สาธารณรัฐเช็กตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรปและเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ได้ชื่อว่ามีพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ยึนยาวมากที่สุดในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ทั้งเป็นประเทศเดียวในยุโรปที่พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แม้จะตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์เป็นเวลากว่า ๔๒ ปี (ค.ศ. ๑๙๔๘-๑๙๙๑) แต่หลังการปฏิวัติในประเทศยุโรปตะวันออก ค.ศ. ๑๙๘๙ เช็กก็พัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นประเทศประชาธิปไตยได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงมากกว่าประเทศยุโรปตะวันออกอื่น ๆ
สาธารณรัฐเช็กแต่เดิมเป็นแหล่งที่อยู่ของอนารยชนเยอรมันและชนเผ่าสลาฟต่าง ๆ ใน ค.ศ. ๖๒๖ ชนเผ่าเช็กและโมเรเวีย (Moravia) รวมเข้าด้วยกันและจัดตั้งเป็นดินแดนอิสระ แต่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๙ ก็ตกอยู่ใต้อำนาจปกครองของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ (Charlemagne) แห่งราชวงศ์คาโรลินเจียน (Carolingian)ต่อมา เมื่อจักรวรรดิคาโรลินเจียนถูกแบ่งเป็น ๓ ส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง (Treatyof Verdun) ใน ค.ศ. ๘๔๓ พวกเช็กซึ่งมีขุนนางตระกูลเปรมิสลิด (Premyslid)เป็นผู้นำก็แยกตัวเป็นอิสระและสามารถขยายอำนาจไปยังดินแดนใกล้เคียงจนจัดตั้งเป็นจักรวรรดิโมเรเวียอันยิ่งใหญ่ (Great Moravian Empire) ขึ้นได้ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๙ ซึ่งประกอบด้วยดินแดนโบฮีเมีย (Bohemia) ไซลีเซีย (Silesia)โมเรเวีย และสโลวาเกีย (Slovakia) อย่างไรก็ตาม สงครามกับพวกเยอรมันทางตอนเหนือและการรุกรานครั้งใหญ่ของพวกแมกยาร์ (Magyar) ใน ค.ศ. ๙๐๖ ทำให้จักรวรรดิโมเรเวียอันยิ่งใหญ่แตกสลาย พวกแมกยาร์หรือฮังการี ได้ครอบครองสโลวาเกียซึ่งมีผลให้ดินแดนเช็ก (โบฮีเมียและโมเรเวียทางตะวันตกซึ่งเรียกว่าราชอาณาจักรโบฮีเมีย) แยกออกจากสโลวาเกีย พวกเช็กและสโลวัก จึงแยกกันอยู่อย่างอิสระเป็นเวลาเกือบ ๑,๐๐๐ ปีจนถึง ค.ศ. ๑๙๑๘ จึงสามารถรวมเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง
แม้พวกเช็กจะสูญเสียสโลวาเกียให้แก่ฮังการี แต่ผู้ปกครองราชวงศ์เปรมิส-ลิดโดยเฉพาะพระเจ้าออตโตคาร์ที่ ๒ (Ottokar II ค.ศ. ๑๒๕๓-๑๒๗๘) และพระเจ้าเวนเซสลัสที่ ๒ (Wenceslas II ค.ศ. ๑๒๗๘-๑๓๐๕) พระราชโอรสก็สามารถสร้างราชอาณาจักรโบฮีเมียให้แข็งแกร่งและมีอำนาจเป็นที่ยอมรับในหมู่เจ้าเยอรมันแห่งราชอาณาจักรต่าง ๆ ใน ค.ศ. ๑๓๐๖ ราชวงศ์เปรมิสลิดซึ่งปกครองโบฮีเมียกว่า ๔๐๐ ปีก็ิส้นสายลงเมื่อพระเจ้าเวนเซสลัสที่ ๓ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายทรงถูกลอบปลงพระชนม์ในระหว่างเสด็จประพาสโปแลนด์ เกิดความข้ดแย้งทางการเมืองภายในและการแย่งชิงอำนาจ ในเวลาต่อมาพวกขุนนางจึงเลือกจอห์นแห่งลักเซมเบิร์ก (John of Luxemburg) โอรสของพระเจ้าเฮนรีที่ ๗ (Henry VIIค.ศ. ๑๓๐๘-๑๓๑๓) ซึ่งมีอิสริยยศเป็นกษัตริย์แห่งชาวโรมัน (King of the Romans)ขึ้นครองราชย์ ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก ปกครองราชอาณาจักรโบฮีเมียจนถึง ค.ศ. ๑๔๓๗กษัตริย์องค์สำคัญคือพระเจ้าชาลส์ที่ ๑ (Charles I) ซึ่งต่อมาได้รับเลือกเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) ทรงพระนามว่าจักรพรรดิชาลส์ที่ ๔ (Charles IV ค.ศ. ๑๓๔๖-๑๓๗๘) ได้ทรงทำให้กรุงปราก(Prague) กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิ และเป็นศูนย์แห่งอำนาจความเจริญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในยุโรปกลางตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔
นโยบายการเมืองที่เด่นของจักรพรรดิชาลส์ที่ ๔ คือการออกพระราชโองการสารตราทอง (Golden Bull) ใน ค.ศ. ๑๓๕๖ เพื่อกำหนดระเบียบการเลือกตั้งจักรพรรดิและสิทธิของขุนนางผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ใน ค.ศ. ๑๓๖๔ จักรพรรดิชาลส์ที่ ๔ยังทรงทำข้อตกลงกับราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Habsburg) ที่เรียกว่า กติกาสัญญาบรึนน์(Pact of Brünn) สาระสำคัญคือหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปราศจากรัชทายาทที่เป็นชายดินแดนทั้งหมดของราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก และฮับส์บูร์กจะตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งโดยปริยาย ผลกระทบในเวลาต่อมาคือเมื่อจักรพรรดิซิกิสมุนด์ (Sigismundค.ศ. ๑๔๑๐-๑๔๓๗) แห่งราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก สิ้นพระชนม์โดยปราศจากราชโอรสใน ค.ศ. ๑๔๓๗ ดินแดนของราชอาณาจักรโบฮีเมียทั้งหมดจึงตกเป็นของพระเจ้าอัลเบิร์ตที่ ๕ (Albert V ค.ศ. ๑๔๓๘-๑๔๔๐) แห่งออสเตรีย ตามกติกาสัญญาบรึนน์
ใน ค.ศ. ๑๓๔๘ จักรพรรดิชาลส์ที่ ๔ ได้ทรงจัดตั้งมหาวิทยาลัยชาลส์ขึ้นและนับเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่มีขึ้นในยุโรปกลาง และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในดินแดนยุโรปตะวันออก นอกจากนี้ ยังโปรดให้ก่อสร้างพระราชวังและตึกรามบ้านเรือนตามแบบสถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic) ซึ่งทำให้กรุงปรากปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นมหานครเก่าแก่ที่งดงามมากแห่งหนึ่งของยุโรป รัชสมัยของจักรพรรดิชาลส์ที่ ๔จึงนับเป็นยุคทองของเช็ก และพระองค์ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งราชอาณาจักร
หลังจากจักรพรรดิชาลส์ที่ ๔ สิ้นพระชนม์แล้ว ราชอาณาจักรโบฮีเมียก็เริ่มเสื่อมลงเพราะปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในระหว่างขุนนาง ชุมชนเมืองกับสถาบันกษัตริย์ และโดยเฉพาะการเกิดขบวนการปฏิรูปศาสนาซึ่งมีจอห์น ฮูสส์(John Huss) เป็นผู้นำ ระหว่าง ค.ศ. ๑๔๓๗-๑๔๗๑ ชาวเช็กและขุนนางในโบฮีเมียซึ่งสนับสนุนขบวนการฮัสไซต์ผนึกกำลังกันขับไล่ชาวเยอรมันและกลุ่มชนหมู่น้อยอื่น ๆ ออกจากราชอาณาจักรและยึดอำนาจการปกครองเมืองต่าง ๆ ให้เป็นของชาวเช็ก รวมทั้งให้ใช้ภาษาเช็กเป็นภาษาราชการ แม้ความขัดแย้งทางศาสนาดังกล่าวจะทำให้ชาวเช็กเกิดสำนึกในความเป็นชาติ แต่ราชอาณาจักรโบฮีเมียก็มีฐานะอ่อนแอลง จนเปิ ดโอกาสให้ราชวงศ์ยักเยลลอน (Jagiellon) ของโปแลนด์ เข้าปกครองระหว่าง ค.ศ. ๑๔๗๑-๑๕๒๖ และต่อมาระหว่าง ค.ศ. ๑๕๒๖-๑๙๑๔ก็ตกอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์กแห่งจักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Em-pire)
ในปลายทศวรรษ ๑๖๐๐ พวกเช็กเคลื่อนไหวต่อต้านราชวงศ์ฮับส์บูร์กแต่ก็ถูกปราบปรามอย่างราบคาบในยุทธการที่ไวต์เมาน์เทน (Battle of WhiteMountain) เมื่อวันที่ ๘พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๖๒๐ การต่อต้านของพวกเช็กได้มีส่วนจุดชนวนของสงครามสามสิบปี (Thirty Yearsû War) ในยุโรประหว่าง ค.ศ. ๑๖๑๘-๑๖๔๘ และทำให้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กปกครองพวกเช็กอย่างเข้มงวด มีการออกกฎหมายประกาศให้ราชอาณาจักรโบฮีเมียเป็นดินแดนมรดกตกทอดของทายาทราชวงศ์ฮับส์บูร์กไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือสตรีเพศ พวกเช็กต้องยอมรับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติยกเลิกภาษาเช็กเป็นภาษาราชการและให้ใช้ภาษาเยอรมันแทน แม้ว่าในรัชสมัยของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา (MariaTheresa ค.ศ. ๑๗๔๐-๑๗๘๐)พระองค์ได้ทรงปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ และทรงออกกฎหมายให้ใช้หลักขันติธรรมทางศาสนา แต่กฎหมายหลายฉบับก็มีส่วนช่วยเพิ่มอำนาจของรัฐบาลกลางให้อยู่เหนือรัฐบาลท้องถิ่น อำนาจการปกครองตนเองของอาณาจักรโบฮีเมียจึงถูกล้มเลิก และต้องตกอยู่ใต้การควบคุมดู แลของรัฐบาลกลางที่กรุงเวียนนา แม้พวกเช็กจะสูญเสียสิทธิการปกครองตนเอง แต่ในกิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม พวกเช็กยังคงมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกอย่างอิสระ การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ปราศจากเนื้อหาทางการเมืองยังคงใช้ภาษาเช็กได้ ปัญญาชนชาวเช็กจึงใช้งานด้านศิลปะและวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือปลุกเร้าความรักชาติและกระตุ้นจิตสำนึกทางการเมืองในหมู่ประชาชนเพื่อรอคอยเวลาที่จะล้มล้างอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ยอเซฟ ดอบรอฟสกี(Josef Dobrovsky) และยอเซฟ ยุงมันน์ (Josef Jungmann) นักเขียนและนักภาษาศาสตร์เป็นผู้นำคนสำคัญของขบวนการทางวัฒนธรรมเช็ก นอกจากนี้พวกเช็กยังสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพวกสโลวัก มีการใช้ภาษาสโลวัก และเช็กในงานวรรณกรรมและมีการเผยแพร่แลกเปลี่ยนงานเขียนระหว่างกัน ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมดังกล่าวจึงเป็นการวางรากฐานของความร่วมมือทางการเมืองระหว่างพวกเช็กกับพวกสโลวัก ในเวลาต่อมาด้วย
ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อเกิดการปฏิวัติค.ศ. ๑๘๔๘ (Revolutionsof 1848) ขึ้นทั่วยุโรปซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๘๔๘
ปัญญาชนชาวเช็กซึ่งมีฟรานชิเชก ปาแลตซ์กี (Frantisek Palacky') นักคิดและนักเขียนเรืองนามเป็นผู้นำได้ร่วมกับชาวเยอรมันเห็นเป็นโอกาสเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องสิทธิการปกครองตนเอง มีการจัดประชุมใหญ่ของพวกสลาฟขึ้นที่กรุงปรากในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๘๔๘ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญและกำหนดแนวนโยบายการปกครอง แต่ปัญหาความขัดแย้งทางความคิดด้านวัตถุประสงค์และแนวทางการต่อสู้ระหว่างพวกเช็ก เยอรมัน และสโลวัก ทำให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองไร้ทิศทางและขาดพลัง ทั้งประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่สนับสนุน เปิดโอกาสให้กองทหารออสเตรีย บุกเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง พวกเช็กต้องตกอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิออสเตรีย อย่างเข้มงวดอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เมื่อจักรวรรดิออสเตรีย ปราชัยต่อปรัสเซีย ในสงครามเจ็ดสัปดาห์ (Seven Weeksû War) ใน ค.ศ. ๑๘๖๖ และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจักรวรรดิออสเตรีย -ฮังการี เป็นระบอบราชาธิปไตยคู่ (Dual Monarchy)จักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟที่ ๑ (Francis Joseph I) ทรงพยายามใช้นโยบายประนีประนอมทางการเมืองกับชนเชื้อชาติือ่น ๆ ภายในจักรวรรดิเพื่อป้องกันมิให้ชนกลุ่มน้อยปลีกตัวเป็นอิสระ แต่พวกเช็กได้ใช้ระบบรัฐสภาเป็นเวทีเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างสันติเพื่อเรียกร้องสิทธิการปกครองตนเอง โดยให้ราชอาณาจักรโบฮีเมียมีสถานภาพและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับฮังการี แต่การเคลื่อนไหวทางการเมืองดังกล่าวล้มเหลวเนื่องจากจักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟที่ ๑ ไม่ทรงเห็นชอบและผู้แทนชาวเยอรมันและฮังการี ในรัฐสภาก็ต่อต้าน
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ค.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๑๕ แม้พวกเช็กและสโลวัก จะร่วมกันต่อต้านฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) แต่ก็ขัดแย้งกันด้านแนวนโยบายการสู้รบทั้งมักถูกพวกเยอรมันในโบฮีเมียคอยขัดขวางการเคลื่อนไหวต่อสู้กองพลเชโกสโลวัก (Czecko-Slovaks Army Corps) มีบทบาทสำคัญในการรบในไซบีเรีย และต่อมาขัดแย้งกับกองกำลังท้องถิ่นของโซเวียตซึ่งมีผลให้กองพลเชโกสโลวัก ถอนตัวจากการรบในสงครามกลางเมืองรัสเซีย (Russian Civil War ค.ศ. ๑๙๑๘ -๑๙๒๑) และมีส่วนทำให้กองทัพฝ่ายโซเวียตเริ่มปราชัย ในขณะเดียวกัน ทอมาช การ์ิรก
