกครองขึ้นหลายแห่ง เมื่อประจักษ์ชัดว่าสหภาพโซเวียตมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนการปกครองในเขตยึดครองของตนเป็นระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. ๑๙๔๘ ทั้งอังกฤษและสหรัฐอเมริกาจึงเร่งรัดพัฒนาเขตยึดครองของตนโดยมุ่งสถาปนารัฐประชาธิปไตยที่มีอิสระ สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนแปลงนโยบายจากการครอบครองและบังคับไปสู่นโยบายคุ้มครอง รวมถึงการผ่อนปรนค่าปฏิกรรมสงครามเพื่อยับยั้งไม่ให้เยอรมนีเกิดความรู้สึกชาตินิยมและต้องการล้างแค้นเช่นที่เคยเกิดมาแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทั้งยังจะทำให้เยอรมนีให้ความร่วมมือมากขึ้น
     ต่อมาอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้รวมเขตยึดครองของ ๓ มหาอำนาจตะวันตกเป็นเขตเศรษฐกิจตะวันตกเดียวกัน บทบาทและท่าทีของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อยุโรปเห็นได้ชัดจากกติกาสัญญาบรัสเซลส์ (Brussels Pact) ซึ่งมีการลงนามกันเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ ซึ่งต่อมาก็พัฒนาเป็นองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (North Atlantic Treaty Organization - NATO) และเพื่อจะให้องค์การนาโตมีประสิทธิภาพที่เข้มแข็ง เยอรมนีส่วนที่อยู่ในการยึดครองของมหาอำนาจตะวันตกจะต้องมีระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่มีเอกภาพ ดังนั้น ในการประชุมของ ๖ ประเทศ (Six-Power Conference) ที่กรุงลอนดอนระหว่างวันที่๒๓ กุมภาพันธ์- ๑ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๘ สหรัฐอเมริกาอังกฤษ ฝรั่งเศส และกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ (Benelux) จึงตกลงกันว่าเขตยึดครองของประเทศตะวันตกควรจะมีโครงสร้างทางการเมืองเป็นแบบเดียวกัน และจัดตั้งขึ้นเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันโดยมีกรุงบอนน์ (Bonn) เป็นเมืองหลวง ในเวลาต่อมาสหภาพโซเวียตก็ตอบโต้ด้วยการสถาปนาเขตยึดครองของตนเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันโดยมีกรุงเบอร์ลินเป็นเมืองหลวง
     เมื่อเกิดวิกฤตการณ์การปิดกั้นเบอร์ลิน (Berlin Blockade) ระหว่าง ค.ศ.๑๙๔๘-๑๙๔๙ ซึ่งสหภาพโซเวียตมีเป้าหมายจะผนวกนครเบอร์ลินเข้ากับเขตยึดครองของตน เส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างเขตยึดครองของมหาอำนาจตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันตกถูกปิ ด มีการตัดสาธารณูปโภคและอาหารที่มีแหล่งผลิตจากเขตยึดครองของสหภาพโซเวียต ต่อมาในวันที่ ๓ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๘สตาลินเรียกร้องให้ประเทศตะวันตกรับรองว่าเบอร์ลินเป็นนครหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน หรือที่เรียกกันว่า เยอรมนีตะวันออก ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาประกาศว่าพันธมิตรตะวันตกจะไม่ละทิ้งเบอร์ลินตะวันตก ฝ่ายตะวันตกได้ปฏิบัติการทางอากาศในการลำเลียงเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับเบอร์ลินตะวันตกอย่างต่อเนื่อง การแสดงออกซึ่งพลังที่เข้มแข็งของพันธมิตรตะวันตกซึ่งในการขนส่งทางอากาศได้ปลุกจิตสำนึกแห่งความร่วมมือในเยอรมนีตะวันตก และทำให้วิกฤตการณ์การปิดกั้นเบอร์ลินต้องสิ้นสุดลงในเวลาต่อมา นอกจากนี้ การช่วยฟื้นฟูยุโรปของสหรัฐอเมริกาตามแผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๔๖เยอรมนีตะวันตกได้เงินช่วยเหลือถึง ๑,๔๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง ค.ศ.