ลูกตก

เสียงสำคัญของทำนองเพลงที่แสดงการจบของแต่ละวรรคเพลง ซึ่งจะอยู่ที่เสียงสุดท้ายของวรรคเพลง

 โดยปรกติ เสียงลูกตกมักจะอยู่ที่จังหวะหนัก หรือตรงกับเสียง “ฉับ” ถ้าเขียนด้วยโน้ตไทยจะพบว่า เสียงลูกตกจะเป็นตัวสุดท้ายของห้องสุดท้ายในวรรคเพลงเสมอยกเว้นบางเพลงที่ผู้ประพันธ์ต้องการให้เสียงลูกตกอยู่ที่จังหวะยก หรือมีลักษณะเป็นแบบขืนจังหวะ เช่น เพลงต้นบรเทศ ๒ ชั้น

 เสียงลูกตกเป็นเสียงที่นักดนตรีไทยถือว่าเป็นเสียงสำคัญเพราะเป็นเสมือนโครงร่างของการดำเนินทำนองเพลง ในการแต่งเพลงนั้นผู้แต่งมักจะวางโครงร่างของเพลงหรือเสียงหลักก่อน แล้วจึงแต่งแนวเนื้อฆ้องหรือเพิ่มเติมรายละเอียดภายหลังดังนั้นในการบรรเลงดนตรี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีชนิดใดก็ตามต้องมีการแปรทางจากเนื้อฆ้องให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีนั้น ๆ นักดนตรีจะแปรทางโดยยึดโครงร่าง


หรือเสียงลูกตก รวมทั้งเนื้อฆ้องเป็นแกน เพื่อมิให้แนวทำนองที่แปรไปนั้นผิดเพี้ยนไปจากเดิม อย่างไรก็ตาม แนวเนื้อฆ้องอาจมีการดัดแปลงไปได้ตามสมควร แต่ลูกตกจำ เป็นต้องยึดไว้อย่างเคร่งครัด

 ส่วนในทางร้องก็ยึดถือลูกตกในจังหวะย่อยและจังหวะใหญ่เช่นเดียวกับทางดนตรี