มาซาริก (Tomáˇs Garrigue Masaryk) และเอดุอาร์ด เบเนช (Eduard Bene)ผู้นำชาวเช็กก็ีล้ภัยออกนอกประเทศและร่วมมือกับมิลัน สเตฟานิก (Milan Stefanik)ผู้นำชาวสโลวัก จัดตั้งขบวนการเพื่อเรียกร้องเอกราชขึ้นที่กรุงลอนดอน มาซาริกรณรงค์ให้ชาวเช็กและสโลวัก ทั้งในและนอกประเทศผนึกกำลังกันทางการเมือง และให้สนับสนุนสภาแห่งชาติเชโกสโลวัก (Czechoslovak National Council) ซึ่งเป็นองค์การทางการเมืองในการต่อสู้เพื่อเอกราช ประเทศพันธมิตรตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาซึ่งประกาศจะช่วยปลดปล่อยพวกเช็ก-สโลวัก ให้เป็นอิสระต่างสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองดังกล่าวอย่างมาก ต่อมา มาซาริกและเบเนชได้ออกคำประกาศเอกราชแยกตัวออกจากอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บูร์กเมื่อวันที่ ๑๔ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๘ และอีก ๑๔ วันต่อมา ก็ประกาศจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้นเพื่อปกครองประเทศในระบอบสาธารณรัฐ มีการจัดตั้งสภาแห่งชาติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญซึ่งยึดรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ ๓ เป็นแม่แบบและประกาศใช้เมื่อวันที่๒๐ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๒๐ โดยเรียกชื่อประเทศว่า เชโกสโลวะเกีย ทอมาช มาซาริกได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศโดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๗ ปี
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เชโกสโลวะเกียซึ่งได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าเป็นชาติเอกราชได้ทำสนธิสัญญาพันธมิตรกับประเทศโรมาเนีย ยูโกสลาเวียและฝรั่งเศส เพื่อร่วมกันสกัดกั้นการแผ่ขยายอำนาจของเยอรมนี แต่สนธิสัญญาพันธมิตรดังกล่าวก็ไม่สามารถปกป้องเชโกสโลวะเกียได้ ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๓๕อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำพรรคนาซีในเยอรมนี ได้สนับสนุนให้ชาวเยอรมันประมาณ ๓ ล้านคนในซูเดเทนลันด์ (Sudetenland) ซึ่งเป็นดินแดนทางตอนเหนือของเชโกสโลวะเกียก่อการเคลื่อนไหวเพื่อรวมเข้ากับเยอรมนี ดังนั้นอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี จึงได้ใช้นโยบายเอาใจอักษะประเทศ (Appeasement Policy) เพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดสงครามในยุโรปด้วยการทำความตกลงมิวนิก (Munich Agreement) โดยไม่ปรึกษาเชโกสโลวะเกียในปลายเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๓๘ เชโกสโลวะเกียจำต้องยินยอมให้เยอรมนี ได้ครอบครองซู เดเทนลันด์ภายในวันที่ ๑๐ ตุลาคม และมีเงื่อนไขว่าเยอรมนี จะต้องไม่รุกรานดินแดนส่วนที่เหลือของเชโกสโลวะเกีย ในระยะเวลาเดียวกันโปแลนด์ และฮังการี ก็ฉวยโอกาสเข้ายึดแคว้นเทเชน (Teschen) และดินแดนทางตอนใต้ของเชโกสโลวะเกียตามลำดับ ต่อมา ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๓๙ ฮิตเลอร์ก็ละเมิดความตกลงมิวนิกด้วยการส่งทหารเข้ายึดครองโบฮีเมียและโมเรเวียซึ่งเป็นดินแดนส่วนที่เหลือของเชโกสโลวะเกีย ในช่วงที่เยอรมนี ยึดครองเชโกสโลวะเกียนั้นฮิตเลอร์ยอมให้สโลวาเกียกลับเป็นอิสระอีกครั้ง (ค.ศ. ๑๙๓๙-๑๙๔๕) เนื่องจากรัฐบาลสโลวาเกียสนับสนุนฝ่ายอักษะ
หลังความปราชัยของเยอรมนี ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ เชโกสโลวะเกียได้ดินแดนซึ่งมีเขตแดนเท่ากับสมัยก่อนความตกลงมิวนิก ค.ศ. ๑๙๓๘ กลับคืนแต่ต้องยกรูทีเนีย (Ruthenia) ซึ่งเป็นดินแดนทางภาคตะวันออกให้กับสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. ๑๙๔๕ ในการเลือกตั้งหลังสงครามครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖พฤษภาคมค.ศ. ๑๙๔๖ พรรคคอมมิวนิสต์ได้คะแนนเสียงถึงร้อยละ ๓๘ ซึ่งนับว่ามีคะแนนมากที่สุดในจำนวนพรรคการเมืองอื่น ๆ เคลเมนต์ กอตต์วาลด์ (Klement Gottwald)ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จึงได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของคณะรัฐบาลผสมที่จัดตั้งขึ้น กอตต์วาลด์บริหารประเทศโดยมีนโยบายสนับสนุนสหภาพโซเวียตเขารับคำสั่งจากโจเซฟ วิสซารีโอโนวิช สตาลิน (Joseph Vissarionovich Stalin)ผู้นำสหภาพโซเวียตด้วยการยกเลิกการเข้าร่วมโครงการความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาตามแผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) เพื่อช่วยฟื้นฟูยุโรป และพยายามรวบอำนาจด้วยการปลดบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลพร้อมกับแต่งตั้งสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เข้าดำรงตำแหน่งแทน รัฐมนตรี ๑๑ คนซึ่งมาจาก ๓พรรคการเมืองจึงประท้วงด้วยการลาออกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๔๘ สื่อมวลชนได้ิวจารณ์และโจมตีบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง แต่กอตต์วาลต์ก็ไม่ใส่ใจและจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่โดยไม่มีฝ่ายตรงข้ามร่วมอยู่ด้วย ในช่วงก่อนการเลือกตั้งเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๘ ฝ่ายตรงข้ามกับพรรคคอมมิวนิสต์ก็เริ่มถูกกวาดล้าง ผลการเลือกตั้งจึงปรากฏว่าพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยชนะอย่างเด็ดขาดมีการประกาศใช้รัฐธรรมนู ญฉบับใหม่เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเชโกสโลวะเกีย (Peopleûs Democratic Republic ofCzechoslovakia) ประธานาธิบดีเบเนชต่อต้านด้วยการไม่ยอมลงนามในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และยื่นใบลาออก กอตต์วาลด์จึงเข้ารับตำแหน่งจนถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. ๑๙๕๓ การก้าวสู่อำนาจของกอตด์วาลต์นับเป็นการสิ้นสุดของระบอบประชาธิปไตยในเชโกสโลวะเกีย หลังจากนั้นเชโกสโลวะเกียก็เริ่มต้นการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เช่นเดียวกับประเทศยุโรปตะวันออกอื่น ๆและตกเป็นประเทศรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต (Soviet Bloc) เป็นสมาชิกขององค์การโคเมคอน (Comecon) ซึ่งเป็นองค์การร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ และองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ(Warsaw Treaty Organization - WTO) ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือทางทหารระหว่างสหภาพโซเวียตกับรัฐบริวารโซเวียต เพื่อคานอำนาจองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (North Atlantic Treaty Organization - NATO) ของประเทศตะวันตก
รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ปกครองประเทศอย่างเข้มงวดและดำเนินนโยบายตามแนวทางของสหภาพโซเวียตอย่างเคร่งครัด ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๕๒รัฐบาลกวาดล้างประชาชนและฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรงด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในพรรคคอมมิวนิสต์ และเพื่อกำจัดผู้มีความคิดเห็นแตกต่างไปจากแนวนโยบายของพรรคทั้งเพิ่มมาตรการเข้มงวดในการควบคุมประชาชนใน ค.ศ. ๑๙๕๖ เชโกสโลวะเกียสนับสนุนสหภาพโซเวียตในการส่งกองทัพเข้าปราบปรามการลุกฮือของชาวฮังการี (Hungarian Uprising) ต่อมา มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๖๐ เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวะเกีย (Czechoslovakia SocialistRepublic) ประธานาธิบดีอันโตนิน นอวอตนี (Antonin Novotny) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้จงรักภักดีต่อสตาลินและปกครองประเทศระหว่าง ค.ศ. ๑๙๕๗-๑๙๖๘ประกาศว่าเชโกสโลวะเกียเป็นประเทศสังคมนิยมประเทศแรกในยุโรปตะวันออกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศบนเส้นทางสังคมนิยมและกำลังเริ่มยุคใหม่แห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ใน ค.ศ. ๑๙๖๕ รัฐบาลปรับนโยบายเศรษฐกิจให้ยึดหยุ่นมากขึ้นเพื่อยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้ดีขึ้นและเพื่อหยุดยั้งกระแสการต่อต้านการควบคุมเศรษฐกิจจากส่วนกลาง แต่ก็ประสบความล้มเหลว
อย่างไรก็ตาม การปกครองประเทศอย่างเข้มงวดและความล้าหลังของนโยบายทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการสอดส่องควบคุมความเคลื่อนไหวของประชาชนและอื่น ๆ ทำให้ปัญญาชนและนักเขียนเริ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพและเรียกร้องให้มีการปฏิรูป ในต้นทศวรรษ ๑๙๖๐ การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยในสังคมมีขึ้นไม่ขาดระยะ แม้รัฐบาลจะปราบปรามอย่างรุนแรงแต่ก็ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชนได้อย่างเด็ดขาด ใน ค.ศ. ๑๙๖๘พรรคคอมมิวนิสต์จึงแต่งตั้งอะเล็กซานเดอร์ดูบเชก
