สะบัด

วิธีการบรรเลงที่แทรกเสียงเข้ามาในเวลาบรรเลงทำนอง “เก็บ” อีก ๑ พยางค์ รวมเป็น ๓ พยางค์ (ดู เก็บ ประกอบ) ซึ่งแล้วแต่ผู้บรรเลงจะเห็นสมควรว่าจะแทรกตรงไหน ทำนองตรงที่แทรกนั้นเรียกว่า “สะบัด”

 การแทรกเสียงที่เรียกสะบัดนั้น ต้องแทรกเพียงแห่งละพยางค์เดียว ดัง โน้ตสากลเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างเนื้อเพลง เก็บ และสะบัด ดังนี้

 หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้กล่าวไว้ว่า วิธีบรรเลงสะบัดมีอยู่ ๒ แบบ คือ แบบ “สะบัดคม” และแบบ “สะบัดหน่วง”

 สะบัดคม คือ การตีเก็บ ๓ พยางค์ที่รวดเร็ว ทำให้เกิดเสียงกร้าว

 สะบัดหน่วง คือ การตีเก็บ ๓ พยางค์ที่ไม่เร็วมากนัก ทำให้เกิดเสียงนุ่มนวลกว่าสะบัดคม

 วิธีบรรเลงสะบัดด้วยระนาดและจะเข้เป็นต้น ใช้โน้ตในการสะบัด ๓ แบบ คือ สะบัดโน้ตตัวเดียว สะบัดโน้ต ๒ ตัว และสะบัดโน้ต ๓ ตัว