๑๙๔๘-๑๙๕๒ เศรษฐกิจของเยอรมนีตะวันตกซึ่งในขณะนั้นได้จัดตั้งเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีหรือที่เรียกกันว่า เยอรมนีตะวันตก ได้ฟื้นตัวและพัฒนาอย่างรวดเร็วมีการใช้เงินมาร์คเยอรมัน (Deutsche mark) แทนเงินไรค์มาร์ค (Reichsmark) และกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ตายตัวเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อพื้นฐานทางการเงินดังกล่าวมีส่วนสำคัญทำให้เยอรมนีตะวันตกต่อมาเป็นจักรกลในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยุโรป แม้อุตสาหกรรมของเยอรมนีจะเสียหายมาก แต่ก็ยังรักษาขีดความสามารถในการผลิตไว้ได้ถึง ๓ ใน ๔ ของผลผลิตด้านอุตสาหกรรมทั้งหมดก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพราะความขยันขันแข็งของชาวเยอรมันและความสามารถด้านวิศวกรรมและเทคนิคผนวกกับการใช้พลังงานด้านถ่านหินและการเกษตรกรรมที่ให้ผลดีในต้น ค.ศ. ๑๙๕๑ดัชนีของการผลิตอุตสาหกรรมจึงเทียบเท่าก่อนสมัยสงคราม
     ใน ค.ศ. ๑๙๔๘ เมื่อคอนราดอาเดเนาร์ (Konrad Adenauer) นายกเทศมนตรีแห่งนครโคโลญได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการเพื่อร่างรัฐธรรมนูญของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันหรือกฎหมายหลัก (Basic Law) เพื่อเป็นกรอบชั่วคราวสำหรับสร้างระเบียบใหม่ทางการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่าน รัฐสภา (ParliamentaryCouncil) ซึ่งประชุมกันที่กรุงบอนน์สามารถร่างกฎหมายหลักเสร็จภายในเวลา ๑ ปีและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๙ ซึ่งถือว่าเป็นวันสถาปนาสหพันธรัฐเยอรมัน เมื่อพรรคสหภาพคริสเตียนประชาธิปไตย (Christian DemocraticUnion - CDU) มีชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๙อาเดเนาร์ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรก เทโอดอร์ ฮอยส์ (Theodor Heuss)เป็นประธานาธิบดีคนแรก เมื่อรัฐบาลเยอรมันชุดแรกเริ่มปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมาธิการสูงสุดของฝ่ายพันธมิตร ๓ ชาติตะวันตกก็ให้การรับรองอาเดเนาร์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ค.ศ. ๑๙๔๙ แม้เยอรมนีตะวันตกจะได้รับสิทธิปกครองตนเอง แต่ก็ยังไม่มีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาสหรัฐอเมริกาจึงปรับ“บัญญัติการยึดครอง” (Occupation Statute) ให้อำนาจรัฐบาลเยอรมันในการปกครองตนเองมากขึ้นโดยเฉพาะด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ใน ค.ศ. ๑๙๕๕เยอรมนีตะวันตกก็มีอำนาจการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์
     การที่มหาอำนาจตะวันตกสนับสนุนเยอรมนีตะวันตก ทำให้สหภาพโซเวียตต้องเร่งรัดจัดตั้งรัฐบาลในดินแดนเยอรมนีตะวันออก โดยให้พรรคเอกภาพสังคมนิยมหรือพรรคเอสอีดี(Socialist Unity Party - SED) เป็นแกนนำพรรคนี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๖ด้วยการบีบบังคับพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่จัดตั้งก่อนสมัยฮิตเลอร์ให้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน อย่างไรก็ตาม มีแต่พวกคอมมิวนิสต์ที่ภักดีต่อมอสโกเท่านั้นที่ได้รับตำแหน่งสำคัญ และในการประชุมใหญ่สภาประชาชน (Peopleûs Congress) ในเวลาต่อมาพรรคเอสอีดีและพรรคแนวร่วมก็ได้ที่นั่งส่วนใหญ่ ในช่วง ค.ศ. ๑๙๔๗-๑๙๔๙ มีการประชุมใหญ่สภาประชาชน ๓ ครั้งในการประชุมครั้งสุดท้ายซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕-๑๖พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๙ เป็นการวางแผนเพื่อจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันหรือเยอรมนีตะวันออก รัฐบาลใหม่ซึ่งมีอธิปไตยเฉพาะภาคทฤษฎีได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคมค.ศ. ๑๙๔๙ วิลเฮล์มพีค (Wilhelm Pieck) ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีออทโทโกรทโวล (Otto Grotewohl) เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่วอลเทอร์ อุลบริชท์(Walter Ulbricht) เป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคเอสอีดีและรองนายกรัฐมนตรี มีเบอร์ลินตะวันออกเป็นเมืองหลวง ระบบเผด็จการของพรรคเดียวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกฎหมายเลือกตั้งซึ่งนำมาใช้เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๕๐ มีข้อบังคับให้คณะเลือกตั้งลงทะเบียนรับรองพรรคที่ครองอำนาจ การต่อต้านพรรคเอสอีดีอย่างเป็นรูปแบบจึงทำไม่ได้ พรรคยังใช้ระบบตำรวจลับและกระบวนการทางกฎหมายที่เหี้ยมโหด ในขณะที่กองกำลังของสหภาพโซเวียตเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือพรรคเอสอีดี ชาวเยอรมันตะวันออกจึงต่อต้านระบบเผด็จการด้วยการอพยพไปเยอรมนีตะวันตก ความแค้นเคืองของมวลชนทำให้มีการลุกฮือขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๕๓ ในเมืองใหญ่หลายเมืองรวมทั้งเบอร์ลินตะวันออก กองทัพสหภาพโซเวียตซึ่งประจำการอยู่ต้องใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง เมื่อเหตุการณ์สงบลง ฝ่ายรัฐบาลผ่อนปรนเรื่องค่าจ้าง การทำงาน เพิ่มการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค ถึงกระนั้นก็ตาม ชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากก็ยังหลั่งไหลเข้าสู่เยอรมนีตะวันตก
     เมื่อเกิดสงครามเกาหลีขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๕๐ สหรัฐอเมริกาหวั่นเกรงว่ายุโรปอาจถูกรุกรานจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในลักษณะเดียวกัน จึงเห็นความจำเป็นที่จะให้เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางการทหารและการเมือง ในเดือนกันยายนค.ศ. ๑๙๕๐ จอห์น เจ. แมกคลอย (John J. McCloy) ข้าหลวงใหญ่อเมริกันยื่นข้อเสนอให้เยอรมนีมีส่วนร่วมในการป้องกันยุโรปตะวันตก ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคมค.ศ. ๑๙๕๐ ฝรั่งเศส เสนอให้มีการจัดตั้งกองทัพยุโรปขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้เยอรมนีตะวันตกสร้างกองทัพได้ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส ก็ลงนามร่วมกับนายกรัฐมนตรีเยอรมนีตะวันตกในอนุสัญญาแห่งบอนน์ (Bonn Convention)ยุติการยึดครองของกองทัพพันธมิตรและวางหลักการของอธิปไตยแห่งชาติของเยอรมนีการรับรองอนุสัญญาฉบับนี้และเอกสารว่าด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆอย่างเป็นทางการที่กรุงบอนน์เมื่อวันที่ ๕พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๕๕ จึงทำให้เยอรมนีตะวันตกกลายเป็นรัฐที่มีอธิปไตยสมบูรณ์ แต่มหาอำนาจตะวันตกยังคงสงวนสิทธิ์ การจะดำเนินนโยบายต่อสหภาพโซเวียตในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเยอรมนี และการกำหนดสถานะของกรุงเบอร์ลิน มหาอำนาจตะวันตกเปลี่ยนตำแหน่งข้าหลวงใหญ่เป็นเอกอัครราชทูต ทั้งยินยอมให้เยอรมนีเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปตะวันตก(Western European Union - WEU) และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโตเมื่อวันที่ ๖พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๕๕ โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ ๑๕ รัฐบาลเยอรมนีตะวันตกก็เริ่มจัดตั้งกองกำลัง ในช่วงเวลาเดียวกันเยอรมนีตะวันออกก็เสริมกำลังอาวุธ และลงนามร่วมในกติกาสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) เมื่อวันที่ ๑๔พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๕๕ ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๕๕ สหภาพโซเวียตก็ประกาศอำนาจอธิปไตยของเยอรมนีตะวันออก