(Alexander Dubcek) คอมมิวนิสต์นักปฏิรูปแนวทางประชาธิปไตยชาวสโลวัก ขึ้นบริหารประเทศแทนนอวอตนี ดูบเชกดำเนินการปฏิรูปประเทศทั้งทางการเมืองเศรษฐกิจ และให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น การปฏิรูปประเทศดังกล่าวซึ่งดำเนินไปได้เกือบ ๘ เดือน เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “ฤดูใบไม้ผลิแห่งปราก” (PragueSpring)
แม้ดูบเชกจะปฏิรูปประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไปและพยายามย้ำว่านโยบายปฏิรูปของเขาไม่ได้มีจุดมุ่งหมายจะทำลายระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แต่เป็นเพียงเพื่อปรับระบอบสังคมนิยมให้มีมนุษยธรรมมากขึ้น (Socialism with a humanface) แต่บรรยากาศเสรีในเชโกสโลวะเกียก็ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิเสรีภาพในประเทศยุโรปตะวันออกอื่น ๆ โดยเฉพาะในโปแลนด์ และเยอรมนี ตะวันออกสหภาพโซเวียตจึงส่งกองทัพขององค์การสนธิสัญญาวอร์ซอบุกเข้าปราบปราม
เชโกสโลวะเกียเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๘ และนำตัวดูบเชกและผู้นำคนสำคัญของเชโกสโลวะเกียหลายคนไปยังกรุงมอสโกเพื่อข่มขู่และบังคับให้ยุติกระบวนการปฏิรูปดูบเชกจึงจำต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของสหภาพโซเวียตและต้องลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตเพื่อให้กองทหารสหภาพโซเวียตตั้งมั่นในประเทศเป็นการชั่วคราวจนกว่าเหตุการณ์ทางการเมืองจะกลับเป็นปรกติ และยอมรับสิทธิและหน้าที่ของสหภาพโซเวียตที่จะเข้าแทรกแซงทางทหารเพื่อปราบปรามศัตรูของระบอบสังคมนิยม ในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๖๙กุสตาฟ ฮูซาก (Gustav Husk) คอมมิวนิสต์แนวอนุรักษ์เสรีนิยม ซึ่งสหภาพโซเวียตสนับสนุนก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์แทนดูบเชก
แม้กุสตาฟ ฮูซากจะนิยมกระบวนการปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยมาก่อน แต่การที่สหภาพโซเวียตบุกปราบปรามขบวนการประชาธิปไตยในเชโกสโลวะเกียใน ค.ศ. ๑๙๖๘ และประกาศหลักการเบรจเนฟ (Brezhnev Doctrine)เพื่อปกป้องความมั่นคงของระบบสังคมนิยม ก็ทำให้เขาต้องยอมทำตามคำบัญชาของสหภาพโซเวียตทุกประการ อีกทั้งยังต้องเพิ่มความระมัดระวังในการปกครองประเทศมากขึ้น ฮูซากยกเลิกนโยบายเศรษฐกิจตลาดเสรีของดูบเชกและหันมาใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจตามแบบโซเวียตโดยกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ๕ ปี(Five Year Plan) และร่วมมือทางการค้ากับประเทศยุโรปตะวันออกอื่น ๆ โดยเฉพาะเยอรมนี ตะวันออก ใน ค.ศ. ๑๙๗๐ เชโกสโลวะเกียทำสนธิสัญญาพันธมิตรเพื่อช่วยเหลือและร่วมมือกันกับสหภาพโซเวียตเป็นเวลา ๒๐ ปี สนธิสัญญาฉบับนี้มีส่วนทำให้เชโกสโลวะเกียได้ชื่อว่าเป็นประเทศบริวารที่ซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อสหภาพโซเวียต แม้ฮูซากจะปกครองประเทศอย่างเข้มงวดแต่การดำเนินงานที่สำคัญประการหนึ่งในสมัยของเขา (ค.ศ. ๑๙๖๙-๑๙๘๗) คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. ๑๙๖๐ ใน ค.ศ. ๑๙๗๑ และ ค.ศ. ๑๙๗๕ ตามลำดับ โดยรวมตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์กับประธานาธิบดีเป็นตำแหน่งเดียวกัน เปลี่ยนระบอบการปกครองประเทศเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ (Federative System) โดยมี๒ รัฐ คือเช็กและสโลวัก แต่ละรัฐมีรัฐบาลของตนเองและมีอำนาจเท่าเทียมกันในการตัดสินนโยบายภายในรัฐได้อย่างอิสระและกว้างขวางทั้งสามารถแยกตัวจากสหพันธ์สาธารณรัฐได้ นอกจากนี้ ฮูซากยังปรับความสัมพันธ์กับประเทศยุโรปตะวันตกและประเทศโลกที่ ๓ เพื่อแลกเปลี่ยนและร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
