เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ ส่วนมากเป็นทองเหลืองหล่อหนา เว้ากลาง ปากผายกลม รูปคล้ายฝาขนมครกไม่มีจุก สำรับหนึ่งมี ๒ ฝา เจาะรูตรงกลางเว้าสำหรับร้อยเชือกเพื่อสะดวกในการถือตีกระทบกันให้เกิดเสียงเป็นจังหวะ ฉิ่งมี ๒ ขนาด ขนาดใหญ่กว้างประมาณ ๖-๖.๕ เซนติเมตร สำหรับใช้ประกอบวงปี่พาทย์ ส่วนขนาดเล็กกว้างประมาณ ๕.๕ เซนติเมตร ใช้สำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี
ที่เรียกว่า ฉิ่ง เข้าใจว่าเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นจากการเอาขอบของฝาหนึ่งกระทบเข้ากับอีกฝาหนึ่งแล้วยกขึ้น จะได้ยินเสียงกังวานยาวคล้าย “ฉิ่ง” แต่ถ้าเอา ๒ ฝานั้นกลับกระทบประกบไว้จะได้ยินเป็นเสียงสั้นคล้าย “ฉับ” ผูบรรเลงฉิ่้ งต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่รู้เพลงและมีความสามารถในด้านจังหวะเป็นอย่างดี ฉิ่งใช้ในวงดนตรีประกอบ การขับร้อง ฟ้อนรำ และการแสดงโขนละคร