     รัฐบาลของอาเดเนาร์สามารถฟื้นฟูฐานะของเยอรมนีจนได้รับการรับรองจากนานาชาติรวมทั้งสหภาพโซเวียต นโยบายต่างประเทศนั้นยึดความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับฝรั่งเศส และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EuropeanEconomic Community - EEC) ความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศ ในขณะที่การเมืองภายในก็มีความมั่นคง แต่การแบ่งแยกเยอรมนีก็เป็นปัญหาสำคัญของนโยบายต่างประเทศของเยอรมนีตะวันตกวัลเทอร์ฮัลล์ชไตน์ (Walter Hallstein) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้วางหลักการฮัลล์ชไตน์ (Hallstein Doctrine) ว่าเยอรมนีตะวันตกไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของเยอรมนีตะวันออกและจะตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับทุกประเทศที่รับรองเยอรมนีตะวันออกยกเว้นสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. ๑๙๕๗ เยอรมนีตะวันตกก็ตัดความสัมพันธ์กับยูโกสลาเวียด้วยเหตุผลดังกล่าวอย่างไรก็ตาม เยอรมนีตะวันตกก็ขายสินค้าให้แก่เยอรมนีตะวันออก เพื่อป้องกันเขตตะวันออกจากการถูกสหภาพโซเวียตครอบงำด้านเศรษฐกิจอย่างสิ้นเชิง และเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวเยอรมันตะวันออกตลอดจนเร่งรัดให้มีการปรับปรุงสภาวะทางการเมืองของเยอรมนีตะวันออก ใน ค.ศ. ๑๙๕๘ เยอรมนีทั้ง ๒ ฝ่ายก็ลงนามในสัญญาทางการค้าระหว่างกันเป็นครั้งแรก และต่อมาก็มีการเจรจากันอีกเป็นระยะ ๆ
     อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม ค.ศ ๑๙๕๘ นีกีตา ครุชชอฟ (NikitaKhrushchev) ผู้นำสหภาพโซเวียตได้ยึ่นคำขาดให้มหาอำนาจตะวันตกทั้งหมดถอนกองกำลังออกจากเบอร์ลินตะวันตกภายในเวลา ๖ เดือน แต่เมื่อประเทศตะวันตกปฏิเสธ ครุชชอฟจึงเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาในปลาย ค.ศ. ๑๙๕๙ เพื่อหารือกันและแม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง ๒อภิมหาอำนาจจะพัฒนาขึ้น แต่ก็สร้างความวิตกให้แก่เยอรมนีตะวันตก เพราะเกรงว่าสหรัฐอเมริกาจะคำนึงถึงการรักษาสัมพันธภาพกับสหภาพโซเวียตมากกว่าเรื่องความปลอดภัยของเยอรมนีตะวันตก แม้ต่อมาจอห์น เอฟ. เคนเนดี(John F. Kennedy) จะให้คำมั่นสัญญาเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคมค.ศ. ๑๙๖๑ ถึงนโยบายสำคัญ ๓ ประการคือ การเข้าสู่กรุงเบอร์ลินได้โดยเสรีการคงกำลังของฝ่ายตะวันตกและการป้องกันรักษากรุงเบอร์ลิน แต่เมื่อมีการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๑ ปฏิกิิรยาโต้ตอบจากฝ่ายตะวันตกก็เป็นเพียงการประท้วงทางการทูตและการประณาม สหภาพโซเวียตจึงสามารถสกัดกั้นชาวเยอรมันตะวันออกไม่ให้อพยพไปสู่เยอรมนีตะวันตก ทั้งที่ก่อนหน้าที่จะมีการสร้างกำแพงเบอร์ลิน มีชาวเยอรมันตะวันออกราว ๓,๐๐๐,๐๐๐ คนสามารถหลบหนีมาเบอร์ลินตะวันตก อย่างไรก็ตาม ความไม่พอใจต่อท่าทีของสหรัฐอเมริกา ทำให้เยอรมนีตะวันตกหันมาให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพกับฝรั่งเศส มากขึ้น การประนีประนอมของทั้ง ๒ ฝ่ายทำให้มีการลงนามในสนธิสัญญาเอลิเซ(Elys”e Treaty) ในเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๖๓ ซึ่งวางพื้นฐานเพื่อความเข้าใจที่ดีระหว่างประชากรของทั้ง ๒ ประเทศและความร่วมมือกันในเรื่องต่าง ๆ ในเวลาต่อมา
