สาธารณรัฐโครเอเชียเป็นประเทศตอนเหนือของคาบสมุทรบอลข่านที่รวมกับฮังการี มาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ และพยายามแยกตนเองเป็นอิสระจากฮังการี ในการปฏิวัติค.ศ. ๑๘๔๘ (Revolution of 1848) แต่ล้มเหลว เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง โครเอเชียสามารถแยกตัวเองเป็นอิสระได้และรวมเข้ากับรัฐสลาฟใต้ือ่น ๆ มีชื่อเรียกว่า ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน(Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes) แต่เปลี่ยนชื่อเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (Kingdom of Yugoslavia) ใน ค.ศ. ๑๙๒๙ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ กลุ่มชาตินิยมชาวโครแอตไม่พอใจที่ประเทศปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์และถูกชี้นำโดยชาวเซิร์บซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ จึงพยายามเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวออกจนสามารถประกาศเอกราชได้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๙๑
โครเอเชียหรือที่เรียกว่าเฮอร์วัตสกา (Hrvatska) ในภาษาเซิร์บและโครแอตเป็นดินแดนที่พวกโครแอตอพยพจากบริเวณที่เป็นประเทศยูเครน (Ukraine) เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๖ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๗-๙ ได้หันมานับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกและรับอักษรละตินเป็นภาษาเขียน ใน ค.ศ. ๙๒๕สันตะปาปาจอห์นที่ ๑๐ (John X) ได้ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกโตมิสลาฟ (Tomislav)ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรโครเอเชีย หลังจากนั้น โครเอเชียต้องทำสงครามขับเคี่ยวกับกองทัพของจักรวรรดิบัลแกเรีย (Bulgarian Empire)จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) และแคว้นวินีเชีย (Venetia) ที่พยายามจะเข้าครองดินแดนส่วนต่าง ๆ ของโครเอเชีย และชายฝั่งดัลเมเชีย อย่างไรก็ดีในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ โครเอเชียสามารถขยายอำนาจเข้าครอบครองดินแดนทั้งหมดซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสาธารณรัฐดัลเมเชีย (Dalmatia) โครเอเชียสโลวีเนีย (Slovenia) และบอสเนีย -เฮอร์เซโกวีนา (Bosnia-Herzegovina)
ใน ค.ศ. ๑๐๘๙ ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นซึ่งนำความหายนะมาสู่ราชอาณาจักรโครเอเชียจนในที่สุดต้องสูญเสียชายฝั่งดัลเมเชียให้แก่จักรวรรดิไบแซนไทน์ อีก ๒ ปี ต่อมาพระเจ้าลาสโลที่ ๑ (Laszlo I) แห่งฮังการี ก็ทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์โครเอเชียและประกาศพระองค์เป็นกษัตริย์ของโครเอเชียด้วยต่อมาใน ค.ศ. ๑๐๙๓ ชาวโครแอตพยายามแยกตนออกจากการปกครองของฮังการี โดยสนับสนุนให้ปีตาร์ สวาซิก (Peter Svacic) ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สำเร็จ แต่๔ ปีต่อมา พระเจ้าคาร์มาน (Karman) แห่งฮังการี ทรงนำทัพเข้าปราบปรามชาวโครแอตอย่างราบคาบ ตามสนธิสัญญาแพกตาคอนเวนตา (Pacta Conventa)โครเอเชียก็ถูกรวมเข้ากับฮังการี โดยยังคงมีสิทธิปกครองตนเองแต่ต้องยอมรับกษัตริย์ฮังการี เป็นกษัตริย์ของชาวโครแอตด้วย
