ย้อย

วิธีการขับร้องหรือการบรรเลงลักจังหวะแบบหนึ่ง ซึ่งประดิษฐ์ทำนองให้เสียงที่ควรจะตกลงตรงจังหวะไปตกลงหลังจังหวะ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำนองของประโยคนั้นก็จะยาวกว่าประโยคธรรมดา (ดู ลักจังหวะ ประกอบ)

 วิธีการที่เรียกว่า “ย้อย” นี้ ตรงข้ามกับ “ล่วงหน้า” เพราะล่วงหน้านั้นตัดทำนอง ให้สั้นเพื่อที่จะได้หมดประโยคก่อนจังหวะ (ดู ล่วงหน้า ประกอบ) แต่ย้อยนั้นต้องยืดทำนอง ให้ยาวเพื่อที่จะได้หมดประโยคหลังจังหวะ

 ในการขับร้องเพลงไทย ถ้าคำร้องตรงที่ลงจังหวะเป็นเสียงไม่ตรงกับทำนอง ผู้ขับร้องจำเป็นต้องขับร้องให้คำร้องตรงจังหวะนั้นเสียก่อน แล้วจึงเอื้อนไปหาเสียงจริง ของทำนอง วิธีขับร้องอย่างนี้ก็ถือว่าเป็น “ย้อย” เพราะเสียงสำคัญของทำนองลงภาย หลังจังหวะ