     ในขณะเดียวกัน เยอรมนีตะวันตกก็พยายามปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองเยอรมนี ด้วยการออกแถลงการณ์ในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๖๙ ว่าต้องการที่จะทำข้อตกลงกับเยอรมนีตะวันออกในระดับที่ต่ำกว่าการรับรองอย่างเป็นทางการอย่างไรก็ตาม ข้อตกลงใด ๆ ระหว่างเยอรมนีทั้งสองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสหภาพโซเวียตก่อน วิลลี บรันท์ (Willy Brandt) นายกรัฐมนตรีเยอรมันจึงใช้นโยบายมุ่งตะวันออก (Ostpolitik) เร่งปรับปรุงความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต ในต้น ค.ศ. ๑๙๗๐ วิลลี บรันท์และวิลลี ชตอฟ (Willy Stoph)ผู้นำเยอรมนีตะวันออกก็พบกันเป็นครั้งแรกที่เมืองแอร์ฟูร์ท (Erfurt) เมื่อวันที่๑๙ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๗๐อีก ๕ เดือนต่อมาสนธิสัญญาระหว่างเยอรมนีตะวันตกกับสหภาพโซเวียตว่าด้วยการยกเลิกการใชักำลังอาวุธและการยอมรับสถานะที่เป็นอยู่ก็ได้รับการลงนามเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๗๐
     ถึงกระนั้นก็ตาม เยอรมนีทั้ง ๒ ฝ่ายก็ยังมีความหวาดระแวงกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเผยว่ากุนเทอร์ กีโยม (Gunther Guillaume) คนสนิทของบรันท์คือจารชนของเยอรมนีตะวันออก ทำให้บรันท์ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีความสัมพันธ์ระหว่างสองเยอรมนียิ่งตกต่ำลงเมื่อเฮลมุท ชมิดท์ (Helmut Schmidt)ซึ่งสืบทอดตำแหน่งต่อจากบรันท์เรียกร้องให้มีการปรับสมรรถนะของขีปนาวุธที่ติดตั้งในเยอรมนีตะวันตกให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อรับมือกับการที่สหรัฐอเมริกาเสนอข้อต่อรองที่ให้สหภาพโซเวียตเคลื่อนย้ายขีปนาวุธพิสัยกลาง (intermediate-rangemissiles) ในขณะที่ฝ่ายนาโตสัญญาว่าจะยุติการใช้ขีปนาวุธเพอร์ชิง ๒ (Pershing II)และขีปนาวุธนำวิถี (cruise missiles) ถึงกระนั้นก็ตาม ชมิดท์ก็พยายามรักษาสัมพันธภาพกับเยอรมนีตะวันออก แม้ว่าฝ่ายหลังจะมีนโยบายแข็งกร้าวขึ้นด้วยการเรียกร้องให้เยอรมนีตะวันตกรับรองสถานะความเป็นพลเมืองของเยอรมนีตะวันออกและการไม่ยินยอมผ่อนผันใด ๆ ในการเจรจาระหว่างผู้นำทั้ง ๒ ฝ่าย เมื่อเฮลมุท โคล(Helmut Kohl) เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๘๒ เขายึดนโยบายรักษาความมั่นคงของเยอรมนีตะวันตกและการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งความพยายามที่จะรวมยุโรปเข้าด้วยกันภายในกรอบของสวัสดิภาพและความมั่นคง แม้ว่ากลุ่มใฝ่สันติภาพจะเดินขบวนต่อต้าน แต่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๘๓ สภาผู้แทนราษฎรก็ลงมติให้มีการติดตั้งขีปนาวุธรุ่นใหม่
     แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีทั้ง ๒ ฝ่ายจะเสื่อมโทรมลงอันเป็นผลมาจากการติดตั้งขีปนาวุธ แต่การที่ชาวเยอรมันตะวันออกพยายามหาหนทางหลบหนีมาสู่เยอรมนีตะวันตกก็เป็นแรงกดดันทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจต่อผู้นำเยอรมนีตะวันออก ซึ่งพยายามที่จะโฆษณาชวนเชื่อถึงความก้าวหน้าและคุณภาพชีวิตที่ดีในเขตเยอรมนีตะวันออก นับจากต้น ค.ศ. ๑๙๘๕ เป็นต้นมา ชาวเยอรมันตะวันออกพยายามหลบหนีเข้าสู่เยอรมนีตะวันตกด้วยการขอลี้ภัยทางการเมืองในสำนักงานผู้แทนถาวรของสหพันธรัฐเยอรมันซึ่งตั้งอยู่ในเขตเบอร์ลินตะวันออก หรือในสถานทูตเยอรมนีตะวันตกที่กรุงปราก (Prague) และกรุงวอร์ซอ (Warsaw) เพื่อหาทางอพยพไปสู่เยอรมนีตะวันตกต่อไป
     ใน ค.ศ. ๑๙๘๕ เมื่อมีฮาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตและเริ่มนโยบายกลาสนอสต์-เปเรสตรอยกา (Glasnost-Perestroika) หรือนโยบายเปิด-ปรับ เพื่อปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยทุกด้านรวมทั้งปรับนโยบายต่างประเทศใหม่ที่จะร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อเสริมสร้างสันติภาพโลก เขาประกาศเป้าหมายทางการเมืองว่าจะกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้หมดสิ้นภายในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ มีการพบปะเจรจากันหลายครั้งระหว่างกอร์บาชอฟกับประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) แห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการลดกำลังอาวุธในยุโรป และความก้าวหน้าของการเจรจาลดอาวุธทำให้มีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตทั้ง ๒ ฝ่ายตกลงที่จะเคลื่อนย้ายและทำลายขีปนาวุธรัศมีทำการระหว่าง ๕๐๐-๕,๐๐๐กิโลเมตรที่ติดตั้งในยุโรป ในขณะที่เยอรมนีตะวันตกให้คำมั่นว่าจะทำลายขีปนาวุธเพอร์ชิง ๑ เอ (Pershing 1 A) จำนวน ๗๒ ลำของตน นอกจากนี้ยังมีการตกลงระหว่าง๒ รัฐเยอรมนีในความร่วมมือกันทางวัฒนธรรม การศึกษา และวิทยาศาสตร์ด้วย
     นอกจากนี้ นโยบายเปิด-ปรับของกอร์บาชอฟยังนำไปสู่การเรียกร้องเสรีภาพและการปฏิรูปทางการเมืองในประเทศยุโรปตะวันออกจนกลายเป็นการปฏิวัติค.ศ. ๑๙๘๙ (Revolution of 1989) ซึ่งทำให้พรรคคอมมิวนิสต์หมดอำนาจลงในเยอรมนีตะวันออก รัฐบาลพยายามปราบปรามและลงโทษผู้เรียกร้องในการเดินขบวนที่กรุงเบอร์ลินในต้น ค.ศ. ๑๙๘๘ ผู้สนับสนุนขบวนการสันติภาพ “Church fromthe Grass Roots”จำนวน ๑๒๐ คนถูกจับ ประชาชนจึงชุมนุมกันที่โบสถ์เกทเซมานี(Gethsemane) เพื่อสวดมนต์ให้แก่พวกเขา ต่อมามีการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพที่เมืองเดรสเดิน (Dresden) สำนักงานผู้แทนถาวรของสหพันธรัฐเยอรมันต้องปิดทำการ เพราะไม่อาจรองรับชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากมายที่หลั่งไหลเข้าไปขอลี้ภัย ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๘๙ ฮังการี เปิดพรมแดนให้ชาวเยอรมันตะวันออกผ่านประเทศเข้าสู่ออสเตรีย เพื่อไปเยอรมนีตะวันตก เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนว่ามาตรการอันเข้มงวดของกลุ่มประเทศกติกาสัญญาวอร์ซอเสื่อมโทรมลงชาวเยอรมันตะวันออกเกิดความฮึกเหิมจนมีการเดินขบวนตามท้องถนนต่าง ๆ เพื่อต่อต้านระบอบเผด็จการ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๘๙ เมื่อมีการเฉลิมฉลองครบรอบ๔๐ ปีของการสถาปนาเยอรมนีตะวันออก การเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเริ่มขึ้นที่เมืองไลพ์ซิก (Leipzig) ได้ขยายตัวไปยังเมืองอื่น ๆ และมีผลให้ผู้นำเยอรมนีตะวันออกเอริค โฮเนคเคอร์ (Eric Honecker) ต้องลาออกจากตำแหน่งประมุขของประเทศและเลขาธิการใหญ่ของพรรคเอสอีดีเมื่อวันที่ ๑๘กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๘๙ เอกอน เครนซ์ (Egon Krenz) ผู้สืบทอดอำนาจต่อให้สัญญากับประชาชนว่าจะปฏิรูปประเทศ แต่ประชาชนก็ขาดศรัทธาในรัฐบาลและเคลื่อนไหวต่อต้าน เหตุการณ์เหล่านี้บีบบังคับให้คณะรัฐมนตรีและสมาชิกโปลิตบูโร(Politburo) ต้องลาออกในเวลาต่อมา การปฏิวัติโดยสันติิวีธของประชาชนทำให้เหตุการณ์สับสน เลขาธิการพรรคเอสอีดีในเขตเบอร์ลินจึงออกคำประกาศอย่างคลุมเครือว่าจะมีการผ่อนปรนข้อจำกัดในการเดินทาง คำประกาศนี้เป็นเหตุให้มีการเปิดพรมแดนสู่เบอร์ลินตะวันตกในตอนเย็นของวันที่ ๙ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๘๙ท่ามกลางความปี ติยินดีของฝูงชน ซึ่งในที่สุดกำแพงเบอร์ลินก็เริ่มถูกพังทลายลง
     ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ค.ศ. ๑๙๙๐ ชาวเยอรมันประมาณ ๑๕๐,๐๐๐คนชุมนุมกันเดินขบวนที่เมืองไลพ์ซิกเพื่อเรียกร้องให้มีการรวมเยอรมนีทั้ง ๒ ฝ่ายเข้าด้วยกัน การที่ประชาชนไม่เชื่อถือรัฐบาลใหม่ของฮันส์ มาโดรว์ (Hans Madrow)ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้น ทำให้สถานะของเยอรมนีตะวันออกเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว แต่ถึงกระนั้นทั้งกอร์บาชอฟและผู้นำโลกตะวันตกต่างเกรงว่าการรวมประเทศของเยอรมนีจะกระทบต่อดุลอำนาจในยุโรป อย่างไรก็ตาม ในที่สุดกระบวนการรวมประเทศก็สามารถดำเนินต่อไปได้เมื่อรัฐบาลเยอรมันตะวันตกให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแนวพรมแดน และเมื่อมีการรวมประเทศโครงสร้างของนาโตจะไม่ขยายขอบเขตไปถึงดินแดนของเยอรมนีตะวันออก ในขณะเดียวกันเยอรมนีก็จะลดกำลังกองทัพลงเพื่อทดแทนกับความได้ เปรียบด้านยุทธศาสตร์ประธานาธิบดีจอร์จ บุช (George Bush) แห่งสหรัฐอเมริกาก็สนับสนุนการรวมเยอรมันโดยมีเงื่อนไขว่าเยอรมนีจะยังคงเป็นสมาชิกของนาโต
     ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ เยอรมนีตะวันออกก็มีการเลือกตั้งเสรีครั้งแรกในรอบ ๔๐ปี โลทาร์ เดอ เมซีแยร์ (Lothar de Maiziere) ได้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยพรรคการเมืองสำคัญที่มีรากฐานจากเยอรมนีตะวันตกได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม รัฐบาลเยอรมนีทั้ง ๒ ฝ่ายได้กำหนดตารางเวลาสำหรับการรวมประเทศด้านการเงิน เศรษฐกิจ และสังคมโดยเริ่มจากวันที่ ๑ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ รัฐสภาของเยอรมนีตะวันออกก็ลงคะแนนเสียงสนับสนุนการรวมประเทศ และเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ ผู้แทนของรัฐบาลทั้ง ๒ ฝ่ายก็ร่วมลงนามในสนธิสัญญาการรวมประเทศ (Unification Treaty)
     การรวมเยอรมนีสำเร็จได้ด้วยการเจรจาระหว่างนายกรัฐมนตรีโคลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฮันส์-ดีทริช เกนเชอร์ (Hans-DietrichGenscher) ของฝ่ายเยอรมันกับกอร์บาชอฟที่กรุงมอสโกและในรัฐคอเคซัส(Caucasus) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันจะยกเลิกขีปนาวุธทำลายขีปนาวุธ (Anti-Ballistic Missile - ABM) และลดกำลังทหารเหลือเพียง ๓๗๐,๐๐๐ คน นาโตจะไม่ขยายขอบเขตกำลังกองทัพเข้าไปในดินแดนเยอรมันตะวันออกตราบเท่าที่กำลังทัพของสหภาพโซเวียตยังประจำการอยู่อย่างไรก็ตาม กองทัพโซเวียตจะถอนตัวออกจากดินแดนเยอรมันตะวันออกเมื่อสิ้น ค.ศ. ๑๙๙๔ “สนธิสัญญาสองบวกสี่”(Two-plus-Four Treaty)ตามกรอบของความตกลงที่ ๔ ประเทศมหาอำนาจคือสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาอังกฤษ และฝรั่งเศส รวมทั้งตัวแทนของเยอรมนีทั้ง ๒ ฝ่าย ซึ่งลงนามกันในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๙๐ รับรองการรวมประเทศเยอรมนีซึ่งประกอบด้วยดินแดนของอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและเบอร์ลิน และกำหนดพรมแดนเยอรมนีที่แน่นอน ในขณะเดียวกันเยอรมนีและโปแลนด์ ต่างแยกทำสนธิสัญญา โดยทั้ง ๒ ฝ่ายตกลงจะเคารพบูรณภาพและอธิปไตยของกันและกันการให้สัตยาบันสนธิสัญญาการรวมประเทศและสนธิสัญญาสองบวกสี่แสดงถึงการยุติิสทธิและความรับผิดชอบของ ๔ ประเทศมหาอำนาจด้วยการยอมรับอธิปไตยที่สมบูรณ์ของเยอรมนี ดังนั้นเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันก็รวมกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตราที่ ๒๓ ของกฎหมายหลัก โดยมีกรุงเบอร์ลินเป็นนครหลวงและหลังจากการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความที่เหมาะสมแล้ว กฎหมายหลักก็กลายเป็นรัฐธรรมนูญของเยอรมนีในที่สุดเยอรมนีก็กลับมาเป็นประเทศที่มีเอกราชและบูรณภาพที่แท้จริงของตนอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่สูญเสียไปถึง ๔๕ ปี ใน ค.ศ. ๑๙๙๙ รัฐบาลจัดการเฉลิมฉลองการครบรอบ ๕๐ ปีของการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีด้วยการย้ายที่ทำการรัฐบาลไปยังกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม รวมทั้งย้ายรัฐสภาไปสู่อาคารสภาไรค์ชตากเดิมที่ได้รับการบูรณะแล้วที่กรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ ๗กันยายน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สมบูรณ์ของการรวมเยอรมันเป็นหนึ่งเดียวในที่สุด