ใน ค.ศ. ๑๕๒๖ เมื่อฮังการี ปราชัยต่อพวกเติร์กในยุทธการที่โมฮัก (Battleof Mohac) ดินแดนโครเอเชียส่วนใหญ่จึงต้องตกอยู่ใต้ปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire) ด้วย ส่วนดินแดนที่รอดพ้นจากการรุกรานนั้นสภาโครเอเชียก็ยกให้ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Habsburg) แห่งออสเตรีย ปกครองต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ โครเอเชียสามารถหลุดพ้นจากการครอบครองของพวกเติร์ก แต่ชาวโครแอตก็ต้องเผชิญกับปัญหาการแผ่อิทธิพลของออสเตรีย และการที่ฮังการี ต้องการให้โครเอเชียเป็นเพียงมณฑลหนึ่งของราชอาณาจักรเท่านั้นแทนที่จะรวมกันและมีพระประมุขร่วมกันตามสนธิสัญญาแพกตาคอนเวนตาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ฮังการี ได้ดำเนินนโยบายบีบคั้นให้ชาวโครแอตยอมรับภาษาฮังการี เป็นภาษาราชการในโครเอเชีย นโยบายดังกล่าวนี้ได้ปลุกจิตสำนึกความรักชาติแก่ชาวโครแอตเป็นอันมากและก่อให้เกิดปฏิกิิรยาต่อต้านชาวฮังการี มากขึ้น
ในสมัยสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars ค.ศ. ๑๘๐๓-๑๘๑๕)ฝรั่งเศส ได้ครอบครองดัลเมเชีย ดินแดนบางส่วนของโครเอเชีย และอิสเตรีย(Istria) จักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ (Napoleon I ค.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๑๕) ทรงจัดตั้งดินแดนดังกล่าวนี้เป็นมณฑลอิลลิเรียน (Illyrian Provinces) ซึ่งสร้างความหวังให้แก่ชาวโครแอตที่จะรวมตัวกับชาวสลาฟอื่น ๆ แทนที่จะตกอยู่ใต้อิทธิพลของฮังการี และออสเตรีย ดังที่เคยเป็นมาในอดีตอันยาวนาน
เมื่อสงครามนโปเลียนสิ้นสุดลงใน ค.ศ. ๑๘๑๕ ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา(Congress of Vienna) ค.ศ. ๑๘๑๔-๑๘๑๕ ที่ประชุมได้ตกลงให้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กกลับไปมีอำนาจเหนือฮังการี และโครเอเชียอีกครั้ง แต่เมื่อออสเตรีย ดำเนินนโยบายปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมของดินแดนใต้ปกครองของตนให้เป็นวัฒนธรรมเยอรมัน(Germanization) ฮังการี จึงพยายามปลีกตนออกจากอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บูร์กเพื่อจัดตั้งเป็นประเทศอิสระ ซึ่งรวมทั้งการจะผนวกโครเอเชียเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของฮังการี ด้วย เจตนารมณ์ของฮังการี ดังกล่าวก่อให้เกิดปฏิกิิรยาต่อต้านจากกลุ่มปัญญาชนชาตินิยมชาวโครแอตเป็นอันมากดังนั้น ในทศวรรษ ๑๘๓๐ และ ๑๘๔๐กลุ่มต่อต้านนี้จึงรวมตัวกันเป็นขบวนการอิลลิเรียน (Illyrian Movement) ซึ่งมีลยูเดวีต ไก (Ljudevit Gaj) เป็นผู้จัดตั้งและผู้นำเพื่อต่อต้านฮังการี ที่ละเมิดอำนาจอธิปไตยของโครเอเชียและเพื่อจะรวมดินแดนของชนเผ่าสลาฟใต้ให้เป็นปึกแผ่น
ระหว่างการปฏิวัติ ค.ศ. ๑๘๔๘ ซึ่งเกิดขึ้นในยุโรป รัฐสภาฮังการี ได้ออกกฎหมายเดือนมีนาคม (March Laws) เพื่อล้มล้างอำนาจการปกครองตนเองของโครเอเชียและรวมโครเอเชียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนฮังการี ในระหว่างนั้นเมื่อฮังการี เคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยตนเองจากการปกครองของจักรวรรดิออสเตรีย บารอนยอซีป ยอลาซีช (Josip Jolacic) ข้าหลวงของโครเอเชียจึงส่งกองทัพเข้าร่วมกับฝ่ายจักรวรรดิออสเตรีย ปราบปรามการปฏิวัติในฮังการี
แม้ฮังการี จะเป็นฝ่ายปราชัยต่อจักรวรรดิออสเตรีย ใน ค.ศ. ๑๘๔๙ แต่โครเอเชียก็ไม่ได้รับอิสรภาพดังที่คาดหวังไว้ ในทางตรงกันข้าม ออสเตรีย กลับจัดตั้งระบบบัค (Bach System) ขึ้นเพื่อรวมอำนาจการปกครองของจักรวรรดิเข้าสู่ศูนย์กลาง ณ กรุงเวียนนา และเพื่อปกครองฮังการี และโครเอเชียอย่างเข้มงวดในต้นทศวรรษ ๑๘๖๐ รัฐสภาโครเอเชียได้ประท้วงนโยบายดังกล่าวและเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐ (federalist constitution) เพื่อรักษาสิทธิการปกครองตนเอง แต่ก็ถูกออสเตรีย ปฏิเสธและประกาศยุบรัฐสภาใน ค.ศ. ๑๘๖๕
อย่างไรก็ดี ความพ่ายแพ้ของออสเตรีย ต่อปรัสเซีย ในสงครามเจ็ดสัปดาห์(Seven Weeksû War) ใน ค.ศ. ๑๘๖๖ ทำให้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กต้องหันมาปรองดองกับรัฐต่าง ๆ ในปกครองของตน ใน ค.ศ. ๑๘๖๗ จักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟ (FrancisJoseph) ทรงทำความตกลงประนีประนอมออสเตรีย -ฮังการี ที่เรียกว่าเอาส์ไกลช์(Ausgleich) ซึ่งกำหนดให้ออสเตรีย และฮังการี เป็นประเทศทวิภาคีที่มีฐานะเท่าเทียมกัน และปกครองภายใต้ระบอบราชาธิปไตยคู่ (Dual Monarchy) โดยจักรพรรดิแห่งออสเตรีย จะดำรงพระอิสริยยศเป็นกษัตริย์แห่งฮังการี ด้วย
ถึงกระนั้นก็ตาม ความตกลงประนีประนอมออสเตรีย -ฮังการี ก็ไม่สามารถยุติปัญหาระหว่างฮังการี กับโครเอเชียได้ ยิ่งไปกว่านั้นความตกลงดังกล่าวยังทำให้ออสเตรีย ได้รับสิทธิครอบครองดัลเมเชียและอิสเตรีย และทำให้ฮังการี มีอำนาจปกครองโครเอเชียและสลาโวเนีย (Slavonia) ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่ชาวโครแอตและชาวสลาฟอื่น ๆ ที่อาศัยในบริเวณนี้เป็นอันมาก ดังนั้น เพื่อลดแรงกดดันทางการเมืองดังกล่าว ฮังการี จึงได้ทำความตกลงประนีประนอมฮังการี -โครเอเชียหรือ“นอก็อดบา” (Nagodba) ใน ค.ศ. ๑๘๖๘ โดยยอมรับภาษาโครแอตเป็นภาษาราชการในโครเอเชีย และให้โครเอเชียมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่งตลอดจนสิทธิในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษา การศาล และการเกษตร แต่ในทางปฏิบัติโครเอเชียก็ยังคงตกอยู่ใต้อิทธิพลของออสเตรีย -ฮังการี ต่อไป ทั้งนี้เพราะข้าหลวงโครเอเชียต้องได้รับการแต่งตั้งจากฮังการี และอยู่ในความควบคุมของกษัตริย์ฮังการี ซึ่งทรงเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ด้วย
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ การต่อต้านของชาวโครแอตต่อความตกลงประนีประนอมฮังการี -โครเอเชียแสดงออกในรูปของขบวนการชาตินิยม ๒ กลุ่มกลุ่มหนึ่งเรียกร้องเอกราชและอำนาจอธิปไตยที่สมบูรณ์ของโครเอเชีย และต่อต้านการแทรกแซงทางด้านการเมืองของออสเตรีย และฮังการี อีกกลุ่มหนึ่งเรียกร้องให้โครเอเชียเป็นผู้นำของขบวนการรวมดินแดนของชาวสลาฟใต้ ซึ่งรวมทั้งมณฑลดัลเมเชียของออสเตรีย และบอสเนีย -เฮอร์เซโกวีนาที่อยู่ใต้การปกครองของสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันด้วย ฮังการี พยายามขัดขวางขบวนการชาตินิยมดังกล่าวโดยดำเนินนโยบายปกครองโครเอเชียอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น และพยายามปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมโครเอเชียให้ เป็นวัฒนธรรมฮังการี หรือแมกยาร์(Magyarization)
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๐๓ เมื่อพรรคการเมืองต่าง ๆ ในโครเอเชียได้หันมาปรองดองกันและยึดนโยบายการรวมเชื้อชาติสลาฟใต้เข้าเป็นรัฐประชาชาติเดียวกัน นโยบายดังกล่าวทำให้โครเอเชียต้องให้ความร่วมมือกับพรรคการเมืองของเซอร์เบีย จนสามารถจัดตั้งกลุ่มการเมืองผสมโครเอเชีย-เซอร์เบีย (Croatian-Serbian coalition) ขึ้นได้สำเร็จใน ค.ศ. ๑๙๐๕ ซึ่งต่อมาได้มีบทบาทสำคัญมากในการดำเนินการเพื่อแยกตัวออกจากฮังการี เมื่อสงครามบอลข่าน(Balkan Wars)ยุติลงใน ค.ศ. ๑๙๑๓ โครเอเชียได้พยายามร่วมมือกับกลุ่มสลาฟใต้อื่น ๆ เพื่อผนวกเซอร์เบีย และมอนเตเนโกร (Montenegro) ซึ่งเป็นฝ่ายชนะสงครามกับดินแดนของตนเพื่อจัดตั้งเป็นประเทศยูโกสลาฟ (Yugoslav) แต่ิวกฤตการณ์การลอบปลงพระชนม์อาร์ชดุ็กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Francis Ferdinand)ณ กรุงซาราเยโว (Sarajevo) ในมณฑลบอสเนีย (Bosnia) เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายนค.ศ. ๑๙๑๔ ทำให้ออสเตรีย -ฮังการี ถือโอกาสเข้าปราบปรามขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อรวมดินแดนของชาวสลาฟใต้อย่างรุนแรงอันเต ทรูมบิช (Ante Trumbiซc) และฟานอ ซูพีลอ (Fano Supilo) ผู้นำคนสำคัญของโครเอเชียจึงต้องลี้ภัยออกนอกประเทศและจัดตั้งคณะกรรมาธิการยูโกสลาฟ (Yugoslav Committee) ขึ้นที่กรุงลอนดอนและกรุงปารีสระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโน้มน้าวให้สัมพันธมิตรสนับสนุนการรวมเข้าเป็นประชาชาติเดียวกันของพวกสลาฟใต้
ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ ผู้นำและผู้แทนกลุ่มเชื้อชาติชาวสลาฟใต้ได้ลงนามในกติกาสัญญาคอร์ฟู (Corfu Pact) ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการจะสถาปนาประเทศของชาวสลาฟใต้ ในปีต่อมาได้มีการสถาปนาราชอาณาจักรของชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนขึ้นเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๑๘ และเจ้าชายอะเล็กซานเดอร์ คาราจอร์เจวิช (Alexander Karageorgeviซc) แห่งเซอร์เบีย ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการของราชอาณาจักรใหม่นี้และทรงเป็นกษัตริย์โดยเฉลิมพระนามว่าพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์ที่ ๑ (Alexander I) ใน ค.ศ. ๑๙๒๑
อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรของชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนก็ประสบปัญหาความยุ่งยากทางการเมืองภายใน เนื่องจากชาวเซิร์บซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศพยายามกีดกันชนชาติือ่น ๆ รวมทั้งชาวโครแอตซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อชาติใหญ่เป็นที่ ๒ รองจากเซิร์บไม่ให้มีอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองด้วยการรวมศูนย์อำนาจการปกครองไว้ที่กรุงเบลเกรด (Belgrade) ดังนั้น ชาวโครแอตจึงพยายามเคลื่อนไหวเพื่อจัดตั้งระบอบสหพันธรัฐขึ้น ความแตกแยกระหว่างชาวโครแอตกับชาวเซิร์บจึงเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนในที่สุด สตเยพัน ราดิช (Stjepan Radiซc)หรือสตีเฟน ราดิช (Stephen Radich) หัวหน้าพรรคชาวนา (Peasant Party) ของโครเอเชียได้ถูกยิงในสภาผู้แทนราษฎรที่กรุงเบลเกรดเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายนค.ศ. ๑๙๒๘ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ชาวโครแอตจึงตั้งรัฐสภาของตนเองขึ้นที่เมืองซาเกรบ (Zagreb) และประกาศปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือทุกประการกับรัฐบาลกลาง
พระเจ้าอะเล็กซานเดอร์ที่ ๑ ทรงพยายามแก้ไขวิกฤตการณ์และสร้างเอกภาพทางการเมืองระหว่างชาวโครแอตกับชาวเซิร์บอีกครั้ง แต่ก็ทรงประสบความล้มเหลวดังนั้น เพื่อแก้ไขความแตกแยกทางการเมืองดังกล่าวพระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภา และยกเลิกการปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ค.ศ. ๑๙๒๙ และทรงบริหารประเทศด้วยระบอบเผด็จการต่อมา เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๒๙ ทรงเปลี่ยนชื่อราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บโครแอต และสโลวีนเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ซึ่งหมายถึงประเทศของชาวสลาฟใต้
กระนั้นก็ตาม นโยบายบริหารและการรวมชาติของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์ที่ ๑ กลับทำให้ชาวโครแอตกระด้างกระเดื่องและเคลื่อนไหวต่อต้านมากขึ้นในที่สุดพวกก่อการร้ายชาตินิยมก็ลอบปลงพระชนม์พระองค์พร้อมด้วยลุย บาร์ตู(Louis Barthou) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส ณ เมืองมาร์แซย์ (Marseille) เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๓๔ ขณะเสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการ
ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ ในที่สุด รัฐบาลกลางก็ต้องยินยอมในข้อตกลงที่เรียกว่าสปอราซัม (Sporazum) ให้ดินแดนของโครเอเชียซึ่งรวมทั้งดัลเมเชียและบางส่วนของบอสเนีย -เฮอร์เซโกวีนามีอำนาจอธิปไตย แต่ยังคงรวมอยู่ในราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่ชาวโครแอตชาตินิยมต่อไป
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อยูโกสลาเวียตกอยู่ใต้การยึดครองของกองทัพฝ่ายอักษะ ชาวโครแอตจึงฉวยโอกาสประกาศจัดตั้งประเทศเป็นเอกราชขึ้นทันทีที่เมืองซาเกรบเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ค.ศ. ๑๙๔๑ และอีก ๔ วันต่อมาอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำเยอรมนี และเบนีโต มุสโสลีนี(BenitoMussolini) ผู้นำอิตาลี ก็รับรองความเป็นเอกราชของโครเอเชีย
หลังการก่อตั้งประเทศ อันเต ปาเวลิช (Ante Pavelicซ ) หัวหน้ากลุ่มฟาสซิสต์หัวรุนแรงได้รับเลือกให้ เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลหุ่นของโครเอเชียเขาดำเนินนโยบายให้ความร่วมมือและสนับสนุนกลุ่มประเทศอักษะเป็นอย่างดีและถือโอกาสเข่นฆ่าชาวเซิร์บซึ่งเป็นศัตรูทางการเมืองจนล้มตายเป็นจำนวนมากนโยบายของปาเวลิชได้สร้างความแตกแยกให้แก่ชาวโครแอตชาตินิยม และทำให้ชาวโครแอตและชาวเซิร์บจำนวนมากเข้าร่วมในกองทัพปลดแอกแห่งชาติของยูโกสลาเวีย (Yugoslav Army of National Liberation) ของยอซีป บรอช หรือตีโต(Josip Broz; Tito) ผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์เพื่อต่อต้านกองทัพเยอรมันและอิตาลี รวมทั้งระบอบฟาสซิสต์ในโครเอเชีย