การคลี่คลายความตึงเครียดของสงครามเย็นในต้นทศวรรษ ๑๙๗๐ และบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในค.ศ. ๑๙๗๕ ที่สืบเนื่องจากการประชุมเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือกันในยุโรป(Conference on Security and Cooperation in Europe - CSCE) ทำให้ปัญญาชนและคนงานหนุ่มสาวในกรุงปรากเห็นเป็นโอกาสก่อกระแสการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องให้พรรคคอมมิวนิสต์ผ่อนปรนความเข้มงวดทางสังคมและให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น การเคลื่อนไหวทางสังคมดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการเพื่อสิทธิมนุษยชนในเชโกสโลวะเกีย และนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มกฎบัตร ๗๗ (Charter 77) ซึ่งเป็นขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๗๗ กลุ่มกฎบัตร ๗๗ ซึ่งมีวาซลาฟ ฮาเวล (Vaclav Havel)นักเขียนบทละครแนวเสียดสีเป็นผู้นำคนสำคัญเริ่มมีบทบาทและอิทธิพลสำคัญมากขึ้นทั้งภายในและนอกประเทศ และการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและเพื่อประชาธิปไตยของกลุ่มกฎบัตร ๗๗ ทำให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองและมีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางสังคมมากขึ้น
ในกลางทศวรรษ ๑๙๘๐ เมื่อสหภาพโซเวียตซึ่งมีประธานาธิบดีมีฮาอิลเซียร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (Mikhail Sergeyevich Gorbachev) เริ่มนโยบาย“เปิด-ปรับ” ใน ค.ศ. ๑๙๘๕ เพื่อปฏิรูปประเทศให้เป็นไปในแนวทางประชาธิปไตยทุก ๆด้านทั้งเปิดโอกาสให้มีการปฏิรูปในกลุ่มรัฐบริวารโซเวียตด้วย กลุ่มกฎบัตร ๗๗ได้ใช้เงื่อนไขของนโยบายเปิด-ปรับดังกล่าวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพมากขึ้นและเคลื่อนไหวให้สหภาพโซเวียตถอนกำลังทหารและการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ออกจากดินแดนของเชโกสโลวะเกีย ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๘๗-๑๙๘๙ กลุ่มกฎบัตร ๗๗เคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง การชุมนุมและการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศไม่ขาดระยะ เมื่อเกิดการปฏิวัติค.ศ. ๑๙๘๙ (Revolutions of 1989) ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกเพื่อล้มอำนาจของรัฐบาลคอมมิวนิสต์โดยเริ่มที่โปแลนด์ เป็นประเทศแรก กระแสการปฏิวัติได้ไหลบ่าไปยังประเทศยุโรปตะวันออกอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว กลุ่มกฎบัตร ๗๗ และกลุ่มฝ่ายค้านต่าง ๆ จึงเห็นเป็นโอกาสผนึกกำลังกันรวมเข้าเป็นขบวนการเพื่อประชาธิปไตยที่มีชื่อว่าซีิวกโฟรัม (Civic Forum) รณรงค์ให้มีการปฏิรูปทางการเมืองและสังคม
ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๘๙ กลุ่มซีิวกโฟรัมเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างหนักเพื่อล้มล้างอำนาจทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์และปฏิรูปประเทศให้เป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้จนต้องประกาศยอมรับสถานภาพของขบวนการซีิวกโฟรัม และขอเจรจากับวาชลาฟฮาเวลผู้นำขบวนการเพื่อให้ช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองของประเทศ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ดูบเชกซึ่งเก็บตัวเงียบมาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๖๘ ก็ปรากฏตัวในที่สาธารณะและประกาศสนับสนุนการเคลื่อนไหวของซีิวกโฟรัม ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์และสมาชิกพรรคคนสำคัญหลายคนจึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๔พฤศจิกายนค.ศ. ๑๙๘๙ มีการตั้งคณะรัฐบาลผสมชั่วคราวขึ้นบริหารประเทศและพรรคการเมืองต่าง ๆ เริ่มจัดตั้งขึ้นเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ปราศจากการนองเลือดนี้จึงเป็นเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า “เวลเวตเรโวลูชัน” (VelvetRevolution) หรือการปฏิวัติกำมะหยี่ ในปลายเดือนธันวาคม รัฐบาลชุดใหม่ซึ่งคณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ก็เลือกวาซลาฟ ฮาเวลวัย ๕๓ ปี นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนคนสำคัญเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศและอะเล็กซานเดอร์ดูบเชกในวัย ๖๘ ปีก็ได้รับเลือกเป็นประธานรัฐสภาอีกครั้งหนึ่งการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ของเชโกสโลวะเกียจึงสิ้นสุดลง ในปีต่อมาเชโกสโลวะเกียก็ประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก (Czech and Slovak Federal Republic)