     แม้ว่าการรวมประเทศจะทำให้เยอรมนีสามารถกู้ฐานะและเกียรติภูมิของประเทศ ตลอดจนขจัดปัญหาการแบ่งแยกดินแดนเยอรมัน แต่รัฐบาลเยอรมันก็ต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อฟื้นฟูบูรณะอดีตเยอรมนีตะวันออก จนถึงปลาย ค.ศ. ๑๙๙๗ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นเงินรวมแล้ว ๑ ล้านล้านมาร์คเยอรมันซึ่งเป็นภาระหนักยิ่ง โดยเฉพาะการเร่งพัฒนาโครงสร้างทันสมัยทั้งหลาย เช่นเครือข่ายการคมนาคม การขนส่ง และการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนการเสริมสร้างภาคเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ รัฐบาลต้องลดงบประมาณด้านอื่น ๆ ลงเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในโครงการเหล่านี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีก็ได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างรุนแรงและส่งผลต่อภาวะว่างงานซึ่งเพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์นับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งรัดพัฒนาอย่างเต็มที่ ชาวเยอรมันตะวันออกก็ยังรู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกันในด้านโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมเท่ากับชาวเยอรมันตะวันตก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลเยอรมันกำลังพยายามแก้ไข
     เยอรมนีในฐานะที่เป็นหนึ่งของประเทศผู้นำของสหภาพยุโรปหรืออียู(European Union - EU) มีบทบาทสำคัญในการทำให้ยุโรปมีการรวมตัวกันที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจและการเงินทำให้เยอรมนีมีบทบาทเด่นในการช่วยเหลือพัฒนาอดีตประเทศยุโรปตะวันออกและรัสเซีย เยอรมนีไม่เพียงเป็นชาติที่ให้เงินทุนช่วยเหลือพัฒนายุโรปตะวันออกและมีปริมาณการลงทุนสูงที่สุดในรัสเซีย แต่ยังเป็นแกนสำคัญในการสนับสนุนประเทศในยุโรปตะวันออกให้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปด้วย ปัญหาวิกฤตการณ์ดินแดนคอซอวอ (Kosovo) ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๙๙ ทำให้เยอรมนีมีโอกาสแสดงบทบาทด้านการทหารอย่างเด่นชัดขึ้นอีกครั้ง โดยกองทัพเยอรมันได้เข้าไปประจำการในยุโรปตะวันออกอีกครั้งในฐานะกองกำลังรักษาสันติภาพ ในต้นทศวรรษ ๒๐๐๐ เยอรมนียังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการขยายจำนวนสมาชิกของสหภาพยุโรปเพื่อเปิดรับ ๑๐ ประเทศยุโรปตะวันออกให้เข้าเป็นสมาชิกได้สำเร็จใน ค.ศ. ๒๐๐๔.
     


     

ชื่อทางการ
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(Federal Republic of Germany)
เมืองหลวง
เบอร์ลิน (Berlin)
เมืองสำคัญ
ฮัมบูร์ก (Hamburg) มิวนิก (Munich) โคโลญ (Cologne) ฟรังค์ฟูร์ท (Frankfurt) เอสเซิน (Essen)ดอร์ทมุนด์ (Dortmund) ชตุทท์การ์ด (Stuttgart)ดึสเซลดอร์ฟ (Düsseldorf) และ ฮันโนเวอร์ (Hannover)
ระบอบการปกครอง
สหพันธ์สาธารณรัฐ
ประมุขของประเทศ
ประธานาธิบดี
เนื้อที่
๓๕๗,๐๒๑ ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ : ประเทศเดนมาร์ก ทิศตะวันออก : สาธารณรัฐเช็ก และประเทศโปแลนด์ทิศใต้ : ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศออสเตรียทิศตะวันตก : ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศส
จำนวนประชากร
๘๒,๔๐๐,๙๙๖ คน (ค.ศ. ๒๐๐๗)
เชื้อชาติของประชากร
เยอรมันร้อยละ ๙๑.๕ และอื่น ๆ ร้อยละ ๘.๕
ภาษา
เยอรมัน
ศาสนา
คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ร้อยละ ๓๔ คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ ๓๔อิสลามร้อยละ ๓.๗อื่น ๆ และไม่ระบุร้อยละ ๒๘.๓
เงินตรา
ยูโร
มัลติมีเดียประกอบ
-
ผู้เขียนคำอธิบาย
สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์ และ อนันต์ชัย เลาหะพันธุ
แหล่งอ้างอิง
สารานุกรมทวีปยุโรป