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง พรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียซึ่งมีตีโตเป็นผู้นำได้อำนาจทางการเมือง ยูโกสลาเวียจึงเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นสังคมนิยมและใช้ชื่อประเทศว่า “สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย”(Socialist Federal Republic of Yugoslavia) ประกอบด้วย ๖ รัฐและ๒ มณฑลอิสระ (autonomous provinces) คือรัฐเซอร์เบีย โครเอเชีย สลาโวเนียบอสเนีย -เฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร มาซิโดเนีย (Macedonia) และมณฑลวอยวอดีนา (Vojvodina) และคอซอวอ (Kosovo)
อย่างไรก็ดี แม้โครเอเชียในช่วงหลังสงครามจะสามารถยุติปัญหากับเซอร์เบีย ได้และมีอำนาจบริหารกิจการภายในของตนเอง แต่ก็ยังไม่พอใจรัฐบาลกลางเพราะโครเอเชียเป็นรัฐที่มีรายได้จากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เกษตรกรรม และการบริการมากที่สุดกว่าบรรดารัฐอื่น ๆ ทั้งยังมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุดด้วย แต่ต้องนำเงินรายได้จำนวนมากดังกล่าวส่งให้รัฐบาลกลางเพื่อกระจายไปพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมโดยเฉพาะรัฐที่ล้าหลังทางเศรษฐกิจ เช่นบอสเนีย เซอร์เบีย มอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย การต่อต้านรัฐบาลกลางของโครเอเชียจึงเกิดขึ้นไม่ขาดระยะ อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษ ๑๙๗๐ รัฐบาลกลางได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยตกลงให้รัฐโครเอเชียสามารถเก็บเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งสินค้าออกร้อยละ ๒๐ และจากการท่องเที่ยวร้อยละ ๔๕ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาภายในรัฐได้ ปัญหาความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจจึงบรรเทาลง
โอกาสทางการเมืองของกลุ่มชาตินิยมชาวโครแอตเพื่อแยกโครเอเชียเป็นอิสระจากสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียมีขึ้นหลังการปฏิวัติ ค.ศ. ๑๙๘๙ ในยุโรปตะวันออกซึ่งทำให้ระบอบคอมมิวนิสต์เสื่อมลง ใน ค.ศ. ๑๙๘๙ ดร.ฟรานโจ ทัจมัน(Franjo Tudjman) นักประวัติศาสตร์ชาวโครแอตซึ่งเป็นอดีตนายพลในกองทัพแห่งชาติยูโกสลาเวียที่ถูกจำคุก ๒ ครั้ง คือ ใน ค.ศ. ๑๙๗๒ และ ค.ศ. ๑๙๘๑ได้ตั้งพรรคสหภาพประชาธิปไตยแห่งโครเอเชียหรือพรรคซีดียู (CroatianDemocratic Union - CDU) ขึ้น โดยมีนโยบายเชิดชู เอกลักษณ์และเรียกร้องความเป็นอธิปไตยของโครเอเชีย ในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๙๐ซึ่งเป็นครั้งแรกของโครเอเชียนับแต่ิส้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ พรรคซีดียูได้ชัยชนะท่วมท้น ทัจมันจึงได้เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ รัฐบาลใหม่ของโครเอเชียได้ืร้อโครงสร้างการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เดิม โดยเริ่มจากตัดคำว่าสังคมนิยมออกจากชื่อประเทศ คงเหลือแต่สาธารณรัฐโครเอเชีย และในเดือนธันวาคมค.ศ. ๑๙๙๐ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งเน้นอำนาจอธิปไตยของโครเอเชียการมีอำนาจบังคับบัญชากองทัพของตน และการมีสิทธิที่จะมีสิทธิแยกตัวจากยูโกสลาเวีย แต่การที่ทัจมันเน้นเรื่องความเป็นประเทศของชาวโครแอตมาก ทำให้ชาวเซิร์บในดินแดนโครเอเชียประกาศสิทธิปกครองตนเองในเดือนธันวาคมนั้นด้วยรัฐบาลกลางของยูโกสลาเวียก็สั่งปลดอาวุธหน่วยป้องกันต่าง ๆ ของโครเอเชียแต่เผชิญกับการขัดขืน ทั้งโครเอเชียกลับตั้งกองกำลังแห่งชาติขึ้นมาด้วย
ความตึงเครียดยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อสาธารณรัฐโครเอเชียและสาธารณรัฐสโลวีเนีย ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๙๑ และสั่งให้พลเมืองของตนลาออกจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลกลาง เมื่อเป็นเช่นนี้ กองทัพแห่งชาติยูโกสลาเวียก็เคลื่อนสู่โครเอเชียซึ่งมีจำนวนชาวเซิร์บอาศัยอยู่มากกว่าในสโลวีเนีย สงครามกลางเมืองในโครเอเชียจึงเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ กองทัพแห่งชาติยูโกสลาเวียพยายามหนุนชาวเซิร์บในโครเอเชีย ทั้งชี้นำ ส่งกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์จนทำให้ดินแดน ๑ ใน ๓ ของโครเอเชียตกอยู่ใต้การยึดครองของพวกเซิร์บ ในเดือนตุลาคมนั้นเองพวกเซิร์บในโครเอเชียก็ประกาศเขตปกครองตนเอง๓ แห่ง รวมเรียกว่า สาธารณรัฐเซอร์เบีย นคราจีนา (Republic of Serbian Krajina)พวกเซิร์บกลุ่มนี้แสดงความประสงค์ว่าต้องการรวมอยู่กับสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียซึ่งเป็นประชาคมของพวกเซิร์บมากกว่าจะอยู่กับสาธารณรัฐโครเอเชียดังเดิม
สงครามกลางเมืองซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนประมาณ ๒๓,๐๐๐ คนและอีกกว่า๔๐๐,๐๐๐ คนไร้ที่อยู่ได้ดำเนินไปจนกระทั่งองค์การสหประชาชาติ(United Nations)เข้ามาจัดให้มีการตกลงหยุดยิงครั้งที่ ๑๔ และส่งกำลังทหาร ๑๔,๐๐๐ คนที่เรียกว่ากองกำลังป้องกันแห่งสหประชาชาติหรืออันโพรฟอร์ (United Nations ProtectionForce - UNPROFOR) เข้าไปประจำการในเขตที่พวกเซิร์บยึดครองในดินแดนโครเอเชียเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๙๒ กองกำลังนี้ทำหน้าที่ดู แลการถอนทหารของกองทัพแห่งชาติยูโกสลาเวียและตกลงให้เขตที่พวกเซิร์บอาศัยอยู่เป็นเขตปลอดทหาร โดยเรียกว่า เป็นดินแดนในความคุ้มครองของสหประชาชาติ (UNProtected Areas - UNPAs) โครเอเชียได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๒ (นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ประกาศเอกราช) ซึ่งทัจมันได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีต่อไปโดยมีวาระ ๕ ปี ในต้นเดือนกันยายน รัฐบาลยูโกสลาเวียประกาศว่าจะรับรองสาธารณรัฐโครเอเชีย แต่ให้มีอาณาเขตเท่ากับก่อนเกิดสงครามกลางเมืองและต้องให้เขตที่ชาวเซิร์บอาศัยอยู่มีสถานะพิเศษ
ในครึ่งหลังของ ค.ศ. ๑๙๙๒ ปัญหาของโครเอเชียซับซ้อนขึ้นมาใหม่เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลต่อสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในสาธารณรัฐบอสเนีย -เฮอร์เซโกวีนา โครเอเชียร่วมโจมตีชาวเซิร์บและชาวมุสลิมในบอสเนีย เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของชาวโครแอตในสาธารณรัฐนั้น จนถึงกับมีการประกาศตั้งประชาคมโครเอเชียแห่งเฮอร์เซก-บอสนา (Croatian Community of Herzeg-Bosna)ขึ้นทางภาคตะวันตกของเมืองเฮอร์เซโกวีนา นอกจากทำให้สหประชาชาติไม่พอใจแล้วยังทำให้ข้อเรียกร้องขอดินแดนคืนของโครเอเชียจากเซอร์เบีย ซึ่งอ้างหลักการไม่เปลี่ยนแปลงพรมแดนด้วยกำลังต้องมีน้ำหนักน้อยลง นอกจากนี้ ผู้นำเซอร์เบีย และโครเอเชียได้เจรจาลับกันเพื่อสนับสนุนการแบ่งดินแดนบอสเนีย ออกตามกลุ่มเชื้อชาติ โครเอเชียและเซอร์เบีย จึงถูกมองว่าร่วมมือกันโจมตีชาวมุสลิมในบอสเนีย เพื่อผลประโยชน์ของทั้ง ๒ ฝ่าย อย่างไรก็ตาม ขณะที่การรบในบอสเนีย กำลังดำเนินอยู่ เศรษฐกิจของโครเอเชียได้รับความกระทบกระเทือนมาก ทั้ง ๆ ที่เคยเป็นสาธารณรัฐของยูโกสลาเวียที่ทำรายได้มากที่สุด เพราะประเทศซึ่งมีพลเมืองเพียง ๔.๖ ล้านคน ต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้ีล้ภัยสงครามเป็นจำนวนมาก กล่าวคือมีประชาชนไร้ที่อยู่ ๒๕๒,๖๘๔ คนซึ่งมาจากเขตที่พวกเซิร์บยึดครองในโครเอเชียและ ๓๗๑,๓๗๖ คนจากสาธารณรัฐบอสเนีย -เฮอร์เซโกวีนา (ในจำนวนนี้เป็นชาวโครแอตร้อยละ ๒๐ ชาวมุสลิมร้อยละ ๘๐)
อย่างไรก็ตาม หลังสงครามบอสเนีย สิ้นสุดลงใน ค.ศ. ๑๙๙๕ ปัญหาของโครเอเชียที่เกี่ยวเนื่องกับสงครามบอสเนีย ก็ยุติลงด้วย เพราะกองกำลังโครเอเชียสามารถยึดคืนเขตปกครองของพวกเซิร์บในโครเอเชียกลับคืนมาได้ โครเอเชียจึงหันมาฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคมและเริ่มมีเสถียรภาพขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ชาวโครแอตจำนวนไม่น้อยที่ีล้ภัยออกนอกประเทศในช่วงสงครามก็เริ่มอพยพกลับมาและเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนช่วยฟื้นฟูบูรณะประเทศ ใน ค.ศ. ๒๐๐๐ โครเอเชียปฏิรูปทางการเมืองจากระบบประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา (semi-presidential system)มาเป็นระบบรัฐสภา ประธานาธิบดีซึ่งเป็นประมุขของประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๕ ปี และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน ๒ วาระประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งรัฐสภาให้ความเห็นชอบ รัฐสภามีสมาชิกระหว่าง ๑๐๐-๑๖๐ คนซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั่วไปและมีวาระดำรงตำแหน่ง ๔ ปีสตเยพัน เมซิก (Stjepan Mesic) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีใน ค.ศ. ๒๐๐๐ และค.ศ. ๒๐๐๕ ดำเนินนโยบายผลักดันโครเอเชียให้ก้าวสู่ความทันสมัยและร่วมมือกับนานาประเทศ โครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (NorthAtlantic Treaty Organization - NATO) โดยมีฐานะเป็นภาคีเพื่อสันติภาพ(Partnership for Peace) ต่อมา ใน ค.ศ. ๒๐๐๓ โครเอเชียซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศทางเศรษฐกิจและสังคมได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป(European Union) และนับเป็นประเทศที่ ๒ ซึ่งเคยรวมอยู่กับประเทศยูโกสลาเวีย(Yugoslavia) ที่ขอเข้าร่วมในสหภาพยุโรปต่อจากสาธารณรัฐสโลวีเนีย การเจรจา
เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเริ่มดำเนินการในต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๕ และเป็นที่คาดหวังว่าโครเอเชียจะได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้ใน ค.ศ. ๒๐๐๙หรือ ค.ศ. ๒๐๑๐.
และ ชาคริต ชุ่มวัฒนะ