อย่างไรก็ตาม กระแสลัทธิชาตินิยมที่แพร่กระจายไปทั่วประเทศยุโรปตะวันออกภายหลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ และการสิ้นสุดของสงครามเย็น (Cold War) ในยุโรป ค.ศ. ๑๙๙๑ ทำให้ความขัดแย้งเรื่องรัฐชาติเป็นปัญหาทางการเมืองที่สำคัญของสหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก พวกชาตินิยมสโลวัก เคลื่อนไหวเรียกร้องให้สาธารณรัฐสโลวัก แยกตัวออกจากสหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก การเคลื่อนไหวดังกล่าวกลายเป็นความขัดแย้งทางการเมืองภายในที่ประธานาธิบดีฮาเวลไม่สามารถแก้ไขได้และต่อมาก็ต้องลาออกจากตำแหน่งหลังการเลือกตั้งเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๙๒ มีการเจรจาหารือเพื่อหาทางประนีประนอมระหว่างนักการเมืองชาวเช็กกับชาวสโลวัก อีกหลายครั้งแต่ล้มเหลวในเดือนต่อมารัฐสภาสโลวัก ก็ประกาศอำนาจอธิปไตยเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคมโดยแยกตัวออกเป็นประเทศอิสระตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๙๓ และเรียกชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic)
หลังจากลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี ฮาเวลเก็บตัวเงียบจากสาธารณชนอยู่ระยะหนึ่ง แต่ในกลางเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๙๒ เมื่อปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่าสาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศอิสระ ฮาเวลซึ่งได้รับการขอร้องจากกลุ่มการเมืองต่าง ๆ จึงประกาศที่จะลงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งหนึ่งโดยมีเงื่อนไขว่าทั้งสภาสูงและสภาล่างจะเป็นผู้เลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรัฐสภาไม่มีอำนาจถอดถอนประธานาธิบดี ประธานาธิบดีมีสิทธิยุบสภาและมีสิทธิยับยั้งชั่วคราว (suspensive veto) กฎหมายที่ไม่เห็นชอบเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาทบทวน รัฐสภาเช็กจึงลงมติท่วมท้นเลือกฮาเวลเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเช็กเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ค.ศ. ๑๙๙๓ และต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๙๘เขาก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ ๒ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม ค.ศ. ๑๙๙๘จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๐๓
ตลอดช่วง ๑๓ ปีของการบริหารปกครองประเทศ ฮาเวลประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างความสัมพันธ์กับนานาประเทศ และสามารถผลักดันสาธารณรัฐเช็กให้เข้าเป็นสมาชิกองค์การนาโตได้สำเร็จในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๙๙รวมทั้งวางพื้นฐานความร่วมมือกับประเทศยุโรปในการจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป(European Union) แม้จะประสบความสำเร็จในนโยบายต่างประเทศ แต่ฮาเวลก็ล้มเหลวในการเป็นผู้นำประเทศ เพราะชาวเช็กเห็นว่าเขามีลักษณะประนีประนอมและไม่เด็ดขาดพอทั้งการสมรสกับดักมาร์ เวกร์โนวา (Dagmar Veskrnová)ดาราภาพยนตร์และนักแสดงที่มีชื่อเสียงใน ค.ศ. ๑๙๙๗ หลังจากโอลกา (Olga) ภรรยาคนแรกสิ้นชีวิตลงก็ไม่เป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนจำนวนไม่น้อย ความนิยมต่อฮาเวลจึงลดลง ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๓ วาซลาฟ เคาส์ (Vaclav Klaus)นักเศรษฐศาสตร์หัวอนุรักษ์ผู้นำพรรคประชาธิปไตยพลเรือน (Civic DemocraticParty - CDP) และเป็นคู่แข่งทางการเมืองของฮาเวลจึงได้รับชัยชนะการเลือกตั้ง
เป็นประธานาธิบดีคนที่ ๒ ของประเทศ นโยบายสำคัญของเขาคือการดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของสหภาพยุโรปซึ่งเช็กต้องการเข้าเป็นสมาชิก ต่อมาในวันที่ ๑พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๔สาธารณรัฐเช็กก็ได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปและนับเป็นความสำเร็จของการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ใน ค.ศ. ๒๐๐๕ เช็กก็ให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรป.